...

ไม่อยากแพ้ ต้องเข้าใจ ยา(แก้)แพ้


ภก.ดรนิติ สันแสนดี.ไม่อยากแพ้ ต้องเข้าใจ ยา(แก้)แพ้.HEALTH CHANNEL Magazine.12:138(may 2017);28.

          ปัจจุบันคนไทยเป็นโรคภูมิแพ้กันมากขึ้น ไม่ว่าจะแพ้อากาศ หรือแพ้มลพิษต่าง ๆ เช่นฝุ่นควันเป็นต้น ซึ่งโรคภูมิแพ้เป็นโรคที่พบได้บ่อย สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่วัยเด็กเล็ก ได้แก่โรคแพ้นมวัว โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง และในวัยเด็กโตหรือผู้ใหญ่ ได้แก่โรคภูมิแพ้อากาศ โรคภูมิแพ้ของเยื่อบุตาขาว โรคหอหืด รวมถึงโรคแพ้อาหารทะเล

          การที่พบโรคภูมิแพ้ของระบบการ หายใจเพิ่มขึ้น เพราะวิถีชีวิตของเราเปลี่ยนไป เป็นปัจจัยทําให้อุบัติการณ์ของโรคภูมิแพ้ ในปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น โดยยาแก้แพ้หรือ ยาต้านฮีสตามีน (Antihistamines) มีสรรพคุณ บรรเทาอาการน้ำมูกไหล อาการจาม เนื่องจากหวัด บรรเทาอาการคันจากสาเหตุ ต่างๆ ลดสารคัดหลั่ง และบรรเทาอาการคัน โดยยาแก้แพ้จะออกฤทธิ์ยับยั้งผลของ ฮีสตามีน (Histamine) ซึ่งมีผลทําให้การ หลั่งน้ำมูก และอาการแพ้ อาการคันลดลง ยาแก้แพ้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

          กลุ่มแรก ยาต้านฮีสตามีนกลุ่ม ดั้งเดิมหรือยาต้านฮีสตามีนกลุ่มที่ทําให้ง่วงซึม เป็นยาต้านฮีสตามีนรุ่นแรก ตัวอย่างยา ในกลุ่มนี้เช่น คลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine) ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate), ไฮดรอไซซีน (Hydroxyzine) และทริโปรลิดีน (Triprolidine) เป็นต้น

          ยาในกลุ่มนี้สามารถใช้รักษาอาการ เยื่อจมูกอักเสบเนื่องจากภูมิแพ้ ที่มีอาการคัน จาม น้ำมูกไหล และมักให้ร่วมกับยาชนิดอื่น ตามอาการที่แสดง, เยื่อตาขาวอักเสบ เนื่องจากภูมิแพ้ที่เป็นตามฤดูกาล, ผื่นลมพิษ, ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง, อาการคันตื่นขึ้นเนื่องจาก แมลงกัดต่อย สัมผัสพืชพิษ หรือสัมผัส สารเคมีบางอย่าง นอกจากนี้ยังสามารถ บรรเทาอาการเมารถ เมาเรือได้ ซึ่งยา ในกลุ่มนี้สามารถผ่านเข้าสู่สมองไป กดระบบประสาทได้ จึงทำให้ผู้ที่ใช้ยามีอาการ ง่วงซึม แต่บางครั้งในเด็ก คนชรา หรือผู้ที่ ได้รับยาขนาดสูง อาจพบอาการกระวนกระวาย อยู่นิ่งไม่ได้ นอนไม่หลับ ส่วนอาการข้างเคียง อื่น ๆ ที่พบได้ เช่น จมูกแห้ง ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า ไม่สบายทางเดินอาหาร ปัสสาวะคั่ง และน้ำหนักตัวเพิ่ม

