วัดสุวรรณคีรี

          วัดสุวรรณคีรี ตั้งอยู่ที่ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา  เป็นวัดที่น่าจะสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวบ้านเรียกว่า “วัดออก” เป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองและเป็นวัดหลวงสำหรับกระทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาประจำเมืองสงขลาเก่า (ฝั่งแหลมสน) ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๒๐ ต่อมา ได้มีการบูรณะโดยพระยาสุวรรณคีรีสมบัติ (บุญหุ้ย) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๒๘ - ๒๓๕๔ วัดนี้จึงได้เปลี่ยนชื่อตามผู้ปฏิสังขรณ์ 

          วัดสุวรรณคีรี มีสิ่งสำคัญภายในวัด ประกอบด้วย อุโบสถ ซึ่งภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพสวรรค์ชั้นต่างๆ มีวิมาน ปราสาท นางฟ้า ฯลฯ ลอยอยู่ตามหมู่เมฆ บริเวณด้านหลังของพระประธาน ฝีมือช่างน่าจะเป็นช่างหลวงในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น   หอระฆัง  ก่ออิฐถือปูนสูงสองชั้นทรงสี่เหลี่ยม หลังคาก่อคล้ายรูปกระโจมหรือยอดเกี้ยวอย่างจีน  สร้างตามรูปแบบนิยมของพระอารามหลวงในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่ได้อิทธิพลศิลปะจีนกับศิลปะตะวันตก  เจดีย์หินแบบจีน (ถะ) เป็นเจดีย์หินแกรนิตรูปทรงหกเหลี่ยม มี ๗ ชั้น มีคำจารึกภาษาจีนและภาษาไทยในชั้นที่ ๓ ของเจดีย์หินว่า “กระหม่อมฉันเจ้าพระยาสงขลา...(บุญฮุย) น้อมเกล้าถวายไว้ ก่อสร้างปีมะเส็ง สำเร็จปีมะเมีย วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ.๒๓๔๑” ซุ้มเสมา เป็นซุ้มหินแกรนิตศิลปะจีนตกแต่งด้วยลายปูนปั้นรูปดอกไม้

          กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานวัดสุวรรณคีรี โดยเป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานเมืองสงขลาเก่า ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๑๙ วันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๓๕

 

Wat Suwan Khiri 

          Wat Suwan Khiri is situated in Hua Khao Subdistrict, Singhanakhon District, Songkhla Province. It is assumed that the temple was built in the Ayutthaya period and was called “Wat Ok” by the villagers. This temple became the royal monastery where an oath of allegiance ceremony was performed in the old days when the city of Songkhla was situated in the Laem Son area. It was officially registered as a temple in 1777. Later it was restored as the city temple by Phraya Suwankhiri Sombat (Boonhui), who served as governor from 1785 to 1811. Hence the temple was named after him. 

          Significant structures in the temple compound include 

          1. The ordination hall (Ubosot) faces Songkhla Lake and was built of brick and mortar over the original. Inside the hall there sits a Buddha statue in subduing Mara posture. The mural behind the Buddha statue depicts heavenly scenes. The painting’s style demonstrates the craftsmanship of royal artisans during the early Rattanakosin period.

          2. The bell tower, or belfry, is located east of the ordination hall and built of bricks and mortar. It is a rectangular two-story tower with a Chinese-style pavilion roof. The style of the bell tower was the popular style for the royal monastery in the early Rattanakosin period influenced by Chinese and Western arts.

          3. The Chinese pagoda (Tha) is in the front space of the Ubosot. This seven-story hexagon pagoda was built of granite stone. There is an inscription in Chinese and Thai language on the third story that reads “I, Chao Phraya Songkhla …. (Boonhui), have humbly presented to the King this pagoda, built in year of the Small Snake and completed in year of the Horse on March 29, 1798.” This pagoda shows the same architectural style as the Chinese pagoda at Matchimawat Vora Vihara Temple in Mueang District of Songkhla Province.

          4. The Boundary Stone (Sema) Arches were built of granite stone in Chinese style and decorated with flower stucco patterns. Inside each arch is a pair of granite boundary stones (Sema). 

          The Fine Arts Department announced the registration of Wat Suwan Khiri as part of the old town Songkhla in Government Gazette, Volume 109, Part 119, dated September 17, 1992. 

 

(จำนวนผู้เข้าชม 55 ครั้ง)