อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ที่มา : ปกด้านในวารสารกรมศิลปากรปีที่ 7 ฉบับที่ 8
กรุงสุโขทัยอดีตราชธานีไทยอีกสมัยหนึ่ง ของประวัติศาสตร์ชาติไทย ได้ก่อกำเนิดขึ้นใน ราวปีพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ณ บริเวณเมืองสุโขทัยใน อดีตเคยเป็นที่ตั้งของชุมชนขนาดใหญ่ ซึ่งมีระบบการ ปกครองอย่างมีระเบียบแบบแผนมาก่อน ร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีที่ปรากฏยืนยันเรื่องนี้ คือ ปรางค์วัด พระพายหลวงปรางค์วัดศรีสวาย ศาลตาผาแดง ซึ่งเป็น ลักษณะสถาปัตยกรรมรุ่นก่อนสมัยสุโขทัย
สุโขทัยเป็นเมืองรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีกำแพงเมือง คูเมือง ๑๓ ชั้น ตั้งอยู่ทางฟากตะวันตกของแม่น้ำยม ห่างจากเมืองอันเป็นที่ตั้งจังหวัดสุโขทัย ๑๒ กิโลเมตร ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้อัญเชิญพระพุทธรูปจากสุโขทัย จำนวน ๒,๑๒๘ องค์ไปประดิษฐานตามวัดต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งในสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงผนวชอยู่ก็ได้เสด็จถึงสุโขทัย พบซากโบราณ สถาน โบราณวัตถุมากมาย โดยเฉพาะศิลาจารึกหลัก ที่ ๑ ของพ่อขุนรามคำแหง อันเป็นหลักฐานที่สำคัญ ของประวัติศาสตร์ไทย และในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ เสด็จ มาเมืองสุโขทัย และได้ทรงพระราชนิพนธ์ หนังสือเที่ยวเมืองพระร่วงไว้จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๙๕ กรมศิลปากร ได้เริ่มทำการขุดแต่งบูรณะโบราณสถานสำคัญ ๆในบริเวณเมืองสุโขทัยและ ได้ ประกาศขึ้น ทะเบียนบริเวณเมืองสุโขทัยเก่า ซึ่งมี พื้นที่ประมาณ ๔๓,๗๐๐ ไร่ โดยได้อนุรักษ์ไว้เป็น เขตโบราณสถาน พร้อมทั้งได้จัดทำโครงการระยะยาว เพื่ออนุรักษ์และบูรณะให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ ซึ่งภายในกำแพงเมืองสุโขทัยมีสระน้ำ คน หนองน้ำ และบ่อน้ำบาดาล ส่วนใหญ่จะอาศัยน้ำที่กักเก็บไว้นี้ เพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการอุปโภคบริโภคและใช้เป็น เครื่องกำหนดขอบเขตโบราณบางแห่งสระน้ำขนาด ใหญ่ที่สำคัญภายในเขตกำแพงเมืองที่เรียกว่า “ตระพัง” ได้แก่ตระพังเงิน ตระพังทอง ตระพังสอ และ ตระพังตระกวน
วัดมหาธาตุเป็นวัดศูนย์กลงของเมืองสุโขทัยมีสิ่ง ก่อสร้างในพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก สิ่งก่อสร้างที่มี ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเด่น ๆ คือ เจดีย์ทรงพุ่มข้าว บิณฑ์ และพระอัฏฐารศ ซึ่งเป็นรูปแบบเฉพาะของ สถาปัตยกรรมสุโขทัย นอกจากนี้มีวัดวาอารามที่เป็น โบราณสถานที่สำคัญอีกมากมาย อาทิ วัดพระพาย หลวงศาสนสถานในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานเป็น ศิลปะขอมแบบมหายาน สร้างในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ วัดศรีชุมอยู่นอกเมืองสุโขทัยด้านทิศตะวันตกเฉียง เหนือ และวัดเชตุพนตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองสุโขทัย ภายในวัดมีมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปสื่อริยบท คือ นั่ง นอน ยืน และเดิน ที่ยังคงเหลือให้เห็น ปัจจุบันมีเพียงพระพุทธรูปปางลีลาและพระพุทธรูป ประทับยืนเป็นต้น
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยที่บูรณะและพัฒนา แล้วนี้อาจจะเป็นแหล่งวิทยาการสําหรับการศึกษา ค้นคว้าทางประวัติศาสตร์และแหล่งโบราณคดี พร้อม ทั้งเป็นอุทยานสําหรับพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นสถาน ที่ท่องเที่ยวที่สําคัญอีกแห่งหนึ่งของไทย ที่จะส่งผลให้ เกิดความเจริญในท้องถิ่นและประเทศชาติอีกทางหนึ่ง ด้วย ปัจจุบันโบราณสถานเมืองสุโขทัยได้ประกาศขึ้น ทะเบียนในบัญชีมรดกของโลกแห่งหนึ่งที่เป็นที่รู้จักทั่ว ไปในนานาประเทศ
(จำนวนผู้เข้าชม 842 ครั้ง)