ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,727 รายการ



พนักงานดูแลรักษาโบราณสถาน ดำเนินงานกำจัดวัชพืชภายในสระน้ำโบราณปรางค์ครบุรี อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา . ...ศูนย์กลางการเรียนรู้และการท่องเที่ยว มรดกศิลปวัฒนธรรมอีสานใต้แบบบูรณาการ... ( #นครราชสีมา #ชัยภูมิ #บุรีรัมย์ #สุรินทร์ #ศรีสะเกษ #มหาสารคาม ) สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา 274 หมู่ 17 ถนนพิมาย-ชุมพวง ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา 30110 Tel : 044-471518 , 044-481024 E-Mail : fed_10@finearts.go.th Website : www.finearts.go.th/fad10 Facebook : สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา กรมศิลปากร Youtube : สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา


สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า หรือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดตั้งกองเสือป่า เพื่อให้ข้าราชการและประชาชนได้มีโอกาสฝึกหัด และเรียนรู้วิชาทหาร เพื่อเป็นกำลังสำรองในยามเกิดศึกสงคราม และเพื่อบำเพ็ญประโยชน์ต่อตนเองและบ้านเมืองในยามสงบ นอกจากนี้ยังทรงเห็นว่าจะช่วยให้คนไทยรู้จักรักชาติ มีระเบียบวินัย มีความเสียสละ สามัคคี มีความกตัญญู และมีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ พลโท ลอร์ด โรเบิร์ต เบเดน โพเอลล์ (Lord Robert Baden-Powell) รับราชการทหารรักษาเมืองมาฟฟิคิง (Mafiking) อันเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษในสหภาพแอฟริกาใต้ ซึ่งในขณะนั้นเกิดสงครามขึ้นกับพวกบัวร์ (Boer) และได้ตั้งกองทหารเด็กขึ้นมา เพื่อช่วยราชการสงคราม เช่น เป็นผู้สื่อข่าว รักษาความสงบเรียบร้อย รวมถึงเป็นหน่วยสอดแนมช่วยในการสู้รบ จนประสบผลสำเร็จ  เพราะเด็กที่ได้รับการฝึกเหล่านั้นสามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ใช้รับมอบหมายได้ไม่แพ้ผู้ใหญ่ ในทางตรงกันข้ามบางอย่างสามารถทำได้ดีกว่าเสียอีก การลูกเสือจึงเกิดขึ้นในประเทศอังกฤษเป็นแห่งแรกในโลก  เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ คติพจน์ที่พลโท ลอร์ด โรเบิร์ต เบเดน โพเอลล์ ให้ไว้แก่ลูกเสือ คือ BE PREPARED (จงเตรียมพร้อม) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๓ พรรษา ได้เสด็จไปทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ทวีปยุโรป ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นั้น ทรงทราบเรื่องการสู้รบเพื่อรักษาเมืองมาฟิคิง (Mafeking) ของ พลโท ลอร์ด โรเบิร์ต เบเดน โพเอลล์ (Lord Robert Baden-Powell) ที่จัดตั้งกองทหารเด็กเป็นหน่วยสอดแนมช่วยในการรบกับพวกบัวร์ (Boer) จนประสบผลสำเร็จ รวมถึงการจัดตั้งกองลูกเสือโลกขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ หลังจากนั้นพระองค์ทรงก่อตั้งกองเสือป่า (Wild Tiger Corps) ขึ้น เมื่อวันจันทร์ที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ อย่างเป็นทางการ และกำหนดให้มีพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาแก่สมาชิกเสือป่าขึ้นเป็นครั้งแรก ในวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ โดยที่พระองค์ทรงดำรงตำแหน่ง "นายกองใหญ่" มีเชื้อพระวงศ์และข้าราชบริพารบางส่วนเป็นคณะผู้บังคับบัญชา และมีข้าราชการพลเรือนเป็นพลเสือป่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงขยายกองเสือป่าไปทั่วราชอาณาจักรโดยทรงนำพวกมหาดเล็กของพระองค์ที่พระราชวังสราญรมย์  และพระราชวังสนามจันทร์ มาฝึกยุทธวิธีในการรบและการสอดแนมตามหลักวิชาการทหาร จนเป็นที่ยอมรับของประชาชน หลังจากนั้นพระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะปลุกกระแสรักชาติในหัวใจ ประกอบด้วย ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ จึงทรงขยายกองเสือป่าไปทั่วราชอาณาจักร