...

รายงานการเดินทางไปราชการ ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โครงการเข้าร่วมการประชุมและสัมมนาทางวิชาการของสมาคมอนุรักษ์โสตทัศนูปกรณ์แห่งภาคพื้น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิค (The Southeast Asia and Pacific Audiovisual Archive Association : SEAPAVAA)

รายงานการเดินทางไปราชการ ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

 

๑. ชื่อโครงการ

          โครงการเข้าร่วมการประชุมและสัมมนาทางวิชาการของสมาคมอนุรักษ์โสตทัศนูปกรณ์แห่งภาคพื้น   เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิค (The Southeast Asia and Pacific Audiovisual Archive Association : SEAPAVAA)

 

๒. วัตถุประสงค์

          ๒.๑ เพื่อพัฒนางานด้านจดหมายเหตุของประเทศไทยด้านการบริหารจัดการเอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุและด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจดหมายเหตุให้ก้าวสู่มาตรฐานสากล และสอดคล้องกับการดำเนินงานจดหมายเหตุของนานาประเทศ

          ๒.๒ เพื่อส่งเสริม และเปิดโอกาสให้นักจดหมายเหตุได้เข้าร่วมการประชุมและสัมมนาทางวิชาการในระดับนานาชาติ รวมทั้งสร้างความร่วมมือ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแปซิฟิค ด้านการอนุรักษ์สื่อโสตทัศนูปกรณ์

          ๒.๓ เพื่อสนับสนุนให้นักจดหมายเหตุ และนักอนุรักษ์ได้เสนอแนะแนวคิด ทัศนะ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การสร้างความรู้ และความเข้าใจในงานด้านการอนุรักษ์สื่อโสตทัศนูปกรณ์ เพื่อจะได้นำความรู้จากการประชุมและสัมมนาในครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ

 

๓. กำหนดเวลา

          วันอาทิตย์ที่ ๒๕ ถึงวันศุกร์ที่ ๓๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ (รวมระยะเวลา ๕ วัน)

 

๔. สถานที่

          นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

 

๕. หน่วยงานผู้จัด

          สมาคมอนุรักษ์โสตทัศนูปกรณ์แห่งภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิค (The Southeast Asia and Pacific Audiovisual Archive Association  : SEAPAVAA)

          กระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยว (Ministry Information, Culture and Tourism) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว   

          กรมรูปเงา (Lao Department of Cinema) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

 

๖. หน่วยงานสนับสนุน

           สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร

 

๗. คณะผู้แทนไทย

          คณะผู้แทนไทยในการดำเนินโครงการเข้าร่วมการประชุมและสัมมนาทางวิชาการ The 18th SEAPAVAA จำนวน ๓ ราย ดังนี้

          ๗.๑ นางสาวนัยนา แย้มสาขา      ผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

          ๗.๒ นางสาวกรพินธุ์ ทวีตา         นักจดหมายเหตุ ระดับชำนาญการพิเศษ

          ๗.๓ นางสาวเสาวนีย์ บุตรช่วง      นักจดหมายเหตุ ระดับปฏิบัติการ

 

๘. กิจกรรม

          กิจกรรมในการดำเนินโครงการเข้าร่วมการประชุมและสัมมนาทางวิชาการของสมาคมอนุรักษ์โสตทัศนูปกรณ์แห่งภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิค (SEAPAVAA) ประกอบด้วยกิจกรรม ๓ ส่วน ดังนี้

๘.๑ การสัมมนาทางวิชาการ The 18th SEAPAVAA Conference ในหัวข้อ “AV Archives: Why They Matter” ณ ห้องแกรนบอลรูม โรงแรม Lao Plaza Hotel และ Archives Gems Screening ณ กรมรูปเงา (Lao Department of Cinema)

          ๘.๒ การประชุม 18th SEAPAVAA General Assembly, Election of New SEAPAVAA Executive Council และ 35th SEAPAVAA Executive Council Meeting

