...

พระเมรุ

พระเมรุ

 

ที่มา : กองบรรณาธิการ วารสารศิลปากร ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 มีนาคม 2539 ปกใน 

          ตั้งแต่สมัยโบราณกาล พระมหากษัตริย์ไทยได้ทรงกำหนดประเพณีขึ้นไว้ เป็นแบบอย่างที่ดีงามเพื่อให้ประชาชนในชาติได้ถือปฏิบัตินับตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาม เป็นเครื่องแสดงถึงความเป็นชาติที่มีอารยธรรม เป็นต้นว่า ประเพณีท้าย วัฒนธรรมไทยปลูกฝังให้มีจิตใจเคารพยึดมั่นในความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ที่ตัว คุณประโยชน์ไว้แก่ชาติบ้านเมือง โดยเฉพาะพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี หรือ ตลอดจนพระบรมวงศ์ผู้มีคุณูปการแก่ประเทศชาติ ซึ่งได้รับการยกย่องเปรียบ เสมือนสมมติเทวราช ครั้นถึงวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพ คือเมื่อเสด็จสวรรคต ซึ่งหมายความว่าเสด็จไปสู่เขาวลัยสถาน ณ เชาพระสุเมรุ และตามพระราช ประเพณีจะจัดการกวายพระเพลิงพระบรมศพ โดยอัญเชิญพระบรมศพไปกวาย พระเพลิง ณ พระเมรุที่ได้สร้างขึ้น ณ กลางในพระนคร และในการประกอบพิธี ยึดถือการบำเพ็ญพระราชกุศลตามหลักของพระพุทธศาสนาเป็นสำคัญ

          ครั้นเมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๓๘ ยังความอาดูรโศกเศร้าให้กับพสกนิกรชาวไทยทั่วประเทศ และเพื่อใช้งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพเป็นไปอย่างเรียบร้อย และยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ รัฐบาลจึงได้แต่งตั้งคณะ กรรมการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีขึ้น โดยมีการแต่งตั้งคณะ อนุกรรมการขึ้นอีกหลายคณะ กรมศิลปากรเป็นหน่วยงานหนึ่งในคณะอนุกรรมการฝ่ายก่อสร้างพระเมรุมาศ ราชรถ พระยาน มาศ และส่วนประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ได้รับมอบหมายในการ ออกแบบและจัดสร้างพระเมรุมาศ และอาคารส่วนประกอบเพื่อใช้ในพระราชพิธี

          พระเมรุมาศขที่ใช้ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีนั้น เรืออากาศเอก อาวุธ เงินชูกลิ่น สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านบูรณะปฏิสังขรณ์ของกรมศิลปากร ได้ออกแบบอย่างงดงามสมพระเกียรติ แสดงถึงความเป็นเลิศในงานด้านสถาปัตยกรรมไทย กำหนดปลูกสร้างที่ท้องสนามหลวงด้านทิศใต้เช่นทุกครั้งที่ผ่านมา หลัง จากได้ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการและการให้ความเห็นชอบขององค์ที่ปรึกษา และคณะกรรมการจัดงานพระราชพิธี ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีแล้ว มีมติให้ใช้แบบพระเมรุมาศทรงปราสาทขตรมซ ย่อ มุมไม้สิบสองยอดเคี้ยวยอดเดียว ซึ่งได้ดำเนินการโดยปรับเตรียมพื้นที่ การวางโครงสร้างอาคาร ขยายแบบ ได้มีการบวงสรวง เข้าที่ท้องสนามหลวงและบูชาพระพิฆเณศร์ วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๓๕ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายสุขวิช รังสิตพล) เป็นประธานในพิธี และวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๓๕ ได้มีการทําพิธียกเสาเอกพระเมรุมาศ โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (นายบรรหาร ศิลปอาชา) เป็นประธาน

          ลักษณะของพระเมรุมาศสร้างขึ้นด้วยไม้ โครงสร้างภายในเป็นเหล็ก ทรงปราสาทจตุรมุข ย่อมุมไม้สิบสองยอดเกี้ยว ยอดเดียว ประดับตกแต่งด้วยลวดลายและเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศ ใช้สีตามแบบสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งมีสีแดงและ สีของเป็นหลัก ประดับตกแต่งด้วยกระดาษของย่นเกือบทั้งหมด สูงจากพื้นถึงยอด ๓๐.๕๐ ม. ไม่รวมสัปตปฎลเศวตฉัตร ๗ ชั้น ที่ยอด กว้าง ๒๖.๗๐ เมตร ยาว ๓๖.๓๐ เมตร หันหน้ามาทางทิศตะวันตก ส่วนหลังคาเป็นจตุรมุข ซ้อน ๒ ชั้น ลายซ้อนไม้ มุข ด้านทิศเหนือและใต้ยาวกว่าด้านตะวันตกและตะวันออก ที่หน้าบันทั้ง ๔ ด้านมีพระนามาภิไธยย่อ“สว” ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

          ฐานพระเมรุมาศจัดทําเป็น ๒ ระดับ ชั้นแรกเรียกว่า ฐานชาลา เป็นฐานปัทม์ย่อเก็จประดับด้วยเขาวดาถือบังแทรก ๒๐ องค์ โดยรอบ มีบันได ๑๒ แห่งๆ ละ ๙ ชั้น ฐานบนเรียกว่า พลับพระเมรุมาศ เป็นฐานสิงห์ ประดับด้วยฉัตร ๒๔ องค์โดยรอบ มีบันไดทางขึ้นจากฐานชาลา ๑๔ ชั้น ทั้ง ๔ ทิศ

          องค์พระเมรุมาศ เป็นอาคารย่อมุมไม้สิบสอง มีโถงกลางตั้งพระจิตกาธาน เพดานภายในมีลายดาวเพดาน ยอดเสาเป็น เสาตัวขัว พระเมรุมาศทั้ง ๔ ด้านเปิดโต่ง มีเครื่องตกแต่งคือพระวิสูตรและฉากบังเพลิงโดยรอบ ราวหลังคาเป็นไม้ รองด้วยสังกะสี ประดับด้วยใบระกา ส่วนยอดเป็นเกี้ยว 2 ชั้น ประดิษฐานสัปตปฎลเศวตฉัตรไว้เหนือสุด

          หลังจากก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ พระเมรุมาศก็ได้ใช้เป็นสถานที่สุดท้ายที่ส่งเสด็จสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สู่สรวงสวรรค์ เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๓๙

(จำนวนผู้เข้าชม 2325 ครั้ง)