...

รายงานการเดินทางไปราชการ การเยือนสาธารณรัฐตุรกีของคณะผู้แทนศูนย์อำนวยการบริหาร จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ณ กรุงอิสตันบูล ประเทศสาธารณรัฐตุรกี ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๓ มกราคม ๒๕๕๗

๑.      ชื่อโครงการ

การเยือนสาธารณรัฐตุรกีของคณะผู้แทนศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)  

๒.      วัตถุประสงค์

เพื่อร่วมพิธีรับมอบคัมภีร์อัลกุรอ่านโบราณจำนวน ๖ เล่ม ซึ่งประเทศตุรกีได้ส่งเจ้าหน้าที่มารับไปอนุรักษ์ซ่อมแซม ณ ประเทศตุรกี โดยรัฐบาลตุรกีสนับสนุนค่าใช่จ่ายทั้งหมด คืนกลับสู่ประเทศไทย  

๓.      กำหนดเวลา

ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๒๓ มกราคม ๒๕๕๗   

๔.      สถานที่

Suleymaniye Library กระทรวงวัฒนธรรม กรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี 

๕.      หน่วยงานผู้จัด

ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)  

๖.      หน่วยงานสนับสนุน

๑.      กระทรวงการต่างประเทศ

๒.      สมาคมนักธุรกิจไทย-ตุรกี  

๗.      กิจกรรม

๗.๑  การเข้าร่วมพิธีรับมอบคัมภีร์อัลกุรอ่านโบราณ

๗.๒  การพบปะนักศึกษาไทยในตุรกี

๗.๓  การพบมูลนิธิผู้สื่อข่าว สมาคมนักธุรกิจไทย-ตุรกี และการเข้าเยี่ยม Fatih College

๗.๓  การเยี่ยมชมแหล่งมรดกวัฒนธรรมของตุรกี  

๘.      คณะผู้แทนไทย

๘.๑   นายณรงค์ ศศิธร                       รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ            หัวหน้าคณะ

๘.๒   นายเอนก สีหามาตย์                  อธิบดีกรมศิลปากร 

๘.๓   นายมะรอนิง สาแลมิง                 รองเลขาธิการ ศอ.บต.(ต่างประเทศ)

๘.๔   นางอริสรา มะแซ                      ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต.

๘.๕   นายเซ็ง  ใบหมัด                       รองประธานคณะกรรมการอิสลาม จ.ปัตตานี

                                                          ผู้แทนสภาอุลามะห์  ประเทศไทย

๘.๖  นางสาวพรทิพย์  พันธุโกวิทย์      หัวหน้ากลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๓ สงขลา

๘.๗  นายเชาวลิต สุวรรณรัตน์               หัวหน้ากลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ ๑๓ สงขลา

๘.๘  นายมงคล  สินสมบูรณ์                 นักการทูตชำนาญการ กระทรวงการต่างประเทศ

๘.๙  นางสาวหัทยา สิริพัฒนากุล  ภูมิสถาปนิกชำนาญการ  กรมศิลปากร

๘.๑๐นายปฏิวัติ  ทุ่ยอ้น                      สถาปนิกชำนาญการ  กรมศิลปากร

๘.๑๑นายรอมดอน  หะยีอาแว               เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการ ศอ.บต.

๘.๑๒นายมาหามะลุตฟี หะยีสาแม ผู้แทนจากโรงเรียนสมานมิตรวิทยา

๘.๑๓นางฮาซามี สาและ                     ผู้แทนจากโรงเรียนสมานมิตรวิทยา

๘.๑๔นางสาวอวาตีฟ มานะห์                ผู้แทนจากโรงเรียนสมานมิตรวิทยา

๘.๑๕นายฟารุดดิน สะอะ                     ผู้แทนจากโรงเรียนสมานมิตรวิทยา

๘.๑๖นางไซนับ อับดุลรอแม                  ผู้แทนจากโรงเรียนสมานมิตรวิทยา

๘.๑๗นายมูฮัมหมัดซับรี มูซอดี               ช่างภาพ ศอ.บต.

๘.๑๘นางวริษา ศิริพฤกษานุกุล              ผู้สื่อข่าว ศอ.บต.