          ๘.๓ การศึกษาดูงาน ณ National Library of Laos , Lao National Television, Kaysone Phomvihane Museum และ Houey Hong Vacational Traning Center for Women

 

๙. สรุปสาระของกิจกรรม

          ๙.๑ กิจกรรมการสัมมนาแบ่งเป็น ๖ หัวเรื่อง  ประกอบด้วยการบรรยาย และการนำเสนอความก้าวหน้าในการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์โสตทัศนูปกรณ์ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศจดหมายเหตุ โดยวิทยากรจากประเทศต่างๆ

          SESSION 1 หัวข้อ With or Against The Flow? ประกอบด้วย

- Anti Digitization-Preserving Authentic Experiences โดย Mick Newnham National Film and Sound Archive, Australia

- On Being a Troublemaking Professional โดย Dr.Ray Edmondson Archive Associates Pty Ltd

- Audiovisual Archives and The Digital Divide: Bridging the Gap โดย AJ Lawrence University of California Los Angeles, Moving Image Archive Studies Program

          SESSION 2 หัวข้อ Laos Session ประกอบด้วย

- Improvement of Lao Cinema in the New Period and the Significance of AV Archives โดย Bounchao Phichit Television National Lao

                   - Conserving Audiovisual Archives: Key Elements โดย Sisavath Hongsombath

Lao Cinema Department

- The Archives of Traditional Music in Laos (ATML): Challenges and Achievements in the Digital Era โดย Thongbang Homsombath/Prof Gisa Jahnichen National Library of Laos/University putra Malaysia (UPM)

          SESSION 3 หัวข้อ Connect, Engage, Advocate ประกอบด้วย

- Audience Development : Case Study of the Film Archive (Public Organization), Thailand โดย Sanchai chotirosseranee Film Archive (Public Organization), Thailand

- The Audiovisual Research Collections for Performing Arts (ARCPA) at University Putra Malaysia: Negotiating Ethical Issues in Social Sciences โดย Ahmad Faudzi Musib, Prof Gisa Jahnichen, Chinthaka Meddegoda University Putra Malaysia

- Transforming AV Archives-A Hong Kong Archive Perspective โดย Lawrence Hui Hong Kong Film  Archive

- Creating the Brand for AV Archiving: Why Advocacy Matters โดย Belina Capul The Philippine Information Agency

          SESSION 4 หัวข้อ Involving The Masses: Archiving Their Stories ประกอบด้วย

- Digital Curation of Images and Videos Accessed and Stored in Social Media Platforms โดย Jessica Bushley The University of British Columbia, School of Library, Archival, and Information Studies

- Archiving the Ephemeral: Home Movies, Political Movements, Websites, Social Media โดย Prof Howard Besser New York University, Moving Image Archiving & Preservation Program

- Connect! Sustaining Relevance and Increasing Political of Audiovisual Archives in a Networked Context โดย Dr.Johan Oomen Netherlands Institute for Sound and Vision P&D Department

          SESSION 5 หัวข้อ Managing Your Assets ประกอบด้วย

- How We Build, Manage, and Utilize our New Archive System-NHK’s File-based Archive System and Metadata Management โดย Nobuhisa Yamashita Archives Division, NHK (Japan Broadcasting-Corporation)

- AXF in the Cloud: Revolutionizing the Way You Transport, Store and Protect Your Content โดย Paul Jones Front Porch Digital

- Practical Example and Challenge for Data Asset Management โดย Akihiro Seino IMAGICA Corp

          SESSION 6 หัวข้อ Taking Stock, Looking Ahead ประกอบด้วย

- The Current State of Media Preservation at American Universities โดย Joshua Harris University of Illinois, Urbana-Champaign, Department of Preservation and Conservation

- Temporality The State, Privatization, and the Public in Philippine Film Archiving โดย Associate Professor Bliss Cua University of California, Irvine, Department of Film and Media Studies

