...

รายงานการประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยหนังสือใบลานในประเทศสมาชิกอาเซียน (Workshop on the Manuscripts Palm Leaf in ASEAN Countries) ระหว่างวันที่ ๑๕-๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๘ ณ โรงแรม Vientiane Plaza เมืองเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

รายงานการประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยหนังสือใบลานในประเทศสมาชิกอาเซียน

(Workshop on the Manuscripts Palm Leaf in ASEAN Countries)

ระหว่างวันที่ ๑๕-๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๘

ณ โรงแรม Vientiane Plaza เมืองเวียงจันทน์

 ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

 

--------------------------------------

 

๑.  ผู้เข้าร่วมประชุม

          ชื่อ / นามสกุล             นางสุภาณี  สุขอาบใจ                                                

          ตำแหน่งปัจจุบัน           บรรณารักษ์ ระดับชำนาญการพิเศษ                       

          หน่วยงาน                  กลุ่มพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ

 

ชื่อ / นามสกุล             นายจุง  ดิบประโคน                                                  

          ตำแหน่งปัจจุบัน           นักภาษาโบราณ ระดับชำนาญการพิเศษ                  

          หน้าที่ความรับผิดชอบ     กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ

 

๒.  หัวข้อการประชุม

          Workshop on the Manuscripts Palm Leaf in ASEAN Countries”

 

๓.  วัตถุประสงค์การประชุม

          ๓.๑  เพื่อแลกเปลี่ยน แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ของบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์ต้นฉบับหนังสือใบลานของประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน

          ๓.๒  เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความรู้ของบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางเทคนิคด้านการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน

 

๔. ประโยชน์ที่ได้รับ

บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์หนังสือใบลาน ของประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนได้แลกเปลี่ยน แบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ ข้อคิดเห็น ปัญหาที่พบ ทำให้เกิดเครือข่ายในการพัฒนาการทำงานร่วมกัน

 

๕.  ระยะเวลา   

วันที่ ๑๔-๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๘

 

๖.  สถานที่ประชุม

โรงแรม Vientiane Plaza

Sailom Road, Hatsady Village

Vientiane Capital, Lao PDR

E-mail: dosm@vientianeplazalao.com

เมืองเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

 

๖.  หน่วยงานผู้จัด

          กระทรวงแถลงข่าววัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

 

๗.  หน่วยงานสนับสนุน

          ASEAN National Committee on Culture and Information (ASEAN National COCI)

 

๘.  จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม

          ตัวแทนจากประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน จำนวน ๒๐ คน จาก ๑๐ ประเทศ และตัวแทนจาก ASEAN Secretary จำนวน ๑ คน รวมทั้งสิ้น ๒๑ คน

 

๗.  กิจกรรม

วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๘

เวลา ๘.๓๐ น. -  พิธีเปิดการประชุม (Opening ceremony) โดย H.E. Mr. Boua Ngeun

 Xaphouvong รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแถลงข่าววัฒนธรรมและการ

 ท่องเที่ยว

                          -  ASEAN Anthem

                          -  กล่าวต้อนรับ (Welcoming  Speech) โดย Mr. Thongbay Phothisane รองปลัดกระทรวงแถลงข่าววัฒนธรรมและการท่องเที่ยว

-  ผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนพร้อมผู้บริหารกระทรวงแถลงข่าววัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว วิทยากร บรรณารักษ์หอสมุดแห่งชาติลาว ถ่ายภาพร่วมกัน

          เวลา ๑๐.๑๐ น. – ๑๑.๓๕ น. เริ่มการบรรยายในหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้

Mrs. Kongdeuane Nettavong ที่ปรึกษาสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศลาว บรรยายเรื่อง “Preservation of Lao Manuscripts Programme (PLMP) 1992-2002: The Lao-German Cooperation” ในปี ค.ศ. 1992-2002 มีการดำเนินการตาม โครงการความร่วมมือ ลาว-เยอรมัน โดยหลักการพื้นฐานของโครงการจะเป็นการเพิ่มวิธีการและขั้นตองที่จะดำเนินการอนุรักษ์ ประกอบด้วย

          ๑.  การทำความสะอาดโดยการปัดฝุ่น เช็ดด้วยแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ เปลี่ยนผ้าคลุมโดยใช้ผ้าฝ้ายสีขาวและเปลี่ยนสายผูกพันเพิ่ม

          ๒.  การสำรวจและบันทึกข้อมูลไว้ที่แหล่งจัดเก็บ

          ๓.  ให้ความรู้กับประชาชนในเรื่องเกี่ยวกับคัมภีร์ใบลาน ประวัติศาสตร์ ศาสนา และศิลปะโดยให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการทำงานด้านการอนุรักษ์

          ๔.  ดำเนินการไมโครฟิล์มเก่าของเอกสารโบราณและหนังสือหายากประมาณ ประมาณ   ๑๕-๒๐ เปอร์เซ็นต์ของไมโครฟิล์มทั้งหมดที่ต้องดำเนินการอนุรักษ์

          ๕.  ดำเนินการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบ และสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือของผู้นำท้องถิ่นโดยเชิญชวนผู้นำท้องถิ่นของแต่ละพื้นที่เข้าร่วมประชุม

          ๖.  การเผยแพร่ในรูปแบบงานเขียน ได้รับการสนับสนุนจากนักวิจัยรุ่นใหม่โดยการแปลผลงาน

ต่าง ๆ ได้แก่ คำสอนทางพุทธศาสนา วรรณกรรมเก่า บทกวี เป็นต้น

          ๗.  ดำเนินการโครงการสนับสนุนการศึกษาด้านพุทธศาสนาในหลักสูตรของสถาบันการศึกษาพระสงฆ์ 

ผู้อำนวยการโครงการห้องสมุดดิจิทัล หอสมุดแห่งชาติลาว (Mr. David Warton) บรรยายเรื่อง เอกสารโบราณดิจิทัลของหอสมุดแห่งชาติลาว โดยมีการดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิโตโยต้า มีการจัดประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพของเอกสารโบราณในจังหวัดต่าง ๆ ของประเทศลาว รูปแบบการประชุมมีการเชิญวิทยากรผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญของชุมขนต่าง ๆ มาบรรยายพร้อมเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดเก็บเอกสารโบราณ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้แก่ผู้เข้าประชุมประกอบด้วย ประชาชนในชุมชน พระสงฆ์ นักวิชาการ มีเป้าหมายเพื่ออนุรักษ์เอกสารโบราณที่ไม่ได้รับการดูแลรักษาให้ถูกต้อง โดยการจัดทำโครงการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานที่เป็นภาษาลาวในหกจังหวัดในภาคตะวันตกของประเทศลาว ซี่งโครงการนี้ใช้เวลาดำเนินการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๑-๒๕๔๗ สามารถดำเนินการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานในรูปแบบดิจิทัลแล้วเสร็จ รวมจำนวน 128,000 ผูก

          ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ หอสมุดแห่งชาติลาว ได้เริ่มดำเนินการโครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณโดยการแปลงสภาพเป็นแบบไมโครฟิล์ม จำนวน 1,000 รายการ และแบบดิจิทัล จำนวน ๑๒,๐๐๐ ผูก รวมทั้งภาพเอกสารโบราณด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม จำนวน ๕๐๐,๐๐๐ ภาพ และสามารถสืบค้นข้อมูลผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

ผู้ช่วยศาสตราจารย์วีณา วีสเพ็ญ ผู้อำนวยการโครงการเอกสารโบราณ ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะและวัฒนธรรม สถาบันวิจัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บรรยาย เรื่องการอนุรักษ์และสงวนรักษาคัมภีร์  ใบลานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยใบลานถูกนำมาใช้ทำเอกสารต้นฉบับตัวเขียนเพื่อบันทึกความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมากกว่าสมุดไทยและหิน (ศิลาจารึกในภาษาไทย) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ในอดีต พระภิกษุสงฆ์ใช้วิธีการเขียนใบลานเพื่อเป็นเครื่องมือในการศึกษาธรรมะในวัด ผู้นำในชุมชนใช้สำหรับการฝึกซ้อมพิธีต่าง ๆ ขณะที่แพทย์สมุนไพรใช้ใบลานเพื่อบันทึกความรู้ทางการแพทย์ นอกจากนี้ ผู้ชายควรศึกษาความรู้จากใบลานก่อนที่จะบวชเรียน การใช้ใบลานอย่างหลากหลายทำให้จำนวนของการถ่ายถอดอักษรบนใบลานในวัดเพื่อเผยแพร่ความรู้มีจำนวนมากขึ้น

