โขน อัจฉริยะลักษณ์แห่งนาฏศิลป์ไทย
- ย้อนกลับ
- โขน อัจฉริยะลักษณ์แห่งนาฏศิลป์ไทย
ผู้แต่ง : กรมศิลปากร
ฉบับพิมพ์ :พิมพ์ครั้งที่ 2
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2553
หมายเหตุ : -
เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโขน ซึ่งเป็นนาฏศิลป์ประจำชาติที่มีการพัฒนาสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นมหรสพของหลวงที่เล่นสมโภชในงานพระราชพิธีสำคัญ ๆ โขน เป็นประมวลวิจิตรศิลป์หลายสาขาไว้ด้วยกัน กล่าวคือ กระบวนท่ารำและกระบวนรำจัดเป็นนาฏศิลป์ หน้าโขนหรือหัวโขนที่ผู้แสดงสวมใส่ต้องขึ้นรูปด้วยดินจัดเป็นงานประติมากรรม หัวโขนที่ทำด้วยกระดาษ เขียนลวดลายลงสีเป็นงานจิตรกรรม ส่วนประกอบของอาภรณ์เครื่องประดับต่าง ๆ ปักลวดลายอย่างวิจิตรบรรจงด้วยงานหัตถศิลป์ชั้นสูง เรื่องราวที่นำมาแสดงคือรามเกียรติ์ ซึ่งเป็นวรรณคดีสำคัญเรื่องหนึ่ง และในการแสดงต้องมีวงปี่พาทย์ประกอบ จึงนับว่าเป็นมหรสพที่ประกาศความเป็นอัจฉริยลักษณ์ของงานประณีตศิลป์ไทยได้อย่างเต็มภาคภู
(จำนวนผู้เข้าชม 2080 ครั้ง)