...

นักสูบหน้าใหม่.. ในเมืองจันท์
นักสูบหน้าใหม่.. ในเมืองจันท์



เอกรัฐ คำวิไล.นักสูบหน้าใหม่..ในเมืองจันท์..จันท์ยิ้ม.11.สิงหาคม 2559.

 

ฟังแล้วขออนุญาตตกใจ..กับยอดนักสูบหน้าใหม่ที่อยู่ในข่าย เยาวชนของประเทศไทย ที่เพิ่มขึ้นเกือบ 300,000 คน ในแต่ละปี ยังไม่ นับรวมกับนักสูบควันเติมทั่วประเทศที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปกว่า 15 ล้านชีวิต ซึ่งยังผลให้มีผู้เสียชีวิต 6 คนในแต่ละชั่วโมงวันละ 142 ศพ ปีละ 52,000ราย ไม่นับรวมผู้ที่เจ็บป่วยจากการสูบบุหรีที่มีผลกระทบทั้งตัวเองและบุคคล ในครอบครัวอันเกิดมาจากการสูบบุหรี !!!

จากตัวเลขนักสูบหน้าใหม่ที่เกิดขึ้นในแต่ละปีและมีแนวโน้ม เพิ่มมากขึ้นคงต้องหันมามองเยาวชนที่จะเป็นอนาคตของชาติในจังหวัดจันทบุรี ด้วยความเป็นห่วง เพราะจากหลากหลายมาตรการที่รัฐบาลได้งัดออกมาคุม ปริมาณนักสูบ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการทางภาษีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ รวมถึงจํากัดช่องทางการซื้อขาย และการคุ้มครองผู้ที่อาจได้รับผลกระทบ จากควันมรณะ แต่จำนวนสิงห์อมควันกลับไม่ได้สติสิงเลย และยังมี เยาวชนที่เป็นนักสูบมือใหม่เพิ่มขึ้น

จากสถานการณ์ดังกล่าวที่ประชากร 13 ล้านคน สูบบุหรี่ ในจำนวนนี้ครึ่งต่อครึ่งเป็นการสูบบุหรี่จากโรงงาน และ สูบบุหรี่แบบ มวนเอง การรณรงค์ให้คนเหล่านี้โดยเฉพาะชาวจันทบุรีที่สูบบุหรี่หันมาเลิก โดยหน่วยงานต่าง ๆ ผ่านกิจกรรมที่หลากหลายนั้น จะได้ผลอย่างไร คงไม่น่ากังวลเท่ากับจำนวนวัยรุ่นในจังหวัดจันทบุรีที่กําลังจะเดินหน้าเข้ามา คีบมวนบุหรี่คาบที่ปากแล้วน้ําสารพัดสารที่มีมากกว่า 100 ชนิดซึ่งแฝงตัว อยู่ในม่านควันสีเทาผ่านหลอดลมไปสู่ปอด ก่อให้เกิดผลกระทบที่จะ ตามมา สิ่งที่เยาวชนควรระมัดระวังไม่ให้ตัวเองได้เป็นนักสูบหน้าใหม่ ก่อนที่จะพัฒนาไปสู่การติดบุหรี่ที่สําคัญคือ

อยากลอง.. สิ่งที่ยังไม่เคยได้ทํามองเป็นความท้าทายอาจเกิด ความอยากสักหนที่จะสูบ โดยมีความคิดที่ว่า “ครั้งเดียวคงไม่ติด” สุดท้ายผู้ที่คิดแบบนี้ก็คือ 1 ใน 13 ล้านคน ที่สูบบุหรี่และเลิกไม่ได้

ตามเพื่อนเพื่อนในวัยรุ่นมักมีอิทธิพลมาก พ่อแม่ ครู อาจารย์ บอกอย่างไรไม่ค่อยเชื่อฟังแต่ถ้าเพื่อนสนิทเอาไงเอากันเลย ก็ว่าได้ และถ้าเพื่อนในกลุ่มชักชวนสูบบุหรี่ล่ะ????????

