...

รายงานการเดินทางไปราชการ ณ สาธารณรัฐอินเดีย สัมมนามรดกทางโบราณคดีของเอเชียใต้(Archaeological Heritage of South Asia) วันที่ 14-22 พฤศจิกายน พ.ศ.2560

รายงานการเดินทางไปราชการ ณ สาธารณรัฐอินเดีย

 

1.ชื่อโครงการ/กิจกรรม  

          สัมมนามรดกทางโบราณคดีของเอเชียใต้(Archaeological Heritage of South Asia)

2.กำหนดเวลา

วันที่ 14-22 พฤศจิกายน พ.ศ.2560

3.สถานที่

แคว้นอัสสัม สาธารณรัฐอินเดีย

4.หน่วยงานผู้จัด

คณะกรรมการโบราณคดีแห่งแคว้นอัสสัม(Directorate of Archaeology,ASSAM/Government of ASSAM)

5.หน่วยงานสนับสนุน

รัฐบาลแห่งแคว้นอัสสัม

6.กิจกรรม

สัมมนาวิชาการด้านโบราณคดีและการจัดการมรดกทางโบราณคดีโดยจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัย Guahati และมหาวิทยาลัย Manipur เป็นการนำเสนองานวิชาการมนห้องสัมมนาและศึกษาแหล่งโบราณคดีและแหล่งชุมชนเผ่าไท

7.คณะผู้แทนไทย

7.1 นายชินณวุฒิ วิลยาลัย                   นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ

                                                สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่

7.2 นายลักษมณ์ บุญเรือง                    ภัณฑารักษ์ชำนาญการ

                                                พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินทร์บุรี

8.สรุปสาระของกิจกรรม

8.1 นำเสนอบทความวิชาการ ณ มหาวิทยาลัย Guahati

นักวิชาการจากสาธารณรัฐอินเดีย บังคลาเทศและไทย จำนวน ๓๐ ท่าน นำเสนอบทความด้านโบราณคดีทั้งสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะผลการศึกษาโบราณคดีในพื้นที่แคว้นอัสสัม โดยคณะผู้แทนของกรมศิลปากร นำเสนอ ดังนี้

            8.1.1 นายชินณวุฒิ วิลยาลัย นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ  สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ นำเสนอบทความ เรื่อง Rock Arts in Lampang province, Thailand : Pratupha archaeological site.

            8.1.2 นายลักษมณ์ บุญเรือง ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินทร์บุรี นำเสนอบทความ เรื่อง Beliefs of NAGA and Roles of Tai societies in the upper Mekong subregion.

          8.2 ทัศนศึกษาพิพิธภัณฑ์แห่งแคว้นอัสสัมและแหล่งโบราณคดี Madam Kemdev

          8.3 นำเสนอข้อมูล ณ มหาวิทยาลัย Manipur โดยการถาม-ตอบ ข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย ประวัติศาสตร์และโบราณคดีในชั้นเรียนระดับปริญญาโท

9.ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม

9.1 คณะผู้จัดงานแจ้งว่ามีความตั้งใจจะจัดงานลักษณะนี้ขึ้นอีกในปีต่อๆไป กรมศิลปากรควรจัดส่งนักวิชาการเข้าร่วมเนื่องจากข้อมูลทางโบราณคดี-มานุษยวิทยาและประวัติศาสตร์ของพื้นที่แคว้นอัสสัมต่อเนื่องมาถึงตอนเหนือของประเทศไทยนั้นมีความเชื่อมโยงกันอย่างชัดเจนและเป็นที่สนใจของนักวิชาการในสาธารณรับอินเดียอย่างมาก

9.2  มีโอกาสที่จะสร้างเครือข่ายการศึกษาหรือวิจัยข้ามภูมิภาคอินเดีย-พม่า-ไทย-ลาว-จีน อย่างมากโดยเฉพาะในช่วงเวลา 2,000-500 ปีที่ผ่านมา

 

 

................................................ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ

                                                       (นายชินณวุฒิ วิลยาลัย)

 

 

................................................ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ

                                                       (นายลักษมณ์ บุญเรือง)

 

(จำนวนผู้เข้าชม 1066 ครั้ง)