แกะรอยชาวโยนจากตำนานล้านนา
องค์ความรู้เรื่อง : แกะรอยชาวโยนจากตำนานล้านนา
โดย : นางสาวนงไฉน ทะรักษา นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี
สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่
. แอ่งที่ราบเชียงราย – พะเยา เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเมืองพื้นราบ ที่เรียกตนเองและถูกเรียกว่า ชาวโยน หรือชาวยวน ในตำนานของล้านนาเล่าถึงการตั้งถิ่นฐานพื้นที่นี้มาตั้งแต่ก่อนสมัยพุทธกาล ได้แก่ ตำนานสิงหนวัติ และพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน
. ตำนานสิงหนวัติเล่าถึงการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของผู้คนจากนครไทยเทศ ตั้งแต่ราว 18 ปีก่อนพุทธกาล สิงหนวัติกุมารได้สร้างเมืองโยนกนาคพันธุสิงหนวัตินครใกล้กับแม่น้ำโขง เมืองโยนกฯและราชวงศ์สิงหนวัติดำรงอยู่เรื่อยมาจนถึงราวพ.ศ. 1003 เมืองได้ล่มลง เพราะชาวบ้านจับปลาไหลเผือกมากิน
เมื่อเมืองโยนกฯ ล่มสลายลง ชาวเมืองรอบๆเมืองโยนกได้ตั้งขุนลังขึ้นปกครอง สร้างเวียงแห่งหนึ่งริมแม่น้ำโขง ทางตะวันออกของเวียงโยนกชื่อเวียงปรึกษา มีขุนปกครองมาอีก 16 คน จนถึงพ.ศ.1118 พระอินทร์ได้ให้ลวจังกราชโอปปาติกะมาเป็นเจ้าเมืองเงินยาง ในราวพ.ศ.1182 เริ่มต้นราชวงศ์ลวจังกราช ในราชวงศ์นี้มีกษัตริย์ปกครอง 25 พระองค์ (เจ้าเมืองที่มีชื่อเสียง คือ ขุนเจืองหรือพญาเจือง) ในสมัยราชวงศ์นี้ ตั้งแต่ขุนชื่นและขุนจอมธรรม แสดงให้เห็นว่าแอ่งที่ราบลุ่มเชียงรายและพะเยาเริ่มก่อร่างสร้างอาณาจักรแยกจากกัน
. จนกระทั่งถึงสมัยพญามังราย ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังราย ได้รวบรวมเมืองเล็กเมืองน้อยต่างๆขึ้น สถาปนาอาณาจักรล้านนาขึ้นมา และได้ย้ายเมืองหลวงจากแอ่งที่ราบเชียงราย มายังแอ่งที่ราบเชียงใหม่ โดยน่าจะมีประสงค์เพื่อขยายอาณาจักรต่อไป และถึงแม้จะเป็นพระสหายและเป็นพระญาติกับพญางำเมืองแห่งพะเยา แต่กษัตริย์ราชวงศ์มังรายองค์ต่อๆมา ก็ยังพยายามที่จะยึดอาณาจักรของพญางำเมือง
----- จากตำนานเหล่านี้ แสดงให้เราเห็นว่า -----
. ชาวโยนเป็นผู้อพยพย้ายถิ่นเข้ามาในแอ่งที่ราบเชียงราย – พะเยา ตั้งแต่ก่อนพุทธกาล เป็นชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นราบใกล้กับแม่น้ำ แต่ในพื้นที่ก็มีชาวพื้นเมืองที่เรียกว่ามิลักขุ ตั้งถิ่นฐานอยู่บนที่สูง แต่ชนทั้งสองกลุ่มมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันตลอดเรื่อง
. ราวพุทธศตวรรษที่ 16 ประชากรของกลุ่มชาวโยนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก ในขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นถึงความมั่งคั่งของบ้านเมือง แต่ละเมืองเริ่มมีความขัดแย้งจนสู้รบกัน เพื่อแย่งชิงทรัพยากร เมื่อรวบรวมตั้งบ้านเมืองเป็นหลักแหล่งมีความมั่งคั่ง ชาวมิลักขุน่าจะมีบทบาทน้อยลง ดังที่ไม่ค่อยปรากฏในตำนานอย่างที่เคยเป็นมา
. ทั้งนี้ ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายพบหลักฐานสมัยก่อนล้านนา ได้แก่ เครื่องมือเครื่องใช้สำริด ขวานหินกะเทาะและขวานหินขัด ทั้งในพื้นที่ อ.เมืองเชียงราย อ.แม่จัน อ.ป่าแดด อ.เวียงชัย อ.พาน
. นอกจากนี้ เราพบเมืองโบราณกระจายตัวอยู่ตามลำน้ำสายสำคัญตลอดลำน้ำ คือ แม่น้ำกกและแม่น้ำอิง เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 100 เมือง
