หอสมุดแห่งชาติชลบุรี เป็นหอสมุดแห่งชาติสาขาภาคตะวันออกสาขาหนึ่งที่ตั้งอยู่บนถนนวชิรปราการ ตำบลบางปลาสร้อย ถนนวชิรปราการ ตำบลบางปลาสร้อย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 3 งาน 84 วา ตัวอาคาร เป็นอาคารชั้นเดียวต่อเนื่องกัน 2 หลัง ซึ่งได้รับมอบจากที่ดินจังหวัดชลบุรีเมื่อ พ.ศ. 2522 อาคารด้านหน้าเป็นอาคารโบราณสถาน ( ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2463 ) ลักษณะอาคารเป็นแบบตะวันตกมีหลังคาเป็นทรงปั้นหยามุง ด้วยกระเบื้องว่าว (ปรับปรุงเมื่อ พ.ศ. 2544 ) ส่วนอาคารด้านหลังเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวสร้างเชื่อมต่อกับอาคารด้านหน้า (ได้ปรับปรุงและรื้อถอนสร้างใหม่เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาด 2 ชั้น เมื่อปี พ.ศ.2548 และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2549 )
ปัจจุบันปี หอสมุดแห่งชาติชลบุรีได้เปิดดำเนินการให้บริการนักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไปตามปกติ ตั้งแต่วันอังคาร –วันเสาร์ เวลา 9.00 –17.00 น. หยุดวันอาทิตย์- วันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์แต่เดิม(ปี พ.ศ. 2526 เป็นต้นมา) หอสมุดแห่งชาติชลบุรี มีสายการบังคับชาขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ ปัจจุบันหอสมุดแห่งชาติชลบุรี สังกัดสำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2549 เป็นต้นมา มีหัวหน้าหอสมุดแห่งชาติชลบุรี (เทียบเท่าหัวหน้าฝ่าย) เป็นผู้บริหารงานโดยรับนโยบายและคำสั่งการปฏิบัติงานจากผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี สังกัดกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
มูลเหตุที่มาของการจัดตั้งหอสมุดแห่งชาติชลบุรี เริ่มตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 จากการที่นายเกษม เหมประยูร รองอธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้น ได้เดินทางมายังจังหวัดชลบุรีเพื่อปรึกษากับนายณรงค์ อนันตรังสี ศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี เกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างจังหวัดชลบุรีกับกรมศิลปากร ในการขยายหอสมุดแห่งชาติไปสู่ส่วนภูมิภาค ผลของการปรึกษาหารือมีความเห็นร่วมกันว่าที่ดินซึ่งอยู่ติดกับถนนวชิรปราการ คือ หอทะเบียนที่ดินหรือสำนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรีน่าที่จะเป็นอาคารหอสมุดแห่งชาติสาขาได้ ต่อมาในวันที่ 5 มีนาคม 2522 นายเกษม เหมประยูร ได้เดินทางมาจังหวัดชลบุรีอีกครั้งหนึ่งเพื่อปรึกษาการจัดตั้งหอสมุดแห่งชาติสาขากับนายบุญช่วย ศรีสารคาม ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีในขณะนั้น พร้อมด้วยศึกษาธิการจังหวัดชลบุรีและที่ดินจังหวัดชลบุรี ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีและได้รับการสนับสนุนจากที่ดินจังหวัดชลบุรี มอบโอนอาคารที่ทำการสำนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรีหลังเดิมให้แก่กรมศิลปากร และเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2522 กรมธนารักษ์ก็ได้อนุญาตให้กรมศิลปากรใช้อาคารหลังนี้เป็นที่ทำการหอสมุดแห่งชาติสาขาได้ จากนั้นกรมศิลปากรได้มอบหมายให้กองหอสมุดแห่งชาติขณะนั้น ดำเนินการปรับปรุง ตกแต่งและจัดหาครุภัณฑ์ห้องสมุด จัดหาหนังสือและจัดระบบงานตามโครงการหอสมุดแห่งชาติสาขาส่วนภูมิภาค ซึ่งกองหอสมุดแห่งชาติก็ได้รับมอบและนำเสนอเข้าโครงการในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะที่ 5 จัดตั้งหอสมุดแห่งชาติสาขาชลบุรีขึ้นและได้ทำพิธีเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2526 โดยมี ฯพณฯ นายสัมพันธ์ ทองสมัคร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการขณะนั้น
ขนาดเนื้อที่
ประมาณ 3 งาน 84 วา
ลักษณะอาคาร (อาคารราชพัสดุ แปลงหมายเลขที่ 325)
เป็นอาคารต่อเนื่องกัน 2 หลัง อาคารด้านหน้าเป็นอาคารโบราณสถาน ลักษณะตัวอาคารเป็นแบบตะวันตก มีหลังคาทรงปั้นหยา ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2463 (อาคารโบราณสถานด้านหน้ามีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์และด้านการบริหารบ้านเมืองและการปกครองของจังหวัดชลบุรี) ส่วนอาคารด้านหลังแต่เดิมเป็นอาคารไม้ที่สร้างเชื่อมต่อกับอาคารโบราณสถานด้านหน้า (ไม่ทราบปีก่อสร้าง) ต่อมาปี พ.ศ. 2548 ได้รื้อถอนก่อสร้างใหม่เป็นอาคารคอนกรีต เสริมเหล็กขนาด 2 ชั้น แล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2549 รวมพื้นที่ใช้สอยอาคาร 2 หลังจำนวน 926.55 ตารางเมตรและรวมเนื้อที่ทั้งหมดจำนวน 1,242.78 ตารางเมตร
สถานที่ตั้ง
ถนนวชิรปราการ ตำบลบางปลาสร้อย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
โทรศัพท์ (038) 286339, 273231 / โทรสาร (038) 273231
E-mail address : natlibc @ hotmail.com
วันเวลาเปิด –ปิดบริการ
เปิดบริการ : วันอังคาร –วันเสาร์ เวลา 09.00 –17.00 น.
ปิดบริการ : วันอาทิตย์ –วันจันทร์ และวันนักขัตฤกษ์
วิวัฒนาการหอสมุดแห่งชาติชลบุรี
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2522 นายเกษม เหมประยูร รองอธิบดีกรมศิลปากร ปรึกษากับนายณรงค์ อนันตรังสี ศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี เรื่องการจัดตั้งหอสมุดแห่งชาติสาขา
วันที่ 5 มีนาคม 2522 ที่ดินจังหวัดชลบุรีมอบโอนอาคารที่ทำการสำนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี(หอสมุดแห่งชาติชลบุรีปัจจุบัน) ให้แก่กรมศิลปากร
วันที่ 5 กรกฎาคม 2522 กรมธนารักษ์ได้อนุญาตให้กรมศิลปากรใช้อาคารสำนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี เป็นที่ทำการของหอสมุดแห่งชาติสาขาได้
ปี พ.ศ. 2522 กรมศิลปากรมอบหมายให้กองหอสมุดแห่งชาติขณะนั้น ดำเนินการปรับปรุง ตกแต่งและจัดหาครุภัณฑ์ หนังสือพร้อมจัดระบบงานตามโครงการหอสมุดแห่งชาติสาขาส่วนภูมิภาค ต่อมากองหอสมุดแห่งชาติได้นำเสนอเข้าโครงการแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะที่ 5 จัดตั้งหอสมุดแห่งชาติสาขาชลบุรี
ปี พ.ศ. 2524 กองหอสมุดแห่งชาติได้งบประมาณปรับปรุงอาคารเป็นจำนวนเงิน 285,000 บาท (สองแสนแปดหมื่นห้าพันบาทถ้วน) ปรับปรุงระบบไฟฟ้า กั้นห้อง สร้างสุขา ซ่อมแซมและปรับปรุงหลังคา ฝ้า ทาสี เพดาน ผนังห้อง ซ่อมประตู / หน้าต่าง ซึ่งในระหว่างปรับปรุง สำนักงานพัฒนาชุมชนได้ใช้อาคารเป็นสำนักงานชั่วคราวอยู่ เมื่อย้ายออกไปแล้วจึงได้ดำเนินการปรับปรุงเพิ่มอีก
ปี พ.ศ. 2526 ปรับปรุงอาคารเป็นครั้งที่ 2 ได้งบประมาณ 70,000 บาท (จัดทำป้ายชื่อ เวทีห้องกิจกรรม ทาสีภายในและภายนอกอาคาร ติดตั้งโคมไฟ ติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าและมิเตอร์น้ำ พร้อมปรับปรุงภายในทั้งหมด ) หลังการปรับปรุงอาคารสถานที่เสร็จแล้ว กองหอสมุดแห่งชาติได้ดำเนินการแบ่งพื้นที่อาคารเป็นห้องอ่านหนังสือพิมพ์และวารสาร ห้องบริการหนังสือ ห้องซ่อมหนังสือ ห้องหัวหน้าบรรณารักษ์ ห้องกิจกรรมและห้องประชุม ห้องบริการโสตทัศนวัสดุและห้องค้นคว้าและไมโครฟิล์ม
วันที่ 9 ธันวาคม 2526 ได้กำหนดพิธีเปิดอาคารหอสมุดแห่งชาติชลบุรีและเปิดให้บริการ โดยมีนายสัมพันธ์ ทองสมัคร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานในพิธีเปิดอาคาร การบริหารงานมีหัวหน้าหอสมุดแห่งชาติชลบุรีเป็นผู้รับผิดชอบ โดยขึ้นตรงต่อหัวหน้าหอสมุดแห่งชาติสาขา กองหอสมุดแห่งชาติสาขา กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ
ต่อมาปีพ.ศ. 2538 กรมศิลปากรได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานใหม่ ทำให้กองหอสมุดแห่งชาติมีฐานะเทียบเท่าสำนัก มีการแบ่งสายงานออกเป็น 5 ส่วน 1 ฝ่ายและ 1 กลุ่มงานคือกลุ่มงานพัฒนามาตรฐานห้องสมุด และยุบฝ่ายหอสมุดแห่งชาติสาขาพร้อมโอนงานให้อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารงานทั่วไป ซึ่งรวมอยู่ในงานธุรการและประสานสาขา และให้หอสมุดแห่งชาติในส่วนภูมิภาคซึ่งรวมถึงหอสมุดแห่งชาติชลบุรีขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติโดยตรง มีฐานะเทียบเท่าฝ่ายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538
ปี พ.ศ. 2543 หอสมุดแห่งชาติชลบุรี ได้ดำเนินการเขียนโครงการขออนุมัติปรับปรุงอาคารหอสมุดแห่งชาติชลบุรี โดยยนางศิริพร สมใจ หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติชลบุรี
วันที่ 16 กรกฎาคม 2543 หอสมุดแห่งชาติชลบุรี มีนางสาวธนาพร ชูชื่นเป็นหัวหน้าหอสมุดแห่งชาติชลบุรี
ปีพ.ศ. 2544 หอสมุดแห่งชาติชลบุรีได้รับการอนุมัติโครงการปรับปรุงอาคารอาคารโบราณสถานด้านหน้าเป็นครั้งที่ 3 ด้วยเงินงบประมาณจำนวน 1,130,000 บาท (หนึ่งล้านหนึ่งแสนสามหมื่นบาทถ้วน) เปลี่ยนหลังคาและระแนงใหม่ ทุบแผงบังกันแดดด้านหน้าและด้านข้างทิ้งเป็นหลังคากันสาดกระเบื้องแผ่นเรียบ ปรับปรุงพื้นใหม่ทั้งหมด ขัดผิวและทาน้ำยาเคลือบไม้ ทาสี ปรับปรุงห้องน้ำชาย –หญิง เปลี่ยนสายไฟและดวงโคม โดยมีนางสาวธนาพร ชูชื่น เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ
ปีพ.ศ 2545 หอสมุดแห่งชาติชลบุรี ได้สังกัดสำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นวันสุดท้าย
วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 หอสมุดแห่งชาติชลบุรี ย้ายมาสังกัดสำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
ปีพ.ศ. 2545– พ.ศ. 2547หอสมุดแห่งชาติชลบุรีได้ดำเนินการจัดทำโครงการขออนุมัติปรับปรุงอาคารหอสมุดแห่งชาติชลบุรี (อาคารด้านหลังที่ชำรุดทรุดโทรม) นางสาวธนาพร ชุชื่น หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติชลบุรีเป็นผู้เขียนโครงการ
ปีพ.ศ. 2548 หอสมุดแห่งชาติชลบุรีได้รับอนุมัติโครงการให้ปรับปรุงอาคารหอสมุดแห่งชาติชลบุรีตามที่ขอด้วยเงินงบประมาณจำนวน 7,070,000 บาท (เจ็ดล้านเจ็ดหมื่นบาทถ้วน) เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 2 ชั้น ประมูลการก่อสร้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยบริษัทเจริญชัยชลบุรีก่อสร้างเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ใช้เวลาในการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 - 26 เมษายน 2549 ( รวมระยะในการก่อสร้างจำนวน 10 เดือน )
วันที่ 1 กันยายน 2548 เวลา 13.30น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นางอุไรวรรณ เทียนทอง ตรวจเยี่ยมหอสมุดแห่งชาติชลบุรี
ปี พ.ศ 2549 หอสมุดแห่งชาติชลบุรี อยู่ในระหว่างการก่อสร้างอาคารหลังใหม่แล้วเสร็จ เมื่อเดือนเมษายน 2549
อาคารหอสมุดแห่งชาติชลบุรีหลังใหม่นี้(อาคารด้านหลัง) มีอธิบดีกรมศิลปากร (นายอารักษ์ สังหิตกุล) และคณะกรรมการพิจารณาเป็นผู้เห็นชอบโครงการ ฯ และอนุมัติโครงการ ฯ มีรองอธิบดีกรมศิลปากร (นางสมศรี เอี่ยมธรรม) เป็นผู้อนุมัติรูปแบบอาคาร มีผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ (นางสาวอรพินท์ ลิ่มสกุล) หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติชลบุรี (นางสาวธนาพร ชูชื่น) พร้อมคณะเจ้าหน้าที่หอสมุดแห่งชาติชลบุรีร่วมกันแสดงความคิดเห็นออกแบบพื้นที่ใช้สอย โดยคำนึงถึงประโยชน์การใช้สอยที่จะตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้มากที่สุด โดยมีนายอลงกรณ์ กาญจนะคูหะ เป็นสถาปนิก นายวิชัย เวทรังสิการ เป็นวิศวกร นายทวี สมโลกเป็นวิศวกรไฟฟ้า นางสาวรุจิรา แก้วสถิตย์ นายช่างโยธา สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดชลบุรีเป็นผู้ควบคุมงาน และมีนางสาวธนาพร ชูชื่น หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติชลบุรี เป็นผู้ได้รับมอบจากอธิบดีกรมศิลปากรให้ปฏิบัติราชการแทน เป็นผู้ว่าจ้างและลงนามในสัญญาจ้างในการก่อสร้างครั้งนี้ และงานได้ดำเนินการเสร็จสิ้นตามเวลาที่กำหนด พร้อมส่งมอบงานในงวดที่ 6 งวดสุดท้ายเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2549 และคณะกรรมการตรวจรับงานในวันที่ 2 พฤษภาคม 2549
เมื่อตรวจรับอาคารเรียบร้อยแล้วระหว่างเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม พ.ศ. 2549 คณะเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินขนย้ายวัสดุ/ครุภัณฑ์เพื่อดำเนินการจัดเก็บหนังสือขึ้นชั้นและตกแต่งอาคารสถานที่
เดือนสิงหาคม 2549 จัดทำสวนหย่อมช่วงระหว่างอาคารทั้งด้านซ้ายและด้านขวา โดยนายเกษม รัตนศิริ และคณะเป็นผู้ดำเนินการและบริจาคเป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน)
เดือนมิถุนายน - กันยายน 2549 ดำเนินการติดตั้งเครื่องปรับอากาศจำนวน 15 ชุดโดยใช้เงินงบประมาณเหลือจ่ายประจำปี พ.ศ. 2549 กรมศิลปากร จำนวน 700,000.- บาท (เจ็ดหมื่นบาทถ้วน)
วันที่ 3 กันยายน 2549 ทำบุญเลี้ยงพระอาคารหลังใหม่เตรียมเปิดให้บริการ
วันที่ 9 กันยายน 2549 หอสมุดแห่งชาติชลบุรีเปิดให้บริการอาคารหลังใหม่
วันที่ 1 ธันวาคม 2549 หอสมุดแห่งชาติชลบุรี) (นางสาวธนาพร ชูชื่น เป็นหัวหน้าหอสมุดแห่งชาติชลบุรี) ได้ย้ายสังกัดจากสำนักหอสมุดแห่งชาติ (นางสาวอรพินท์ ลิ่มสกุล เป็นผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ มาสังกัดสำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม (นายสถาพร ขวัญยืน เป็นผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี) และมีนายอารักษ์ สังหิตกุล เป็นอธิบดีกรมศิลปากร
ปีพ.ศ. 2550 หอสมุดแห่งชาติชลบุรี ได้รับงบประมาณและพัฒนาหอสมุดแห่งชาติชลบุรีตามงบประมาณที่ได้รับ ดังนี้ จัดหาล็อคเกอร์รับฝากของจำนวน 24 ช่อง จัดทำที่วางรองเท้าจำนวน 2 ชุด จัดทำแนวที่จอดรถจักรยานยนต์สำหรับผู้ใช้บริการทั้งด้านซ้ายและด้านขวาหน้าอาคาร ฯ จัดทำที่ทานอาหารสำหรับเจ้าหน้าที่จำนวน 1 ที่ จัดเตรียมห้องประชุมให้มีโต๊ะเก้าอี้พร้อมใช้งานจำนวน 15 ที่นั่ง และรับมอบครุภัณฑ์จากสำนักหอสมุดแห่งชาติจำนวน 14 รายการเพื่อใช้ในงานหอสมุดแห่งชาติชลบุรี
เดือน............. หอสมุดแห่งชาติชลบุรีได้รับการมอบหมายจากกรมศิลปากรให้เป็นตัวแทนของหน่วยงานหอสมุดแห่งชาติเพื่อประเมินตัวชี้วัดตามที่ ก.พ.ร. ได้กำหนดให้มีตัวชี้วัด “ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ” ในการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร. กรมศิลปากรได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นผู้ดำเนินการสำรวจความพึงพอใจ และความเชื่อมั่นเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ของหอสมุดแห่งชาติชลบุรี เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 สรุปผลการสำรวจงานบริการได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับพอใจมาก คิดในน้ำหนัก 30% คะแนนเฉลี่ย 38861 คิดเป็นร้อยละ 77.72 มีข้อเสนอแนะต่อการปรับปรุงคุณภาพบริการของงานบริการหอสมุดแห่งชาติคือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในประเด็น “ความเพียงพอ” ของอุปกรณ์/เครื่องมือในการให้บริการ เช่นคอมพิวเตอร์ และการเปิดรับฟังข้อคิดเห็นต่อการให้บริการ เช่น กล่องรับความคิดเห็น call center เป็นต้น (ในการนี้มีหน่วยงานบริการของกรมศิลปากรอีก 2 แห่งที่ร่วมเป็นตังชี้วัดในภาพรวม คือ อุทยานประวัติศาสตร์ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับพอใจมากที่สุด ร้อยละ 94.37 และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับพอใจมาก ร้อยละ 79.64 ภาพรวมความพึงพอใจการให้บริการทั้ง 3 หน่วยงานของกรมศิลปากร คือ ร้อยละ 84.22
วันที่ 6 มิถุนายน 2550 ผู้ตรวจราชการกรมศิลปากรจำนวน 7 ท่าน ( นำโดย นางอัจรา ลี้ระเดช) ตรวจราชการหอสมุดแห่งชาติชลบุรี มีนาสาวธนาพร ชูชื่น หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติชลบุรีและคณะรายงานผลการดำเนินงาน
เดือนตุลาคม 2550 หอสมุดแห่งชาติชลบุรี มีนายเกรียงไกร สัมปัชชลิต เป็นอธิบดีกรมศิลปากร
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2550 นางสาวธนาพร ชูชื่น หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติชลบุรี ได้รับรางวัลสำหรับผู้ปฏิบัติที่มีผลงานโดดเด่น ประจำปี พ.ศ. 2549 ของกรมศิลปากร ในลำดับที่ 51 เป็นจำนวนเงิน 10,125.32 บาท (หนึ่งหมื่นหนึ่งร้อยยี่สิบห้าบาทถ้วน)
เดือนกุมภาพันธ์ 2551 หอสมุดแห่งชาติชลบุรี มีนายอาณัติ บำรุงวงศ์ เป็นผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
เดือน 2551 หอสมุดแห่งชาติชลบุรีได้ดำเนินการสำรวจวัดความพึงพอใจตามนโยบายของกรมศิลปากรโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 250 ชุด ระหว่างสรุปผลได้ดังนิ้
เดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 หอสมุดแห่งชาติชลบุรี ได้รับงบประมาณในการดำเนินการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกจำนวน 9 รายการ คือ ถังน้ำสแตนเลสขนาด 3000 ลิตรจำนวน1ถัง ราคา 27,800 บาท เครื่องปั้มน้ำขนาด1.50 วัตต์จำนวน 1 เครื่อง ราคา6,000 บาท กล้องดิจิตอลจำนวน 1 เครื่อง ราคา 25,000 บาท กล้องวงจรปิดจำนวน 8 ตัว ราคา 70,000บาท เครื่องเสียงห้องประชุมจำนวน 1 ชุด ราคา 45,000 บาท อุปกรณ์เสียงตามสายจำนวน 1 ชุด ราคา 52,000 บาท ตู้สาขา 2 สายนอก 8 สายในจำนวน 8 จุด ราคา 20,000 บาทและเครื่องโทรสารระบบฟิล์มจำนวน 1 เครื่อง ราคา 5,500 บาท ปี พ.ศ. 2552 หอสมุดแห่งชาติชลบุรี ได้รับงบประมาณและพัฒนาหอสมุดแห่งชาติชลบุรีเป็นจำนวนเงิน
ปี พ.ศ. 2552 หอสมุดแห่งชาติชลบุรี ได้รับงบประมาณและพัฒนาหอสมุดแห่งชาติชลบุรีเป็นจำนวนเงิน
ปี พ.ศ. 2553 หอสมุดแห่งชาติชลบุรี ได้รับงบประมาณและพัฒนาหอสมุดแห่งชาติชลบุรีเป็นจำนวนเงิน
วันที่ 21 มีนาคม 2553 หอสมุดแห่งชาติชลบุรีจัดทำเว็ปไซต์หอสมุดแห่งชาติชลบุรี
วันที่ 6 เมษายน 2553 หอสมุดแห่งชาติชลบุรี ติดตั้งระบบห้องสมุดอัตโนมัติโปรแกรม SENAYAN เพื่อจัดทำคลังเอกสารดิจิทัลหอสมุดแห่งชาติชลบุรี โดย นายประสิทธิชัยเลิศรัตนเคหะกาล บรรณารักษ์สำนักหอสมุดแห่งชาติ
เดือนกรกฎาคม – สิงหาคม ปี พ.ศ. 2553 หอสมุดแห่งชาติชลบุรีได้จัดทำโครงการปรับปรุงห้องบริการและการบริการหอสมุดแห่งชาติชลบุรีตามนโยบายของกรมศิลปากร เพื่อให้มีเอกลักษณ์ในการให้บริการที่ชัดเจนโดยเน้นทางด้านศิลปวัฒนธรรม ซึ่งมีรองอธิบดีกรมศิลปากร นายบวรเวท รุ่งรุจี เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ ระหว่างวันที่ 15 กรกฎาคม – 28 สิงหาคม 2553 ใช้งบประมาณเหลือจ่าย ประจำปี พ.ศ. 2553 เป็นจำนวน เงิน 78,410 บาท (เจ็ดหมื่นแปดพันสี่ร้อยสิบบาทถ้วน)
ปี พ.ศ. 2554 หอสมุดแห่งชาติชลบุรี ได้รับงบประมาณและพัฒนาหอสมุดแห่งชาติชลบุรีเป็นจำนวนเงิน---------- และพัฒนาระบบการจัดเก็บทรัพยากรสารนิเทศด้วยโปรแกรม SENAYAN อย่างเป็นทางการ
ปี พ.ศ. 2555 หอสมุดแห่งชาติชลบุรี ได้รับงบประมาณและพัฒนาหอสมุดแห่งชาติชลบุรีเป็นจำนวนเงิน--------
และจัดทำโครงการปรับปรุงอาคารโบราณสถานและทางลาดผู้พิการ ด้วยเงินงบประมาณ เป็นจำนวนเงิน 130,000 บาท (หนึ่งแสนสามหมื่นบาทถ้วน)
วันที่ 9 สิงหา 2554 – 28 ตุลาคม2555 หอสมุดแห่งชาติชลบุรี มีนางสุกุมล คุณปลื้ม เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
วันที่ 30 สิงหาคม 2555 หอสมุดแห่งชาติชลบุรี มีนายวิเศษ เพชรประดับ เป็นผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
วันที่ 1 ตุลาคม 2555 หอสมุดแห่งชาติชลบุรี มีนายสหวัฒน์ แน่นหนาเป็นอธิบดีกรมศิลปากร
วันที่ 28 ตุลาคม 2555 นายสนธยา คุณปลื้ม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมแทนนางสุกุมล คุณปลื้ม
ปี พ.ศ. 2556 หอสมุดแห่งชาติชลบุรี ได้รับงบประมาณ ซื้อรถตู้ ด้วยเงินงบประมาณ จำนวน 1232400 บาท
วัตถุประสงค์หอสมุดแห่งชาติชลบุรี
1. เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมสิ่งพิมพ์ โสตทัศนวัสดุ สื่ออิเล็คทรอนิคส์และเอกสารโบราณในท้องถิ่น ซึ่งเป็นมรดกทางด้านวัฒนธรรมไม่ให้ กระจัดกระจายสูญหายหรือถูกทำลายเพื่อจัดทำบรรณสนุกรมแห่งชาติ
2. เพื่อเป็นศูนย์กลางในการให้บริการข่าวสาร ข้อมูลและเป็นศูนย์กลางสารนิเทศสาขามนุษยศาสตร์ให้กับชุมชนในท้องถิ่นได้ศึกษาค้นคว้า
ภารกิจและหน้าที่หอสมุดแห่งชาติชลบุรี (ปี พ.ศ. 2551)
1. ศึกษา ค้นคว้า วิจัย ทางวิชาการด้านบรรณารักษ์ศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ หนังสือ อักษรและเอกสารโบราณในเขตพื้นที่
2. ดำเนินการ สำรวจ รวบรวม จัดหา จัดเก็บทรัพยากรสารนิเทศ วิเคราะห์หมวดหมู่ จัดทำรายการ จัดทำฐานข้อมูล จัดการข้อมูลท้องถิ่น/เอกสารโบราณและอนุรักษ์และสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศ
3. ดำเนินการให้บริการการอ่าน ศึกษา ค้นคว้า และสนับสนุนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านแก่เด็ก นักเรียน นักศึกษา นักวิชาการและประชาชนทั่วไป
4. ให้คำปรึกษา แนะนำ ฝึกอบรมงานวิชาการด้านบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ แก่บุคลากรห้องสมุดและหน่วยงานต่าง ๆ ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ
5. วางแผนและพัฒนาหอสมุดแห่งชาติในเขตพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานสากล
6. ประสานงานกับสำนักหอสมุดแห่งชาติ เพื่อเผยแพร่กำหนดเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ(ISBN) และเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN) เพื่อการสำรวจและรวบรวมเอกสารโบราณในเขตพื้นที่รับผิดชอบ และเพื่อการทำบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศท้องถิ่นให้สำนักหอสมุดแห่งชาติจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติ
7. ดำเนินงานเกี่ยวกับเครือข่ายเพื่อการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
8. ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย
สถานภาพของหอสมุดแห่งชาติชลบุรี
1. เป็นหน่วยงานสาขาที่ขี้นตรงต่อสำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรมตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2549 เป็นต้นไป
2. มีหัวหน้าหอสมุดหอสมุดแห่งชาติชลบุรีเป็นผู้บริหารงาน โดยรับนโยบายและคำสั่งปฏิบัติงานจากผู้อำนวยการสำนักศิลปกรที่ 5 ปราจีนบุรี ที่ได้รับมอบจากอธิบดีกรมศิลปากรโดยตรง
การดำเนินงานของหอสมุดแห่งชาติชลบุรี
ตามโครงสร้างเดิมตั้งแต่ปีพ.ศ. 2546 หอสมุดแห่งชาติชลบุรี สังกัดสำนักหอสมุด แห่งชาติ มีฐานะเทียบเท่าฝ่าย มีหัวหน้าหอสมุดฯ รับผิดชอบในการบริหารงานที่ขึ้นตรงต่อ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติโดยตรง แต่ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม (ฉบับที่3) พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 5 มิถุนายน 2549 ซึ่งลงประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนที่ 65 ก ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2549 จัดตั้งสำนักศิลปากรที่ 1-15 เป็นส่วนราชการภายในกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม หอสมุดแห่งชาติชลบุรีจึงย้ายมาสังกัดสำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และมีเลขประจำของ ส่วนราชการที่ปรับโครงสร้างใหม่ของหอสมุดแห่งชาติชลบุรีคือ วธ 0419.08/...... มีลักษณะ การดำเนินงานเป็น 3 งาน ดังนี้
1. งานด้านบริหาร การบริหารงานจะขึ้นตรงกับสำนักงานศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี ซึ่งจะเป็นผู้ควบคุมดูแลหอสมุดแห่งชาติชลบุรีโดยตรง รวมถึงการพิจารณาความดีความชอบ ในส่วนการบริหารเงินงบประมาณหอสมุดแห่งชาติชลบุรี หัวหน้าหอสมุดฯ จะมีอำนาจในการบริหารเงินได้ด้วยตนเอง ตามที่กรมศิลปากรจัดสรรให้ตามแผนที่ขอ
2. งานพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ (ด้านวิชาการ) สำนักหอสมุดแห่งชาติที่ส่วนกลางจะเป็นผู้ดูแลหอสมุดแห่งชาติชลบุรีตามเดิม คือ จะเป็นผู้ดำเนินการจัดหาทรัพยากรสารนิเทศ รวมทั้งการดำเนินงานด้านเทคนิคแล้วจึงส่งมาให้หอสมุดแห่งชาติชลบุรี ยกเว้นสิ่งพิมพ์บางประเภทที่หอสมุดแห่งชาติชลบุรีจะต้องจัดหาดำเนินการเอง คือ
2.1 สิ่งพิมพ์ที่จัดพิมพ์ในท้องถิ่น
2.2 วารสารและหนังสือพิมพ์ในท้องถิ่น
2.3 จัดหาหนังสือทั่วไปที่มีความจำเป็นต้องให้บริการโดยรีบด่วนหรือที่มีผู้ใช้บริการต้องการมาก
2.4 สิ่งพิมพ์ที่ได้รับบริจาค
3. งานบริการและกิจกรรม หอสมุดแห่งชาติชลบุรีจะทำหน้าที่ให้บริการตามนโยบายของกรมศิลปากรและทำกิจกรรมโดยการจัดทำโครงการเสนอของบประมาณก่อนล่วงหน้า 1 ปีเพื่อคณะกรรมการพิจารณา
การแบ่งสายงานของหอสมุดแห่งชาติชลบุรี
หอสมุดแห่งชาติชลบุรี แบ่งสายงานออกเป็น 3 สายงานดังนี้
1. งานบริหารทั่วไป แบ่งออกเป็น งานนโยบาย แผนงาน (โครงการ) งานธุรการ / สารบรรณ งานการเงินและบัญชี งานบุคลากร งานพัสดุ / ครุภัณฑ์ งานอาคารสถานที่ งานสถิติ / รายงาน การประชาสัมพันธ์ การติดต่อประสานงาน จดหมายเหตุหน่วยงานและนิเทศ นิเทศ /ติดตามและตรวจงาน
2. งานพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ แบ่งออกเป็น งานคัดเลือก จัดหา ประทับตรา / ลงทะเบียนทรัพยากรสารนิเทศ วิเคราะห์เนื้อหา / หมวดหมู่ ทำรายการและให้หัวเรื่อง อนุรักษ์และสงวนรักษาทรัพยากรสานิเทศ รวมถึงงานเทคโนโลยีสารสนเทศ งานเอกสารโบราณ งานมุมการศึกษาพิเศษและจัดทำคู่มือต่าง ๆ
3. กลุ่มงานบริการและกิจกรรม ได้แก่ การให้บริการต่าง ๆ และกิจกรรมที่ได้ดำเนินการภายในและภายนอกห้องสมุด เพื่อส่งเสริมการอ่านของผู้ใช้บริการมีดังนี้
3.1 งานบริการ
- บริการการอ่าน ได้แก่ ห้องหนังสือทั่วไป 1 ห้องหนังสือทั่วไป 2 ห้องหนูรักหนังสือ ห้องวารสารและหนังสือพิมพ์ ห้องท้องถิ่น ห้องบริการคอมพิวเตอร์ มุมโสตฯและมุมค้นคว้า
- บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
- บริการสืบค้นข้อมูลด้วยบัตรรายการ
- บริการสืบค้นข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จากฐานข้อมูลห้องสมุด และ Internet
- บริการถ่ายเอกสาร
- บริการนำชมหอสมุด
- บริการยืมระหว่างห้องสมุด
- บริการเอกสารโบราณ
- บริการรวบรวมบรรณานุกรมเฉพาะเรื่อง
- แนะนำการใช้ห้องสมุด
- บริการขอเลข ISBN และISSN
- บริการหนังสือหายาก
- บริการราชกิจจานุเบกษา
- บริการฐานข้อมูล วิจัยและวิทยานิพนธ์
- บริการแนะนำการเขียนบรรณานุกรม
- แนะนำหนังสือใหม่
- จัดฝึกอบรม
- พัฒนาห้องสมุด
3.2 งานกิจกรรม ได้แก่
1. จัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้ห้องสมุด
1.1 ปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด
1.2 นำชมห้องสมุด
1.3 จัดทำสื่อประชาสัมพันกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ
- - ป้ายต่าง ๆ
- - คู่มือการใช้ห้องสมุด
- - แผ่นพับ
- - เขียนข่าว/อ่านข่าว
- - เสียงตามสาย
2. จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
2.1 แนะนำหนังสือ
2.2 เล่าเรื่องหนังสือ
2.3 ตอบปัญหาจากหนังสือ
2.4 เกมเพื่อนำไปสู่การอ่าน
2.5 เพลงเพื่อนำไปสู่การอ่าน
2.6 แข่งขันการอ่าน/ ประกวดการอ่าน
2.7 จัดสัปดาห์ห้องสมุด
2.8 จัดนิทรรศการ
2.9 เล่านิทาน
2.10 ห้องสมุดเคลื่อนที่
2.11 จัดบอร์ดข่าว
2.12 ฝึกทักษะการประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ที่ได้จากการอ่าน
บุคลากร
บุคลากรหอสมุดแห่งชาติชลบุรี ปี พ.ศ. 2551 ประกอบด้วยข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำและลูกจ้างอัตราจ้างเหมารวมทั้งสิ้น 10 คน โดยแยกตามตำแหน่งได้ดังนี้
1. บรรณารักษ์ปฏิบัติการ (หัวหน้า ฯ) 1 อัตรา
2. บรรณารักษ์ปฏิบัติการ 1 อัตรา
3. พนักงานบรรณารักษ์ 1 อัตรา
4. เจ้าหน้าที่ห้องสมุดชำนาญงาน 1 อัตรา
5. เจ้าหน้าที่ธุรการชำนาญงาน 1 อัตรา
6. พนักงานการเงินและบัญชี 1 อัตรา
7. ยาม 2 อัตรา
8. นักการภารโรง 1 อัตรา
9. แม่บ้าน 1 อัตรา
ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กฎกระทรวงการแบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ. 2545 และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่นร. 1009.04 / 15 ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2545 ก.พ. มีมติอนุมัติและมีคำสั่งแต่งตั้งให้ข้าราชการดำรงตำแหน่งตามที่ ก.พ. กำหนดใหม่ ดังนี้
ข้าราชการ
- นางสาวธนาพร ชูชื่น ตำแหน่งบรรณารักษ์ เลขที่ใหม่ 1404 ก.พ. กำหนดเป็นระดับ 3 –5 หรือ6ว. หรือ 7 ว. (ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติชลบุรี บรรณารักษ์ 7 ว. )
- นางอุษา ตุลารัตนพงษ์ ตำแหน่งบรรณารักษ์ เลขที่ใหม่ 1406 ก.พ. กำหนดเป็นระดับ 3 –5 หรือ 6 ว. หรือ 7 ว. (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งบรรณารักษ์ 7 ว.)
- นางสาวเสาวลักษณ์ เที่ยงธรรม ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ห้องสมุด เลขที่ใหม่ 1407 ก.พ. กำหนดเป็นระดับ 1 –3 หรือ 4 หรือ 5 (ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ห้องสมุด 5)
- นางสาวสมลักษณ์ สุขสถิตย์ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ธุรการ เลขที่ใหม่ 1408 ก.พ. กำหนดเป็น 1 –3 หรือ4 หรือ 5 (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ธุรการ 5)
พนักงานราชการ
- ว่าง
- ว่าง
ลูกจ้างประจำ
- นายวสุ วงษ์โคตร ตำแหน่งเลขที่ 675 ยาม
- นายโกมล กามินี ตำแหน่งเลขที่ 677 นักการภารโรง
ลูกจ้างอัตราจ้างเหมา
- นางสาลี่ ศิริสานนท์
- นายกำพล ชื่นชม
ทรัพยากรสารนิเทศในหอสมุดแห่งชาติชลบุรี
1. วัสดุตีพิมพ์
2. วัสดุไม่ตีพิมพ์
3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์
4. เอกสารโบราณ
1. วัสดุตีพิมพ์ หมายถึง วัสดุที่พิมพ์เป็นรูปเล่มแบ่งได้ดังนี้
1.1 หนังสือ
1.1.1 หนังสื่อทั่วไป
1.1.2 หนังสือสารคดี
1.1.3 หนังสือบันเทิงคดี
1.1.4 หนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน
1.1.5 หนังสืออ้างอิง
1.1.6 หนังสือวิทยานิพนธ์ วิจัย
1.1.7 หนังสือราชกิจจานุเบกษา
1.1.8 หนังสือหายาก
1.1.9 หนังสือที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนแบ่งออกเป็น
1. หนังสือสำหรับนักเรียน ได้แก่
- หนังสือเรียน
- หนังสือเสริมประสบการณ์
- - หนังสืออ่านนอกเวลา
- - หนังสืออ่านเพิ่มเติม
- - หนังสือส่งเสริมการอ่าน
2. หนังสือสำหรับผู้สอน แบ่งได้ 4 ประเภท
- หลักสูตรและเอกสารประกอบการใช้หลักสูตร
- แผนการสอน
- คู่มือครูในการใช้หนังสือเรียนเล่มใดเล่มหนึ่ง
- คู่มือครูในการสอนตามรายวิชา
3. เอกสารประกอบหลักสูตรสำหรับโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- เอกสารหลักสูตร
1.2 หนังสือพิมพ์
1.3 วารสาร / นิตยสาร
1.4 จุลสาร
1.5 กฤตภาค
2. วัสดุไม่ตีพิมพ์หรือโสตทัศนวัสดุ คือ อุปกรณ์ทั้งหลายที่มีคุณค่าทางการศึกษาค้นคว้าแบ่งได้ 4 ประเภท คือ
2.1 โสตวัสดุ คือ วัสดุที่ใช้เสียงเป็นสื่อในการถ่ายทอดสารนิเทศ ได้แก่
2.1.1 เทปบันทึกเสียง
2.1.2 แผ่นเสียง
2.2 ทัศนวัสดุ คือ วัสดุที่ผู้รับสารนิเทศต้องใช้สายตารับรู้ อาจดูด้วยตาเปล่าหรือเครื่องฉายช่วย ได้แก่
2.2.1 วีดิทัศน์หรือเทปบันทึกภาพ
2.2.2 สไลด์ / ภาพนิ่ง
2.2.3 รูปภาพ / แผ่นภาพ
2.2.4 แผนที่
2.2.5 หุ่นจำลอง
2.2.6 ของตัวอย่าง
2.2.7 ลูกโลก
2.3 วัสดุย่อส่วน คือ วัสดุที่ถ่ายย่อส่วนหน้าหนังสือหรือวารสารและเอกสารอื่น ๆ ให้มีขนาดเล็กลงหลายเท่าแล้วบันทึกลงแผ่นฟิล์มหรืออัดลงบนบัตร มีทั้งทึบและโปร่งแสง ได้แก่
3.1 ไมโครฟอร์ม
3.2 ไมโครฟิช
3.3 ไมโครฟิล์ม (หอสมุดแห่งชาติชลบุรีไม่มี)
3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือ การผสมผสานเทคโนโลยีด้านการจัดเก็บและค้นคืนสารนิเทศเข้าไว้ด้วยกันในสื่อที่ไม่ใช่กระดาษ คือ จานแม่เหล็ก(disskette), ซีดีรอม (CD-ROM), แถบแม่เหล็ก (magnetic tape), ฐานข้อมูลออนไลน์ ฯลฯ ซึ่งจะต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการสืบค้นและบางกรณีอาจต้องใช้ผ่านระบบโทรคมนาคมด้วย
4. เอกสารโบราณ
4.1 หนังสือสมุดไทย
4.2 หนังสือใบลาน
4.3 จารึก
เงื่อนไขการให้บริการของหอสมุดแห่งชาติชลบุรี
1. ให้บริการการศึกษา ค้นคว้าแก่นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย โดยให้ศึกษาค้นคว้าภายในหอสมุดแห่งชาติชลบุรี โดยไม่อนุญาตให้ยืมหนังสือออกนอกหอสมุดแห่งชาติชลบุรี
2. ผู้ที่จะได้รับอนุญาตให้ยืมหนังสือออกนอกหอสมุดแห่งชาติชลบุรีได้ คือ
2.1 หน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ โดยมีหนังสือเป็นทางการจากหัวหน้าส่วนราชการนั้น ๆ
2.2 ครู อาจารย์ ที่มีหนังสือขอยืมจากหัวหน้าสถานศึกษา
2.3 บรรณารักษ์ห้องสมุดอื่นๆที่ขอยืมเพื่อประโยชน์ในการให้บริการในห้องสมุดนั้นๆ
3. จัดบริการห้องสมุดเคลื่อนที่ประจำทุกเดือน
4. เปิดให้บริการวันอังคาร–วันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 09.00 –17.00น. หยุดวันอาทิตย์ –จันทร์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
การทำบัตรสมาชิก
ผู้ประสงค์จะทำบัตรอนุญาตเข้ารับบริการในหอสมุดแห่งชาติชลบุรี และขอถ่ายเอกสารโดยนำรูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป แสดงบัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวข้าราชการ นักเรียน นักศึกษา อย่างใดอย่างหนึ่ง
ระเบียบการให้ใช้ห้องสมุด
1. โปรดติดต่อขอทำบัตรอนุญาตเข้าใช้บริการหอสมุดแห่งชาติชลบุรี
2. โปรดนำบัตรอนุญาตเข้าใช้บริการหอสมุดแห่งชาติชลบุรีมาด้วยทุกครั้ง และโปรดนำบัตรกลับเมื่อออกจากหอสมุดแห่งชาติชลบุรี
3. โปรดแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย
4. โปรดอย่างส่งเสียงดังหรือทำการอื่นใด อันเป็นการรบกวนผู้ใช้บริการท่านอื่น
5. เมื่อมีปัญหาในการค้นหาหนังสือ หรือหาเรื่องที่ต้องการไม่พบ หรือได้รับความเดือดร้อนจากผู้ใช้บริการอื่น โปรดแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที
6. โปรดอย่านำอาหารหรือเครื่องดื่มมารับประทานในหอสมุดแห่งชาติชลบุรี
7. โปรดงดสูบบุหรี่ภายในหอสมุดฯ โดยเด็ดขาด
8. การขโมยหนังสือ การตัดหรือฉีกบางส่วนย่อมมีความผิดทางอาญาและทางแพ่ง
9. โปรดฝากหนังสือ สิ่งของไว้ที่เจ้าหน้าที่และให้เจ้าหน้าที่ตรวจเมื่อท่านออกไป
10. โปรดอย่าเขียนข้อความหรือทำเครื่องหมายอื่นใดบนหนังสือ วารสาร / หนังสือพิมพ์
(จำนวนผู้เข้าชม 729 ครั้ง)
วิสัยทัศน์
" มุ่งมั่นพัฒนาหอสมุดแห่งชาติชลบุรีให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต มีคุณภาพ มาตรฐาน มีระบบการบริหารจัดการที่ดีมีประสิทธิภาพและมุ่งผลสัมฤทธิ์เป็นหลัก เป็นศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นและเป็นห้องสมุดที่มีความเป็นเลิศทางด้านบริการและกิจกรรม"
พันธกิจ
1. ศึกษา คันคว้า วิจัย งานวิชาการด้านบรรณารักษ ศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ หนังสือ อักษรและเอกสารโบราณในเขตพื้นที่และรวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ
2. ดำเนินการ สำรวจ รวบรวม จัดหา จัดเก็บทรัพยากรสารนิเทศ วิเคราะห์หมวดหมู่ จัดทำรายการ จัดทำฐานข้อมูล จัดการข้อมูลท้องถิ่น/เอกสารโบราณ และอนุรักษ์และสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศ
3. ดำเนินการให้บริการการอ่าน ศึกษา ค้นคว้าและสนับสนุนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านแก่เด็ก นักเรียน นักศึกษา นักวิชาการและประชาชนทั่วไป พร้อมสำรวจวัดความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ
4. ให้คำปรึกษา แนะนำ ฝึกอบรมงานวิชาการด้านบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์แก่บุคลากรในห้องสมุดและหน่วยงานต่าง ๆ ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ
5. วางแผนและพัฒนาหอสมุดแห่งชาติชลบุรีให้มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐาน
6. ประสานงานกับสำนักหอสมุดแห่งชาติ เพื่อเผยแพร่กำหนดเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN) และเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN) สำรวจและรวบรวมเอกสารโบราณในเขตพื้นที่รับผิดชอบ และทำบรรณานุกรมทรัพยากรสนเทศท้องถิ่นให้สำนักหอสมุดแห่งชาติ เพื่อจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติ
7. ดำเนินงานเกี่ยวกับเครือข่ายเพื่อการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
8. ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย
(จำนวนผู้เข้าชม 389 ครั้ง)