หลวงพ่อนาก
องค์ความรู้เรื่อง : ที่มาของ "หลวงพ่อนาก"
โดย : นายจตุรพร เทียมทินกฤต
. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ ที่ห้องล้านนา ตึกประพาสพิพิธภัณฑ์ ขอเชิญท่านไปชมพระพุทธรูปองค์หนึ่ง “หลวงพ่อนาก” มีความงามพุทธศิลป์เป็นศิลปะสุโขทัย มีสังฆาฏิที่ยาวจรดพระนาภี ทรวดทรงเพรียวบางแต่ได้สัดส่วน แต่พระพักตร์และท่านั่งขัดสมาธิเพชรออกไปทางศิลปะล้านนา ในการหล่อพระพุทธรูปนิยมใช้สำริด มีส่วนผสมของ ทองแดง ดีบุก ทองคำ เงิน แต่จากการหล่อหลวงพ่อนากมีการใส่ส่วนผสมของทองแดงมากกว่า สีผิวของท่านออกสีแดงเรื่อๆ อาจจะโดยความตั้งใจทำให้เป็นโลหะผสมที่เรียกกันว่า “นาก”๑ หรือกะส่วนผสมผิด แต่ออกมาเป็นพระพุทธรูปที่งดงามเป็นเอกองค์หนึ่ง ก่อนที่จะมาอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ท่านมีประวัติความเป็นมาว่ามาจาก พ.ท.ปัจจุบันเป็นจังหวัดพะเยา โดยถูกนำมาจากโบราณสถานวัดป่าแดงหลวงดอนไชยบุญนาค(วัดป่าแดง(บุนนาค) ดังนี้
. ก่อนอื่นต้องอธิบายสภาพโดยสังเขป “วัดป่าแดงหลวงดอนไชยบุญนาค” ตำบลท่าวังทอง อ.เมือง จ.พะเยา จากหลักฐานเดิมจากประวัติวัดป่าแดงของพระราชวิสุทธิโสภณ(พระอุบาลีคุณูปมาจารย์) วัดสองแห่งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน โดยแยกจากออกจากกัน คือวัดป่าแดงหลวงดอนไชย กับวัดบุนนาค กลายเป็นวัดร้าง จึงมีการรวมพื้นที่เข้าเป็นวัดเดียวกันและบูรณะวัดขึ้นมาใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ซึ่งภายในพื้นที่บริเวณวัดในปัจจุบันมีเนินโบราณสถานมากถึง ๒๕ เนินที่ยังไม่ได้ทำการขุดแต่งทางโบราณคดี ทางกรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๘ ตอนที่ ๑๗๗ ประกาศวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๗ พื้นที่ ๗๒ ไร่ ๑ งาน ๕๒ ตารางวา
. วัดป่าแดงหลวงดอนไชย ตั้งอยู่บนส่วนยอดของเนิน ปัจจุบันได้มีก่อสร้างวิหารและเจดีย์ใหม่ทับบนฐานรากเดิมโดยมีแนวแกนของวัดวางตัวตามแนวตะวันออก-ตะวันตก เดิมเคยปรากฏแนวกำแพงล้อมรอบพื้นที่บริเวณวัด แต่ถูกรื้อทำลายจนเหลือแนวอิฐ ส่วน วัดบุนนาค ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ห่างออกไป ๒๐๐ เมตร ซึ่งแนวแกนของวัดกลับวางตัวตามแนวเหนือใต้ โดยองค์ประกอบสำคัญของวัดบุญนาค ประกอบด้วยเจดีย์ประธานซึ่งเป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัย คือมี ชั้นเขียง ๓ ชั้น (แต่ถูกซ่อมแซมไป) ที่องค์ระฆังมีมาลัยเถา ๓ ชั้น ซึ่งเป็นลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย องค์เจดีย์และอาคารทรงจัตุรมุข ได้มีการขุดแต่งทางโบราณคดีในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ และบูรณะในปีพ.ศ. ๒๕๓๒
. ทางด้านทิศใต้ขององค์เจดีย์ห่างออกมาประมาณ ๓๐ เมตร มีเนินดินขนาดใหญ่ซึ่งจากประวัติเป็นสถานที่ค้นพบ จารึกหลักที่ พย.๙ ซึ่งมีข้อความ กล่าวถึง พระมหาเถรติกประหญา อารามาธิบดี วัดพญาร่วง ได้ทำบุญในปี พ.ศ. ๒๐๔๒ และอุทิศสิ่งของถวายวัด ซึ่ง พญาร่วง หรือพระยาร่วง เป็นคำที่นิยมใช้เรียกขาน กษัตริย์ของแคว้นสุโขทัย ซึ่งพระยาร่วง ในที่นี้(พะเยา) กล่าวจะหมายถึงใครไม่ได้ นอกจากพระเจ้ายุธิษฐิระ ซึ่งเป็นเจ้าเมืองสองแคว (พิษณุโลก) ที่ได้ผิดใจกับพระบรมไตรโลกนาถ ได้พาผู้คนมาเข้าด้วยพระเจ้าติโลกราช ในปี ๑๙๙๔(?) ศิลาจารึกหลักนี้ นายบุญรัตน์ ทิพย์มณี พบที่วัดบุนนาค จังหวัดพะเยา เหตุที่ได้ชื่อว่าวัดบุนนาค สันนิษฐานว่า มีต้นบุนนาคขึ้นอยู่ก่อน แต่ตำนานซึ่งเขียนในสมัยพระครูศรีวิลาสวชิรปัญญา ว่าชื่อ วัดพญาร่วง ต่อมานายบุญรัตน์ ทิพย์มณี ได้นำมามอบแก่พระโสภณธรรมมุนี (คือ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๖) อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ หรือหลวงพ่อใหญ่ ของชาวพะเยา ส่วนเนินดินขนาดใหญ่ที่กล่าว ต่อมาใน ปี ๒๕๔๘ ทางสำนักงานศิลปากรที่ ๗ น่าน(เดิม) ได้ทำการขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดี และบูรณะ ปี ๒๕๕๑
. ใน ปี ๒๔๖๐ ได้เกิดเหตุร้ายเจดีย์ประธานองค์นี้จากบันทึกของ พระครูศรีวิราชปัญญา๒ เจ้าคณะเมืองพะเยา ว่า “ใน วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ว่าพระเทพวงค์และธุเจ้าเทพ ได้ไปพบ หลักฐานจากซากหลงเหลือ จากผู้ร้ายมาลักขุดเจดีย์วัดบุนนาค มีหีบหินกว้าง ๓ ศอก ลึก ๓ ศอก พระเทพวงค์บอกได้ว่า มีการขุด วันเดือน ๑๒ ออก ๑๐ ค่ำ๓ ตรงกับวันที่เกิดเหตุ วันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๐ (ในขณะนั้นวัดร้างไม่มีการดูแล) และ มีการตามจับได้ที่บ้านร้อง อำเภองาว (อยู่ห่างออกไปทางทิศใต้กว่า ๓๐ กิโลเมตร) ซึ่งมีพระพุทธรูปองค์หนึ่ง เหลือรอดจากการถูกหลอม เป็นพระพุทธรูปโลหะผสม(สำริด แต่มีสัดส่วนทองแดงมากกว่าปรกติ)” ซึ่งต่อมาได้ยึดและจัดเก็บไว้ที่ ศาลจังหวัดเชียงราย๔. เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาส เชียงราย ในปี ๒๔๖๙ อำมาตย์ตรีหลวงอดุลยธารณ์ปรีชาไวท์ ผู้พิพากษาศาลเชียงรายทูลเกล้าถวาย ต่อมาได้พระราชทานให้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ คือพระพุทธรูปที่เรียกกันว่า หลวงพ่อนาก ปรากฏ ว่ามีจารึกที่บริเวณฐานขององค์พระ กล่าวถึงพระนามของ พระเจ้ายุธิษฐิราม เป็นผู้สร้างพระพทุธรูปองค์นี้ เมื่อ มศ. ๑๓๙๘ (พ.