พระราชพิธีสิบสองเดือน
พระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ใน รัชกาลที่ ๕ ในคํานําระบุว่า เป็นพระราชพิธีสําหรับ ปฏิบัติในพระนครซึ่งมีมา ตั้งแต่อดีต พระราชพิธีเหล่า นี้เกิดขึ้นจากความเชื่อในด้าน ไสยศาสตร์ที่มีการนับถือ พระเจ้าต่าง ๆ ในศาสนา พราหมณ์ และส่วนหนึ่งเกิด จากความเชื่อความศรัทธา ในพุทธศาสนาควบคู่กัน ดัง นั้นในพระราชพิธีบางอย่าง จึงเป็นการผสมผสานระหว่างพราหมณ์และพุทธ
ในพระราชกําหนดกฎมณเฑียรบาลครั้งกรุงศรีอยุธยา ได้กล่าวถึงพระราชพิธีประจําเดือนทั้ง ๑๒ เดือนไว้ว่า เป็น กิจซึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงทําเพื่อเป็นมงคลสําหรับพระนคร ทุกปีมิได้ขาด ดังนี้
เดือนห้า พระราชพิธีเผด็จศก ลดแจตรออกสนาม
เดือนหกพิธีไพศาขย์ จรดพระราชนังคัล
เดือนเจ็ดทูลน้ำล้างพระบาท
เดือนแปดเข้าพรรษา
เดือนเก้าตุลาภาร
เดือนสิบภัทรบทพิธีสารท
เดือนสิบเอ็ดอาศยุชยแข่งเรือ
เดือนสิบสองพิธีจองเปรียงลดชุดลอยโคม
เดือนอ้ายไล่เรือ เถลิงพิธีตรียัมพวาย
เดือนยีการพิธีบุษยาภิเศก เฉวียนพระโคกินเลี้ยง
เดือนสามการพิธีธานยเทาะห์
เดือนสี่การพิธีสัมพัจฉรฉินท์
การพระราชพิธีดังข้างต้นนี้แตกต่างจากพระราชพิธี ที่ปรากฏในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือนของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ตรงที่ระยะ เวลาในการจัดพระราชพิธีต่าง ๆ ไม่ตรงกันบ้างในบางเดือน ซึ่งจะขอเรียงตามลําดับเดือน ทั้ง ๑๒ ตามบทพระราช นิพนธ์ ดังนี้
เดือนสิบสอง พิธีจอง เปรียง พระราชพิธีลอยพระประทีป
เดือนอ้ายพิธีไล่เรือ เฉวียนพระโคกินเลี้ยง
เดือนยีพระราชพิธี บุษยาภิเษก พระราชพิธี ตรียัมพวาย ตรีปวาย
เดือนสามพิธีธานยเทาะห์ พระราชกุศลเลี้ยงพระตรุษจีน
เดือนสี่พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์
เดือนห้าพระราชพิธีศรีสัจจปานกาล
เดือนหกพระราชพิธีพืชมงคล พิธีจรดพระนังคัล
เดือนเจ็ดพระราชพิธีทูลน้ำล้างพระบาท
เดือนแปดพระราชพิธีเข้าพรรษา
เดือนเก้าพิธีตุลาภาร
เดือนสิบพระราชพิธีสารท
เดือนสิบเอ็ดอาศยุชยแข่งเรือ
การพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือนเกิดขึ้น จากรัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชดําริว่าคําโคลงพระราชพิธี ทวาทศมาสซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมสมเด็จพระบําราบปรปักษ์ ทรงแต่งขึ้นไว้ และกรรมสัมปาทิกได้นําลงไว้ในหนังสือวชิรญาณ แต่ไม่ครบทั้งสิบสอง เดือน อีกทั้งถ้อยคําในโคลงอาจเป็นที่เข้าใจยากสําหรับผู้ที่ไม่ สันทัดในโคลงกลอน จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์เป็นความเรียง เพื่อยังประโยชน์ให้คนรุ่นหลังได้รู้จักการพระราชพิธีสืบต่อไป