          การอนุรักษ์และจัดเก็บใบลาน แต่ละวัดเป็นผู้จัดเก็บเอกสารต้นฉบับใบลานและพัฒนาประเภทของผ้าต่าง ๆ ที่ใช้ห่อใบลานเพื่อป้องกันฝุ่นและแมลง และมัดด้วยเชือกเพื่อจัดเก็บตามรูปแบบและเรื่องราวที่แตกต่างกัน จากนั้นเก็บเอกสารต้นฉบับใบลานเหล่านี้ในหีบและตู้หนังสือธรรมะด้วยวิธีการต่างๆของการเก็บรักษาการใบลานทำให้เกิดเป็นศิลปะของการอนุรักษ์ใบลานในแต่ละพื้นที่ซึ่งเป็นส่วนที่สวยงามจะเห็นว่าเอกสารต้นฉบับเหล่านี้สร้างขึ้นด้วยความศรัทธาของชาวพุทธอย่างแรงกล้าในพุทธศาสนา ด้วยเหตุนี้ ใบลานจึงใช้ในการศึกษาธรรมะ เพื่อทำความเข้าใจเอกสารต้นฉบับใบลาน ผู้ที่สนใจและผู้เรียนจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับธรรมะ ภาษาไทยน้อยและอักษรขอมเป็นภาษาที่ใช้ในการบันทึกความรู้และภูมิปัญญาของชนพื้นเมืองลงบนใบลาน

          ต่อมาระบบการศึกษาของไทยซึ่งกำหนดให้เนื้อหาเดียวกันทั่วประเทศตำราทั้งหมดจะต้องใช้ภาษาราชการและพิมพ์ด้วยภาษาภาคกลางของไทย ดังนั้น ดังนั้นความจำเป็นในศึกษาความรู้จากเอกสารต้นฉบับใบลานจึงมีความสำคัญน้อยลง ใบลานจึงถูกละเลยและเก็บไว้เป็นเอกสารที่มีคุณค่า อย่างไรก็ตาม ใบลานไม่ได้ถูกนำมาใช้บ่อยนักในอดีตที่ผ่านมานอกจากพระภิกษุสงฆ์ เอกสารต้นฉบับเหล่านี้กลายเป็นที่น่าสนใจอีกครั้งในกลุ่มคนรุ่นใหม่หลังจากที่การศึกษาเรื่องราวในท้องถิ่นถูกรวมเข้าไปในหลักสูตรของโรงเรียนและมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ

          การอนุรักษ์และสงวนรักษาเอกสารคัมภีร์ใบลาน ดำเนินการโดยหน่วยงานหลัก ๓ หน่วยงาน คือ

          . วัด

          วัดเป็นสถานที่แรกที่มีการสงวนรักษาเอกสารต้นฉบับตัวเขียนใบลานทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของเจ้าอาวาสแต่ละวัด การเก็บรักษาเอกสารโบราณจะแตกต่างกันไป อาจเก็บแบบดีที่สุด ปานกลาง หรือปล่อยปละละเลย เพื่อป้องกันการถูกทำลายจากแมลง ดังนั้นเอกสารโบราณทั้งหมดจะเก็บรักษาในหอพระไตรปิฎกนอกจากนี้วัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยที่ได้รับการพิจารณาว่ามีเอกสารโบราณที่มีการจัดเก็บเป็นอย่างดี ได้แก่ วัดมหาธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร, วัดมหาชัย จังหวัดมหาสารคาม และวัดไตรภูมินิมิต จังหวัดร้อยเอ็ด

          ๒.  สถาบันการศึกษาขั้นสูง

สถาบันการศึกษาหลายแห่งที่สนใจศึกษาเอกสารโบราณที่เกี่ยวกับชุมชนและขนบธรรมเนียมประเพณีพื้นบ้าน วัฒนธรรม และสาขาอื่นๆ รวมทั้งคัมภีร์ใบลาน ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕-๒๕๓๐ มีโครงการสำรวจและจัดเก็บคัมภีร์ใบลานในจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดใกล้เคียงโดยมีวิทยาลัยครูที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนั้นๆ รับผิดชอบทำการสำรวจ ผลการสำรวจทำให้สามารถจัดทำบัญชีคัมภีร์ใบลานได้ จำนวน 13 เล่ม ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับพุทธศาสนา พิธีทางศาสนาในท้องถิ่นนั้น

          . หอสมุดสมุดแห่งชาติ

          หอสมุดแห่งชาติ เป็นหน่วยงานภาครัฐมีการทำงานอย่างเป็นระบบในการอนุรักษ์และสงวนรักษาคัมภีร์ใบลานที่ได้รับจากสถานที่ต่าง ๆ ในประเทศ ปัจจุบันเริ่มมีการอนุรักษ์เอกสารโบราณในรูปแบบดิจิทัลบางรายการ ซึ่งเอกสารเหล่านี้มีการเผยแพร่ความรู้แก่นักวิชาการ พระภิกษุสงฆ์และผู้สนใจ อีกทั้งมีการอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ประชาชนในท้องถิ่นด้วย

บทบาทของมหาวิทยาลัยมหาสารคามในการสงวนรักษาคัมภีร์ใบลาน

          สังคมไทยในปัจจุบันตระหนักรู้ถึงคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นมากขึ้น มหาวิทยาลัยมหาสารคามเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า การศึกษาคัมภีร์ใบลานเป็นส่วนสำคัญของการรักษาวัฒนธรรมให้กับชุมชนและสังคม จึงได้จัดตั้งโครงการสงวนรักษาคัมภีร์ใบลานขึ้น ในปี พ.ศ. 2546 โดยศาสตราจารย์ภาวิช ทองโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคามในขณะนั้น และผู้ช่วยศาสตราจารย์วีณา วีสเพ็ญ ผู้อำนวยการโครงการ เป็นผู้ให้การส่งเสริม สนับสนุนและแนะนำพื้นที่ในการศึกษา ซึ่งโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่องปัจจุบันโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

          1. อนุรักษ์และจัดเก็บคัมภีร์ใบลานเพื่อการศึกษาและวิจัย

          2. ถ่ายถอดคัมภีร์ใบลานเป็นอักษรไทยสมัยใหม่เพื่อความสะดวกในการศึกษาค้นคว้า

          3. เพื่ออนุรักษ์อักษรโบราณไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้า

          4. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหาภูมิปัญญาของคัมภีร์ใบลาน และเผยแพร่ความรู้

          5. เพื่อบันทึกและถ่ายถอดความรู้ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฉันทนา เวชโอสถศักดา รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม บรรยาย เรื่อง Preservation of rare books in Thailand

คำว่า “หายาก” มีความหมายถึง สิ่งทีมีคุณค่า หนังสือบางเล่มถูกพิจารณาโดยเกณฑ์การพิจารณาที่แตกต่างกัน เช่น จำนวนหนังสือที่มีน้อยจะไม่ได้เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการพิจารณา เนื้อหาของหนังสือ ลักษณะทางกายภาพของหนังสือ (ข้อมูลและสถานที่พิมพ์) หนังสือบางเล่มมีเนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับวัฒนธรรมในท้องถิ่นหรือชุมชน

หนังสือหายาก คือ หนังสือที่มีเนื้อหาสำคัญ อาจเป็นเอกสารต้นฉบับตัวเขียน ศิลปกรรม หนังสือที่มีเนื้อหาสำคัญทางประวัติศาสตร์ หรือหนังสือที่ทำจากวัสดุที่น่าสนใจ (กระดาษ กระดาษหนัง หนังสือแกะหรือหนังลูกวัว หิน ดินเหนียว) หนังสือหายากส่วนใหญ่มีเนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยและเก็บรักษาในห้องสมุด หอจดหมายเหตุ เพื่อป้องกันไม่ให้เสียหาย หนังสือบางเล่มต้องทำการสงวนรักษาเพื่อให้มีอายุการใช้งาน