ศ. ๒๐๑๙) ในช่วงปลายรัชกาลพระเจ้าติโลกราช ได้มีความนิยมทำจารึกปีที่สร้างไว้ที่ส่วนฐาน สรุปความได้ว่า “ศักราช ๑๓๙๘ [ม.ศ. ๑๓๙๘ ตรงกับ พ.ศ. ๒๐๑๙ ] ในปีวอก เดือน ๓ ขึ้น ๑๕ ค่ำ วันอาทิตย์ อุตรภัทรนักษัตร โสริยาม พระราชาผู้เป็นใหญ่ทรงพระนาม พระเจ้ายุษฐิรราม เป็นพระราชาผู้ครองเมืองอภิวทรงประสูติในวงค์ของนักรบผู้กล้าหาญเป็นเยี่ยม ทรงประกอบด้วย(ทศพิธราช) ธรรม แตกฉานพระไตรปิฏก ได้ทรงสร้างพระพุทธรูปทอง (สำริด) องค์นี้มีน้ำหนักสิบสี่พัน(๑๔,๐๐๐) เพื่อดำรง(พระศาสนา) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” เมื่อได้สอบทานช่วงเวลานั้น พระเจ้ายุธิษฐิระ ได้มาครองเมืองพะเยาแล้ว ได้ปรากฏในจารึก ลพ ๒๔ สรุปความได้ว่า “ในปี ๘๓๖( จศ.๘๓๖-พ.ศ. ๒๐๑๗) พระเจ้าติโลกราชให้พญาสองแควเก่า มากินเมืองพะเยา มาสร้างบ้านพองเต่าให้เป็นที่อยู่”
. ถ้าท่านมีโอกาสไปเยี่ยมชม วัดบุนนาค ใต้ต้นไม้ใหญ่(มะม่วง?) อยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๓๐ เมตร ของเจดีย์ประธาน ที่โคนต้นพบแผ่นปูนซีเมนต์ มีการจารข้อความ ว่า “สถานที่ตรงนี้เหล่าคนร้ายได้พากันขุดองค์พระเจดีย์และนำพระทองคำหน้าตัก ๒๐ กว่านิ้ว ๔ องค์ ทำการหลอมเพื่อเอาทองคำเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ วันที่ ๒๑ สิงหาคม เวลาหลอมตอนแรกไม่ละลายจึงพากันตั้งศาลเพียงตา อธิษฐานขอเกิดเป็นคนชาติเดียว...(อักษรเลือน)” เมื่อไปตรวจสอบเอกสารพบว่า ตรงกันกับเหตุการณ์การลักลอบขุดที่วัดบุนนาค มีเพียงครั้งเดียว สิงหาคม ๒๔๖๐ ตามบันทึกว่า “วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๒ จุลศักราช ๑๒๗๙ พุทธศักราช ๒๔๖๐ ตรงกับ รศ.๑๓๖ เวลาเช้า ๓ โมงเช้า(๐๙.๐๐ น.)” จึงอาจจะเป็นความสับสนวัน ปี ของผู้จาร แต่จากข้อความ ทำให้ว่าได้ทราบสูญเสียพระพุทธรูปที่มีขนาดใกล้เคียงกับหลวงพ่อนาค ไปให้กับความโลภของมนุษย์ ถึง ๔ องค์ สันนิษฐานว่าคงจะมีพุทธศิลป์ที่งามไม่ด้อยกว่าหลวงพ่อนาก ที่หลงเหลือให้อนุชนรุ่นหลังได้ชม
เชิงอรรถ
๑. นาก ในที่นี้เป็นคำนาม หมายถึง โลหะผสมชนิดหนึ่ง โดยเอาทองคำ เงิน กับทองแดงผสมเข้าด้วยกัน นิยมใช้ทำรูปพรรณต่าง ๆ เป็นวิเศษณ์ หมายถึง เรียกสีอย่างสีทองปนแดง เช่น ชมพู่สีนาก เป็นต้น
๒.พระครู วิลาสวชิรปัญญา (ปินตา ชอบจิต 2404-2487)”ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะแขวงเมืองพะเยา (ในอดีตพะเยามีฐานะเป็นอำเภอหรือแขวงหนึ่งของจังหวัดเชียงราย) ระหว่าง พ.ศ. 2404-2487 นอกจากนี้ ยังเป็นเจ้าอาวาสวัดหัวข่วงแก้ว วัดราชคฤห์ และเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ (วัดพระเจ้าตนหลวง) มีรวบรวมเก็บไว้ที่หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ มีจำนวน 11 เล่ม เป็นการบันทึกประจำวัน เหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับพิธีกรรมศิลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น รวมถึงการปกครองคณะสงฆ์ ด้วยอักษรธรรมล้านนาในกระดาษฟุลสแก็ปที่เย็บเป็นเล่ม ได้มีคุณประโยชน์แก่ชนรุ่นหลังเหลือคณานับ
