ประวัติและบทบาทหน้าที่
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ตั้งอยู่ ถนนปราจีนอนุสรณ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติระดับภาคในความดูแลของกรมศิลปากร จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ที่จัดแสดง เผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และประวัติศาสตร์ศิลปะ ตลอดจนโบราณวัตถุที่ค้นพบในภูมิภาคตะวันออก ประกอบด้วยพื้นที่ในเขตจังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด รวมถึงจังหวัดนครนายก ซึ่งมีอายุสมัยที่เก่าแก่ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงพุทธศตวรรษที่ 18 |
ตั้งแต่ พ.ศ.2508 กองโบราณคดี กรมศิลปากร ได้เริ่มการสำรวจขุดแต่งโบราณสถาน ในจังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดใกล้เคียง พบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่สำคัญเป็นจำนวนมาก มีอายุก่อนสมัยทวารวดีจนถึงสมัยลพบุรี ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ และโบราณคดี กรมศิลปากรจึงได้ดำริจัดสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในภาคตะวันออกขึ้นที่จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อเป็นที่รวบรวมและจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุต่างๆ ที่ได้ค้นพบ ในภูมิภาคนี้ |
ในปี พ.ศ. 2515 น.อ. สมภพ ภิรมย์ ร.น. อธิบดีกรมศิลปากรในสมัยนั้น ได้หารือกับจังหวัดปราจีนบุรีในการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติส่วนภูมิภาคตะวันออกที่จังหวัดปราจีนบุรี ทางจังหวัดได้เสนอแนะให้จัดสร้างในที่ดินราชพัสดุติดกับศาลจังหวัดปราจีนบุรีทางทิศเหนือ และได้รับความร่วมมือจากกรมอาชีวศึกษาได้แบ่งที่ดินบริเวณดังกล่าวเพิ่มเติม มีเนื้อที่ประมาณ 11 ไร่เศษ กรมศิลปากรจึงได้ดำเนินโครงการก่อสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรีขึ้น มีการดำเนินงานตามโครงการออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ |
ระยะที่ 1 ระหว่าง พ.ศ. 2518 - 2520 ทำการถมดินและก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 2 ชั้น ขนาดกว้าง 18 x 18 เมตร งบประมาณ 2,000,000 บาท |
ระยะที่ 2 ระหว่าง พ.ศ. 2522 - 2525 สร้างอาคารบ้านพักข้าราชการ บ้านพักเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ติดตั้งระบบสาธารณูปโภค ครุภัณฑ์สำหรับการจัดแสดง งบประมาณ 1,543,068 บาท |
ระยะที่ 3 ระหว่าง พ.ศ. 2526 - 2528 ก่อสร้างอาคารเพิ่มเติม มีห้องบรรยายและห้องอเนกประสงค์ ปรับปรุงบริเวณลานจอดรถ งบประมาณ 4,223,500 บาท |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2528 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในการประกอบพิธีเปิดอาคารพิพิธภัณฑ์ นายเมธี คันธโร สถาปนิก7 กองสถาปัตยกรรมเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี นางอัจฉรา สุยะพันธุ์ มัณฑนากร4 กองสถาปัตยกรรมออกแบบครุภัณฑ์ นายเสรี นิลประพันธุ์ นายช่างศิลปกรรม6 และนางบุษกร ลิมจิตติ มัณฑนากร4 กองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ออกแบบการจัดแสดงร่วมกับงานช่างทั่วไป นางสมลักษณ์ เจริญพจน์ นางวิสันธนี โพธิสุนทร ภัณฑารักษ์งานวิชาการดำเนินการจัดแสดงและจัดทำคำบรรยาย นางเพ็ญพรรษ์ ดำรงศิริและนางวิสันธนี โพธิสุนทร จัดทำหนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ฉบับปฐมฤกษ์ |
ต่อมาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ได้รับงบประมาณซ่อมแซมปรับปรุงอาคารและบริเวณ ตามรายการดังนี้ |
1. ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 6 เมตร ยาว 216 เมตร เป็นเงิน 766,590.34 บาท |
2. ซ่อมปรับปรุงอาคารพิพิธภัณฑ์และก่อสร้างหอถังน้ำ โดยมีรายละเอียดซ่อมและทาสีฝ้าเพดาน ขนย้ายถังน้ำ รื้อหลังคาไม้เดิม ติดตั้งโครงหลังคาเหล็ก ก่อสร้างถังน้ำ หอถังน้ำ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ งบประมาณ 1,320,360.78 บาท |
3. ซ่อมปรับปรุงอาคารพิพิธภัณฑ์และก่อสร้างถนนคอนกรีต โดยมีรายละเอียดดังนี้ ก่อสร้างต่อเติมหลังคาคลุมอาคารห้องประชุม (ชั้นเดียว) ติดตั้งรางน้ำฝน ท่อระบายน้ำ ก่อสร้างถนนคอนกรีตและลานจอดรถ คอนกรีตเสริมเหล็ก เดินสายไฟฟ้า ติดตั้งสวิทซ์ ปลั๊ก แผงควบคุมไฟฟ้า และโคมไฟ ทาสีอาคารพร้อมติดตั้งเครื่องปรับอากาศจำนวน 15 เครื่อง เป็นเงินทั้งสิ้น 3,046,600.- บาท |
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2540 ได้รับงบประมาณซ่อมปรับปรุงอาคาร ซ่อมฝ้าเพดาน ประตู ทำหลังคาด้านหน้าห้องประชุม เปลี่ยนกระจก ปรับปรุงห้องน้ำรับรอง ติดตั้งถังน้ำบำบัดน้ำเสีย ทาสีอาคาร ปรับพื้นป้อมยาม เป็นเงิน 489,616.- บาท |
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 ได้รับงบประมาณปรับปรุงอาคาร การจัดแสดงและสภาพภูมิทัศน์ดังนี้ ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ ลานที่จอดรถ ซ่อมพื้นอาคาร ซ่อมและจัดทำตู้จัดแสดงเพิ่ม งานระบบภาพและเสียง (มัลติมีเดีย) เป็นเงิน 1,467,000.- บาท |
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 – 2561 กรมศิลปากรได้จัดสรรงบประมาณเพื่อการปรับปรุงการจัดแสดงนิทรรศการถาวรภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ซึ่งยังคงการจัดแสดงและเผยแพร่ศิลปะ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีในภาคตะวันออก เป็นสำคัญ โดยเน้นการจัดแสดงโบราณวัตถุชิ้นสำคัญให้เด่นเป็นสง่า ภายใต้การควบคุมบรรยากาศ และระบบไฟส่องสว่างที่ดูทันสมัยตามมาตรฐานสากล ประกอบสื่อการจัดแสดงต่าง ๆ เช่น สื่อวีดีทัศน์ และสื่อ Interactive และที่สำคัญ คือ การเคลื่อนย้ายพระคเณศอันมีถิ่นพบจากเมืองมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี กลับมาจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี สอดรับกับวัตถุประสงค์การเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่รวบรวมและจัดแสดงมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่พบจากภูมิภาคตะวันออกอย่างสมบูรณ์ นิทรรศการถาวร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ประกอบด้วยส่วนจัดแสดง 5 ส่วน ดังนี้ 1. ห้องประวัติศาสตร์ โบราณคดีภาคตะวันออก
|
(จำนวนผู้เข้าชม 703 ครั้ง)