...

แนแซ(ตาหนา)ปูนซีเมนต์ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดสงขลา(จะนะ นาทวี เทพา สะบ้าย้อย)และสตูล
แนแซ(ตาหนา)ปูนซีเมนต์ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดสงขลา(จะนะ นาทวี เทพา สะบ้าย้อย)และสตูล

 
แนแซ-ตาหนา
 แนแซ เป็นภาษามลายูท้องถิ่น ตรงกับภาษามลายูกลางว่า Nesan หรือ Nisan แปลว่าหินที่ปักไว้บนหลุมฝังศพ โดยคำว่า “แนแซ” ถูกนำมาใช้เรียกเครื่องหมายสำหรับปักบนหลุมฝังศพที่อยู่ในลักษณะของเครื่องหมายประเภทถาวร โดยเน้นชนิดของวัสดุประเภทหินเป็นหลักจึงปรากฏเป็นคำเรียกในท้องถิ่นสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า บาตูแนแซ (Batu Nisan) อย่างไรก็ตามในปัจจุบันพบว่าแม้ว่าเครื่องหมายที่ปักบนหลุมฝังศพจะมีวัสดุที่เปลี่ยนไปจากเดิมเช่นการนำซีเมนต์ เซรามิกส์ หรือวัสดุอื่นๆที่มีความคงทน มาใช้แทนหิน การเรียกชื่อของเครื่องหมายบนหลุมฝังศพประเภทถาวรนี้ ก็ยังคงเรียกว่า แนแซ อยู่เช่นเดิม
 อย่างไรก็ตามในพื้นที่จังหวัดสตูลและบางส่วนของจังหวัดสงขลานั้นไม่ได้เรียกเครื่องหมายสำหรับปักบนหลุมฝังศพว่า แนแซ ดังที่เรียกกันในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส แต่มีคำเรียกเป็นการเฉพาะว่า “ตาหนา” หรือ “แลสัน” 
กำเนิดแนแซปูนซีเมนต์
 แนแซที่ทำจากปูนซีเมนต์ เริ่มปรากฎขึ้นในช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ อาจกล่าวได้ว่าแนแซชนิดนี้ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถผลิตขึ้นได้ในหมู่บ้าน โดยในช่วงแรกนั้นการประดับแนแซด้วยลายดอกไม้ได้รับความนิยมมาก ต่อมาจึงเริ่มมีการเขียนคำจารึกอย่างย่อด้วยอักษรยาวี ซึ่งระบุชื่อของผู้ตาย รวมทั้งวันเวลาในการตาย 
ในปัจจุบันกูโบร์ทุกแห่งล้วนมีการใช้แนแซที่ทำจากปูนซีเมนต์ โดยสามารถหาซื้อแนแซในกลุ่มนี้ได้จากผู้ผลิตโดยตรง หรืออาจหาได้จากร้านผู้แทนจำหน่ายซึ่งมักเป็นร้านขายวัสดุภัณฑ์ 
แนแซปูนซีเมนต์รุ่นเก่า
 แนแซกลุ่มนี้ผลิตขึ้นจากปูนซีเม็ดผสมกับทรายหยาบ สามารถมองเห็นเม็ดทรายในเนื้อปูนได้ชัดเจน  ตรงกลางของแนแซมักมีเหล็กเส้นเป็นแกนกลางหนึ่งเส้น ผิวของแนแซชนิดนี้ไม่พบการตกแต่งด้วยการทาสี แต่จะพบการทำลายดอกไม้ชนิดต่างๆประดับตรงกลางแนแซ โดยลายดอกไม้เหล่านี้เป็นลายที่ทำขึ้นพร้อมบล็อคก่อนจะทำการเทปูนหล่อแนแซ อย่างไรก็ตามจากการสำรวจพบว่าในปัจจุบันมีการผลิตแนแซในลักษณะนี้ด้วยเช่นกัน แต่ลักษณะของการผสมปูนจะต่างกับแนแซในรูปแบบเดิม โดยในปัจจุบันปูนที่ใช้จะผสมกับทรายละเอียดทำให้ได้ผิวแนแซที่เนียนและเรียบขึ้นกว่าเดิม โดยสามารถจำแนกเป็นกลุ่มใหญ่ ๒ กลุ่มคือ 
  กลุ่มA แนแซปูนซีเมนต์รูปทรงแท่ง 
 กลุ่ม B แนแซปูนซีเมนต์รูปทรงแผ่น 
แนแซปูนซีเมนต์รุ่นใหม่
 แนแซกลุ่มนี้ไม่มีหลักฐานว่าเริ่มต้นผลิตขึ้นครั้งแรกเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าการผลิตแนแซในกลุ่มนี้มีผล มาจากรูปแบบของปูนซีเมนต์ในท้องตลาดและสัดส่วนการผสมปูนซีเมนต์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมีผลให้สามารถหล่อแนแซที่มีผิวเรียบได้มากขึ้น รวมทั้งสามารถตกแต่งลวดลายและทาสีได้สวยงามมากขึ้น ในขณะที่ราคาของ แนแซรุ่นใหม่ก็อยู่ในระดับที่สามารถซื้อหาได้ง่าย จึงอาจเป็นเหตุผลให้แนแซในกลุ่มนี้เป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว ในขณะที่แนแซรุ่นเก่าค่อยๆเสื่อมความนิยมไปในที่สุด ทั้งนี้สามารถจำแนกแนแซในกลุ่มนี้ออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่คือ
แนแซปูนซีเมนต์รุ่นใหม่ชนิดแท่ง และแนแซปูนซีเมนต์รุ่นใหม่ชนิดแผ่น