เพื่อส่งเสริมให้คนไทยมีหน้าที่รักษาประเทศชาติและพร้อมพลีชีพเพื่อชาติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๖ ทรงมีพระราชประสงค์ จัดทำเพลงบรรเลงเพื่อใช้ในการยืนเคารพกองเสือป่า คือ เพลงสรรเสริญเสือป่า เป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงนำเพลงบุหลันลอยเลื่อนในอัตราจังหวะสองชั้น มาเรียบเรียงทางบรรเลงใหม่ ซึ่งเป็นทำนองของเพลงไทยเดิม ในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ มาเรียบเรียงทางบรรเลงใหม่ในรูปแบบดนตรีสากล และใช้แตรวงในการบรรเลง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แตรวงกรมเสือป่าหลวงรักษาพระองค์ บรรเลงเพลงสรรเสริญเสือป่าเป็นครั้งแรก เมื่อวันจันทร์ที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ในการถือน้ำพิพัฒน์สัตยาและพระราชทานธงไชยเฉลิมพลกองเสือป่ามณฑลนครสวรรค์ ต่อจากนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ใช้แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญเสือป่า เป็นเพลงเคารพมหาศารทูลธวัชประจำคณะเสือป่า และศารทูลธวัชประจำกรมกองเสือป่า รวมทั้งในระหว่างเวลาเสด็จพระราชดำเนินทรงตรวจพลเสือป่าและลูกเสือในวโรกาสต่างๆ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงนิพนธ์คำร้องขึ้นถวาย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตเพื่อใช้กับเพลงสรรเสริญเสือป่า เป็นการผนวกเข้ากัน ระหว่างทำนองและเนื้อร้อง จึงทำให้เพลงสรรเสริญเสือป่านั้นมีความสมบูรณ์สืบมาจวบจนปัจจุบัน อย่างไรก็ตามหลังจากกิจการเสือป่าได้สิ้นสุดลง แต่เพลงสรรเสริญเสือป่ายังคงมีการบรรเลงอยู่ในพิธีต่างๆ เสมือนเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีเฉพาะพระองค์ เช่น วชิราวุธวิทยาลัยใช้ในการปิดพระวิสูตร พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประดิษฐานภายในหอสวดหรือหอประชุมโรงเรียน จากนั้น มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์ นำเพลงสรรเสริญเสือป่า มาเป็นธรรมเนียมในการบรรเลงก่อนเริ่มแสดงละครจากบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖ ต่อมาในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เพลงสรรเสริญเสือป่า บรรเลงประกอบริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๐ และการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๒ นอกจากนี้ยังใช้บรรเลงถวายราชสักการะพระบรมรูปในพิธีบำเพ็ญกุศลวันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระผู้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทยอีกด้วย เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ แหล่งอ้างอิง : กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม. “เสือป่า”กองกำลังส่วนพระองค์ ร.๖ ที่ทรงรักเสมือนลูก. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๗,          จาก: https://www.silpa-mag.com/history/article_24044, ๒๕๖๖.คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. เพลงสรรเสริญเสือป่า. [ออนไลน์].          สืบค้นเมื่อ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๗, จาก: http://www.kingrama9.th/Honor/Detail/43, ๒๕๖๐.พิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ และคนอื่นๆ.  ศิลปากรสถาน เลขที่ ๑ ถนนหน้าพระธาตุ.  กรุงเทพฯ : สำนักบริหารกลาง กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๕๖๔.มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ.  ปลุกใจเสือป่า.  พิมพ์ครั้งที่ ๒.  ม.ป.ท.: ม.ป.พ., ๒๔๕๗. มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ ร.๖.  จาก “เพลงบุหลันลอยเลื่อน" ในรัชกาลที่ ๒  สู่ "เพลงสรรเสริญเสือป่า” ในรัชกาลที่ ๖. [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๗,          จาก: https://www.facebook.com/rama6memorial/photos/a.1727707460822520/3060240277569225/?type=3วรชาติ มีชูบท.  ฝากเรื่องกับน้องๆ เรื่อง กรมกองเสือป่า. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๗,          จาก: https://www.chonlatit.com/bs/topicDisplay2.php?hash=QVNFUmFlckFFcmFlcmFlcmEsMjEw, ๒๕๖๒.วรชาติ มีชูบท.  ฝากเรื่องกับน้องๆ เรื่อง การประลองยุทธ์เสือป่าและลูกเสือ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๗,          จาก: https://www.chonlatit.com/bs/issueDisplay.php?id=209&category=S00&issue=สโมสรเสือป่า%20ราชบุรี, ๒๕๖๒.สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ.  ๑๐๐ ปี การลูกเสือไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว, ๒๕๕๕.สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ.  กำเนิดลูกเสือโลก. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖, จาก: https://www.scoutthailand.org/pages/thaiscout-view-world.php?id=1Scouts South Africa.  The Founder – Robert Baden-Powell. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๗,          จาก: https://1stclaremont.org.za/our-history/the-founder-robert-baden-powell/TheOngkhaphayop.  สรรเสริญเสือป่า :: ทางร้อง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๗, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=erpEtDEguPs, ๒๕๕๙.


สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า หรือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดตั้งกองเสือป่า เพื่อให้ข้าราชการและประชาชนได้มีโอกาสฝึกหัด และเรียนรู้วิชาทหาร เพื่อเป็นกำลังสำรองในยามเกิดศึกสงคราม และเพื่อบำเพ็ญประโยชน์ต่อตนเองและบ้านเมืองในยามสงบ นอกจากนี้ยังทรงเห็นว่าจะช่วยให้คนไทยรู้จักรักชาติ มีระเบียบวินัย มีความเสียสละ สามัคคี มีความกตัญญู และมีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ พลโท ลอร์ด โรเบิร์ต เบเดน โพเอลล์ (Lord Robert Baden-Powell) รับราชการทหารรักษาเมืองมาฟฟิคิง (Mafiking) อันเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษในสหภาพแอฟริกาใต้ ซึ่งในขณะนั้นเกิดสงครามขึ้นกับพวกบัวร์ (Boer) และได้ตั้งกองทหารเด็กขึ้นมา เพื่อช่วยราชการสงคราม เช่น เป็นผู้สื่อข่าว รักษาความสงบเรียบร้อย รวมถึงเป็นหน่วยสอดแนมช่วยในการสู้รบ จนประสบผลสำเร็จ  เพราะเด็กที่ได้รับการฝึกเหล่านั้นสามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ใช้รับมอบหมายได้ไม่แพ้ผู้ใหญ่ ในทางตรงกันข้ามบางอย่างสามารถทำได้ดีกว่าเสียอีก การลูกเสือจึงเกิดขึ้นในประเทศอังกฤษเป็นแห่งแรกในโลก  เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ คติพจน์ที่พลโท ลอร์ด โรเบิร์ต เบเดน โพเอลล์ ให้ไว้แก่ลูกเสือ คือ BE PREPARED (จงเตรียมพร้อม) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๓ พรรษา ได้เสด็จไปทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ทวีปยุโรป ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นั้น ทรงทราบเรื่องการสู้รบเพื่อรักษาเมืองมาฟิคิง (Mafeking) ของ พลโท ลอร์ด โรเบิร์ต เบเดน โพเอลล์ (Lord Robert Baden-Powell) ที่จัดตั้งกองทหารเด็กเป็นหน่วยสอดแนมช่วยในการรบกับพวกบัวร์ (Boer) จนประสบผลสำเร็จ รวมถึงการจัดตั้งกองลูกเสือโลกขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ หลังจากนั้นพระองค์ทรงก่อตั้งกองเสือป่า (Wild Tiger Corps) ขึ้น เมื่อวันจันทร์ที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ อย่างเป็นทางการ และกำหนดให้มีพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาแก่สมาชิกเสือป่าขึ้นเป็นครั้งแรก ในวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ โดยที่พระองค์ทรงดำรงตำแหน่ง "นายกองใหญ่" มีเชื้อพระวงศ์และข้าราชบริพารบางส่วนเป็นคณะผู้บังคับบัญชา และมีข้าราชการพลเรือนเป็นพลเสือป่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงขยายกองเสือป่าไปทั่วราชอาณาจักรโดยทรงนำพวกมหาดเล็กของพระองค์ที่พระราชวังสราญรมย์  