หนังสือหายากในประเทศไทย

          ตามเอกสารประวัติศาสตร์ของหอสมุดแห่งชาติอังกฤษ อธิบายว่าหนังสือหายากของประเทศไทยที่มีในพิพิธภัณฑ์อังกฤษจะเป็นเอกสารทางด้านประวัติศาสตร์ที่มีการติดต่อทางการค้าและการเผยแพร่ศาสนา ในปี พ.ศ. ๒๓๗๘-๒๔๓๓ ซึ่งจัดเก็บรวบรวมไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอังกฤษ นอกจากนี้หอสมุดแห่งชาติอังกฤษมีการจัดมุมหนังสือหายากไว้ภายในหอสมุดด้วยโดยการรวบรวมหนังสือก่อนศตวรรษที่ ๒๐ หนังสือส่วนใหญ่เป็นภาษาไทยด้านวรรณกรรม ศาสนา การท่องเที่ยว รายงานการสำรวจ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม โดยนักเขียนไทย ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระยาอนุมานราชธน และสุนทรภู่ เป็นต้น นอกจากหนังสือแล้วยังรวบรวมวัสดุหายากสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ แผนที่ หนังสือพิมพ์ ภาพถ่าย แสตมป์ เป็นต้น การพิจารณาว่าหนังสือใดเป็นหนังสือหายากมีการใช้เกณฑ์ ดังนี้

          ๑. หนังสือฉบับที่พิมพ์ครั้งแรก

          ๒. พิจารณาตามความสำคัญ ได้แก่ สถานที่เฉพาะ องค์กร หรือเหตุการณ์สำคัญ

          ๓. หนังสือที่มีจำนวนเล่มน้อย

          ๔. หนังสือที่มีความโดดเด่นเป็นพิเศษ

ลักษณะของหนังสือหายาก

          ๑. หนังสือที่หายาก (หนังสือเก่าหายาก) พิจารณาเป็นหนังสือที่มีคุณค่ามาก หนังสือฉบับพิมพ์ครั้งแรกและเป็นสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาประวัติการพิมพ์

          ๒. หนังสือหายากที่เป็นประวัติการพิมพ์ของแต่ละประเทศ

          ๓. หนังสือที่พิมพ์จำนวนน้อย มีเนื้อหาดี รูปภาพสวยงาน หรือศิลปะท้องถิ่น หรือการออกแบบหรือเพลงท้องถิ่น

          ๔. หนังสือหายากที่มีคุณค่าของเนื้อหาหรือใช้ภาษาคลาสสิก

          ๕. หนังสืออยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ เช่น หน้าปกและภาพประกอบมีสภาพดี

          ๖. หนังสือเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ หรือราชอาณาจักร หรือผู้นำของชาติ ผู้นำศาสนา หรือประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

 

ประเทศบรูไน ดารุสซาราม

นำเสนอโดย Mr. Haji Mohamed Jefri Bin        

 

          การสงวนรักษาแบบดั้งเดิม เช่น การใช้น้ำมันตะไคร้หอม น้ำมันการบูร หรือน้ำมันตะไคร้บนพื้นผิวของใบลานเพื่อป้องกันความเสียหายจากการเปราะบางและการใช้คาร์บอนสีดำผสมกับน้ำมันบนใบลาน

ลักษณะของใบลาน

ใบลานที่มีความพร้อมมีลักษณะดังนี้

          - หนา เส้นใยแข็งแรงและมีความยืดหยุ่น หากมีอายุมากความยืดหยุ่นจะลดลง

          - มีแนวโน้มถูกทำลายด้วยแมลง (เพลี้ยแป้ง ปลวก และเชื้อรา)

          - ใบมีรูปแบบเป็นเส้นแนวนอน (ลักษณะและขนาดของใบแตกต่างกันไปตั้งแต่ 15 ซม. - 160 ซม. / ความกว้างระหว่าง 3 ซม. - 12 ซม.)

          - ตัด (เปิดครึ่งของใบที่อ่อน) - ทำให้แห้ง - ตัดให้ได้ขนาดที่ต้องการ - ต้มในน้ำ - ทำให้แห้งในที่ร่มหรือแสงแดดอ่อน (ผึ่งให้แห้ง) - นำส่วนที่นูนอก - กด ทำให้เป็นเงาและตัดให้ได้ขนาด - ทำเช่นเดียวกันกับด้านอื่น - สอดเชือกผ่านรูบนใบลาน - นำแผ่นไม้วางขนาดใบลานทั้งด้านบนและด้านล่าง - เก็บไว้ในที่แห้ง - จำนวนใบลานที่ใช้ขึ้นอยู่กับเนื้อหา

          - ระบบการผูก : ไม่สามารถผูกเหมือนหนังสือ - เก็บใบลานไว้ระหว่างแผ่นไม้ 2 แผ่น (Acacia confusa) ที่มีขนาดใหญ่กว่าใบลานเล็กน้อย - ไม้กระดานบางครั้งมีการทาสีหรือตกแต่ง - เพื่อเก็บใบลานไว้ด้วยกันด้วยการเจาะรูตรงกลางใบเป็นรูเล็ก ๆ - นำเชือกสอดผ่านรูและผูกรอบต้นฉบับตัวเขียน

          - ไม้จะถูกขัดด้วยน้ำมันที่มีคุณสมบัติในการฆ่าแมลง เช่น แล็กเกอร์ และแร่ธาตุอื่น ๆ (เช่นดินเบา ดินขาว และกำมะถัน) - นำมามัดหรือห่อด้วยผ้า

          - มีความทนทานในการเขียนที่สามารถอยู่ได้หลายร้อยปีหากมีการดูแลรักษาที่เหมาะสม

          - ฝึกอบรมการเขียนโดยนักวิชาการ และ scribers / lipikaras

          - ต้นฉบับตัวเขียนเก่าที่ถูกเผาไหม้ในน้ำมันเนยหรือโยนลงไปในแม่น้ำ

          - ต้นฉบับตัวเขียนมีอายุการใช้งานประมาณ 300-350 ปี

          - เทคนิคในการจารบนใบลานด้วยเข็มจารโลหะเป็นลักษณะเด่นในอินเดียใต้ ใช้เขม่าหรือผงถ่านสีดำผสมกับน้ำมันในการเขียนเพื่อให้สามารถมองเห็นและอ่านตัวอักษรได้ง่ายขึ้น

การลงทะเบียน Aksara – ANB/MS.1990.318

          - ขนาด 44 ซม. x 3 ซม. (กล่องไม้สำหรับใส่ใบลานขนาด 47 ซม. x 5.5 ซม. x 12 ซม. กล่องไม้จะไม่ได้รับการตกแต่งด้วยยกเคลือบทองขึ้นรูปเครื่องประดับดอกไม้)

          - ไม่มีผ้าทอมือห่อต้นฉบับตัวเขียน

          - สายผูกปมยาว 125 ซม. จะมีใบลาน 137 ใบ

          - เป็นภาษาบาลีหรือสันสกฤต

การดำเนินการดิจิไทซ์

          - การถ่ายภาพใบลานและเก็บรักษาในหอจดหมายเหตุ

          - การจัดทำฐานข้อมูลและออนไลน์ผ่าน e-Arkib

          - การจัดทำชื่อ ขนาด จำนวนใบ ความละเอียดของกล้องและการวิเคราะห์ข้อมูลรายการอื่น ๆ ประกอบกับไฟล์ภาพ

          - จำเป็นต้องมีทักษะในเรื่องอักขรวิทยาและการสะกดการันต์ เป็นทักษะที่ต้องใช้ในการคัดลอกและเตรียมใบลานที่เป็นภาษาบาหลีและฮินดู คนที่สามารถอ่านใบลานได้เริ่มมีจำนวนน้อยลง

 

ประเทศกัมพูชา

นำเสนอโดย Ms. Sam Thida

 

การอนุรักษ์เอกสารโบราณของหอสมุดแห่งชาติกัมพูชา ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ เจตนารมณ์

ของสมเด็จพระเรียมนโรดม บุปผาเทวี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม การบูรณะรวบรวมเอกสาร