ค่านิยมที่ว่าเก่ เท่ แมน ดึงดูดความสนใจของเพศตรงข้าม แต่ผลจากการสอบถามความคิดเห็นเพศหญิงในเมืองจันท์ต่อวัยรุ่นชาย ที่สูบบุหรี่พบว่า ไม่ชอบ ร้อยละ 90 ส่วนที่เหลือบอกว่า เฉย ๆ

สภาพแวดล้อม...ถ้าบุคคลในครอบครัวสูบบุหรี่ โอกาสเกิด นักสูบหน้าใหม่ไม่ยากเลย และที่สําคัญเมื่อเตือนบุตรหลานไม่ให้ ไปริลองสูบบุหรี่น้ำหนักความเชื่อคงดูลดน้อยลงไปในเมื่อตนเองทําให้เห็น

ไม่ทราบแน่ชัดว่าในเมืองจันท์ปีนี้ จะมีเยาวชนสูบบุหรี่เพิ่มเป็น จำนวนเท่าใด แต่ที่รู้แน่นอนแล้วคือ ถ้าสูบบุหรี่เข้าปอดที่ทําหน้าที่ นําออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะทั่วร่างกาย จะมีผลกระทบที่ร้ายแรง เพียงใด เพราะนอกจาก “โรคมะเร็ง ที่รู้กันดีอยู่แล้ว ทั้งมะเร็งที่ปอด

หลอดอาหาร ปาก Fฮ ยังมีของแถมที่หลายคนโดยเฉพาะเยาวชน จันทบุรีควรรู้เพิ่มคือ โรคหัวใจ ที่เกิดจากควันบุหรี่ทําให้หลอดเลือด หัวใจตีบ อัมพาตและสมองเสื่อม ถุงลมโป่งพองโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ แต่ผลข้างเคียงที่เยาวชนควรระวังเพิ่มและน่ากลัวในวัยรุ่นได้แต่

ของปาก เพราะควันบุหรี่ทําให้เหงือกร่น ฟันผุ ฟันด้ปากคํา มีกลิ่นปาก เป็นที่รังเกียจของคนรอบข้างและเพศตรงข้าม

เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ... เส้นเลือดเส้นประสาทที่ควบคุม การแข็งตัวของอวัยวะเพศชายถูกสารในควันบุหรี่ทําให้หลอดเลือดตีบ แคบลง การทํางานจึงเสื่อม ทั้งยังพบปริมาณตัวอสุจิสตลงด้วย

เรียวแรงถิตลง เล่นกีฬาเหนื่อยง่ายขึ้น เนื่องจากปอดทํางาน ได้ไม่เต็มสภาพ ก็มาจากผลข้างเคียงของควันบุหรี่

เสียบุคลิกภาพ...การพ่นควันเป็นที่รําคาญของบุคคลรอบข้าง การไอดี ๆ เนื่องจากระคายเคืองหลอดลม ทําให้สติความสมาร์ทแมน ลงไปเยอะเลย

คงไม่ต้องทําการพิสูจน์ว่าผลกระทบดังกล่าวเป็นจริงหรือไม่ โดยการทดลองกับตัวเองโดยการสูบ เพราะผลที่กระทบที่จะเกิดขึ้น เป็นมรดกของการสูบบุหรีจะก่อให้เกิติการสูญเสียที่คํานวณค่าได้ เช่น ค่าใช้จ่ายในการซื้อบุหรี่ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการรักษา การสูญสียที่ คํานวณค่าได้ยาก เช่น เวลา ค่าแรงงานของผู้ดูแลยามเจ็บป่วย การสูญเสีย ทางเศรษฐกิจ และคํานวณค่าไม่ได้ เช่น คุณภาพชีวิตของผู้สูบบุหรี่ ครอบครัว ความทุกข์ทรมาน ความรําคาญของบุคคลรอบข้าง

ไม่ว่าอย่างไรคงต้องฝากบอกเยาวชนในจันทบุรี เชิญชวนหันมา ทํากิจกรรมที่สร้างสรรค์อ่านหนังสือ เล่นกีฬา ออกกําลังกายดูหนังฟังเพลง เล่นดนตรี เดินห้างสรรพสินค้า เล่นโซเชียลเน็ตเวิร์ค มีหลากหลาย ให้เลือก หรือแม้แต่การไล่เก็บ “โปเกมอน โก” ก็ยังดีกว่า เก็บสตางค์ เป็นค่าใช้จ่ายตอนเจ็บป่วยด้วยพิษภัยของควันบุหรี่ ทั้งนี้เพื่อเป็น ภูมิคุ้มกันให้ตนเองไม่ต้องก้าวเข้าสู่เส้นทางของนักสูบหน้าใหม่ซึ่งจะ พัฒนาไปเป็นผู้ติตบุหรี่เต็มตัว

(จำนวนผู้เข้าชม 946 ครั้ง)


Messenger