และพระราชวังสนามจันทร์ มาฝึกยุทธวิธีในการรบและการสอดแนมตามหลักวิชาการทหาร จนเป็นที่ยอมรับของประชาชน หลังจากนั้นพระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะปลุกกระแสรักชาติในหัวใจ ประกอบด้วย ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ จึงทรงขยายกองเสือป่าไปทั่วราชอาณาจักร เพื่อส่งเสริมให้คนไทยมีหน้าที่รักษาประเทศชาติและพร้อมพลีชีพเพื่อชาติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๖ ทรงมีพระราชประสงค์ จัดทำเพลงบรรเลงเพื่อใช้ในการยืนเคารพกองเสือป่า คือ เพลงสรรเสริญเสือป่า เป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงนำเพลงบุหลันลอยเลื่อนในอัตราจังหวะสองชั้น มาเรียบเรียงทางบรรเลงใหม่ ซึ่งเป็นทำนองของเพลงไทยเดิม ในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ มาเรียบเรียงทางบรรเลงใหม่ในรูปแบบดนตรีสากล และใช้แตรวงในการบรรเลง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แตรวงกรมเสือป่าหลวงรักษาพระองค์ บรรเลงเพลงสรรเสริญเสือป่าเป็นครั้งแรก เมื่อวันจันทร์ที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ในการถือน้ำพิพัฒน์สัตยาและพระราชทานธงไชยเฉลิมพลกองเสือป่ามณฑลนครสวรรค์ ต่อจากนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ใช้แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญเสือป่า เป็นเพลงเคารพมหาศารทูลธวัชประจำคณะเสือป่า และศารทูลธวัชประจำกรมกองเสือป่า รวมทั้งในระหว่างเวลาเสด็จพระราชดำเนินทรงตรวจพลเสือป่าและลูกเสือในวโรกาสต่างๆ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงนิพนธ์คำร้องขึ้นถวาย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตเพื่อใช้กับเพลงสรรเสริญเสือป่า เป็นการผนวกเข้ากัน ระหว่างทำนองและเนื้อร้อง จึงทำให้เพลงสรรเสริญเสือป่านั้นมีความสมบูรณ์สืบมาจวบจนปัจจุบัน อย่างไรก็ตามหลังจากกิจการเสือป่าได้สิ้นสุดลง แต่เพลงสรรเสริญเสือป่ายังคงมีการบรรเลงอยู่ในพิธีต่างๆ เสมือนเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีเฉพาะพระองค์ เช่น วชิราวุธวิทยาลัยใช้ในการปิดพระวิสูตร พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประดิษฐานภายในหอสวดหรือหอประชุมโรงเรียน จากนั้น มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์ นำเพลงสรรเสริญเสือป่า มาเป็นธรรมเนียมในการบรรเลงก่อนเริ่มแสดงละครจากบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖ ต่อมาในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เพลงสรรเสริญเสือป่า บรรเลงประกอบริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๐ และการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๒ นอกจากนี้ยังใช้บรรเลงถวายราชสักการะพระบรมรูปในพิธีบำเพ็ญกุศลวันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระผู้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทยอีกด้วย เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ แหล่งอ้างอิง : กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม. “เสือป่า”กองกำลังส่วนพระองค์ ร.๖ ที่ทรงรักเสมือนลูก. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๗,         จาก: https://www.silpa-mag.com/history/article_24044, ๒๕๖๖.คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. เพลงสรรเสริญเสือป่า. [ออนไลน์].         สืบค้นเมื่อ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๗, จาก: http://www.kingrama9.th/Honor/Detail/43, ๒๕๖๐.พิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ และคนอื่นๆ.  ศิลปากรสถาน เลขที่ ๑ ถนนหน้าพระธาตุ.  กรุงเทพฯ : สำนักบริหารกลาง กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๕๖๔.มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ.  ปลุกใจเสือป่า.  พิมพ์ครั้งที่ ๒.  ม.ป.ท.: ม.ป.พ., ๒๔๕๗.มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ ร.๖.  จาก “เพลงบุหลันลอยเลื่อน" ในรัชกาลที่ ๒  สู่ "เพลงสรรเสริญเสือป่า” ในรัชกาลที่ ๖. [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๗,         จาก: https://www.facebook.com/rama6memorial/photos/a.1727707460822520/3060240277569225/?type=3วรชาติ มีชูบท.  ฝากเรื่องกับน้องๆ เรื่อง กรมกองเสือป่า. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๗,         จาก: https://www.chonlatit.com/bs/topicDisplay2.php?hash=QVNFUmFlckFFcmFlcmFlcmEsMjEw, ๒๕๖๒.วรชาติ มีชูบท.  ฝากเรื่องกับน้องๆ เรื่อง การประลองยุทธ์เสือป่าและลูกเสือ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๗,         จาก: https://www.chonlatit.com/bs/issueDisplay.php?id=209&category=S00&issue=สโมสรเสือป่า%20ราชบุรี, ๒๕๖๒.สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ.  ๑๐๐ ปี การลูกเสือไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว, ๒๕๕๕.สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ.  กำเนิดลูกเสือโลก. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖, จาก: https://www.scoutthailand.org/pages/thaiscout-view-world.php?id=1Scouts South Africa.  The Founder – Robert Baden-Powell. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๗,         จาก: https://1stclaremont.org.za/our-history/the-founder-robert-baden-powell/TheOngkhaphayop.  สรรเสริญเสือป่า :: ทางร้อง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๗, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=erpEtDEguPs, ๒๕๕๙.


อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ขอเชิญร่วมโหวตให้ "E4 ปราสาทหินพิมาย" อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เป็น “สุดยอดสถานที่ท่องเที่ยวไทยแห่งปี” กับกิจกรรม Thailand Top Vote 2024 โดยโหวตผ่านแอพ Prompt Post ซึ่งบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) จัดร่วมกับ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ติดตามรายละเอียดได้ที่ https://thailandtopvote.mcot.net/


วันศุกร์ที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๓๐ น. นางสาวปุณณภา สุขสาคร ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกเชียงใหม่ พร้อมด้วยบรรณารักษ์ ให้การต้อนรับคณะจาก The International Centre for the Study of the Preservation and Restoration of Cultural Property (ICCROM), National Research Institute of Cultural Heritage (NRICH), กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ที่มาเยี่ยมชมเอกสารโบราณ และกิจกรรมสาธิตการจารใบลาน และการทำความสะอาดเอกสารโบราณ ณ ห้องมรดกอักษรา หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกเชียงใหม่


ี            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี มูลนิธิเล็ก - ประไพ วิริยะพันธุ์ และชมรมนักโบราณคดี (สมัครเล่น) เมืองสุพรรณ ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังการเสวนาทางวิชาการเรื่อง "สุพรรณภูมิ กำเนิดสยามประเทศ" วันเสาร์ที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ ถึง ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี              กำหนดการมีดังนี้             เวลา ๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. ลงทะเบียน             เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๒๐ น. หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี กล่าวต้อนรับและเปิดกิจกรรมเสวนา             เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๕.