ทับหลังปราสาทเขาโล้น จังหวัดสระแก้ว
#พิพิธภัณฑ์สรรหาสาระ : บทความออนไลน์จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี
“ทับหลังปราสาทเขาโล้น จังหวัดสระแก้ว”
จากการที่ประเทศไทยได้รับทับหลังปราสาทหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ และทับหลังปราสาทเขาโล้น จังหวัดสระแก้ว จากสหรัฐอเมริกากลับคืนสู่มาตุภูมิ เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ที่ผ่านมา นั้น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ขอนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับทับหลังปราสาทเขาโล้น จังหวัดสระแก้ว
จากหนังสือ “ศิลปะสมัยลพบุรี” โดยศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล ที่ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๐ และภาพถ่ายเก่า เมื่อราวพุทธศักราช ๒๕๐๓ ปรากฏภาพถ่ายของทับหลังปราสาทเขาโล้นที่ยังคงประดับอยู่เหนือซุ้มประตูด้านตะวันออกของปราสาทเขาโล้น แสดงถึงตำแหน่งที่ตั้งเดิมของทับหลังก่อนที่จะถูกนำยังมาสหรัฐอเมริกา ซึ่งภาพถ่ายนี้ได้ถูกนำมาใช้เป็นหลักฐานสำคัญในการทวงคืนทับหลังชิ้นนี้กลับสู่ประเทศไทย
ทับหลังปราสาทเขาโล้น แกะสลักจากหินทรายปรากฏเป็นรูปบุคคลประทับอยู่เหนือเกียรติมุข (หน้ากาล) อยู่กึ่งของภาพจำหลัก อนุมานได้ว่าบุคคลในภาพเป็นเทวดาประทับอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้วในท่านั่งชันเข่าขวาขึ้น ขาซ้ายพับ พระหัตถ์ขวาทรงถือกระบอง เกียรติมุข (หน้ากาล) อ้าปากแลบลิ้นออกมา พร้อมเดียวกันก็ได้คายท่อนพวงมาลัยโดยมีมือประคองท่อนพวงมาลัยที่แยกออกมาไว้ทั้งสองด้าน ปลายท่อนพวงมาลัยเป็นลายใบไม้ม้วนโค้งสลับกัน
จากสภาพที่ปรากฏในปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบกับภาพถ่ายเก่าที่บันทึกไว้นั้น เป็นที่น่าเสียดายว่ารูปเทวดานั่งชันเข่าที่มีอยู่เดิมได้ถูกกะเทาะหักหายไปบางส่วน อีกทั้งทับหลังได้ถูกตัดให้บางลง อาจเพื่อสะดวกแก่การขนย้าย
ศาสนสถานในวัฒนธรรมเขมร มักพบภาพจำหลักเป็นรูปเทวดา หรือเทพองค์ต่าง ๆ ประทับเหนือเกียรติมุข หรือ หน้ากาล อมนุษย์ผู้เป็นบริวารของพระศิวะ มีใบหน้ารูปยักษ์ปนสิงห์ นัยน์ตาโปน อ้าปากแยกเขี้ยว ดูถมึงทึง ไม่มีริมฝีปากล่าง และลำตัว มีเพียงแขนสองข้างที่ยื่นออกมากจากศีรษะ ภาพจำหลักดังกล่าวนิยมประดับอยู่เหนือกรอบซุ้มประตู มีความหมายถึงผู้พิทักษ์ดูแลปกป้องศาสนสถานจากสิ่งชั่วร้ายต่างๆ และอาจมีความหมายถึงดินแดนหิมพานต์เชิงเขาพระสุเมรุอันเป็นศูนย์กลางของภูมิจักรวาลอีกด้วย
จากรูปแบบศิลปกรรมที่ปรากฏบนทับหลังจำหลักภาพเทวดาประทับเหนือหน้ากาล ปราสาทเขาโล้น นั้น จัดเป็นทับหลังศิลปะเขมรในประเทศไทยแบบบาปวนตอนต้น กำหนออายุได้ในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ทับหลังจำหลักภาพลักษณะนี้ยังพบได้จากโบราณสถานหลายแห่ง ดังเช่นที่ปราสาทเมืองต่ำ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังสามารถศึกษาเรื่องราวเพิ่มเติม"โบราณวัตถุสำคัญที่พบจากปราสาทเขาโล้น" ได้ที่
https://www.facebook.com/491291280909622/posts/4203555809683132/
“ทับหลังปราสาทเขาโล้น จังหวัดสระแก้ว”
จากการที่ประเทศไทยได้รับทับหลังปราสาทหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ และทับหลังปราสาทเขาโล้น จังหวัดสระแก้ว จากสหรัฐอเมริกากลับคืนสู่มาตุภูมิ เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ที่ผ่านมา นั้น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ขอนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับทับหลังปราสาทเขาโล้น จังหวัดสระแก้ว
