KEERATI.ทรัพยากรธรรมชาติ...ความมั่งคั่งแห่ง...AEC.จันท์ยิ้ม.11.สิงหาคม 2559.
ความมั่งคั่งทางทรัพยากรธรรมชาติ ถือได้ว่าเป็นจุดแข็งที่สําคัญ ของกลุ่มประเทศสมาชิก AEC โดยในแต่ละประเทศ ต่างมีจุดเด่น ทางทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น ทะเล เขา ป่าไม้ รวมถึงก๊าซธรรมชาติ น้ํามัน แร่ธาตุ และอัญมณีต่าง ๆ ทรัพยากรธรรมชาติถือได้ว่าเป็นต้นทุน และปัจจัยพื้นฐานสําคัญทาง โครงสร้างทางเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศ
ในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีการให้ความสําคัญ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และส่งเสริมให้คํานึงถึงการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นมิตร โดยจะเห็นได้ว่า ประเด็นด้านผลกระทบ ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีการกําหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้วย เนื่องจากหากประเทศต่าง ๆ ใช้ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร้ขีดจํากัด ก็จะส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของ ประชาชน ความยากจนและการกระจายรายได้ เพราะทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้นทุน ซึ่งผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการจัดตั้งประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน จะถูกนํามาคิตคํานวณเป็นต้นทุนส่วนหนึ่ง
นั้นคือ ผลกระทบต่อกรีนจีดีพี (Green GDP) หรือผลผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศหักด้วยต้นทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ยกตัวอย่าง ในกรณีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (พม่า) ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งตีน ป่าไม้ อัญมณี น้ํามัน และก๊าซธรรมชาติ หากการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนส่งผลกระตุ้น ให้ประเทศพม่ามุ่งเน้นที่จะใช้ความได้เปรียบจากความมั่งคั่งเหล่านี้ เป็นความเชี่ยวชาญหลักในการแข่งขันทางการค้าและการลงทุนระหว่าง ประเทศ โดยไม่มีมาตรการควบคุมดูแลการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างมีประสิทธิภาพ เราก็สามารถคาติการณ์ได้เลยว่าอัตราการเก็บเกี่ยว ผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในประเทศพม่าจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งอาจจะมากกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นตามปกติของทรัพยากรธรรมชาติ เมื่อเป็นเช่นนี้ทรัพยากรธรรมชาติจะร่อยหรอลงไปอย่างรวดเร็ว
ผลประโยชน์ที่ประเทศพม่าจะได้รับจากการเปิดการค้าและการลงทุน ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนย่อมจะเป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น หรือกรณีการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้วส่งผลกระตุ้นให้ พืชพันธุ์ธัญญาหารมีราคาที่ดีขึ้นกว่าเดิม เกษตรกรและผู้ผสีตสินค้า เกษตรเพื่อการส่งออกย่อมจะทําการปรับเปลี่ยนที่ดินเพื่อขยาย การเพาะปลูกพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงมากยิ่งขึ้น ประเทศที่มีเนื้อที่ในการ เพาะปลูกที่จํากัด เช่น ฟิลิปปินส์ ก็อาจจะถางป่าเพื่อทําการเพาะปลูกพืช เศรษฐกิจนี้ อีกทั้งปัจจัยแรงงานและทุนก็จะมีการโยกย้ายมาจาก ภาคส่วนอื่น ๆ ในกรณีนี้หากเกษตรกรและผู้ผลิตสินค้าเกษตรต่างสามารถ เข้าใช้ผืนป่าได้อย่างเปิดกว้างเสรี หรือไม่มีมาตรการดูแลการขยายพื้นที่ เพาะปลูกอย่างมีประสิทธิภาพแล้วในระยะยาวฟิลิปปินส์จะสูญเสียป่าไม้ และดินอันอุดมสมบูรณ์มากกว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับ
หากการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนส่งผลกระตุ้น ให้ปัจจัยการผสีตต่าง ๆ เช่น แรงงานและทุนสามารถเคลื่อนย้ายระหว่าง ประเทศสมาชิกได้อย่างเสรี เราก็สามารถคาดการณ์ได้ว่าการขยายตัว ของปัจจัยการผลิตที่ใช้อย่างเข้มข้นในอุตสาหกรรมการผลิตหนึ่ง ๆ ย่อมจะกระตุ้นให้การผลิตของอุตสาหกรรมนั้น ๆ มีการเติบโตมากยิ่งขึ้น หากอุตสาหกรรมนั้นเป็นกิจกรรมการผลิตที่สร้างผลกระทบทางลบ ต่อสิ่งแวดล้อม เช่นก่อให้เกิดมสพิษทางอากาศหรือทางน้ํา
โดยที่ประเทศสมาชิกนั้น ๆ ไม่ได้มีการปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตให้มี ประสิทธิภาพ หรือไม่มีการใช้เทคโนโลยีที่สะอาด หรือไม่มีเครื่องมือ ทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ภาษีสิ่งแวตล้อม โควตา หรือการซื้อขายสิทธิการปล่อยมลพิษแล้ว ก็คาดได้ว่าสวัสดิการ ความเป็นอยู่ของประชาชนจะเลวลงในระยะยาว
ตัวอย่างข้างต้นเป็นเพียงการชี้ให้เห็นถึงความสําคัญของผลกระทบ ที่อาจจะเกิดขึ้นในวงกว้างต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และการทําลาย สิ่งแวดล้อมของประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อีกทั้ง ชี้ให้เห็นว่าตัวแปรภายนอก อย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและ บริการ การเปลี่ยนแปลงปริมาณปัจจัยการผลิตต่างๆ ก็สามารถสร้าง ผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้โดยตรง ในขณะที่ ประเทศสมาชิกยังต้องพึ่งพาอาศัยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในระยะยาวการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมย่อมกระทบ ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศสมาชิกอย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้ ]
(จำนวนผู้เข้าชม 809 ครั้ง)