๓๐ น. กิจกรรมเวทีเสวนา "สุพรรณภูมิ กำเนิดสยามประเทศ" โดยมีวิทยากร ศาสตราจารย์พิเศษ ศรีศักร วัลลิโภดม นักวิชาการด้านโบราณคดีและมานุษยวิทยา คนสำคัญของประเทศไทยร้อยเอก บุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี, อาจารย์วลัยลักษณ์ ทรงศิริ นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์, นายปัญชลิต โชติกเสถียร ผู้ดำเนินรายการ (ชมรมนักโบราณคดี (สมัครเล่น) เมืองสุพรรณ)             และพบกับบูธหนังสือวิชาการทรงคุณค่า จากมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ และกิจกรรรมร่วมถ่ายภาพคู่กับศาสตราจารย์พิเศษ ศรีศักร วัลลิโภดม เป็นที่ระลึกพร้อมรับลายเซ็นต์บนภาพจากเพจสยามเทศะ             ผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังเสวนา สามารถลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSd3VpcIYPw0sKtgrUQGDAfrJ8m-BrSITqcCiuEOZgreqAdt_A/viewform?fbclid=IwY2xjawGuRjFleHRuA2FlbQIxMAABHRZjFlHpNdwT9Fl0vz3CD84lFZIxHNWKOMrtr25PTm1EXmlplcwN2IjelA_aem_O_qvU_j8eggA89GsVobAzQ (รับจำนวนจำกัด)  สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี โทรศัพท์ ๐ ๓๕๕๓ ๕๓๓๐, ๐ ๓๕๕๓ ๖๑๐๐ ชมรมนักโบราณคดี(สมัครเล่น)เมืองสุพรรณ โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๓๘ ๔๖๗๖ (สมยศ), ๐๘ ๑๖๑๔ ๗๒๓๗ (ปัญชลิต)              


           นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จัดกิจกรรม "ชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ" Night at the Museum ในเทศกาลท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน Night at the Museum Festival 2024 เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมพิพิธภัณฑ์ในบรรยากาศกลางคืน เรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ประวัติศาสตร์ และสถาปัตยกรรมไทย ระหว่างวันที่ ๒๐ - ๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๗ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ - ๒๐.๐๐ น.             ภายในงานพบกับกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้            - ตลาดพิพิธภัณฑ์ (Museum Market) เลือกซื้องานอาร์ตทอย กาชาปอง งานคราฟต์ สื่อสร้างสรรค์จากโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ในพิพิธภัณฑ์ เป็นของขวัญสำหรับเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ รวมถึงอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ พบกับนักพยากรณ์มืออาชีพที่ศาลาพยากรณ์ เปิดตลาดตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ - ๒๐.๐๐ น.            - กาชาปอง "มะเส็งเฝ้าทรัพย์" (Gashapon "Wealthy Snake") กาชาปองรูปตราประทับงูเฝ้าทรัพย์ ใต้ฐานสลักอักษรมงคล ๕ ประการ "อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ" เปิดสุ่มที่บูธ มู-เซียม สตูดิโอ ๐๖๔ ในตลาดพิพิธภัณฑ์ ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ น. เป็นต้นไป สุ่มละ ๒๐๐ บาท ไม่จำกัดจำนวน             - ตามรอยสิบสองนักษัตร (Twelve Zodiacs Scavenger Hunt) เป็นกิจกรรมที่เหมาะกับครอบครัวและทุกเพศทุกวัย เดินชมพิพิธภัณฑ์ไปพร้อมกับตามหาสัตว์ตัวแทนปีเกิด ที่แอบตามมุมต่าง ๆ ในห้องจัดแสดง โดยเก็บ RC ให้ครบแล้วอย่าลืมแวะรับของรางวัลก่อนกลับ เปิดจำหน่ายที่บูธ มู-เซียม สตูดิโอ ๐๖๔ ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๙.๓๐ น.  ชุดละ ๕๐ บาท             - นำชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ (Night Museum Guided Tour) นำชมพิพิธภัณฑ์เป็นกรณีพิเศษ ในหัวข้อ "อาศิรวิษนักษัตร เปิดตำนานอสรพิษ พุทธศักราช ๒๕๖๘" โดยภัณฑารักษ์และ National Museum Volunteers ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เปิดรับลงทะเบียน เวลา ๑๗.๐๐ น. เริ่มนำชม เวลา ๑๘.๐๐ - ๑๙.๓๐ น. (วันละ ๑ รอบเท่านั้น) โดยไม่ต้องสำรองที่นั่งล่วงหน้า            - เปิดเรือนชาลีลาวดี (Frangipani Teahouse) เดินชมพิพิธภัณฑ์แล้วอย่าลืมแวะพักขา จิบชาเบา ๆ ที่เรือนชาลีลาวดี ณ หออนุสรณ์เจ้าพระยายมราช (แก้ว สิงหเสนี) เปิดตั้งแต่ เวลา ๐๘.