...

ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ตุงและคันตุง

#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่#ตุงและคันตุง. สวัสดีเช้าวันอาทิตย์ค่ะแฟนเพจทุกท่าน วันนี้ก็กลับมาพบกับองค์ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ กันอีกเช่นเคยนะคะ ในวันนี้ขอเสนอเรื่อง "ตุงและคันตุง" ค่ะ . ตุง เป็นเครื่องแขวนอย่างหนึ่งสำหรับใช้ในพิธีกรรมคล้ายธง โดยตุงถูกสร้างขึ้นจากวัสดุที่หลากหลาย เช่น ผ้า กระดาษ ไม้ โลหะ ตามแต่โอกาสที่ใช้และฐานะของผู้สร้าง หากเป็นตุงที่สร้างจากวัสดุที่ไม่กวัดไกวตามกระแสลมจะเรียกตุงชนิดนั้นว่า “ตุงกระด้าง” ซึ่งจะสร้างด้วยโลหะ ไม้ หรือ ปูน เป็นต้น. หลักฐานการใช้ตุงเป็นเครื่องพุทธบูชา ปรากฏในเอกสารล้านนาโบราณหลายฉบับ เช่น ตำนานเมืองเชียงแสน กล่าวถึง การประดิษฐานพระบรมธาตุเหนือยอดดอยลูกหนึ่ง พระมหากัสสปเถระเจ้าได้อธิษฐานตุงขึ้นตั้ง คันตุงนั้นสูงแปดพันวา ตุงยาวเจ็ตพันวา กว้างสี่ร้อยวา หลังจากเหตุการณ์นี้ คนทั้งหลายจึงเรียกดอยแห่งนั้นว่า "ดอยตุง" . โดยหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับการใช้ตุงปรากฏในศิลาจารึกวัดพระยืน ระบุว่าเมื่อราว พ.ศ. ๑๙๑๓ เมื่อพญากือนาตั้งขบวนต้อนรับพระสุมนเถระจากสุโขทัย ในขบวนนั้นมีการประดับด้วยธง (ตุง) . เหตุที่ชาวล้านนานิยมถวายตุงไว้ในพระพุทธศาสนา เพราะมีความเชื่อว่าการถวายทานตุงนั้นได้อานิสงค์มาก เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้วจะไม่ตกนรกนั้นเองค่ะ. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ขอยกตัวอย่างตุงจากห้องโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณฮอด จังหวัดเชียงใหม่ 2 รายการ มาให้ทุกท่านได้ชมกันค่ะ หากท่านใดสนใจสามารถแวะเข้ามาชมได้ที่พิพิธภัณฑ์ของเรานะคะ พบกันใหม่ในองค์ความรู้รอบหน้าค่าาา """"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น. (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) e-mail : cm_museum@hotmail.comสอบถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อผ่านกล่องข้อความ หรือ โทรศัพท์ : 053-221308For more information, please leave your message via inbox or call : +66 5322 1308+