ที่ได้รับการจัดเก็บและคุ้มครองหลังจากสถาบันพุทธศาสนาถูกรื้อค้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ศิลปะ ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม โบราณคดี และศาสนาในกัมพูชา ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบัน FondsD’edition des Manuscripts du Cambodge ภายใต้โปรแกรม Écolefrançaised'Extrême-Orient : EFEO ของประเทศฝรั่งเศส การรวบรวมเอกสารโบราณหลังการปกครองของเขมรแดงในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ มีการรวบรวม Satra ที่วัด SvayChrum ในเพดานของโรงเรียนสอนภาษาบาลีซึ่งต้นฉบับซ่อนอยู่

ในสถูป

การสงวนรักษาเอกสารโบราณ

๑. ต้นฉบับตัวเขียนที่ติดกันโดยมูลนกพิราบและรา การแช่จะทำให้เอกสารแยกออกจากกัน

๒. งานบูรณะเอกสารโดย EFEO-FEMC ที่วัด SvayChrum

๓. ประสานกับประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะประเทศสมาชิกในอาเซียนซึ่งมีประสบการณ์ในการอนุรักษ์เอกสารโบราณ

 

ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย

นำเสนอโดย Ms. Mira Puspitarini

 

การจัดการเอกสารโบราณของอินโดนีเซีย

          - การจัดหาเอกสาร

          - การอธิบายเอกสารและการจัดการ

          - การเข้าถึงเอกสารสำคัญในคอลเล็คชั่น เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลของหอจดหมายเหตุแห่งชาติได้ผ่านระบบและเครือข่ายของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

คัมภีร์ใบลานในประเทศอินโดนีเซียเรียกว่า Lontar

          ต้นฉบับคัมภีร์ใบลานมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 ถึงศตวรรษที่ 15 ในช่วง Majapahit หรือก่อนหน้านั้น เช่น the Arjunawiwaha, the Smaradahana, the Nagarakretagama and the Kakawin Sutasoma ซึ่งถูกค้นพบบนเกาะใกล้เมืองบาหลี

เอกสารโบราณในหอสมุดแห่งชาติอินโดนีเซีย

          ในปี 1989 ได้นำเอกสารโบราณ Lontar จากพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ มาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติมีจำนวนต้นฉบับตัวเขียนประมาณ 10,634 ต้นฉบับตัวเขียนอักษร อราบิค ยาวี Pegon ชวา พุทธ Sundanese Batax, Bugis, dll ต้นฉบับตัวเขียนในภาษา Melayu, Javanese, Sundnese, Bugis, Batak, Aceh, และอื่น ๆ ต้นฉบับตัวเขียนที่ทำจากกระดาษ Lontar, dluwang, nipah leaf, bamboes, wood leather and tree bark

เอกสารโบราณ Lontar ในปัจจุบันได้ดำเนินการอนุรักษ์ในรูปแบบไมโครฟิล์ม โดยความมือของมูลนิธิฟอร์ด ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้แก่

- Sono Budaya ; Babad Tanah Jawi, Babad Mataram, Babat Surakarta,Babad Amangkurat และอื่น ๆ

                    - Dipanegara (ลงทะเบียนเป็น Unesco as Memory of The World ในปี พ.ศ. 2๕๕๖)

                    - ต้นฉบับตัวเขียนจาก Makasar ; I La Galigo (ลงทะเบียนเป็น Unesco as Memory of The World ในปี พ.ศ. 2๕๕๔)

 

ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

นำเสนอโดย Mr. Bounchan Phanthavong

 

          ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นประเทศที่มีวรรณกรรม ประเพณี จำนวนมาก ย้อนหลังไปถึงศตวรรษที่ 15-6ผลงานส่วนใหญ่ทำด้วยมือได้รับการสืบทอดมาในรูปแบบของต้นฉบับใบลานเก็บรักษาไว้ในตู้ไม้ที่ห้องสมุดของวัด

          ความคิดริเริ่มที่น่าสังเกตคือการทำงานของสภาพุทธจันทร์ทะบูลี (Chanthabouly Buddhist Council) ภายใต้การนำของ Chao Phetsarat ซึ่งได้สอบถามเจ้าอาวาสในประเทศที่จะส่งรายชื่อผู้ถือครองต้นฉบับตัวเขียนระหว่างปี 1934-36

          ต้นฉบับตัวเขียนส่วนมากถูกเขียนอักษรธรรม และมีเขียนในภาษา Lao Bhhan, Lik Tai Nuea และ Khom ขณะที่เอกสารบางส่วนเขียนโดยอักษร Central Thai และ Thai Dam

ประวัติการสำรวจคัมภีร์ใบลานของลาว

การสำรวจหาข้อมูลเกี่ยวกับต้นฉบับตัวเขียนในลาวเริ่มในช่วงต้นศตวรรษที่ ๒๐ และส่วนใหญ่ดำเนินการโดยนักวิชาการชาวฝรั่งเศสและผู้ช่วยชาวลาว

          การสำรวจเอกสารที่วัดและห้องสมุดถือครองโดยไม่ได้ดำเนินการใน ๙ จังหวัด จำนวน ๙๔ วัด จำนวนต้นฉบับตัวเขียน ๑,๙๐๐-๑,๙๗๓ รวม ๓,๖๗๘ ชิ้น

ในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ มูลนิธิโตโยต้าจัดการประชุมที่เมืองเวียงจันทน์ เพื่อหารือเกี่ยวกับการอนุรักษ์ต้นฉบับตัวเขียนมีผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วยพระสงฆ์ นักวิชาการและผู้สนใจเพื่อหารือเกี่ยวกับการอนุรักษ์ต้นฉบับตัวเขียนในประเทศลาว

ในปี ๒๕๓๗ การสำรวจเอกสารในเวียงจันทน์ และจังหวัดต่าง ๆ รวม ๖ จังหวัดในลาว พบเอกสารจำนวน 128,000 มัด จาก ๒๕๐ วัด

การสงวนรักษาต้นฉบับตัวเขียนอักษรลาว (PLMP) มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยช่วยให้สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวอนุรักษ์มรดกวรรณกรรมของชาติ ต้องการให้ประชาชนตระหนักรู้ถึงคุณค่าของเอกสารเพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถอนุรักษ์สงวนรักษาเอกสารได้ และเพื่อการค้นคว้าวิจัยและเผยแพร่ทรัพยากรเอกสารต้นฉบับตัวเขียน

 

โครงการและการสำรวจ

          โครงการดำเนินการในระยะเวลา10 ปี โดยสำรวจเอกสารในวัดทางพุทธศาสนา จำนวน 800 วัด และเอกสารที่ภาครัฐและเอกชนถือครองใน 17 จังหวัด

ประโยชน์ที่ได้รับ

          - Microfilming ของเอกสารที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์หรือวัฒนธรรม

          - การฟื้นฟูวรรณกรรมดั้งเดิมทางศาสนาโดยบูรณาการเข้ากับระบบการศึกษาสมัยใหม่

          - การสร้างเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และเทคนิคเช่นฐานข้อมูลวัสดุการศึกษา ตำรา โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอื่นๆ

 

ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย

นำเสนอโดย Mr. EffahlmtiazZainol

 

          หอสมุดแห่งชาติมาเลเซีย ดำเนินการอนุรักษ์เอกสารโบราณประเภทต่าง ๆ ได้แก่ งานที่เขียนด้วยลายมือที่เป็นภาษายาวีซึ่งผลิตในปลายศตวรรษที่ ๑๕ และ ๑๖ จนถึงก่อนศตวรรษที่ ๒๐ มีวิธีดำเนินการโดยใช้อุปกรณ์ในการอนุรักษ์ดังนี้

          ๑. กระดาษที่ใช้มีการนำเข้าจากกลุ่มประเทศด้านตะวันตก ซึ่งเป็นกระดาษที่มีลายน้ำและคุณภาพสูง มีอายุการใช้งานยาวนาน

          ๒. กระดาษที่ใช้อีกส่วนหนึ่งได้นำเข้ามาจากกลุ่มประเทศอาหรับและประเทศจีน ซึ่งเป็นกระดาษที่มีเนื้อบาง น้ำหนักเบาแม้จะมีคุณภาพต่ำและไม่มีลายน้ำ

          ๓. Gleichenia Linearis

๔. ต้นตาวซึ่งเป็นไม้ตระกูลปาล์มชนิดหนึ่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์ Arengga Pinnata)