แนแซปูนซีเมนต์รุ่นใหม่ชนิดแท่ง 
 แนแซกลุ่มนี้ถูกผลิตขึ้นสำหรับหลุมฝังศพของเพศชาย ผลิตขึ้นจากปูนซีเมนต์ มีเหล็กเส้นเป็นแกนกลาง ผิวด้านนอกมีการทาสี และตกแต่งลวดลายสวยงาม เป็นที่นิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน จากการสำรวจสามารถจำแนกลักษณะของแนแซชนิดนี้จากรูปทรงได้ดังนี้
 กลุ่มA  แนแซปูนซีเมนต์รุ่นใหม่ชนิดแท่งรูปทรงมัสยิด(หออะซาน)ทรงกระบอก
 กลุ่มB  แนแซปูนซีเมนต์รุ่นใหม่ชนิดแท่งรูปทรงมัสยิด(หออะซาน)หกเหลี่ยม 
 กลุ่มC  แนแซปูนซีเมนต์รุ่นใหม่ชนิดแท่งรูปทรงมัสยิด(หออะซาน)หกเหลี่ยม
          มีดาวประดับเหนือยอดโดม 
 กลุ่มD แนแซปูนซีเมนต์รุ่นใหม่ชนิดแท่งรูปทรงมัสยิด(หออะซาน)สี่เหลี่ยม
 กลุ่มE  แนแซปูนซีเมนต์รุ่นใหม่ชนิดแท่งรูปทรงมัสยิด(หออะซาน)สี่เหลี่ยม
มีดาวประดับเหนือยอดโดม 
 กลุ่มF  แนแซปูนซีเมนต์รุ่นใหม่ชนิดแท่งรูปทรงมัสยิด(หออะซาน)ทรงกระบอกเซาะร่อง 
แนแซปูนซีเมนต์รุ่นใหม่ชนิดแผ่น
 แนแซกลุ่มนี้ถูกผลิตขึ้นสำหรับหลุมฝังศพของเพศหญิง ผลิตขึ้นจากปูนซีเมนต์ มีเหล็กเส้นเป็นแกนกลาง ผิวด้านนอกมีการทาสี และตกแต่งลวดลายรูปมัสยิด ดอกไม้ ใบไม้ และลวดลายอื่นๆ เป็นที่นิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน จากการสำรวจสามารถจำแนกลักษณะของแนแซชนิดนี้จากรูปทรงได้ดังนี้
 กลุ่มA  แนแซปูนซีเมนต์รุ่นใหม่ชนิดแผ่นรูปทรงโครงร่างมัสยิด(หออะซาน) 
 กลุ่มB  แนแซปูนซีเมนต์รุ่นใหม่ชนิดแผ่นตกแต่งด้วยรูปดอกไม้ใบไม้ 
 กลุ่มC  แนแซปูนซีเมนต์รุ่นใหม่ชนิดแผ่นตกแต่งด้วยลวดลายอื่นๆ 
แนแซปูนซีเมนต์แบบสตูล
 แนแซกลุ่มนี้ผลิตขึ้นจากปูนซีเมนต์ มีเหล็กเส้นเป็นแกนกลาง ส่วนใหญ่ไม่มีการทาสี จากการสำรวจพบนิยมแพร่หลายเฉพาะในพื้นที่จังหวัดสตูล สามารถจำแนกลักษณะของแนแซชนิดนี้จากรูปทรงได้ดังนี้
 กลุ่มA  แนแซปูนซีเมนต์แบบสตูลชนิดแท่ง(สำหรับเพศชาย) 
 กลุ่มB  แนแซปูนซีเมนต์แบบสตูลชนิดแผ่น(สำหรับเพศหญิง)
 
