...

รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศมาเลเซีย โครงการ Seminar Exchange of ASEAN Archivists – Digital Records Management วันจันทร์ที่ ๒๓ ถึงวันเสาร์ที่ ๒๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘ (รวมระยะเวลา ๖ วัน)

รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศมาเลเซีย

 

๑. ชื่อโครงการ

          โครงการ Seminar Exchange of ASEAN Archivists – Digital Records Management

 

๒. วัตถุประสงค์

          ๒.๑ เพื่อเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการเอกสารจดหมายเหตุอิเล็กทรอนิกส์

          ๒.๒ เพื่อให้นักจดหมายเหตุได้มีโอกาสเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านเอกสารจดหมายเหตุอิเล็กทรอนิกส์

         

๓. กำหนดเวลา

          วันจันทร์ที่ ๒๓ ถึงวันเสาร์ที่ ๒๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘ (รวมระยะเวลา ๖ วัน)

 

๔. สถานที่

          กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

 

๕. หน่วยงานผู้จัด

          หอจดหมายเหตุแห่งชาติมาเลเซีย (National Archives of Malaysia)

 

๖. หน่วยงานสนับสนุน

           -

 

๗. คณะผู้แทนไทย

          คณะผู้แทนไทยในการดำเนินโครงการเข้าร่วมการสัมมนา จำนวน ๒ ราย ดังนี้

          ๗.๑ นางกมลชนก ชวนะเกรียงไกร           นักจดหมายเหตุชำนาญการ

          ๗.๒ นางสาวมณีรัตน์ พุทธอุปถัมภ์           นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ

 

๘. กิจกรรม

กิจกรรมในการดำเนินโครงการ Seminar Exchange of ASEAN Archivists – Digital Records Management ประกอบด้วยกิจกรรม ๓ ส่วน ดังนี้

๘.๑ การสัมมนาทางวิชาการเกี่ยวกับ Digital Records Management ณ ห้อง Avenue ๑๑  โรงแรม Grand Seasons

๘.๒ การฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรม HP Records Manager ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติมาเลเซีย (National Archives of Malaysia)

๘.๓ การศึกษาดูงาน ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ มาเลเซีย (National Archives of Malaysia), The Sri Perdana Gallery, The Tun Abdul Razak Memorial และเมืองมะละกา (Malacca)

  

๙. สรุปสาระของกิจกรรม

          ๙.๑ การสัมมนาทางวิชาการ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ประกอบด้วยการนำเสนอเกี่ยวกับ Digital Records Management โดยผู้เข้าร่วมการสัมมนาจากประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการบรรยายเกี่ยวกับ Digital Records Management โดยวิทยากรจากประเทศมาเลเซีย

          ส่วนที่ ๑ การนำเสนอ Country Report on Digital Records Management โดยผู้แทนจากหอจดหมายเหตุประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เข้าร่วมสัมมนา

          ส่วนที่ ๒ การบรรยายเกี่ยวกับ Digital Records Management ประกอบด้วยหัวข้อต่างๆ ดังนี้

          - Introduction to National Archives of Malaysia โดย Mr. Shaidin Shafie, Director Government Records Management Division, National Archives of Malaysia

          - Introduction to Digital Records Management โดย Mrs. Norehan Jaaffar, Head Electronic Records Management Section, National Archives of Malaysia

          - Introduction to recordkeeping standards – An overview

            . ISO ๑๕๔๘๙ (MS ๒๒๒๓) Part & Part

            . MS ISO ๑๖๑๗๕ Part , &

            โดย Mrs. Azimah Mohd Ali Director, Planning and Coordination Division, National Archives of Malaysia

          - Prerequisites for ERMS Implementation โดย Mrs. Norehan Jaaffar, Head Electronic Records Management Section , National Archives of Malaysia

          - Implementation of Electronic Records Management System in National Archives of Malaysia โดย Mrs. Hemalatha Ramasamy, Head Research and Access Section, National Archives of Malaysia

          - Importance of Metadata in Electronic Records Management โดย Dr. Aliza Ismail, Senior Lecturer, Faculty of Information Management, University Technology Mara

          - Strategic Alliances on Managing and Preserving Electronic Records โดย Mr. Zamrul Rosli Zamri, CEO Biz Objek Sdn Bhd

          - Lessons Learnt in ERMS Implementation โดย Mrs. Hemalatha RamasamyHead Research and Access Section, National Archives of Malaysia

          ๙.๒ การฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรม HP Records Manager ณ อาคาร Menara Ilmu หอจดหมายเหตุแห่งชาติมาเลเซีย (National Archives of Malaysia) โดย Mrs. Normazlinalaila bt. Bahari, Archivist, Archive Section Audio Visual และMr. Zakaria Razali, Assistant Archivist, Policy Strategic and Quality Management Section, National Archives of Malaysia

          ๙.๓ การศึกษาดูงานสถานที่ต่าง ๆ

          หอจดหมายเหตุแห่งชาติมาเลเซีย (National Archives of Malaysia) 

