ประวัติศาสตร์ศิลปกรรมเวียงกุมกาม
•หลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบในเวียงกุมกามนั้นมีมากมายทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุ เวียงกุมกามนั้นพบหลักฐานมาแล้วตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๑๓ ในหลักฐานเอกสารชั้นที่ ๑ นั่นก็คือศิลาจารึกวัดพระยืน ซึ่งชื่อของ "กุมกาม" ได้ปรากฏเป็นหลักฐานชัดเจนครั้งแรก (เท่าที่สามารถตรวจสอบได้ขณะนี้) และจนกระทั่งเมื่อประมาณต้นปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้มีการขุดพบพระพิมพ์ดินเผาเป็นจำนวนมากในบริเวณสนามหญ้าหน้าโรงเรียนวัดช้างค้ำ กลางเวียงกุมกามทางกรมศิลปากรจึงเข้าไปสำรวจโบราณสถานในเขตของเวียงกุมกามทั้งหมด และเริ่มทยอยขุดแต่งบูรณะโบราณสถานมาโดยลำดับจนกระทั่งปัจจุบัน โดยกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ภายในเขตกำแพงเวียงกุมกาม ๒๔ แห่ง และนอกกำแพง ๕ แห่ง รวมเป็น ๒๙ แห่งแต่และแห่งล้วนมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เป็นส่วนใหญ่ เนื่องด้วยจากการกำหนดรูปแบบของศิลปะนั้นไม่สามารถสืบหาเรื่องราวการสร้างเวียงกุมกามได้คงมีแห่งเดียวคือ วัดกานโถม ที่สามารถศึกษางานด้านศิลปกรรมของเวียงกุมกามได้ ซึ่งวัดนี้เคยพบร่องรอยของชุมชนดั้งเดิมก่อนการสร้างเวียงกุมกามโดยได้พบพระพิมพ์ดินเผาสกุลช่างหริภุญไชยราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ รวมทั้งยังพบเครื่องถ้วยจีนจากการขุดแต่งในวัดหนานช้าง ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญในทางประวัติศาสตร์ศิลปกรรมของเวียงกุมกาม ทั้งยังมีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญและทรงคุณค่าที่พบในเวียงกุมกาม เพื่อเป็นข้อมูลและหลักฐานในด้านโบราณคดี ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ตามหลักฐานที่ขุดพบ •
ที่มาข้อมูล : การจัดการการท่องเที่ยวศิลปกรรมเวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทลัยศิลปากร
: โบราณคดีสามทศวรรษที่เวียงกุมกาม
(จำนวนผู้เข้าชม 2474 ครั้ง)