๓๐ - ๒๐.๐๐ น.             กิจกรรมที่พลาดไม่ได้คือ การเปิดตัวตราประทับที่ระลึก สำหรับอาคารต่าง ๆ ในพิพิธภัณฑ์ จำนวน ๑๔ ดวง ซึ่งจะเปิดให้ได้เก็บสะสมตั้งแต่วันที่ ๒๐ ธันวาคม เป็นต้นไป ตลอดจนถึงปีหน้า             ขอเชิญผู้สนใจร่วมกิจกรรม "ชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ" Night at the Museum ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ - ๒๐.๐๐ น. ในวันศุกร์ - อาทิตย์ ที่ ๒๐ - ๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๗ จำหน่ายบัตร เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๙.๐๐ น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒ (วันพุธ - อาทิตย์ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.) ติดตามรายละเอียดแต่ละกิจกรรมได้ทางเฟสบุ๊ก Education.National Museum Bangkok เที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ขอเชิญชวนเด็ก ๆ ร่วมกิจกรรมพิเศษ "Art Activities @พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี" เพื่อให้น้อง ๆ หนูๆ ที่มาเที่ยวพิพิธภัณฑ์ในช่วงวันหยุดเสาร์ - อาทิตย์ ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้านศิลปะ โดยมีกิจกรรมการประดิษฐ์ "กล่องสุ่ม" แด่คนพิเศษ ในวันเสาร์ - อาทิตย์ ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๗ ณ ห้องกิจกรรมพิเศษ ชั้น ๒ ซึ่งน้อง ๆ ที่ร่วมกิจกรรมจะได้รับผลงานตัวเองกลับบ้านไปด้วย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี โทร. ๐ ๓๕๕๓ ๕๓๓๐


           เนื่องด้วยปัจจุบันระบบสืบค้นฐานข้อมูลโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุสำหรับประชาชนทั่วไป ของกรมศิลปากร อยู่ระหว่างการปรับปรุงใหม่ ทางคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เล็งเห็นความสำคัญในการให้บริการฐานข้อมูลดังกล่าว จึงขอแนะนำ 3 ขั้นตอนง่าย ๆ สำหรับผู้สนใจศึกษาเกี่ยวกับโบราณวัตถุ สามารถใช้บริการสืบค้นข้อมูลเพื่อการศึกษาโบราณวัตถุของคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ได้ในปัจจุบัน ดังต่อไปนี้            1.เดินทางไปที่คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดปทุมธานี            2. ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อเข้าใช้ห้องสืบค้นข้อมูลโบราณวัตถุ             3. หากต้องการศึกษาโบราณวัตถุชิ้นใด สามารถแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ เพื่อดำเนินการต่อไป            ทั้งนี้ ท่านสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่ท่านมีความสนใจเข้ามาก่อนได้ ผ่านช่องทาง Facebook: Central Storage of National Museums : คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หรือเบอร์โทรศัพท์ 0 2902 7835 ขออภัยในความไม่สะดวกไว้ ณ ที่นี้ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาของทุกท่าน


            อุทยานประวัติศาสตร์ พิมาย ขอเชิญชมการแสดงดนตรี ซิมโฟนีออร์เคสตรา ผสมผสานดนตรีพื้นถิ่นโคราช "ดนตรีกล่อมปราสาท" ณ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จังหวัดนครราชสีมา ในวันอังคารที่ 3 ธันวาคม 2567 เวลา 17.00 - 20.00 น. จัดโดย มูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข สนับสนุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ ไทยพีบีเอส มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เทศบาลตำบลพิมาย ที่ทำการปกครองอำเภอพิมาย




วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.ธนกร ช้างน้อย อดีตกรรมการสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และกรรมการส่งเสริมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มอบหนังสือ "สาระสาส์นศึกษาศาสตร์ เรื่องเล่าขานปัจจุบันและอนาคต"  ไว้ให้บริการภายในหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่