สถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา ในเมืองโบราณอู่ทอง
สถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา ในเมืองโบราณอู่ทอง
เมืองโบราณอู่ทองเป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 - 16 (ประมาณ 1,000 – 1,400 ปีมาแล้ว) ความเจริญรุ่งเรืองในอดีตของเมืองโบราณแห่งนี้ มีผลจากการผสมผสานวัฒนธรรมท้องถิ่นเข้ากับการรับวัฒนธรรมจากประเทศอินเดีย ก่อให้เกิดรูปแบบทางวัฒนธรรมที่เรียกว่า “ทวารวดี”
ต่อมาช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 - 18 ในบริเวณพื้นที่ภาคกลางจนถึงภาคตะวันตกจะปรากฏหลักฐานอิทธิพลวัฒนธรรมเขมรกระจายทั่วไป แต่กลับพบหลักฐานเกี่ยวกับวัฒนธรรมเขมรในเมืองโบราณอู่ทองไม่มากนัก จึงเป็นไปได้ว่าเมืองอู่ทองในขณะนั้นมีประชากรเบาบางลง ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดถึงสาเหตุที่ชาวเมืองอพยพออกจากเมืองอู่ทอง ในช่วงเวลาดังกล่าว
จนกระทั่งในสมัยอยุธยา มีการพบหลักฐานการอยู่อาศัยเป็นชุมชนในเมืองโบราณอู่ทองอีกครั้ง ราวพุทธศตวรรษที่ 19 – 21 มีการค้นพบพบทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุกระจายอยู่ทั่วบริเวณ ทั้งนี้หลักฐานสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา ที่ยังหลงเหลืออยู่ มีดังนี้
1. เจดีย์บนยอดเขาดีสลัก
2. เจดีย์บนยอดเขาพระ
3. เจดีย์และอุโบสถบนยอดเขาทำเทียม
4. โบราณสถานหมายเลข 1 เมืองอู่ทอง (วัดปราสาทร้าง)
โปรดติดตามตอนต่อไป
ดาวน์โหลดไฟล์: สถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา ในเมืองโบราณอู่ทอง.pdf
ตัวอย่างไฟล์แนบ PDF:
(จำนวนผู้เข้าชม 4401 ครั้ง)