          ในการสัมมนาครั้งนี้ทางสมาคมฯ ได้จัดให้มีการฉายภาพยนตร์สั้นที่น่าสนใจของประเทศสมาชิกที่เข้าร่วม Archives Gems Screening ณ กรมรูปเงา (Lao Department of Cinema) ได้แก่

- Lao Department of Cinema เสนอเรื่อง Daen Haeng Issara and 3 Princes Meeting at          Hinherb by Phonephet Inpham

- Film Archive Thailand เสนอเรื่อง The Grand Opening Ceremony of High Voltage Electricity           Currency to Kingdom of Lao by Taweesak Wirayasiri 

- Film Preservation Society, Japan เสนอเรื่อง Water damaged home movies from ofunato 

- National Film and Sound Archive, Australia เสนอเรื่อง The Magnificent Corricks

- Netherlands Institute for Sound & vision เสนอเรื่อง Glass by Bert Haans

- University of Illinois, Department of Preservation & Conservation เสนอเรื่อง D.C.L (Digital   Computer Laboratory) by James W Hall

- ABS-CBN, The Philippines เสนอเรื่อง Ganito Kami Noon, Paano Kayo Ngayon                              (As We Were) by Direk Eddie Romero

- Hong Kong Film Archive เสนอเรื่อง Wong Fei-hung’s Whip That Smacks The Candle                   by Wu Pang

- Asian Film Archive เสนอเรื่อง Perth by Djinn

          ๙.๒ การประชุม 18th SEAPAVAA General Assembly, Election of New SEAPAVAA Executive Council และ 35th SEAPAVAA Executive Council Meeting ในการประชุมครั้งนี้ทางสมาคมฯ ได้ดำเนินการคัดเลือกประธานสมาคม คณะกรรมการ และเลขาธิการชุดใหม่ โดย Mr. Mick Newnham จาก National Film and Sound Archive, Australia ได้รับคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานสมาคมคนใหม่แทน นางเตือนใจ สินธุวณิก  ซึ่งเป็นประธานคนเก่า จากประเทศไทย นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้สรุปผลการดำเนินงานด้านต่าง ๆ รวมถึงการชี้แจงงบประมาณของสมาคมฯ และการคัดเลือกประเทศเจ้าภาพในการจัดการประชุมและสัมมนาทางวิชาการครั้งที่ 19th SEAPAVAA ซึ่งจะจัดให้มีขึ้น ณ ประเทศสิงคโปร์ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘

          ๙.๓ คณะผู้แทนได้เดินทางไปศึกษาดูงานสถานที่สำคัญของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวหลายแห่ง ได้แก่  National Library of Laos , Lao National Television , Kaysone Phomvihane museum และ Houey Hong Vacational Traning Center for Women

         

          หอสมุดแห่งชาติลาว (National Library of Laos)

          หอสมุดแห่งชาติลาว เริ่มให้บริการเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นกองวิชาการ สังกัดกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยว มีภาระหน้าที่ในการคุ้มครอง เก็บรักษา รวบรวมความรู้จากสื่อสิ่งพิมพ์ และที่ไม่ใช่สื่อสิ่งพิมพ์ รวมทั้งคัมภีร์ใบลาน และบริการด้านข้อมูลข่าวให้แก่ประชาชน แบ่งการดำเนินงานออกเป็น ๖ กลุ่มงาน ดังนี้ ๑. กลุ่มคุ้มครองบริหาร (Administrative section) ๒. กลุ่มขวานขวายทรัพยากร และแจ้งสิ่งพิมพ์ (Acquisition section) ๓. กลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากร และเทคนิคสิ่งพิมพ์ (Cataloguing section and documents approved by PMB system) ๔. กลุ่มบริการการอ่าน และออกเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (Pubic Reading section) ๕. กลุ่มส่งเสริมการอ่าน และขยายห้องสมุด (Reading Promotion and Extending the library network section) ๖. กลุ่มมูลเชื้อ และหนังสือหายาก (Palm Leaf Manuscript section) นอกจากนี้แล้วหอสมุดแห่งชาติลาวยังมีโครงการพัฒนาสำคัญที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ๕ โครงการ ได้แก่ ๑. โครงการพัฒนา และขยายห้องสมุด (Construction of Public and School Libraries) ๒. โครงการส่งเสริมการอ่านแห่งชาติ (The reading promotion project) ๓. โครงการปกปักรักษา และส่งเสริมการนำใช้เอกสารใบลาน (To extend tradition Knowledge of palm leaf) ๔. โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (The librarian human resource project) และ ๕. โครงการห้องสมุดดิจิตอล (Digital library Project)