          ๕. ขนนกไม้ไผ่ และหมึกสีดำที่ทำจากการผสมเขม่าและไข่ขาว และที่ทำจากถ่านป่น

ปัจจัยที่ทำให้เอกสารโบราณเสื่อมสภาพ ได้แก่ การกระทาของมนุษย์โดยการสัมผัส การกระแทก หรือการเคลื่อนย้าย ฝุ่นละอองและมลพิษทางอากาศ อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ แสง และเชื้อรา

          การเก็บรักษาเอกสารโบราณจะเก็บไว้ในห้องที่อุณหภูมิ18-20 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ที่ 50RH-60RH โดยมีขั้นตอนการอนุรักษ์ดังนี้

          ๑. การอบฆ่าเชื้อ เพื่อฆ่าแมลงที่พบในเอกสารโบราณ

          ๒. ทดสอบค่า PH ความเป็นกรดด่าง ทดสอบความคงทนของหมึก

          ๓. การใช้เทคนิคแบบ Stay ink, Leafcasting และ Faded ink, Tissue repairing

          ๔. การทำความสะอาด การซ่อมแซม และการเก็บรักษา

          4. การ Digitize เอกสารโบราณ โดยการสแกน จัดทำเป็นไฟล์ jpg, pdf, จัดเก็บลงแผ่น CD และ Server

                  

ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์

นำเสนอโดย Ms. Swe SweMyint 

หอสมุดแห่งชาติเมียนมาร์จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็นหน่วยงานภายใต้กรมห้องสมุดและการวิจัยทางประวัติศาสตร์ กระทรวงวัฒนธรรม ปัจจุบันหอสมุดแห่งชาติเมียนมาร์มี ๒ แห่ง คือ ตั้งอยู่ที่เมืองเนปิดอว์ และเมืองย่างกุ้ง

          การอนุรักษ์และสงวนรักษาเอกสารโบราณของหอสมุดแห่งชาติเมียนมาร์ มีการจัดเก็บรวบรวมเอกสารต้นฉบับของ Barnard Free Library ให้บริการฟรี โดยการรวบรวมจาก Kinwin Mingyi และ Bagan Wundauk U Tin ซึ่งเป็นเอกสารต้นฉบับตัวเขียนหายาก นอกจากนี้หอสมุดแห่งชาติยังได้รวบรวมเอกสารโบราณที่มีคุณค่าอื่น ๆ ได้แก่ เอกสารโบราณที่เขียนเป็นอักษรพม่า คัมภีร์ใบลาน และสมุดข่อยซึ่งมีเนื้อหาหลักเกี่ยวกับพุทธศาสนา การแพทย์แผนโบราณ โหราศาสตร์ วรรณกรรมและประวัติศาสตร์พม่าต้นฉบับคัมภีร์ใบลานมีอายุอย่างน้อย ๑๐๐ ปี ขึ้นไป บางส่วนมีอายุถึง 200 ปี หอสมุดแห่งชาติเมียนมาร์มีการสงวนรักษาเอกสารโบราณเหล่านี้ไว้ในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิ

          การสงวนรักษาและการอนุรักษ์เป็นงานที่สำคัญงานหนึ่งของฝ่ายมรดกทางวัฒนธรรมและวรรณกรรมเมียนมาร์ หอสมุดแห่งชาติพยายามอนุรักษ์เอกสารต้นฉบับตัวเขียนที่มีอยู่ ๒ ประเภทใหญ่ ๆ

คือ คัมภีร์ใบลาน และสมุดข่อย คัมภีร์ใบลานเขียนโดยการใช้เข็มจารลงบนใบลาน สำหรับสมุดข่อยถูกเขียนลงบนกระดาษพับสีขาวหรือสีดำด้วยหินสบู่ คัมภีร์ใบลานและสมุดข่อยเหล่านี้จำนวนมากมีอายุเก่าแก่และเก็บสะสมโดยบุคคล และได้จัดเก็บไว้ในห้องสมุดของวัดเก่าแก่ ในประเทศเมียนมาร์มีเอกสารโบราณประเภทคัมภีร์ใบลานที่มีอายุนานเป็นเวลานับพันปี แต่เนื่องจากการทำลายของสภาพภูมิอากาศ แมลง

เชื้อรา ไฟ และการทำลายโดยมนุษย์ทำให้เอกสารโบราณมีความเสียหาย

ขั้นตอนการอนุรักษ์สงวนรักษาของหอสมุดแห่งชาติ

          ขั้นตอนที่ ๑ ใช้แปลงขนอ่อนทำความสะอาดคัมภีร์ใบลานทุกหน้า

          ขั้นตอนที่ ๒ ใช้น้ำมันตะไคร้เช็ดด้วยผ้านุ่มหรือแปรงขนอ่อน เพื่อให้พื้นผิวสะอาดสามารถที่จะอ่านได้ น้ำมันตะไคร้มีลักษณะร้อนและทำหน้าที่เหมือนยาทาที่จะทำให้เส้นใยของใบลานมีความยืดหยุ่นและแข็งแรง และกลิ่นของน้ำมันตะไคร้ช่วยป้องกันแมลง หลังจากนั้นเก็บเอกสารไว้ในที่แห้งและเย็น
           ขั้นตอนที่ ๓ การนำเอกสารโบราณอนุรักษ์ในรูปแบบไมโครฟิล์ม และสแกนในรูปแบบดิจิทัลเป็นไฟล์ PDF

 

ประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

นำเสนอโดย Ms. Melody M. Madrid

พระราชบัญญัติหอสมุดแห่งชาติ กำหนดหน้าที่ของหอสมุดแห่งชาติฟิลิปปินส์คือ ทำหน้าที่เป็น

คลังสิ่งพิมพ์และมรดกทางวัฒนธรรมที่มีการบันทึกไว้ และวรรณกรรมที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญา การจัดหาทรัพยากรเพื่อให้ประชาชนในชาติสามารถเข้าถึงทรัพยากรและเพิ่มพูนทรัพย์สินทางปัญญาของคนในชาติ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต

หอสมุดแห่งชาติฟิลิปปินส์ในฐานะเป็นคลังมรดกทางวัฒนธรรม

ดำเนินการจัดหาวัสดุที่เกี่ยวกับประเทศฟิลิปปินส์ผ่านการจัดซื้อ การบริจาค และการแลกเปลี่ยนและทำหน้าที่รักษาทรัพยากรที่เกี่ยวกับประเทศฟิลิปปินส์ ได้แก่ หนังสือทั่วไป สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง หนังสือหายาก และเอกสารโบราณ เอกสารราชการทั้งในรูปแบบสิ่งตีพิมพ์และสิ่งไม่ตีพิมพ์ นอกจากนี้ยังทำหน้าทีสงวนรักษาเอกสารโบราณประเภทต่าง ๆ โดยมีการออกพระราชบัญญัติสาธารณะ No. 10066 ขึ้น เพื่อสำหรับป้องกันและการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมของชาติ เสริมสร้างคณะกรรมการวัฒนธรรมและศิลปะแห่งชาติ (the National Commission for Culture and the Arts : NCCA) และสร้างเครือข่ายหน่วยงานทางวัฒนธรรม

การอนุรักษ์เอกสารโบราณ

          กำหนดนโยบาย ประเมินและจัดลำดับความสำคัญเอกสารโบราณกรณีฉุกเฉินและเกิดภัยพิบัติ ดังนี้

          ๑. การเตรียมความพร้อมการลงทะเบียนทรัพย์สินทางวัฒนธรรมของประเทศ

          ๒. จัดตั้งกองทุนแห่งชาติและระหว่างชาติเพื่อจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการฝึกอบรมให้ความรู้ในเรื่องการอนุรักษ์เอกสารโบราณชองชาติ

          ๓. การทำข้อเสนอหอสมุดแห่งชาติฟิลิปปินส์ด้านการอนุรักษ์เอกสารโบราณ

องค์ประกอบการเสื่อมสภาพของเอกสารโบราณ

          ๑. ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม (ปัจจัยทางด้านภูมิอากาศ)

          ๒. ปัจจัยทางชีวภาพ

          ๓. ปัจจัยทางเคมี

          ๔. ปัจจัยเกี่ยวกับมนุษย์

          ๕. ปัจจัยเกี่ยวกับภัยพิบัติ

การจัดการการสงวนรักษา

          รวมถึงนโยบาย การประเมิน ระบบการจัดลำดับความสำคัญ การจัดสรรทรัพยากร กรณีฉุกเฉิน การวางแผนภัยพิบัติ