๓.นับตามปฏิทินจันทรคติล้านนา จะแตกต่างกับทางภาคกลาง(จุลศักราชไทย) นับเร็วกว่าประมาณ ๒ เดือน
๔. อำเภอพะเยาได้ยกฐานะขึ้นเป็น จังหวัดพะเยา แยกจาก จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2520
-อ้างอิง-
คณะกรรมจัดทำหนังสือวัดป่าแดงบุนนาค(ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์). ตำนานพระธาตุป่าแดงหลวงดอนไชยและพระรัตนบุนนาคไชยปราการ.พะเยา,กอบคำการพิมพ์.
พระธรรมวิมลโมลี.เมืองพะเยาจากตำนานและประวัติศาสตร์.พะเยา:๒๕๔๖.
พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ “ หลวงพ่อนาก พระพุทธรูปพระเจ้ายุธิษฐิระ” ศิลปากร ปีที่ ๔๖ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-กุมภาพันธ์) ๒๕๔๖.๑๐๕-๑๑๔.
สุจิตต์ วงษ์ เทศ บรรณาธิการ.(๒๕๓๘). ประชุมจารึกเมืองพะเยา. กรุงเทพฯ: บริษัทพิฆเณศ พริ้นติ้งเซ็นเตอร์.
โดย : นายจตุรพร เทียมทินกฤต
. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ ที่ห้องล้านนา ตึกประพาสพิพิธภัณฑ์ ขอเชิญท่านไปชมพระพุทธรูปองค์หนึ่ง “หลวงพ่อนาก” มีความงามพุทธศิลป์เป็นศิลปะสุโขทัย มีสังฆาฏิที่ยาวจรดพระนาภี ทรวดทรงเพรียวบางแต่ได้สัดส่วน แต่พระพักตร์และท่านั่งขัดสมาธิเพชรออกไปทางศิลปะล้านนา ในการหล่อพระพุทธรูปนิยมใช้สำริด มีส่วนผสมของ ทองแดง ดีบุก ทองคำ เงิน แต่จากการหล่อหลวงพ่อนากมีการใส่ส่วนผสมของทองแดงมากกว่า สีผิวของท่านออกสีแดงเรื่อๆ อาจจะโดยความตั้งใจทำให้เป็นโลหะผสมที่เรียกกันว่า “นาก”๑ หรือกะส่วนผสมผิด แต่ออกมาเป็นพระพุทธรูปที่งดงามเป็นเอกองค์หนึ่ง ก่อนที่จะมาอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ท่านมีประวัติความเป็นมาว่ามาจาก พ.ท.ปัจจุบันเป็นจังหวัดพะเยา โดยถูกนำมาจากโบราณสถานวัดป่าแดงหลวงดอนไชยบุญนาค(วัดป่าแดง(บุนนาค) ดังนี้
. ก่อนอื่นต้องอธิบายสภาพโดยสังเขป “วัดป่าแดงหลวงดอนไชยบุญนาค” ตำบลท่าวังทอง อ.เมือง จ.พะเยา จากหลักฐานเดิมจากประวัติวัดป่าแดงของพระราชวิสุทธิโสภณ(พระอุบาลีคุณูปมาจารย์) วัดสองแห่งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน โดยแยกจากออกจากกัน คือวัดป่าแดงหลวงดอนไชย กับวัดบุนนาค กลายเป็นวัดร้าง จึงมีการรวมพื้นที่เข้าเป็นวัดเดียวกันและบูรณะวัดขึ้นมาใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ซึ่งภายในพื้นที่บริเวณวัดในปัจจุบันมีเนินโบราณสถานมากถึง ๒๕ เนินที่ยังไม่ได้ทำการขุดแต่งทางโบราณคดี ทางกรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๘ ตอนที่ ๑๗๗ ประกาศวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๗ พื้นที่ ๗๒ ไร่ ๑ งาน ๕๒ ตารางวา
