โบราณคดีเวียงลอ Ep.4
องค์ความรู้เรื่อง : โบราณคดีเวียงลอ Ep.4
โดย : นายจตุรพร เทียมทินกฤต นักโบราณคดีชำนาญการ
กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่
- ใต้กำแพงเมืองมีกระดูกมนุษย์??
. ดังที่ทราบว่า ใน ปี พ.ศ. 2547-48 สำนักศิลปากรที่ 7 น่าน(ขณะนั้น) ได้ดำเนินทางโบราณคดี ขุดแต่งโบราณสถาน ขุดแต่งโบราณสถาน 14 แห่ง ขุดค้นทางโบราณคดีทั้งในและนอกกำแพงเมือง 19 จุด และขุดค้นขุดแต่งเพื่อทราบโครงสร้างการซ่อมแซม เสริมสร้างแนวกำแพง และขนาดของกำแพงเมือง จำนวน 8 จุดครอบคลุมทุกด้านของแนวกำแพงเมืองเวียงลอ ในการทำงานจะมีการขุดค้นลึกลงไปจนเลยพื้นใช้งานแรกสุดของกำแพงเมืองเพื่อให้ทราบถึงว่าไม่มีร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์อีกในพื้นที่นี้ หลุมขุดค้นอื่น ๆ ไม่มีปรากฏร่องรอยกิจกรรมมนุษย์ก่อนการสร้างกำแพงเมือง แต่การดำเนินงานไปจนกระทั่ง หลุมที่ 5 (T.P.5) ตั้งอยู่ในบริเวณ ทางแนวกำแพงเมืองพื้นที่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ แตกต่างออกไป
. เมื่อการขุดตรวจลึกกว่าพื้นระดับใช้งานสุดท้ายของกำแพงเมือง ได้พบหลักฐานแหล่งฝังศพของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในวัฒนธรรมยุคโลหะตอนปลายจากการขุดค้นบริเวณใต้แนวกำแพงเมือง จากขุดค้น ในT.P.5 พบโครงกระดูก 3 โครง มีการฝังศพแบบนอนหงาย เหยียดยาว ต่อมาเมื่อการดำเนินงานจนแล้วเสร็จ ได้พบโครงที่ 4 พบส่วนกะโหลกศีรษะ แต่ไม่ได้ขยายออกไปเพิ่มเติมเนื่องจากปัญหางบประมาณสรุปได้พบว่า เป็นชุมชนขนาดใหญ่ วัฒนธรรมของผู้ตาย น่าจะมีความเชื่อการฝังศพหัวหน้าไปทางทิศตะวันออก นอกจากนั้นในการขุดค้นและขุดแต่งยังพบ สิ่งของเครื่องใช้ฝังร่วมกับร่างผู้ตาย และมีความแตกต่างปริมาณและความหลากหลายในโครงที่ 1และ 2 กับโครงที่ 3 อาจแสดงให้เห็นความแตกต่างทางสถานะสังคมหรือเศรษฐกิจก็เป็นได้
. โบราณวัตถุที่พบเช่น ภาชนะดินเผา เครื่องมือหิน เครื่องมือเหล็ก เช่น มีด หอก ขวาน/สิ่ว(?) เป็นต้น แวดินเผา เครื่องประดับ เช่น กำไลสำริด ลูกปัดหินคาร์เนเลี่ยน, ลูกปัดแก้วที่รู้จักกันในชื่อ “ลูกปัดลมสินค้า (Trade-Wind Breads)”หรือลูกปัดทวาราวดี ด้วย นิยมมากในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 9 – 10 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 16 – 17 ในการศึกษาในปีพ.ศ. 2547 – 2548 เราจึงได้ลูกปัดเป็นตัวเปรียบเทียบว่าเจ้าของโครงกระดูกเหล่านี้น่าจะมีอายุในช่วง 2000 – 1500 ปีมาแล้ว หรือประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 – 12 และต่อมาเราได้รับเงินงบประมาณ ในปีงบประมาณ 2560 ได้ดำเนินการ “โครงการขุดค้นทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์เมืองโบราณเวียงลอ” ได้วางแผนผังในการทำงานพื้นที่ประมาณ 200 ตารางเมตรครอบคลุม บริเวณพื้นที่บริเวณใกล้เคียงพื้นที่ T.P.5 และสุ่มพื้นที่เพื่อขุดค้น ครอบคลุมพื้นที่ ได้พบหลุมฝังศพจำนวน 6 โครง โบราณวัตถุโดยรวมเหมือนปี 2547 – 2548 (หากมีโอกาสจะนำเสนอในตอนต่อ ๆ ไป) และทางคณะทำงานได้ส่งตัวอย่างไปหาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ ทั้งหมด 10 ตัวอย่าง ด้วยวิธีกำหนดอายุด้วยวิธีเรืองแสงความร้อน (Thermoluminescence : TL) ที่ ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้อายุระหว่าง 600-1050 ปีมาแล้ว ประมาณ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 – 20 ดังนั้น ทางคณะทำงานจึงได้กำหนดอายุของแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์เวียงลอ โดยใช้ค่าอายุทางวิทยาศาสตร์แทนแบบเปรียบเทียบรูปแบบที่ใช้แต่ปี 2548 ตัวอย่างเหล่านี้ได้จากจุดต่างๆในการขุดค้นจากชั้นบนสุดถึงล่างสุด แสดงถึงชุมชนเวียงลอมีการอยู่อาศัยก่อนการสร้างเมืองที่มีการสร้างกำแพงเมือง – คูน้ำที่สร้างในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 – 20 น่าจะมีชุมชนในช่วงที่พุทธศตวรรษที่ 16 – 17 และได้ในเอกสาร ตำนานเมืองพะเยาพงศาวดารโยก มีการกล่าวถึง “ขุนเจือง” ที่ประสูติปี 1642 (ประมาณ 900 ปีมาแล้ว) แสดงว่า “พันนาลอ” ก็เป็นชุมชนบริวารของเมืองพะเยามาแต่ต้นสมัยขุนจอมธรรม จากค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ของกลุ่มชนที่ได้ฝังร่างไว้ในที่นี้ร่วมสมัยกับขุนเจือง ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่มีความสามารถมาก
เป็นที่ยอมรับของชนชาติใน 2 ฝั่งแม่น้ำของตอนกลาง ลาวตอนเหนือ จรดแม่น้ำแดง ในเวียดนาม ชุมชนพันนาลอได้อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องจนถึงสมัยล้านนา วัฒนธรรมจากยุคโลหะปลาย มารับพุทธศาสนาในพุทธศตวรรษที่ 19 – 20 การปลงศพเปลี่ยนจากฝังศพ เป็นการเผา
------------------------------------------------------
อ้างอิง
เฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมี. ตำนานเมืองพะเยา. เชียงใหม่:นครพิงค์การพิมพ์,2554
ประชากิจกรจักร,พระยา. พงศาวดารโยนก. กรุงเทพฯ:คลังวิทยา,2516.
ศิลปากร,กรม. รายงานการขุดค้น เมือง กำแพงเมือง เวียงลอ (หลุมขุดค้นที่ 1-8). สำนักศิลปากรที่ 7 น่าน:2547 (เอกสารอัดสำเนา)
โดย : นายจตุรพร เทียมทินกฤต นักโบราณคดีชำนาญการ
กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่
- ใต้กำแพงเมืองมีกระดูกมนุษย์??
. ดังที่ทราบว่า ใน ปี พ.ศ. 2547-48 สำนักศิลปากรที่ 7 น่าน(ขณะนั้น) ได้ดำเนินทางโบราณคดี ขุดแต่งโบราณสถาน ขุดแต่งโบราณสถาน 14 แห่ง ขุดค้นทางโบราณคดีทั้งในและนอกกำแพงเมือง 19 จุด และขุดค้นขุดแต่งเพื่อทราบโครงสร้างการซ่อมแซม เสริมสร้างแนวกำแพง และขนาดของกำแพงเมือง จำนวน 8 จุดครอบคลุมทุกด้านของแนวกำแพงเมืองเวียงลอ ในการทำงานจะมีการขุดค้นลึกลงไปจนเลยพื้นใช้งานแรกสุดของกำแพงเมืองเพื่อให้ทราบถึงว่าไม่มีร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์อีกในพื้นที่นี้ หลุมขุดค้นอื่น ๆ ไม่มีปรากฏร่องรอยกิจกรรมมนุษย์ก่อนการสร้างกำแพงเมือง แต่การดำเนินงานไปจนกระทั่ง หลุมที่ 5 (T.P.5) ตั้งอยู่ในบริเวณ ทางแนวกำแพงเมืองพื้นที่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ แตกต่างออกไป
. เมื่อการขุดตรวจลึกกว่าพื้นระดับใช้งานสุดท้ายของกำแพงเมือง ได้พบหลักฐานแหล่งฝังศพของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในวัฒนธรรมยุคโลหะตอนปลายจากการขุดค้นบริเวณใต้แนวกำแพงเมือง จากขุดค้น ในT.P.5 พบโครงกระดูก 3 โครง มีการฝังศพแบบนอนหงาย เหยียดยาว ต่อมาเมื่อการดำเนินงานจนแล้วเสร็จ ได้พบโครงที่ 4 พบส่วนกะโหลกศีรษะ แต่ไม่ได้ขยายออกไปเพิ่มเติมเนื่องจากปัญหางบประมาณสรุปได้พบว่า เป็นชุมชนขนาดใหญ่ วัฒนธรรมของผู้ตาย น่าจะมีความเชื่อการฝังศพหัวหน้าไปทางทิศตะวันออก นอกจากนั้นในการขุดค้นและขุดแต่งยังพบ สิ่งของเครื่องใช้ฝังร่วมกับร่างผู้ตาย และมีความแตกต่างปริมาณและความหลากหลายในโครงที่ 1และ 2 กับโครงที่ 3 อาจแสดงให้เห็นความแตกต่างทางสถานะสังคมหรือเศรษฐกิจก็เป็นได้
. โบราณวัตถุที่พบเช่น ภาชนะดินเผา เครื่องมือหิน เครื่องมือเหล็ก เช่น มีด หอก ขวาน/สิ่ว(?) เป็นต้น แวดินเผา เครื่องประดับ เช่น กำไลสำริด ลูกปัดหินคาร์เนเลี่ยน, ลูกปัดแก้วที่รู้จักกันในชื่อ “ลูกปัดลมสินค้า (Trade-Wind Breads)”หรือลูกปัดทวาราวดี ด้วย นิยมมากในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 9 – 10 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 16 – 17 ในการศึกษาในปีพ.ศ. 2547 – 2548 เราจึงได้ลูกปัดเป็นตัวเปรียบเทียบว่าเจ้าของโครงกระดูกเหล่านี้น่าจะมีอายุในช่วง 2000 – 1500 ปีมาแล้ว หรือประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 – 12 และต่อมาเราได้รับเงินงบประมาณ ในปีงบประมาณ 2560 ได้ดำเนินการ “โครงการขุดค้นทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์เมืองโบราณเวียงลอ” ได้วางแผนผังในการทำงานพื้นที่ประมาณ 200 ตารางเมตรครอบคลุม บริเวณพื้นที่บริเวณใกล้เคียงพื้นที่ T.P.5 และสุ่มพื้นที่เพื่อขุดค้น ครอบคลุมพื้นที่ ได้พบหลุมฝังศพจำนวน 6 โครง โบราณวัตถุโดยรวมเหมือนปี 2547 – 2548 (หากมีโอกาสจะนำเสนอในตอนต่อ ๆ ไป) และทางคณะทำงานได้ส่งตัวอย่างไปหาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ ทั้งหมด 10 ตัวอย่าง ด้วยวิธีกำหนดอายุด้วยวิธีเรืองแสงความร้อน (Thermoluminescence : TL) ที่ ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้อายุระหว่าง 600-1050 ปีมาแล้ว ประมาณ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 – 20 ดังนั้น ทางคณะทำงานจึงได้กำหนดอายุของแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์เวียงลอ โดยใช้ค่าอายุทางวิทยาศาสตร์แทนแบบเปรียบเทียบรูปแบบที่ใช้แต่ปี 2548 ตัวอย่างเหล่านี้ได้จากจุดต่างๆในการขุดค้นจากชั้นบนสุดถึงล่างสุด แสดงถึงชุมชนเวียงลอมีการอยู่อาศัยก่อนการสร้างเมืองที่มีการสร้างกำแพงเมือง – คูน้ำที่สร้างในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 – 20 น่าจะมีชุมชนในช่วงที่พุทธศตวรรษที่ 16 – 17 และได้ในเอกสาร ตำนานเมืองพะเยาพงศาวดารโยก มีการกล่าวถึง “ขุนเจือง” ที่ประสูติปี 1642 (ประมาณ 900 ปีมาแล้ว) แสดงว่า “พันนาลอ” ก็เป็นชุมชนบริวารของเมืองพะเยามาแต่ต้นสมัยขุนจอมธรรม จากค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ของกลุ่มชนที่ได้ฝังร่างไว้ในที่นี้ร่วมสมัยกับขุนเจือง ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่มีความสามารถมาก
เป็นที่ยอมรับของชนชาติใน 2 ฝั่งแม่น้ำของตอนกลาง ลาวตอนเหนือ จรดแม่น้ำแดง ในเวียดนาม ชุมชนพันนาลอได้อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องจนถึงสมัยล้านนา วัฒนธรรมจากยุคโลหะปลาย มารับพุทธศาสนาในพุทธศตวรรษที่ 19 – 20 การปลงศพเปลี่ยนจากฝังศพ เป็นการเผา
------------------------------------------------------
อ้างอิง
เฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมี. ตำนานเมืองพะเยา. เชียงใหม่:นครพิงค์การพิมพ์,2554
ประชากิจกรจักร,พระยา. พงศาวดารโยนก. กรุงเทพฯ:คลังวิทยา,2516.
ศิลปากร,กรม. รายงานการขุดค้น เมือง กำแพงเมือง เวียงลอ (หลุมขุดค้นที่ 1-8). สำนักศิลปากรที่ 7 น่าน:2547 (เอกสารอัดสำเนา)
(จำนวนผู้เข้าชม 858 ครั้ง)