          ๑. การเตรียมความพร้อมการลงทะเบียนทรัพย์สินทางวัฒนธรรมของฟิลิปปินส์

          ๒. กองทุนแห่งชาติและระหว่างชาติเพื่อจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการฝึกอบรม

          ๓. การทำข้อเสนอหอสมุดแห่งชาติฟิลิปปินส์

 

ประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์

นำเสนอ โดย Ms. Phyllis Koh Zhen Qi 

National Heritage Board จัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เพื่อ

๑. จัดเก็บและอนุรักษ์สิ่งประดิษฐ์และงานศิลปะภายใต้การดูแลของ NHB

๒. เป็นศูนย์กลางในการอนุรักษ์สงวนรักษา การวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ การทดสอบและวิจัย

๓. สนับสนุนการจัดนิทรรศการต่าง ๆ สำหรับพิพิธภัณฑ์ของ NHB

๔. เป็นแหล่งรวมคัมภีร์ใบลานแห่งชาติ

การอนุรักษ์เอกสารโบราณ

          เอกสารโบราณที่รวบรวมไว้ประกอบด้วย คัมภีร์ใบลาน จำนวน จำนวน ๒๖ ชิ้น ตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๘ ถึงศตวรรษที่ ๒๐ ส่วนใหญ่มาจากประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย ศรีลังกา เมียนมาร์ และไทย นอกจากนี้ยังได้รับจากหน่วยงานต่าง ๆ เอกสารโบราณได้ทำการวิเคราะห์และประเมินเป็น ๔ ระดับ

          - CR1: มีสภาพดี ไม่จำเป็นต้องทำการสงวนรักษา    ๔๒ %

          - CR2: ต้องทำการดูแลรักษา น้อยกว่า ๕ ชั่วโมง     ๒๗ %

          - CR3: ต้องทำการดูแลรักษา ๖-๔๒ ชั่วโมง           ๑๕ %

          - CR4: ต้องทำการดูแลรักษา มากกว่า ๔๒ ชั่วโมง   ๑๖ %

การอนุรักษ์สงวนรักษาเอกสารโบราณ

          ๑. การเก็บรักษา

- โดยการจัดการศัตรูพืชแบบบูรณาการด้านสิ่งแวดล้อม การเฝ้าระวัง การจัดการเชื้อรา

                   - ต้นฉบับตัวเขียนทั้งหมดเก็บในชั้นที่ออกแบบให้มีการควบคุมอุณหภูมิ

                   - ต้นฉบับตัวเขียนทั้งหมดเก็บในกล่องหรือห่อด้วยกระดาษที่ปราศจากกรดและผูกด้วยเชือกทีทำจากผ้าฝ้าย

          ๒. การจัดการศัตรูพืชแบบบูรณาการ เป็นการดูแลรักษาโดยการควบคุมอากาศด้วยการนำวัสดุใส่ไว้ในถุงที่มีการควบคุมอากาศ การแช่แข็ง การเฝ้าระวังสัตว์ที่กัดทำลายหนังสือ

๓. การตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม

                    - ควบคุมสิ่งแวดล้อมในทุกห้องปฏิบัติการที่มีการจัดเก็บและสงวนรักษา ใช้ความชื้นสัมพัทธ์ 50-6% และอุณหภูมิ 21-23 องศาเซลเซียส

                    - มีเซ็นเซอร์คอยตรวจจับ

                    - มีการอ่านวิเคราะห์เพื่อตั้งค่าพารามิเตอร์

                    - มีการตรวจสอบสภาพอากาศและเครื่องมือในการควบคุมสภาพอากาศ

๔. การกำจัดเชื้อรา

แผนปฏิบัติการโครงการอนุรักษ์สงวนรักษาเอกสาร

          - Rehousing options กล่องและผ้าห่อในการจัดเก็บที่ดีขึ้น

          - การดูแลรักษา กำจัดเชื้อรา การรักษาเสถียรภาพในการสนับสนุนและความร่วมมือ

          - พิจารณา ตรวจสอบ และวิธีการ

          - การทำดิจิไทซ์ต้นฉบับตัวเขียน

          - ทำงานร่วมกับภัณฑารักษ์เพื่อให้เข้าใจความเป็นมาและเนื้อหาของเอกสารโบราณการเฝ้าระวังสัตว์ที่กัดทำลายหนังสือการเฝ้าระวังสัตว์ที่กัดทำลายหนังสือ

 

ประเทศไทย

นำเสนอโดย นางสุภาณี  สุขอาบใจ บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ

การอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานของหอสมุดแห่งชาติ

หอสมุดแห่งชาติได้ดำเนินการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานเก่าที่เสียหายจากความชื้น เชื้อรา ปลวก และ มีการละเลยการดูแลรักษา คัมภีร์ใบลานเหล่านี้ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า ที่แสดงให้เห็นถึงศิลปวัฒนธรรม หลักฐานต่าง ๆ ที่รุ่งเรืองในอดีต ที่สามารถถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้า เอกสารโบราณเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นเอกสารที่มีอายุกว่าหนึ่งร้อยปี ส่วนมากจะอยู่ในสภาพที่ชำรุด เปื่อย แตกหัก เป็นไปสภาพของลักษณะภูมิประเทศ  ที่เก็บรักษา สภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสภาพภูมิอากาศ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีส่วนที่ทำให้เอกสารเกิดความเสียหาย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นอีกที่ทำให้เอกสารเก่าเสียหายเสื่อมสภาพ ได้แก่ วัสดุที่ใช้ทำความสะอาด เช่น สำลี ก็อาจทำให้เอกสารเสียหายได้ เพราะฉะนั้นการทำความเข้าใจและเรียนรู้ในเรื่องการรักษาสภาพเอกสารโบราณโดยเฉพาะคัมภีร์ใบลาน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้เอกสารโบราณแต่ละประเภทอยู่ในสภาพคงเดิมมากที่สุด

เราจะทำอย่างไรเพื่อให้เอกสารที่เก่า มีคุณค่า ให้มีสภาพเหมือนเดิม และใช้ได้นานที่สุด และเพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าต่อไปในอนาคต จึงจำเป็นต้องดำเนินการอนุรักษ์ เพื่อป้องกันและหยุดการเสื่อมสภาพถือเป็นความจำเป็นเร่งด่วน โดยที่ผู้ปฏิบัติงานดูแลรักษา เอกสารจะต้องศึกษาวิเคราะห์หา ของสาเหตุที่ทำให้เอกสารเสื่อมสภาพ หาวิธีการซึ่งอาจต้องใช้กรรมวิธีการทางธรรมชาติ และวิธีวิทยาศาสตร์ โดยประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพเอกสาร ถูกต้องตามหลักวิชาการ ซึ่งเป็นหนทางที่จะทำให้เอกสารโบราณโดยเฉพาะคัมภีร์ใบลานที่จะใช้เป็นหลักฐานในการศึกษาค้นคว้าที่สำคัญของประเทศและนานาประเทศ โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียน 

ขั้นตอนการดำเนินการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน

๑.   สำรวจปริมาณงานทั้งหมด หาพื้นที่สำหรับปฏิบัติงาน บริเวณที่ว่างภายในวัดหรือสถานที่ที่เหมาะสม โดยการสำรวจแหล่งเอกสารโบราณทั้งหมดที่มีอยู่ เมื่อมั่นใจว่าสำรวจครบแล้ว จึงนำเอกสารมารวมกัน

๒.  ตรวจสอบสภาพ ทำการคัดแยก เอกสารที่มีสภาพสมบูรณ์ ชำรุด มีเชื่อรา เอกสารที่มีร้อยฉีกขาด จัดลำดับความสำคัญ  ส่วนที่สมบูรณ์ดำเนินการจัดทำทะเบียน ส่วนที่ชำรุด เสื่อมสภาพดำเนินการอนุรักษ์

๓.  แยกเอกสารตามอักษร

เพื่อความสะดวกต้องคัดแยกเอกสารตามรูปแบบอักษรที่บันทึกเช่น อักษรขอม  อักษรอื่น ๆ

๔.  ทำความสะอาด โดยการใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ ๙๕% หมาด ๆ ลูบไล้ไปที่พื้นผิวของคัมภีร์   ใบลาน