 

สถานีโทรทัศน์แห่งชาติลาว (Lao National Television)  

สถานีโทรทัศน์แห่งชาติลาว สังกัดกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยว เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๓ โดยเป็นการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร และเทคนิคพื้นฐาน ทดลองออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๓ จนในวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ โทรทัศน์แห่งรัฐได้จัดตั้งขึ้น และเปิดกระจายสัญญาณ อย่างเป็นทางการ โดยออกอากาศอาทิตย์ละ ๓ วัน ในวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ วันละ ๓ ชั่วโมง รายการที่ออกอากาศประกอบด้วย ข่าวในประเทศ ข่าวต่างประเทศ ภาพยนตร์ สารคดี และศิลปะ สามารถกระจายสัญญาณ ครอบคลุมพื้นที่เพียงส่วนหนึ่งของนครหลวงเวียงจันทน์ และนับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๙ ถึง พ.ศ.๒๕๓๘ ทางสถานีได้พัฒนาการออกอากาศและการกระจายสัญญาณให้ครอบคลุมมากขึ้น โดยเพิ่มช่องออกอากาศเป็น ๒ ช่อง ได้แก่ ช่อง สทล๑ และช่อง สทล๓ อีกทั้งยังได้เพิ่มรายการภาคภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษ และภาษาชนกลุ่มน้อย สถานีโทรทัศน์แห่งชาติลาวได้มีการพัฒนามาโดยตลอด และได้รับการสนับสนุนและการช่วยเหลือด้านงบประมาณและเทคโนโลยีจากหลายประเทศ อาทิ ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐประชาชนจีน  เป็นต้น

พิพิธภัณฑ์ไกสอน พมวิหาน (Kaysone Phomvihane museum)

ท่านไกสอน พมวิหาน ถือเป็นบุคคลสำคัญของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เคยดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง ได้แก่ เลขาธิการใหญ่คณะบริหารงานศูนย์กลางพรรคปฏิวัติประชาชนลาวคนแรก นายกรัฐมนตรีคนแรกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และได้ดำรงตำแหน่งประธานประเทศ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๔ จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เนื่องในโอกาสที่ท่านไกสอน พมวิหาน มีอายุครบ ๗๕ ปี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ประชาชนลาวที่มีความเคารพรักต่อท่านไกสอน พมวิหาน ได้ร่วมกันจัดตั้งพิพิธภัณฑ์    ไกสอน พมวิหาน ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ในฐานะเป็นบุคคลสำคัญของประเทศและเป็นสถานที่จัดแสดงชีวประวัติ ผลงานสำคัญ และการเป็นผู้นำในการกอบกู้เอกราชจากจักรวรรดินิยม รวมถึงการจัดแสดงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ ให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาเรียนรู้ด้วย

 

ศูนย์ฝึกอาชีพสตรีห้วยฮอง (Houey Hong Vacational Traning Center for Women)