ข้อมูลจัดทำโดย  นายสารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ  สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา   โดยเรียบเรียงจาก รายงานองค์ความรู้จากหลุมฝังศพ(กูโบร์)ในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้
ดาวน์โหลดไฟล์: แนแซ-ตาหนา1.jpeg
ดาวน์โหลดไฟล์: แนแซ-ตาหนา2.jpeg
ดาวน์โหลดไฟล์: แนแซ-ตาหนา3.jpeg
ดาวน์โหลดไฟล์: แนแซ-ตาหนา4.jpeg
ดาวน์โหลดไฟล์: แนแซ-ตาหนา5.jpeg
ดาวน์โหลดไฟล์: แนแซ-ตาหนา6.jpeg
ดาวน์โหลดไฟล์: แนแซ-ตาหนา7.jpeg
ดาวน์โหลดไฟล์: แนแซ-ตาหนา8.jpeg
ดาวน์โหลดไฟล์: แนแซ-ตาหนา9.jpeg
ดาวน์โหลดไฟล์: แนแซ-ตาหนา10.jpeg
ดาวน์โหลดไฟล์: แนแซ-ตาหนา11.jpeg
ดาวน์โหลดไฟล์: แนแซ-ตาหนา12.jpeg
ดาวน์โหลดไฟล์: แนแซ-ตาหนา13.jpeg
ดาวน์โหลดไฟล์: แนแซ-ตาหนา14.jpeg
ดาวน์โหลดไฟล์: แนแซ-ตาหนา15.jpeg
ดาวน์โหลดไฟล์: แนแซ-ตาหนา16.jpeg
ดาวน์โหลดไฟล์: แนแซ-ตาหนา17.jpeg
ดาวน์โหลดไฟล์: แนแซ-ตาหนา18.jpeg
ดาวน์โหลดไฟล์: แนแซ-ตาหนา19.jpeg
ดาวน์โหลดไฟล์: แนแซ-ตาหนา20.jpeg
ดาวน์โหลดไฟล์: แนแซ-ตาหนา21.jpeg
ดาวน์โหลดไฟล์: แนแซ-ตาหนา22.jpeg
ดาวน์โหลดไฟล์: แนแซ-ตาหนา23.jpeg
ดาวน์โหลดไฟล์: แนแซ-ตาหนา24.jpeg

(จำนวนผู้เข้าชม 4317 ครั้ง)


Messenger