๕.  ทำการซ่อมแซมคัมภีร์ใบลานให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์

๕.  จัดหมวดหมู่ตามหลักวิชาการ

๖.  อ่านวิเคราะห์ชื่อเรื่อง และชื่อแบบฉบับ

๗.  บันทึกข้อมูลลงในแบบลงทะเบียนภาคสนาม

๘.  ให้เลขที่ ตามลำดับการลงทะเบียน

๙.  จัดเข้ามัด

๑๐.  เขียนป้ายหน้ามัดคัมภีร์

๑๑.  ห่อผ้า มัดด้วยเชือก จัดเก็บพร้อมให้บริการ

 

ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

นำเสนอโดย Mrs. Le Thi Thanh ha

ปัจจุบัน การสงวนรักษาวัสดุที่มีค่าเป็นงานสำคัญของหอสมุดแห่งชาติเวียดนาม สถานที่เก็บรักษาจำนวนมากได้รับการสร้างหรือพัฒนา เจ้าหน้าที่จำนวนมากได้รับการฝึกอบรมภายในประเทศหรือต่างประเทศ อย่างไรก็ตามเวียดนามเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในแถบที่มีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ความเสียหายจากสงครามที่ยาวนาน ความรู้เกี่ยวกับการสงวนรักษาถูกจำกัด การเอาชนะผลกระทบจากการเสื่อมสภาพของวัสดุเป็นหนึ่งในประเด็นที่มีความสำคัญของการสงวนรักษาในเวียดนามในวันนี้

1. การสงวนรักษาของหอสมุดแห่งชาติเวียดนาม

          หอสมุดแห่งชาติเวียดนามก่อตั้งขึ้นในปี 1917 เป็นห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ มีทรัพยากรมากกว่า 2.5 ล้านรายการที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เขียนโดยภาษาเวียดนาม อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย มีทรัพยากรภาษาเวียดนามและภาษาต่างประเทศจำนวนหลายพัน เช่น หนังสือพิมพ์ แผนที่ แผนภาพ วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ไมโครฟอร์ม โสตทัศนวัสดุและมัลติมีเดีย ห้องสมุดรวบรวมวัสดุที่ประกอบด้วยกระดาษเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับคาบสมุดอินโดจีนที่พิมพ์ตั้งแต่ปี 1653 ถึง 1954 (หนังสือ 67,000 เล่ม หนังสือพิมพ์และนิตยสาร 1,700 ฉบับ), Sino-Nom collection (5,000 ชื่อเรื่อง) ซึ่งเขียนในภาษาเวียดนามโบราณบนกระดาษ “Do” เป็นวัสดุแบบโบราณของเวียดนามตั้งแต่ศตวรรษที่ 6-16 หอสมุดแห่งชาติเวียดนามเป็นสถานที่เก็บรักษาทรัพยากรที่มีคุณค่าและหายากรวมถึงแผนที่ วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก และไมโครฟิช (มีประมาณ 1,000 ชื่อเรื่องที่พิมพ์ในเวียดนามก่อนปี 1945 บริจาคโดยสถานทูตฝรั่งเศส) ทรัพยากรเหล่านี้เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุดและเป็นข้อมูลสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประเทศเวียดนาม ทรัพยากรจำนวนมากมีเพียงหนึ่งเล่มเท่านั้น เนื่องจากเวลาและเหตุการณ์ที่ผ่านมา จึงทำให้เอกสารมีสภาพทรุดโทรม

          ลักษณะทางกายภาพของทรัพยากรหายากมีอายุและระดับการสึกกร่อนที่แตกต่างกัน การสำรวจโดยการสุ่มตัวอย่าง, การเปลี่ยนสี, การฉีกขาด, การเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวของวัสดุ, ความเปราะบางของกระดาษ และรา วัสดุที่สำรวจส่วนใหญ่จะมีลักษณะที่เกิดขึ้นอย่างน้อยที่สุดดังข้างต้น การเปลี่ยนสีและซีดจางของวัสดุส่วนมากจะเกิดขึ้นบางส่วนหรือทั้งหมด

          มีหลายเหตุผลทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อมการเปลี่ยนสีของวัสดุอาจเกิดจากน้ำ ของเหลว หนอนหนังสือ และแมลงอื่นๆ เช่น แมลงสาบ หนู นอกจากนี้ การใช้วัสดุและวิธีการที่ไม่ถูกต้องก็เป็นสาเหตุ เช่น การใช้กระดาษและกาวในปริมาณที่ไม่ถูกต้องทำให้พื้นผิวของวัสดุเปลี่ยนแปลง กาวยังเป็นสาเหตุทำให้กระดาษเปราะบางและเปลี่ยนสี เทปพันสายไฟสามารถทำให้เนื้อหาในเอกสารบางส่วนเกิดการจางและเบลอ

          ในความเป็นจริงของสถานการณ์  โครงการการอนุรักษ์และสงวนรักษาของหอสมุดแห่งชาติเวียดนามในระยะยาวได้รับการวางแผนและดำเนินการตามขั้นตอน เพื่อการอนุรักษ์และรักษามรดกทางวัฒนธรรมของชาติสำหรับคนรุ่นใหม่ รวมถึงการดูแลรักษาป้องกัน การสงวนและรักษา และแปลงเป็นดิจิทัล

1.1 Prevent preservation

ในปัจจุบันหอสมุดแห่งชาติเวียดนามใช้กลยุทธ์ที่ครอบคลุมถึงความจำเป็นที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการอนุรักษ์ในทุกการจัดเก็บข้อมูล

          การจัดการสิ่งแวดล้อม

การจัดการสภาพแวดล้อมของสถานที่เก็บทรัพยากรซึ่งเป็นสถานที่ที่ทรัพยากรจะถูกเก็บรักษา เข้าถึง และจัดแสดงได้ จะต้องใช้กลยุทธ์และมาตรการป้องกันที่แน่นอนและง่ายที่สุดที่สามารถนำมาใช้ในการทำให้ทรัพยากรมีอายุการใช้งานยาวนาน มาตรการป้องกันจะต้องพิจารณาถึงการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง ความรู้ที่ถูกต้องที่สุดในการป้องกันและรักษาทรัพยากรจากการเสื่อมสภาพและความเสียหายที่เกิดจากสาเหตุทั้งภายในและภายนอกสภาพสิ่งแวดล้อมที่มีเครื่องปรับอากาศและเครื่องอบแห้ง (desiccative)เพื่อลดผลกระทบของอุณหภูมิภายนอกให้ความมั่นใจในสภาพแวดล้อมที่มีเสถียรภาพในสถานที่เก็บรักษา การเก็บรักษาทั้งหมดในห้องสมุดมีการติดตั้งเครื่องอ่านค่าในการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในอากาศในช่วงเวลาของวันที่อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง 18-23 องศาเซลเซียสความชื้นจาก45-55%

          ผลกระทบของการมีแสงภายในน้อย การปิดไฟในพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้งาน นอกจากนี้ การทำงานของแสงในพื้นที่แตกต่างกันในบางส่วนของพื้นที่ที่จะได้รับความสว่างของแสงตามความจำเป็น

          ฝุ่นเป็นหนึ่งในหลายปัจจัยที่มีผลต่อการเสื่อมสภาพของวัสดุ หอสมุดแห่งชาติเวียดนามระบบการจัดเก็บที่มีคุณภาพเพื่อรักษาและป้องกันวัสดุหลีกเลี่ยงปัจจัยที่มีผลกระทบที่ไม่ดีเช่นแสงฝุ่นแมลง

          นอกเหนือจากการรักษาสภาพอากาศให้มีมาตรฐานและมีเสถียรภาพในการควบคุมประชากรแมลงการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพของโปรแกรมการจัดการศัตรูพืชต้องมีการเฝ้าสังเกตกิจกรรมศัตรูพืช หอสมุดแห่งชาติเวียดนามใช้กับดักกาวเหนียวซึ่งใช้กันมากที่สุดในการเฝ้าสังเกตแมลงจำนวนมาก เช่น แมลงสามง่าม เหาหนังสือ (booklice)ปลวกแมลงแมลงสาบและหนู สารเคมีเป็นสิ่งที่พบบ่อยในการควบคุมแมลงรวมถึงจะนำกระดาษการบูรใส่ในหนังสือ (เป็นการป้องกันมากกว่าฆ่าแมลง)