สารกรมศิลปากร ฉบับประจําปี ๒๕๕๑ นี้จึงขอนํา เสนอเรื่องราวของพระราชพิธีสิบสองเดือน ประกอบกับภาพ จิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพระราชพิธีนี้ ซึ่งมีปรากฏอยู่ที่วัด ราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กรุงเทพฯ
พิธีตรียัมปวายตรีปวาย หรือพิธีโล้ชิงช้า เป็นพระราช พิธีหนึ่งในพระราชพิธีสิบสองเดือนที่กระทํากันในเดือนยี่ เป็น พิธีสําคัญของศาสนาพราหมณ์ คือเป็นพิธีขึ้นปีใหม่ของ พราหมณ์ ในพิธีนี้ตามลักษณะของพิธีจะแยกเป็น ๒ อย่าง คือ พิธีตรียัมปวาย เป็นพิธีเกี่ยวกับพระอิศวร และพิธีตรีปวาย เป็นพิธีเกี่ยวกับพระนารายณ์ พิธีโล้ชิงช้านี้กระทํามา ตั้งแต่สมัยใดไม่ทราบแน่ชัด
พิธีตรียัมปวายตรีปวาย หรือพิธีโล้ชิงช้าเป็นพิธีต่อ เนื่องกัน ๑๕ วัน มีการแต่งตั้งข้าราชการผู้ใหญ่เป็นประธาน ในพิธี เรียกว่า พระยายืนชิงช้า ส่วนการโล้ชิงช้าจะกระทํากัน ตั้งแต่วันขึ้น ๗ ค่ําเดือนยี่ ถึงวันขึ้น ๔ ค่ํา ชาวบ้านมักเรียก กันว่า“๗ ค่ําถีบเช้า ๕ ค่ําถีบเย็น” พิธีนี้มีติดต่อกันมาจน ถึงรัชกาลที่ ๗ พ.ศ. ๒๔๗๘ ก็ยกเลิกไป และได้ฟื้นฟูอีก ครั้งเนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ในรัชกาลปัจจุบัน เดือนสาม...พิธีธานยเทาะห์
พิธีธานยเทาะห์ หมายถึงพิธีเผาข้าว มีพระจันทกุมาร เป็นผู้ฉลองพระองค์ออกไปทําพิธี โดยตั้งโรงพิธีที่ทุ่งนา เรียก ทุ่งหันตราซึ่งเป็นทุ่งนาหลวง มีกระบวนแห่เหมือนพิธีแรกนา แล้วเอารวงข้าวมาทําเป็นฉัตรปักไว้หน้าโรงพิธี จากนั้นนําไฟ จุดรวงข้าว มีการสมมติคนให้เป็นพระอินทร์ฝ่ายหนึ่งและ พระพรหมฝ่ายหนึ่งเข้าแย่งรวงข้าวกัน ข้างใดแย่งได้มีคํา ทํานายซึ่งล้วนแต่เป็นคําทํานายในทางที่ดีทั้งสิ้น ทั้งนี้เพื่อ เป็นการสร้างขวัญและกําลังใจให้กับผู้คน และพิธีนี้ยังสัมพันธ์ เกี่ยวเนื่องกับพิธีจรดพระนังคัลเพื่อให้เป็นการสวัสดิมงคลแก่ ธัญญาหารซึ่งเป็นเสบียงสําหรับพระนคร | ในเดือนสามนี้ยังมี “การพระราชกุศลเลี้ยงพระตรุษจีน”
ตรงกับเดือนยี่บ้าง เดือนสามบ้างขึ้นอยู่กับปฏิทินจีน การนี้ เริ่มขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยทรง เห็นว่าสิ่งของที่คนจีนนํามาถวายมีมาก ทั้งสุกร เป็ด ไก่ จึง โปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์และท้าวนางในจัดเรือขนมจีนมา จอดที่หน้าตําหนักแพ เพื่อถวายพระสงฆ์ฉันแล้วจึงได้เลี้ยง ข้าราชการต่อ เพื่อให้เป็นไปในการพระราชกุศล ในสมัยพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เปลี่ยนจากเรือขนมจีนเป็น เกาเหลา ด้วยทรงพระราชดําริว่าขนมจีนสักแต่ว่าชื่อเป็นจีนเท่า นั้น แต่ก็ได้เปลี่ยนเป็นเรือขนมจีนอย่างเดิมในสมัยรัชกาลที่ ๕
(จำนวนผู้เข้าชม 33345 ครั้ง)