 

๙.      สรุปสาระของกิจกรรม

            การเดินทางไปเยือนตุรกีในครั้งนี้มีสาระสำคัญ คือ

            ๙.๑  การเข้าร่วมพิธีรับมอบคัมภีร์อัลกุรอ่านโบราณจำนวน ๖ เล่ม ซึ่งประเทศตุรกีได้ส่ง     

                 เจ้าหน้าที่มารับไปอนุรักษ์ซ่อมแซม ณ ประเทศตุรกี โดยสนับสนุนค่าใช่จ่ายทั้งหมดคืนกลับสู่ประเทศไทย พิธีส่งมอบคืนคัมภีร์อัลกุรอ่านดังกล่าว ได้จัดขึ้น ณ Suleymaniye Library กระทรวงวัฒนธรรม กรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี

                   ทั้งนี้ คัมภีร์อัลกุรอ่านโบราณทั้ง ๖ เล่ม เป็นเพียงส่วนหนึ่งของคัมภีร์เก่าแก่ที่เขียนด้วยลายมือจำนวนไม่น้อยกว่า ๗๐ เล่ม อายุราว ๑๕๐ – ๒,๐๐๐ ปี ซึ่งถูกเก็บรวบรวมไว้ที่โรงเรียนสมานมิตรวิทยา จังหวัดนราธิวาส โดยมีนายมาหามะลุตฟี หะยีสาแม ผู้ได้รับพระราชทานเข็มเกียรติคุณวันอนุรักษ์มรดกไทยจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา

สยามบรมราชกุมารี ในปี ๒๕๕๗ เป็นผู้บริหารโรงเรียนและผู้ครอบครอง

 ในการนี้ เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการอนุรักษ์คัมภีร์อัลกุรอ่านโบราณนี้ ได้บรรยายสรุปถึงหลักการ และกระบวนการอนุรักษ์คัมภีร์ดังกล่าวให้ผู้เข้าร่วมในพิธีรับฟัง ด้วย โดยมีการศึกษาวิเคราะห์วัสดุที่ใช้ทำกระดาษด้วยเนื่องจากประเทศตุรกีไม่มีวัสดกระดาษชนิดนี้ และจะไม่มีการนำสิ่งแปลกปลอมมาใช้ซ่อมกระดาษย ส่วนที่ชิ้นส่วนที่เหลือหลักจากการอนุรักษ์แล้วก็เก็บไว้ทั้งหมดและนำส่งคืนให้กับเจ้าของคัมภีร์

 

           ๙.๒  การพบปะนักเรียนไทยในตุรกี ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศตุรกีเป็น เจ้าภาพ ได้มีการเชิญนักเรียนไทยมาร่วมรับประทานอาหาร

           ๙.๓  การพบกับมูลนิธิผู้สื่อข่าว และนักธุรกิจ ซึ่งสนใจมาลงทุนในประเทศไทย รวมถึงการ เยี่ยมชม Fatih College ซึ่งเป็นโรงเรียนต้นแบบของโรงเรียนนานาชาติซึ่งดำเนินการโดยชาวตุรกีในประเทศไทย

          ๙.๔   การเยี่ยมชมแหล่งมรดกวัฒนธรรมของประเทศตุรกี ได้แก่  มัสยิดสีน้ำเงิน (BlueMosque) มหาวิหารโซเฟีย  พระราชวังTopkapi  พิพิธภัณฑ์โบราณคดี  

๑๐.         ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม

          ๑๐.๑  ควรมีการปรับปรุงสถานที่ในการเก็บรักษาคัมภีร์ดังกล่าว ณ โรงเรียนสมานมิตรวิทยา ให้มีความเหมาะสมต่อการเก็บรักษาเอกสารโบราณโดยกรมศิลปากรได้รับจัดสรรงบประมาณจากกระทรวงวัฒนธรรมในปี๒๕๕๗ ตามแผนงานแก้ไขปัญหาและพัฒนาชายแดนภาคใต้ โครงการวัฒนธรรมเชื่อมใจชายแดนใต้สันติสุข ของกระทรวง  วัฒนธรรม

          ๑๐.๒  ขอจัดสรรงบประมาณสำหรับดำเนินการก่อสร้าง เพื่อจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมอิสลามและศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอ่าน ในปีงบประมาณ ๒๕๕๘๒๕๕๙

          ๑๐.๓  ควรมีการประสาน และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการอนุรักษ์เอกสารโบราณระหว่างหน่วยงานของกรมศิลปากร และประเทศตุรกี เพื่อให้พัฒนาการอนุรักษ์ให้ได้มาตรฐาน  ในระดับสากล

(จำนวนผู้เข้าชม 770 ครั้ง)