          การสำรวจ

          การสำรวจเป็นงานหนึ่งของการอนุรักษ์ สงวนรักษา วัตถุประสงค์ของการสำรวจคือการตรวจสอบสภาพแวดล้อมที่ทรัพยากรถูกเก็บไว้ สภาพทั่วไปของทรัพยากร ปัญหาที่พบบ่อยความรู้ในการพัฒนาการเก็บรักษาและสิ่งแวดล้อมและหาแนวทางในการเก็บรักษาและการอนุรักษ์ ส่วนแรกของกระบวนการคือการเก็บรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมด การสร้างแผ่นเก็บรวบรวมข้อมูลของแต่ละคนและปรับให้ใช้กับทรัพยากรที่แตกต่างกันได้ เป็นวิธีการที่ใช้เก็บข้อมูลคุณภาพของทรัพยากรและการเสื่อมสภาพการอนุรักษ์หรือการเก็บรักษาการรักษาก่อนหน้านี้

          การฝึกอบรม

          ในกลยุทธ์ของการป้องกันการเก็บรักษาหอสมุดแห่งชาติเวียดนามจัดหลักสูตรการฝึกอบรมในการดูแลและการจัดการของทรัพยากรเพื่อช่วยบรรณารักษ์ทั่วไปและผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์สงวนรักษา

- โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถที่จะเพิ่มความตระหนักรู้ในกับอาชีพและขยายไปสู่ผู้อ่าน

1.2 Remedial preservation

หอสมุดแห่งชาติเวียดนามใช้วิธีการพิเศษหลายวิธีในระหว่างการปรับปรุงการอนุรักษ์สงวนรักษา

          - Deacidification and de-water method : ธรรมชาติเปราะบางของเอกสารทำให้เกิดความกังวลโดยเฉพาะอย่างยิ่งสาเหตุส่วนใหญ่การสัมผัสแสง สภาพสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอนกระบวนการและวัสดุที่จะนำมาใช้ในการผลิตกระดาษ เพื่อเพิ่มสภาพกระดาษ การใช้การลดกรด(deacidification)และการรีดน้ำ (de-water) นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้ค่าความเป็นกรดด่างของกระดาษเป็นกลางและเพิ่มอัลคาไลน์ที่ยับยั้งทำซ้ำของกรดในระยะเวลานาน

          - Leaf-casting methodวิธีการนี้ใช้สำหรับการซ่อมแซมกระดาษที่เสียหายโดยการเติมช่องว่างระหว่างเยื่อกระดาษกระบวนการใช้เครื่องอัดอากาศและสูญญากาศในการดำเนินการ เยื่อกระดาษที่จะได้รับการเติมเต็มในวัสดุที่ฉีกขาดและเสริมให้แข็งแรงโดย CMCขณะนี้วิธีนี้เป็นวิธีการที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสำหรับวัสดุที่มีการฉีกขาดและมีปริมาณมาก การใช้วิธีนี้พื้นผิวของวัสดุจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ได้คุณภาพที่แน่นอน หอสมุดแห่งชาติเวียดนามได้พยายามใช้วิธี Leaf-castingในคอลเลกชันของSino-Nom ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าทรัพยากรจะเกิดความเสียหายได้ง่ายเมื่อสัมผัสกับน้ำ ผลที่ได้เป็นที่ยอมรับ แต่ก็มีการอธิบายเพิ่มเติมว่าวิธีนี้ควรจะนำมาใช้ในวัสดุที่หายากและมีค่าเพราะราคาเยื่อกระดาษค่อนข้างสูง

          - นอกเหนือจากวิธี Leaf-casting แล้ววิธีการซ่อมแซมด้วยการใช้โต๊ะที่แสงสามารถส่องสว่างภายในโต๊ะยังใช้ในการรักษาอนุรักษ์ แสงไฟจะส่องผ่านวัสดุโดยตรงเพื่อตรวจสอบโครงสร้างของกระดาษขอบเขตของความเสียหายและการแสดงผลของการซ่อมแซม และยังใช้วิธีนี้ในการซ่อมแซมลายฉลุ

1.3 Digitizing for preservation

          โปรแกรมห้องสมุดดิจิตอลมีบทบาทสำคัญในห้องสมุดที่ทันสมัยต่างๆการอนุรักษ์โดยการแปลงเป็นดิจิทัล สำหรับทรัพยากรหายากของหอสมุดแห่งชาติเวียดนามจะถูกรวมเข้าด้วยกันเพื่อที่จะปรับปรุงและการอนุรักษ์ขั้นสูง และการเข้าถึงทรัพยากร เพื่อจำกัดการใช้ทรัพยากรต้นฉบับที่ทำการอนุรักษ์ และจะจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับแยกต่างหาก นอกจากนี้แปลงเป็นดิจิทัลทำให้มีทรัพยากรสำรองในกรณีที่เกิดภัยพิบัติที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายกับทรัพยากรต้นฉบับเดิม

2. การแชร์ประสบการณ์

          2.1 วัสดุ

          เอกสารทั้งหมดที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์และสงวนรักษาในระยะยาว วัสดุที่ใช้จะต้องปราศจากกรดและมีคุณภาพตามมาตรฐาน วัสดุที่นำเข้ามักมีราคาแพงเกินงบประมาณของหอสมุดแห่งชาติเวียดนามดังนั้นจึงมีการใช้วัสดุในท้องถิ่นที่มีคุณภาพและเหมาะสมในการการรักษาอนุรักษ์ "Do" เป็นกระดาษซึ่งทำจากเส้นใย Liber เป็นกระดาษทำด้วยมือแบบดั้งเดิมเวียดนามมีความแข็งแรงด้วยเส้นใยที่ยาว มี "ขน" ที่ช่วยในการซ่อมแซมการฉีกขาดเพื่อให้รอยฉีกขาดสามารถเชื่อมต่อกัน "Do" เป็นกระดาษที่มีน้ำหนักเหมาะสมกับวัสดุที่ต้องการซ่อมแซมจากงานวิจัยพบว่ามีการใช้กระดาษ “Do” มาเป็นเวลาประมาณ 100 ปี

 

          2.2 สารเคมี

          สารเคมีที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการลดกรดจะต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ เป็นสารเคมีที่มีราคาแพง การใช้ปูนขาว (Slaked lime) สูตรทางเคมีคือ Ca(OH)2 (Calcium hydroxide) ในกระบวนการลดกรดซึ่งจะทำให้ค่าความเป็นกรดด่างเป็นกลาง ซึ่งขึ้นอยู่กับความค่าความเป็นกรดด่างของกระดาษก่อนการอนุรักษ์ วิธีการนี้สามารถใช้ได้สองแบบ คือ การฉีดสเปรย์และ Mas de-acidification

3. ข้อสรุป

          แม้ว่าการอนุรักษ์และสงวนรักษาเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ในเวียดนาม แต่ก็มีคือการพัฒนาไปทีละน้อยและห้องสมุดส่วนใหญ่ในประเทศให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ตั้งแต่ที่มีการตระหนักรู้ในเรื่องการอนุรักษ์เพิ่มมากขึ้น ห้องสมุดมีการลงทุนที่ทันสมัยและผู้เชี่ยวชาญในการสงวนรักษา และทำงานแข่งกับเวลาเพื่อรักษาลายลักษณ์อักษรมรดกทางวัฒนธรรมที่มีน้อยลง แต่ค่าใช้จ่ายสำหรับการสงวนรักษาสูงมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องจักรและวัสดุที่ใช้ในการสงวนรักษาโดยเฉพาะ นอกเหนือนี้จากการพัฒนาทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์ยังเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำหรับการอนุรักษ์สงวนรักษาในเวียดนาม 

ข้อเสนอแนะ

          การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหอสมุดแห่งชาติ หอจดหมายเหตุ และพิพิธภัณฑ์ที่มีการจัดเก็บ รวบรวม และอนุรักษ์เอกสารโบราณ หนังสือหายาก ในกลุ่มประเทศอาเซียนในรูปแบบดิจิทัลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

 

(จำนวนผู้เข้าชม 857 ครั้ง)


Messenger