. วัดป่าแดงหลวงดอนไชย ตั้งอยู่บนส่วนยอดของเนิน ปัจจุบันได้มีก่อสร้างวิหารและเจดีย์ใหม่ทับบนฐานรากเดิมโดยมีแนวแกนของวัดวางตัวตามแนวตะวันออก-ตะวันตก เดิมเคยปรากฏแนวกำแพงล้อมรอบพื้นที่บริเวณวัด แต่ถูกรื้อทำลายจนเหลือแนวอิฐ ส่วน วัดบุนนาค ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ห่างออกไป ๒๐๐ เมตร ซึ่งแนวแกนของวัดกลับวางตัวตามแนวเหนือใต้ โดยองค์ประกอบสำคัญของวัดบุญนาค ประกอบด้วยเจดีย์ประธานซึ่งเป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัย คือมี ชั้นเขียง ๓ ชั้น (แต่ถูกซ่อมแซมไป) ที่องค์ระฆังมีมาลัยเถา ๓ ชั้น ซึ่งเป็นลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย องค์เจดีย์และอาคารทรงจัตุรมุข ได้มีการขุดแต่งทางโบราณคดีในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ และบูรณะในปีพ.ศ. ๒๕๓๒
. ทางด้านทิศใต้ขององค์เจดีย์ห่างออกมาประมาณ ๓๐ เมตร มีเนินดินขนาดใหญ่ซึ่งจากประวัติเป็นสถานที่ค้นพบ จารึกหลักที่ พย.๙ ซึ่งมีข้อความ กล่าวถึง พระมหาเถรติกประหญา อารามาธิบดี วัดพญาร่วง ได้ทำบุญในปี พ.ศ. ๒๐๔๒ และอุทิศสิ่งของถวายวัด ซึ่ง พญาร่วง หรือพระยาร่วง เป็นคำที่นิยมใช้เรียกขาน กษัตริย์ของแคว้นสุโขทัย ซึ่งพระยาร่วง ในที่นี้(พะเยา) กล่าวจะหมายถึงใครไม่ได้ นอกจากพระเจ้ายุธิษฐิระ ซึ่งเป็นเจ้าเมืองสองแคว (พิษณุโลก) ที่ได้ผิดใจกับพระบรมไตรโลกนาถ ได้พาผู้คนมาเข้าด้วยพระเจ้าติโลกราช ในปี ๑๙๙๔(?) ศิลาจารึกหลักนี้ นายบุญรัตน์ ทิพย์มณี พบที่วัดบุนนาค จังหวัดพะเยา เหตุที่ได้ชื่อว่าวัดบุนนาค สันนิษฐานว่า มีต้นบุนนาคขึ้นอยู่ก่อน แต่ตำนานซึ่งเขียนในสมัยพระครูศรีวิลาสวชิรปัญญา ว่าชื่อ วัดพญาร่วง ต่อมานายบุญรัตน์ ทิพย์มณี ได้นำมามอบแก่พระโสภณธรรมมุนี (คือ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๖) อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ หรือหลวงพ่อใหญ่ ของชาวพะเยา ส่วนเนินดินขนาดใหญ่ที่กล่าว ต่อมาใน ปี ๒๕๔๘ ทางสำนักงานศิลปากรที่ ๗ น่าน(เดิม) ได้ทำการขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดี และบูรณะ ปี ๒๕๕๑