จากหนังสือ “ศิลปะสมัยลพบุรี” โดยศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล ที่ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๐ และภาพถ่ายเก่า เมื่อราวพุทธศักราช ๒๕๐๓ ปรากฏภาพถ่ายของทับหลังปราสาทเขาโล้นที่ยังคงประดับอยู่เหนือซุ้มประตูด้านตะวันออกของปราสาทเขาโล้น แสดงถึงตำแหน่งที่ตั้งเดิมของทับหลังก่อนที่จะถูกนำยังมาสหรัฐอเมริกา ซึ่งภาพถ่ายนี้ได้ถูกนำมาใช้เป็นหลักฐานสำคัญในการทวงคืนทับหลังชิ้นนี้กลับสู่ประเทศไทย
ทับหลังปราสาทเขาโล้น แกะสลักจากหินทรายปรากฏเป็นรูปบุคคลประทับอยู่เหนือเกียรติมุข (หน้ากาล) อยู่กึ่งของภาพจำหลัก อนุมานได้ว่าบุคคลในภาพเป็นเทวดาประทับอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้วในท่านั่งชันเข่าขวาขึ้น ขาซ้ายพับ พระหัตถ์ขวาทรงถือกระบอง เกียรติมุข (หน้ากาล) อ้าปากแลบลิ้นออกมา พร้อมเดียวกันก็ได้คายท่อนพวงมาลัยโดยมีมือประคองท่อนพวงมาลัยที่แยกออกมาไว้ทั้งสองด้าน ปลายท่อนพวงมาลัยเป็นลายใบไม้ม้วนโค้งสลับกัน
จากสภาพที่ปรากฏในปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบกับภาพถ่ายเก่าที่บันทึกไว้นั้น เป็นที่น่าเสียดายว่ารูปเทวดานั่งชันเข่าที่มีอยู่เดิมได้ถูกกะเทาะหักหายไปบางส่วน อีกทั้งทับหลังได้ถูกตัดให้บางลง อาจเพื่อสะดวกแก่การขนย้าย
ศาสนสถานในวัฒนธรรมเขมร มักพบภาพจำหลักเป็นรูปเทวดา หรือเทพองค์ต่าง ๆ ประทับเหนือเกียรติมุข หรือ หน้ากาล อมนุษย์ผู้เป็นบริวารของพระศิวะ มีใบหน้ารูปยักษ์ปนสิงห์ นัยน์ตาโปน อ้าปากแยกเขี้ยว ดูถมึงทึง ไม่มีริมฝีปากล่าง และลำตัว มีเพียงแขนสองข้างที่ยื่นออกมากจากศีรษะ ภาพจำหลักดังกล่าวนิยมประดับอยู่เหนือกรอบซุ้มประตู มีความหมายถึงผู้พิทักษ์ดูแลปกป้องศาสนสถานจากสิ่งชั่วร้ายต่างๆ และอาจมีความหมายถึงดินแดนหิมพานต์เชิงเขาพระสุเมรุอันเป็นศูนย์กลางของภูมิจักรวาลอีกด้วย
จากรูปแบบศิลปกรรมที่ปรากฏบนทับหลังจำหลักภาพเทวดาประทับเหนือหน้ากาล ปราสาทเขาโล้น นั้น จัดเป็นทับหลังศิลปะเขมรในประเทศไทยแบบบาปวนตอนต้น กำหนออายุได้ในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ทับหลังจำหลักภาพลักษณะนี้ยังพบได้จากโบราณสถานหลายแห่ง ดังเช่นที่ปราสาทเมืองต่ำ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังสามารถศึกษาเรื่องราวเพิ่มเติม"โบราณวัตถุสำคัญที่พบจากปราสาทเขาโล้น" ได้ที่
https://www.facebook.com/491291280909622/posts/4203555809683132/
เอกสารอ้างอิง :
- ศิลปากร, กรม. ปราสาทเมืองต่ำ [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://virtualhistoricalpark.finearts.go.th [๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๔]
- สิขรินทร์ ศรีสุวิทธานนท์. “ปราสาทเขาโล้น อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว” ใน ศิลปากร, ปีที่ ๖๓, ฉบับที่ ๓ (พฤษภาคม-มิถุนายน ๒๕๖๓): หน้า ๖๔-๘๕.
- สุภัทรดิศ ดิศกุล, ม.จ.. ศิลปะสมัยลพบุรี. กรุงเทพฯ, ๒๕๑๐.
- อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. ทิพยนิยายจากปราสาทหิน. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ. ๒๕๖๒.
- Asia Art Museum. Asian Art Museum Online Collection[online]. Available from: http://searchcollection.aisart.org [2021,June 16]
- สิขรินทร์ ศรีสุวิทธานนท์. “ปราสาทเขาโล้น อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว” ใน ศิลปากร, ปีที่ ๖๓, ฉบับที่ ๓ (พฤษภาคม-มิถุนายน ๒๕๖๓): หน้า ๖๔-๘๕.
- สุภัทรดิศ ดิศกุล, ม.จ.. ศิลปะสมัยลพบุรี. กรุงเทพฯ, ๒๕๑๐.
- อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. ทิพยนิยายจากปราสาทหิน. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ. ๒๕๖๒.
- Asia Art Museum. Asian Art Museum Online Collection[online]. Available from: http://searchcollection.aisart.org [2021,June 16]
ผู้เรียบเรียง : นางสาววัชรี ชมภู ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี
(จำนวนผู้เข้าชม 1241 ครั้ง)