ที่ตั้ง วัดโพธิ์ศรีใน ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
พิกัดแผนที่ แผนที่ระวาง 5643 IV มาตราส่วน 1: 50,000
พิมพ์ครั้งที่ 1 -RTSD ลำดับชุด L 7017
พิกัดกริด 48 QTE 138252
เส้นรุ้ง ๑๗ องศา ๒๔ ลิปดา ๓๓ ฟิลิปดา เหนือ
เส้นแวง ๑๐๓ องศา ๑๔ ลิปดา ๔๓ ฟิลิปดา ตะวันออก
สิ่งสำคัญที่ขึ้นทะเบียน
๑.หลุมขุดค้นทางโบราณคดี
ประวัติสังเขป
กองโบราณคดีดำเนินการขุดค้นครั้งแรก ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี ฯ ได้เสด็จทอดพระเนตรการดำเนินงานหลุมขุดค้นแห่งนี้ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๐–๒๕๓๑ ได้สร้างอาคารคลุมหลุมขุดค้นจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑสถานกลางแจ้ง ( SITE MUSEUM ) ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้ดำเนินการขุดค้นปรับแต่งหลุมขุดค้นอีกครั้งหนึ่งและในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ดำเนินการซ่อมแซมอาคาร ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ภายนอกอาคาร ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง
ลักษณะรูปแบบศิลปกรรม
หลุมขุดค้นทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่จัดแสดงในลักษณะพิพิธภัณฑสถานกลางแจ้ง แสดงถึงพิธีกรรมการฝังศพรวมทั้งโบราณวัตถุต่างๆ ที่พบร่วมกับโครงกระดูก
อายุสมัย สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ประมาณ ๕,๖๐๐-๑,๘๐๐ ปีมาแล้ว
ประเภทโบราณสถาน
แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์
ลักษณะการใช้งานในปัจจุบัน
จัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑสถานกลางแจ้ง
การดำเนินงาน
๑.ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ดำเนินการขุดค้น เพื่อศึกษาข้อมูลหลักฐาน
๒.ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ -๒๕๓๑ สร้างอาคารคลุมหลุมขุดค้น
๓.ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ขุดค้นปรับแต่งหลุมขุดค้น
๔.ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ซ่อมแซมอาคาร ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ภายนอกอาคาร
การขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕ ตอนพิเศษ ๔ ง. วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๔๑ พื้นที่ประมาณ ๒ ไร่ ๒ งาน ๑ ตารางวา
ที่มาของข้อมูล
ราชกิจจานุเบกษาเล่ม๑๑๕ ตอนพิเศษ ๔ ง. หน้า ๑ วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๔๑.
หมายเหตุ ในปี พ.ศ.๒๕๔๕ จะดำเนินการซ่อมแซมปรับแต่งหลุมขุดค้นและอนุรักษ์โบราณวัตถุที่จัดแสดง
(จำนวนผู้เข้าชม 1922 ครั้ง)