. ใน ปี ๒๔๖๐ ได้เกิดเหตุร้ายเจดีย์ประธานองค์นี้จากบันทึกของ พระครูศรีวิราชปัญญา๒ เจ้าคณะเมืองพะเยา ว่า “ใน วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ว่าพระเทพวงค์และธุเจ้าเทพ ได้ไปพบ หลักฐานจากซากหลงเหลือ จากผู้ร้ายมาลักขุดเจดีย์วัดบุนนาค มีหีบหินกว้าง ๓ ศอก ลึก ๓ ศอก พระเทพวงค์บอกได้ว่า มีการขุด วันเดือน ๑๒ ออก ๑๐ ค่ำ๓ ตรงกับวันที่เกิดเหตุ วันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๐ (ในขณะนั้นวัดร้างไม่มีการดูแล) และ มีการตามจับได้ที่บ้านร้อง อำเภองาว (อยู่ห่างออกไปทางทิศใต้กว่า ๓๐ กิโลเมตร) ซึ่งมีพระพุทธรูปองค์หนึ่ง เหลือรอดจากการถูกหลอม เป็นพระพุทธรูปโลหะผสม(สำริด แต่มีสัดส่วนทองแดงมากกว่าปรกติ)” ซึ่งต่อมาได้ยึดและจัดเก็บไว้ที่ ศาลจังหวัดเชียงราย๔. เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาส เชียงราย ในปี ๒๔๖๙ อำมาตย์ตรีหลวงอดุลยธารณ์ปรีชาไวท์ ผู้พิพากษาศาลเชียงรายทูลเกล้าถวาย ต่อมาได้พระราชทานให้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ คือพระพุทธรูปที่เรียกกันว่า หลวงพ่อนาก ปรากฏ ว่ามีจารึกที่บริเวณฐานขององค์พระ กล่าวถึงพระนามของ พระเจ้ายุธิษฐิราม เป็นผู้สร้างพระพทุธรูปองค์นี้ เมื่อ มศ. ๑๓๙๘ (พ.ศ. ๒๐๑๙) ในช่วงปลายรัชกาลพระเจ้าติโลกราช ได้มีความนิยมทำจารึกปีที่สร้างไว้ที่ส่วนฐาน สรุปความได้ว่า “ศักราช ๑๓๙๘ [ม.ศ. ๑๓๙๘ ตรงกับ พ.ศ. ๒๐๑๙ ] ในปีวอก เดือน ๓ ขึ้น ๑๕ ค่ำ วันอาทิตย์ อุตรภัทรนักษัตร โสริยาม พระราชาผู้เป็นใหญ่ทรงพระนาม พระเจ้ายุษฐิรราม เป็นพระราชาผู้ครองเมืองอภิวทรงประสูติในวงค์ของนักรบผู้กล้าหาญเป็นเยี่ยม ทรงประกอบด้วย(ทศพิธราช) ธรรม แตกฉานพระไตรปิฏก ได้ทรงสร้างพระพุทธรูปทอง (สำริด) องค์นี้มีน้ำหนักสิบสี่พัน(๑๔,๐๐๐) เพื่อดำรง(พระศาสนา) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” เมื่อได้สอบทานช่วงเวลานั้น พระเจ้ายุธิษฐิระ ได้มาครองเมืองพะเยาแล้ว ได้ปรากฏในจารึก ลพ ๒๔ สรุปความได้ว่า “ในปี ๘๓๖( จศ.๘๓๖-พ.ศ. ๒๐๑๗) พระเจ้าติโลกราชให้พญาสองแควเก่า มากินเมืองพะเยา มาสร้างบ้านพองเต่าให้เป็นที่อยู่”
. ถ้าท่านมีโอกาสไปเยี่ยมชม วัดบุนนาค ใต้ต้นไม้ใหญ่(มะม่วง?) อยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๓๐ เมตร ของเจดีย์ประธาน ที่โคนต้นพบแผ่นปูนซีเมนต์ มีการจารข้อความ ว่า “สถานที่ตรงนี้เหล่าคนร้ายได้พากันขุดองค์พระเจดีย์และนำพระทองคำหน้าตัก ๒๐ กว่านิ้ว ๔ องค์ ทำการหลอมเพื่อเอาทองคำเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ วันที่ ๒๑ สิงหาคม เวลาหลอมตอนแรกไม่ละลายจึงพากันตั้งศาลเพียงตา อธิษฐานขอเกิดเป็นคนชาติเดียว...