โดย : นางสาวนงไฉน ทะรักษา นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี
สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่
. แอ่งที่ราบเชียงราย – พะเยา เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเมืองพื้นราบ ที่เรียกตนเองและถูกเรียกว่า ชาวโยน หรือชาวยวน ในตำนานของล้านนาเล่าถึงการตั้งถิ่นฐานพื้นที่นี้มาตั้งแต่ก่อนสมัยพุทธกาล ได้แก่ ตำนานสิงหนวัติ และพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน
. ตำนานสิงหนวัติเล่าถึงการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของผู้คนจากนครไทยเทศ ตั้งแต่ราว 18 ปีก่อนพุทธกาล สิงหนวัติกุมารได้สร้างเมืองโยนกนาคพันธุสิงหนวัตินครใกล้กับแม่น้ำโขง เมืองโยนกฯและราชวงศ์สิงหนวัติดำรงอยู่เรื่อยมาจนถึงราวพ.ศ. 1003 เมืองได้ล่มลง เพราะชาวบ้านจับปลาไหลเผือกมากิน
เมื่อเมืองโยนกฯ ล่มสลายลง ชาวเมืองรอบๆเมืองโยนกได้ตั้งขุนลังขึ้นปกครอง สร้างเวียงแห่งหนึ่งริมแม่น้ำโขง ทางตะวันออกของเวียงโยนกชื่อเวียงปรึกษา มีขุนปกครองมาอีก 16 คน จนถึงพ.ศ.1118 พระอินทร์ได้ให้ลวจังกราชโอปปาติกะมาเป็นเจ้าเมืองเงินยาง ในราวพ.ศ.1182 เริ่มต้นราชวงศ์ลวจังกราช ในราชวงศ์นี้มีกษัตริย์ปกครอง 25 พระองค์ (เจ้าเมืองที่มีชื่อเสียง คือ ขุนเจืองหรือพญาเจือง) ในสมัยราชวงศ์นี้ ตั้งแต่ขุนชื่นและขุนจอมธรรม แสดงให้เห็นว่าแอ่งที่ราบลุ่มเชียงรายและพะเยาเริ่มก่อร่างสร้างอาณาจักรแยกจากกัน
. จนกระทั่งถึงสมัยพญามังราย ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังราย ได้รวบรวมเมืองเล็กเมืองน้อยต่างๆขึ้น สถาปนาอาณาจักรล้านนาขึ้นมา และได้ย้ายเมืองหลวงจากแอ่งที่ราบเชียงราย มายังแอ่งที่ราบเชียงใหม่ โดยน่าจะมีประสงค์เพื่อขยายอาณาจักรต่อไป และถึงแม้จะเป็นพระสหายและเป็นพระญาติกับพญางำเมืองแห่งพะเยา แต่กษัตริย์ราชวงศ์มังรายองค์ต่อๆมา ก็ยังพยายามที่จะยึดอาณาจักรของพญางำเมือง
----- จากตำนานเหล่านี้ แสดงให้เราเห็นว่า -----
. ชาวโยนเป็นผู้อพยพย้ายถิ่นเข้ามาในแอ่งที่ราบเชียงราย – พะเยา ตั้งแต่ก่อนพุทธกาล เป็นชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นราบใกล้กับแม่น้ำ แต่ในพื้นที่ก็มีชาวพื้นเมืองที่เรียกว่ามิลักขุ ตั้งถิ่นฐานอยู่บนที่สูง แต่ชนทั้งสองกลุ่มมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันตลอดเรื่อง
. ราวพุทธศตวรรษที่ 16 ประชากรของกลุ่มชาวโยนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก ในขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นถึงความมั่งคั่งของบ้านเมือง แต่ละเมืองเริ่มมีความขัดแย้งจนสู้รบกัน เพื่อแย่งชิงทรัพยากร เมื่อรวบรวมตั้งบ้านเมืองเป็นหลักแหล่งมีความมั่งคั่ง ชาวมิลักขุน่าจะมีบทบาทน้อยลง ดังที่ไม่ค่อยปรากฏในตำนานอย่างที่เคยเป็นมา
. ทั้งนี้ ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายพบหลักฐานสมัยก่อนล้านนา ได้แก่ เครื่องมือเครื่องใช้สำริด ขวานหินกะเทาะและขวานหินขัด ทั้งในพื้นที่ อ.เมืองเชียงราย อ.แม่จัน อ.ป่าแดด อ.เวียงชัย อ.พาน
. นอกจากนี้ เราพบเมืองโบราณกระจายตัวอยู่ตามลำน้ำสายสำคัญตลอดลำน้ำ คือ แม่น้ำกกและแม่น้ำอิง เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 100 เมือง
(จำนวนผู้เข้าชม 2028 ครั้ง)