ห้องบริการและค้นคว้า เป็นห้องสำหรับให้บริการเกี่ยวกับเอกสารจดหมายเหตุ แก่ผู้ค้นคว้าชาวมาเลเซียและชาวต่างประเทศ ตั้งอยู่บริเวณชั้น ๒ ของอาคาร Wisma Warisan ภายในห้องบริการและค้นคว้า แบ่งออกเป็น ๒ ชั้น ชั้นล่างเป็นส่วนให้บริการค้นคว้าเกี่ยวกับเอกสารจดหมายเหตุ ชั้นบนมีหนังสือและวิทยานิพนธ์ไว้บริการประกอบการค้นคว้าเอกสารจดหมายเหตุ นอกจากนี้ หอจดหมายเหตุแห่งชาติมาเลเซียยังมีระบบสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ (http://ofa.arkib.gov.my) ให้บริการทั้งภาษามลายูและภาษาอังกฤษเพื่อให้ผู้ค้นคว้าสามารถสืบค้นผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้จากทั่วทุกมุมโลก

ห้องปฏิบัติการสำหรับให้เจ้าหน้าที่แปลงเอกสารเป็นไฟล์ดิจิตอล อาคาร PPPAV หลังจากการแปลงเอกสารแล้วเจ้าหน้าที่จะนำมาลงทะเบียนจัดเก็บเพื่อให้บริการค้นคว้าต่อไป

 

The Sri Perdana Gallery

The Sri Perdana Gallery เป็น บ้านพัก ของ ตุน ดร. มหาธีร์ บิน โมฮัมหมัด (Tun Dr. Mahathir bin Mohamad) อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่สี่ของประเทศมาเลเซียและครอบครัว ตั้งอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ตุน ดร. มหาธีร์ บิน โมฮัมหมัด พักอาศัยในบ้านหลังนี้ตั้งแต่วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๖ ถึงวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๒ ปัจจุบันบ้านพักหลังนี้อยู่ภายใต้การดูแลและจัดการโดยหอจดหมายเหตุแห่งชาติมาเลเซีย ภายในบ้านพัก ประกอบด้วย ห้องรับรอง ห้องจัดเลี้ยง โรงภาพยนตร์ ห้องไม้ไว้สำหรับทำงานแกะสลัก ห้องครัว ห้องซักรีด ห้องตัดผม ชั้นบน ประกอบด้วย ห้องนอน ห้องแต่งตัว ห้องอ่านหนังสือ ห้องพักรับรองแขก ด้านนอกอาคารจัดแสดงรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ของตุน ดร. มหาธีร์ บิน โมฮัมหมัด 

 

The Tun Abdul Razak Memorial

The Tun Abdul Razak Memorial เป็นที่พักอาศัยและสถานที่ทำงานของ ตุน อับดุล ราซะก์ อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่สองของมาเลเซีย ซึ่งเป็นบิดาของนายนาจิบ ราซะก์ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของประเทศมาเลเซีย ปัจจุบันอาคารหลังนี้อยู่ภายใต้การดูแลและจัดการโดยหอจดหมายเหตุแห่งชาติมาเลเซีย ภายในแบ่งเป็นห้องต่างๆ ประกอบด้วย ห้องรับแขก ห้องอาหาร ห้องทำงาน ห้องอ่านหนังสือ ห้องนอน ห้องพักแขก ห้องแต่งตัว เป็นต้น ภายในห้องต่างๆจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้สมัยเมื่อครั้งที่ตุน อับดุล ราซะก์ ยังมีชีวิตอยู่

 

เมืองมะละกา (Malacca)

เมืองมะละกา (Malacca) เป็นเมืองเอกของรัฐมะละกา ประเทศมาเลเซีย ในอดีตที่นี่เป็นเมืองท่าสำคัญ ที่เติบโตจนกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นเส้นทางเดินเรือค้าขายระหว่างชาติตะวันตกและตะวันออก สินค้าสำคัญมีทั้ง เครื่องเทศ ผ้าไหม ชา ฝิ่น ยาสูบ ทองคำ ฯลฯ ต่อมามะละกาได้ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก ได้แก่ โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ และญี่ปุ่น อาคารในมะละกาจึงมีลักษณะของสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างศิลปกรรมท้องถิ่นกับประเทศเจ้าอาณานิคมต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันได้กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆในเมืองมะละกา ได้แก่ โบสถ์คริสต์ (Christ Church)  อาคารสตัดธิวท์ (Stadhuys) ป้อมเอฟอร์โมซา (A'Formosa Fort)  โบสถ์เซนต์พอล (St. Paul's Church)  และตึกอนุสรณ์การประกาศเอกราช (Proclamation of Independence Memorial) เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๑ มะละกาได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมของมาเลเซีย ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ ๓๒ เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา

 

๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม

          จากการเข้าร่วมโครงการประชุมและสัมมนาทางวิชาการครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะ ดังนี้

          ๑๐.๑ ควรสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนางานจดหมายเหตุทุกๆด้านของประเทศไทยอย่างจริงจังเพื่อให้ก้าวสู่ความเป็นสากล ทัดเทียมกับนานาประเทศ

          ๑๐.๒ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติควรสนับสนุนให้บุคลากรได้เพิ่มพูนทักษะภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรในการประสานงาน การติดต่อสื่อสาร การแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนานาประเทศ

          ๑๐.๓ หน่วยงานควรจัดให้มีกิจกรรมสันทนาการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะแก่บุคลากรเป็นประจำสม่ำเสมอเพราะบุคลากรที่ดีมีคุณภาพจะสามารถร่วมมือกันทำงานตามนโยบายของผู้บริหารและทำกิจการงานใดๆ ของหน่วยงานให้สำเร็จเจริญก้าวหน้าได้

(จำนวนผู้เข้าชม 716 ครั้ง)