(อักษรเลือน)” เมื่อไปตรวจสอบเอกสารพบว่า ตรงกันกับเหตุการณ์การลักลอบขุดที่วัดบุนนาค มีเพียงครั้งเดียว สิงหาคม ๒๔๖๐ ตามบันทึกว่า “วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๒ จุลศักราช ๑๒๗๙ พุทธศักราช ๒๔๖๐ ตรงกับ รศ.๑๓๖ เวลาเช้า ๓ โมงเช้า(๐๙.๐๐ น.)” จึงอาจจะเป็นความสับสนวัน ปี ของผู้จาร แต่จากข้อความ ทำให้ว่าได้ทราบสูญเสียพระพุทธรูปที่มีขนาดใกล้เคียงกับหลวงพ่อนาค ไปให้กับความโลภของมนุษย์ ถึง ๔ องค์ สันนิษฐานว่าคงจะมีพุทธศิลป์ที่งามไม่ด้อยกว่าหลวงพ่อนาก ที่หลงเหลือให้อนุชนรุ่นหลังได้ชม
เชิงอรรถ
๑. นาก ในที่นี้เป็นคำนาม หมายถึง โลหะผสมชนิดหนึ่ง โดยเอาทองคำ เงิน กับทองแดงผสมเข้าด้วยกัน นิยมใช้ทำรูปพรรณต่าง ๆ เป็นวิเศษณ์ หมายถึง เรียกสีอย่างสีทองปนแดง เช่น ชมพู่สีนาก เป็นต้น
๒.พระครู วิลาสวชิรปัญญา (ปินตา ชอบจิต 2404-2487)”ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะแขวงเมืองพะเยา (ในอดีตพะเยามีฐานะเป็นอำเภอหรือแขวงหนึ่งของจังหวัดเชียงราย) ระหว่าง พ.ศ. 2404-2487 นอกจากนี้ ยังเป็นเจ้าอาวาสวัดหัวข่วงแก้ว วัดราชคฤห์ และเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ (วัดพระเจ้าตนหลวง) มีรวบรวมเก็บไว้ที่หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ มีจำนวน 11 เล่ม เป็นการบันทึกประจำวัน เหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับพิธีกรรมศิลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น รวมถึงการปกครองคณะสงฆ์ ด้วยอักษรธรรมล้านนาในกระดาษฟุลสแก็ปที่เย็บเป็นเล่ม ได้มีคุณประโยชน์แก่ชนรุ่นหลังเหลือคณานับ
๓.นับตามปฏิทินจันทรคติล้านนา จะแตกต่างกับทางภาคกลาง(จุลศักราชไทย) นับเร็วกว่าประมาณ ๒ เดือน
๔. อำเภอพะเยาได้ยกฐานะขึ้นเป็น จังหวัดพะเยา แยกจาก จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2520
-อ้างอิง-
คณะกรรมจัดทำหนังสือวัดป่าแดงบุนนาค(ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์). ตำนานพระธาตุป่าแดงหลวงดอนไชยและพระรัตนบุนนาคไชยปราการ.พะเยา,กอบคำการพิมพ์.
พระธรรมวิมลโมลี.เมืองพะเยาจากตำนานและประวัติศาสตร์.พะเยา:๒๕๔๖.
พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ “ หลวงพ่อนาก พระพุทธรูปพระเจ้ายุธิษฐิระ” ศิลปากร ปีที่ ๔๖ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-กุมภาพันธ์) ๒๕๔๖.๑๐๕-๑๑๔.
สุจิตต์ วงษ์ เทศ บรรณาธิการ.(๒๕๓๘). ประชุมจารึกเมืองพะเยา. กรุงเทพฯ: บริษัทพิฆเณศ พริ้นติ้งเซ็นเตอร์.
สุจิตต์ วงษ์ เทศ บรรณาธิการ.ประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม เมืองพะเยา. กรุงเทพฯ: บริษัทพิฆเณศ พริ้นติ้งเซ็นเตอร์.
(จำนวนผู้เข้าชม 3446 ครั้ง)