ศูนย์แห่งนี้ก่อตั้งขึ้นโดย Ms.Chanthasone Inthavong เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๑ โดยได้รับทุนสนับสนุนในการจัดสร้างอาคาร และการฝึกอบรมจากองค์กรต่าง ๆ อาทิ Association for Supporting Women and Lao Children (ASCW), Association for Proving jobs for Lao Women (APJW) ศูนย์แห่งนี้ได้จัดฝึกอบรมอาชีพให้ทั้งผู้หญิง และผู้ชาย รวมถึงผู้พิการด้วย โดยเน้นผู้หญิงเป็นหลัก บนพื้นฐานการยอมรับที่ว่าผู้หญิงลาวมีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมทางเพศในสังคมลาว โดยการช่วยเหลือจากผู้ที่มีทักษะในชุมชน อีกทั้งศูนย์แห่งนี้ยังมีเป้าหมายที่จะเป็นองค์กรฝึกอบรมจากผู้ที่เริ่มฝึกให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ ฟื้นฟู และสนับสนุนงานหัตถกรรมของลาว รวมถึงการแนะนำทักษะที่เหมาะสมต่าง ๆ โดยเปิดให้มีการฝึกอบรมใน ๒ ระดับ ได้แก่ ระดับที่ ๑ ให้ประชาชนที่เข้ารับการฝึกสามารถใช้ทักษะในการประกอบอาชีพได้ และระดับที่ ๒ ฝึกอบรมเพื่อพัฒนาครูผู้สอนในการทอผ้า และการตัดเย็บเสื้อผ้า นอกจากนี้แล้วทางศูนย์ได้จัดแสดงผลิตภัณฑ์จากผ้าต่าง ๆ ทั้งผ้าไหม และผ้าฝ้ายเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ที่สนใจด้วย

 

๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม

          จากการเข้าร่วมโครงการประชุมและสัมมนาทางวิชาการ The 18th SEAPAVAA มีข้อเสนอแนะ ดังนี้

          ๑๐.๑ การประชุมสัมมนาทางวิชาการ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ด้านการอนุรักษ์สื่อโสตทัศน์ของสมาคมอนุรักษ์โสตทัศนูปกรณ์แห่งภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิค (SEAPAVAA) ซึ่งจัดให้มีขึ้นเป็นประจำทุกปี สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติได้ส่งนักจดหมายเหตุเข้าร่วมการประชุมและสัมมนาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้และวิชาการที่ทันสมัยด้านการอนุรักษ์เอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ ให้แก่นักจดหมายเหตุ การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ครั้งนี้ ทำให้ตระหนักถึงความสำคัญในการจัดเก็บ การอนุรักษ์เอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ ทั้งในระบบอะนาล็อคแบบดั้งเดิม และการแปลงเป็นระบบไฟล์ดิจิทัล มีความสำคัญสำหรับการพัฒนางานจดหมายเหตุในปัจจุบันซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว และนำมาเป็นแนวทาง สำหรับการพัฒนางานจดหมายเหตุให้มีประสิทธิภาพ และเป็นมาตรฐานสากล สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติจึงควรเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่องทั้งกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์เอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ การร่วมประชุมคณะกรรมการและการสัมมนาทางวิชาการ ทั้งนี้กรมศิลปากรควรให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการอย่างสม่ำเสมอ

          ๑๐.๒ นักจดหมายเหตุ และบุคลากรของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ควรได้รับการสนับสนุนให้มีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถสื่อสาร แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการเข้าร่วมกิจกรรมในระดับสากลได้

          ๑๐.๓ ควรสนับสนุนและเปิดโอกาสให้นักจดหมายเหตุรุ่นใหม่ได้ร่วมเดินทางไปฝึกประสบการณ์ตรงในต่างประเทศ เพื่อพัฒนาบุคลากรสายงานจดหมายเหตุให้มีความรู้และประสบการณ์ในการเข้าร่วมกิจกรรมในต่างประเทศ เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาองค์กรให้มีความก้าวหน้า

(จำนวนผู้เข้าชม 679 ครั้ง)