โบราณสถานเจดีย์ (ร้าง) ข้างตลาด
โบราณสถานเจดีย์ (ร้าง) ข้างตลาด
โบราณสถานเจดีย์ (ร้าง) ข้างตลาด ตั้งอยู่ที่บ้านเวียงคุก ตำบลเวียงคุก อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ไม่ปรากฏประวัติหรือตำนานการก่อสร้างแต่อย่างใด โบราณสถานเจดีย์ (ร้าง) ข้างตลาด เป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอดเจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปกรรมล้านนา ก่อด้วยอิฐ ประกอบด้วย ชั้นฐานเขียงซ้อนลดหลั่นกันในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ถัดขึ้นมาเป็นชั้นเรือนธาตุอยู่ในผังย่อมุมไม้ยี่สิบ และองค์ระฆังในผังแปดเหลี่ยม เหนือบัลลังก์ขึ้นไปเป็นส่วนยอดของเจดีย์ ที่มีลักษณะเป็นยอดกรวยแหลมคั่นด้วยลูกแก้วทรงกลมรี ส่วนปลียอดหักหาย กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓ - ๒๔ ในสมัยวัฒนธรรมล้านช้าง
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗ สำนักศิลปากรที่ ๙ ขอนแก่น ได้ขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานเจดีย์ (ร้าง) ข้างตลาด พบร่องรอยการฉาบปูนที่ส่วนเรือนธาตุ ๒ ครั้ง ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจจะมีการบูรณปฏิสังขรณ์มาแล้วอย่างน้อย ๑ ครั้ง กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน และกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘ ตอนพิเศษ ๒๙ ง วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๔๔ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๘๕.๕ ตารางวา
The Stupa Near the Market,
Ban Wiang Khuk
The stupa is located at Ban Wiang Khuk Klang, Wiang Khuk Sub-district, Mueang Nong Khai District, Nong Khai Province. None of it past or history is existed. This structure was built as castle-shaped in Lanna style, using brick materials. It is supported by plain bases which narrow down its size at each higher floor. The indented-corner body was topped with an octagon-shaped relic chamber. The top part start from Banlang pedestal which carried a cone shaped pillar. The tip part is missing, only an orb was left on the cone. The stupa can be dated back to 18th - 19th century CE, in the period of Lan Xang Kingdom.
The excavation was managed by the 8th Regional Office of The Fine Arts Department, Khon Kaen in 2004. Traces of newer painting at the body suggested that this stupa has been restored in the past before at least once. The stupa has been registered and published in the Government Gazette, Volume 118, Special Edition 29, on March 26, 2001. The area of ancient monument is 342 square meters.
(จำนวนผู้เข้าชม 29 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน