ประวัติและบทบาทหน้าที่
ประวัติความเป็นมา
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานะภาพ ได้เสด็จสำรวจเมืองโบราณอู่ทอง ในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ราชบัณฑิตยสภาเริ่มทำการสำรวจและทำแผนผังเมืองโบราณอู่ทอง และพบว่าเมืองโบราณอู่ทองเป็นเมืองโบารณสำคัญที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีแห่งหนึ่ง
และในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ กรมศิลปากรได้จัดสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ซึ่ง ณ ขณะนั้นเป็นเพียงอาคารชั่วคราว เพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุที่ได้จากการสำรวจและขุดค้นพบภายในพื้นที่เมืองโบราณอู่ทอง
พ.ศ. ๒๕๐๔ กรมศิลปากรทำการสำรวจ ขุดแต่งโบราณสถานที่กระจายอยู่ในเมืองโบราณอู่ทองเพิ่มเติม ซึ่งพบโบราณวัตถุสมัยทวารวดีจำนวนมาก
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ - ๒๕๐๙ ศาสตราจารย์ช็อง บวสเซลีเยร์ (M.Jean Boisselier) ผู้เชียวชาญด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ชาวฝรั่งเศส และหัวหน้าหน่วยศิลปากรในขณะนั้น ได้ทำการสำรวจ ขุด แต่งโบราณสถานต่างๆ ภายในเมืองโบราณอู่ทอง รวมถึงศึกษาค้นคว้าทางโบราณคดีเกี่ยวกับเมืองโบราณอู่ทอง
ในช่วงเวลาเดียวกันในปี พ.ศ.๒๕๐๘ - ๒๕๐๙ กรมศิลปากรได้จัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ขึ้นเป็นอาคารถาวร เพื่อเก็บรักษาและจัดแสดงโบราณวัตถุที่ได้จากการขุนค้นทางโบราณคดี
และเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ เจ้าหน้าที่ในส่วนงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประชาชน ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง เมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๙
หน้าที่ความรับผิดชอบ
1. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย โบราณวัตถุในความดูแล สำรวจ รวบรวม โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ จากการขุดค้นทางโบราณคดีและในพื้นที่ความรับผิดชอบ
2. ปกป้องคุ้มครอง อนุรักษ์ ดูแลสงวนรักษา โบราณวัตถ ศิลปวัตถุในความครอบครองให้ได้มาตรฐานตามหลักวิชาการอนุรักษ์
3. ควบคุมและจัดทำทะเบียน วางระบบการจัดเก็บข้อมูลโบราณวัตถุในความครองครอง เพื่อรักษาความปลอดภัยและพัฒนาระบบฐานข้อมูล ระบบสารสนเทศ เพื่อการสืบค้นและการบริการที่รวดเร็วทันสมัย
4. เผยแพร่องค์ความรู้และงานวิชาการ ซึ่งค้นพบและได้จากการศึกษาใหม่ๆ
5. ส่งเสริม เผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้าโบราณศิลปวัตถุในรูปแบบนิทรรศการถาวร งานสัมมนาวิชาการ และผลิตสื่อเอกสารทางวิชาการ เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี ตามหน้าที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต
ภารกิจของหน่วยงานที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพมาตรฐานในการธำรงรักษาจารีตประเพณี การอนุรักษ์บำรุงรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างสรรค์ ต่อยอด เพิ่มคุณค่า
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ถ่ายทอด เผยแพร่องค์ความรู้สู่ประชาชน
(จำนวนผู้เข้าชม 602 ครั้ง)