          เนื่องจากยากลุ่มนี้ทําให้ง่วงซึม จึงควรระวังการใช้ในผู้ที่ทํางานเกี่ยวกับ การควบคุมเครื่องจักร ขับรถ และห้ามใช้ร่วมกับ ยากล่อมประสาท ยานอนหลับ เครื่องดื่มที่มี แอลกอฮอล์ ระวังการใช้ในเด็กเล็ก เพราะ อาจทําให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ยาในกลุ่มนี้อาจทําให้อาการความดันในลูกตา ผิดปกติและภาวะปัสสาวะคั่งแย่ลง จึงควรระวัง การใช้ในผู้ป่วยบางโรค เช่น ความดันในลูกตาสูง ต้อหินบางชนิด และต่อมลูกหมากโต ระวัง การใช้ในผู้ที่อยู่ระหว่างการให้นมบุตรด้วย น้ํานมตนเอง เนื่องจากยาสามารถขับออกทาง น้ํานมได้ และมียาบางตัวอาจก่อให้ทารก เกิดวิกลรูป (ทารกที่คลอดออกมา มีความผิดปกติ) ดังนั้นหญิงมีครรภ์ที่ต้องการ ใช้ยาจึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง

          กลุ่มที่สอง ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มที่ ไม่ทําให้ง่วงนอน (Non-Sedating Antihistamines) ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์เช่นเดียวกับยาต้านฮีสตามีน กลุ่มดั้งเดิม แต่ยาในกลุ่มนี้ผ่านเข้าสมองได้ น้อยมากจึงทําให้ง่วงซึมน้อยกว่า ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้เช่น เซทริซีน (Cetirizine), ลอราทาดีน (Loratadine) และกลุ่มที่พัฒนา ต่อมา เช่น เลโวเซทริซีน (LevOcetirizine), เดสลอราทาดีน (Desloratadine) เป็นต้น ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มนี้สามารถใช้รักษา อาการต่าง ๆ ได้คล้ายกับกลุ่มดั้งเดิม โดยเฉพาะ เซทริซีน ให้ผลดีในการลดผื่น ลมพิษแบบเฉียบพลัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง และลดอาการคันได้เร็วกว่ายาอื่นในกลุ่ม เดียวกัน เนื่องจากยาออกฤทธิ์เร็ว แต่อาจให้ผลบรรเทาอาการน้ํามูกไหล อาการเมารถ เมาเรือ ได้ไม่ดีเท่ากลุ่มดั้งเดิม ส่วนข้อดีคือ อาการง่วงซึม จมูกแห้ง ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า จะพบน้อยกว่ายากลุ่มดั้งเดิม ทั้งนี้ในผู้ที่รับประทานยาอื่นร่วมด้วย ควรแจ้ง ให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ เนื่องจาก อาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาเมื่อรับประทาน ร่วมกับยาฆ่าเชื้อบางชนิด

          นอกจากนี้ควรระวังการใช้ในผู้ที่ อยู่ระหว่างการให้นมบุตรด้วยน้ํานมตนเอง เพราะยังมีข้อมูลน้อย ระวังการใช้ยาในผู้ป่วย โรคตับ โรคไต และผู้ที่มีประวัติคลื่นหัวใจ ผิดปกติ เพราะอาจต้องปรับขนาดยาลดลง และเนื่องจากมียาบางตัวอาจก่อให้ทารก เกิดวิกลรูปได้เช่นเดียวกับกลุ่มดั้งเดิม ดังนั้น หญิงมีครรภ์ที่ต้องการใช้ยาจึงควร ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง ไม่ควร ซื้อยามารับประทานเอง

          ยาแก้แพ้ เป็นการรักษาตามอาการ มากกว่าแก้สาเหตุ ดังนั้นเราควรเลือกใช้ ยาแก้แพ้อย่างถูกต้อง เพราะการใช้ยา ทุกชนิดจะมีผลข้างเคียงของยา ทั้งนี้การ บรรเทาอาการแพ้ที่ดีที่สุด คือ หลีกเลี่ยง สิ่งที่แพ้ หมั่นออกกําลังกาย เลือกกินอาหารในปริมาณที่เหมาะสมเท่าที่จําเป็น โดยปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเมื่อจําเป็น ต้องใช้ยา

(จำนวนผู้เข้าชม 1810 ครั้ง)


Messenger