ลูกชั่งลูกเป้ง

#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ #ลูกเป้ง. สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันอีกครั้งกับสาระความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ค่ะ. ทุกคนเคยสงสัยหรือไม่คะ ว่าสมัยก่อนเมื่อมีการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าที่ต้องวัดน้ำหนักกัน คนสมัยก่อนเค้าทำกันอย่างไร ในเมื่ออดีตยังไม่มีการกำหนดหน่วยกิโลกรัมเป็นมาตรฐาน. การซื้อขายด้วยการชั่งในอดีตนั้น พบว่ามีการใช้ตราชั่งแบบตาเต็งหรือตาชู(ตาชั่งแบบสุเมเรียน) ในการใช้ตาชูจะต้องมีลูกชั่งซึ่งเป็นโลหะที่กำหนดน้ำหนักไว้เป็นมาตราฐานเพื่อนำมาชั่งน้ำหนักสิ่งของต่างๆ โดยในล้านนาจะเรียกลูกชั่งลักษณะนี้ว่า "ลูกเป้ง" ค่ะ . วันนี้เราลองมาทำความรู้จัก "ลูกเป้ง" ลูกชั่งของล้านนาด้วยกันนะคะ"""""""""""""""""""""""""""""""""""""". “ลูกเป้ง” หรือ “เป้ง” เป็นตัวถ่วงน้ำหนักที่ใช้กับเครื่องชั่งโบราณหรือตราชู คนโบราณเรียกชั่งชนิดนี้ว่า “ยอย” ด้านหนึ่งมีจานใส่ของ เรียกว่า ผางยอย . “ลูกเป้ง”ทำจากโลหะ ส่วนมากเป็นสำริดหรือทองเหลือง ‘เป้ง’มีขนาดแตกต่างกันออกไป ขนาดเล็กที่สุดอาจเท่าเมล็ดถั่วไปจนถึงขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักประมาณ 15 กิโลกรัม . วิธีใช้ คือ วางของที่จะชั่ง เช่น ฝิ่น เงิน ทอง หรือสิ่งของที่ซื้อขายกันในตลาด เช่น พริก กระเทียม ยาสมุนไพร ไว้ที่จานใบหนึ่งของตราชู จากนั้นวาง ‘เป้ง’ ที่เป็นตัวถ่วงน้ำหนักไว้ที่จานอีกใบหนึ่งของตราชู วาง ‘เป้ง’ขนาดต่าง ๆ จนทำให้แขนของตราชูขนานกับพื้นทั้งสองข้างก็จะทราบว่าของที่ชั่งนั้นมีน้ำหนักเท่าใด. “ลูกเป้ง” นิยมทำเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น นก เป็ด หงส์ ช้าง สิงห์ และสัตว์ตามปีนักษัตร หรือทำเป็นลูกกลมๆ ไม่ตกแต่งลวดลาย ขาวมอญในพม่านิยมใช้ลูกชั่งรูปหงส์ เนื่องจากเป็นสัตว์ในวรรณคดีที่เกี่ยวข้องกับการตั้งเมืองหงสาวดี ‘เป้ง’บางตัวมีการเติมเนื้อตะกั่วเข้าไปเพื่อให้ได้น้ำหนักครบตามจำนวน. ความสำคัญของ “ลูกเป้ง” นั้นนอกจากจะเป็นเครื่องถ่วงน้ำหนักแล้ว คนล้านนายังใช้ลูกเป้งแทนความสำคัญอย่างอื่นได้อีก เช่น. ใช้ “ลูกเป้ง” แทนทรัพย์สินเช่นเดียวกับเงินตรา เช่น ใส่ใน ‘ขันตั้ง’ เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ เช่น พิธีสืบชะตาเมือง เป็นต้น นอกจากนี้ ชาวล้านนาจะใช้ “ลูกเป้งรูปนักษัตร” หรือ “เป้งสิบสองราศี” ใส่ขันตั้งไปด้วย เพราะเชื่อว่าจะเกิดสัมฤทธิ์ผลมากขึ้น ฤทธิ์ของลูกเป้งตามแต่ละราศี จะสามารถปราบขึด(ความอัปมงคล)หรือเสนียดจัญไรให้แก่ผู้ใส่ได้เป็นอย่างดี และ “ลูกเป้ง” ยังหมายถึง ตัวนำโชค บางคนจึงพก “ลูกเป้ง” ไว้เป็นเครื่องรางติดตัวเพื่อคอยป้องกันสิ่งไม่ดีต่างๆ. การเก็บลูกเป้ง ชาวล้านนาจะเก็บลูกเป้งไว้ใน ถุงผ้าขนาดเล็ก รูปทรงคล้ายย่ามที่ปากถุงมีห่วงเงินเล็ก ๆ หลายห่วงร้อยเชือกไว้ ส่วนปลายเชือกจะมีลูกปัด หรือลูกแก้วผูกอยู่ ใส่พกติดเอวโดยเหน็บกับเข็มขัด เรียกว่า “ถงเป้ง” หรือ “ถุงเป้ง” . ในอดีตนั้น “ลูกเป้ง”และ “ถุงเป้ง” มีความสัมพันธ์กับความเชื่อของคนล้านนาที่สอดคล้องกับคำทำนายหรือหนังสือพรหมชาติล้านนาหลายฉบับที่กล่าวถึง โฉลกในการพกลูกเป้งและการเลือกใช้ถุงสำหรับบรรจุทรัพย์ว่า ‘คนใดเกิดปีใดควรพกลูกเป้งกับถุงเป้งใด’ เพื่อให้เป็นมงคลกับตัว ดังนี้คนเกิดปีใจ้ (ชวด) ให้ใช้เป้งรูปหนู ใช้ถุงเป้งลายเหลืองคนเกิดปีเปล้า (ฉลู) ให้ใช้เป้งรูปวัว ถุงเป้งสองชั้น นอกขาวในเหลืองคนเกิดปียี (ขาล) ให้ใช้เป้งรูปเสือ ถุงเป้งสามชั้น ในเหลือง กลางขาว นอกดำคนเกิดปีเหม้า (เถาะ) ให้ใช้เป้งรูปกระต่าย ถุงเป้งสองชั้น นอกขาว ในเหลืองสายแดงคนเกิดปีสี (มะโรง) ให้ใช้เป้งรูปพญานาค ถุงเป้งสองชั้น ในแดง นอกดำคนเกิดปีใส้ (มะเส็ง) ให้ใช้เป้งรูปงู ถุงเป้งสองชั้น นอกเขียว ในขาวคนเกิดปีสะง้า (มะเมีย) ให้ใช้เป้งรูปม้า ถุงเป้งสามชั้น ในแดง กลางเหลือง นอกขาวคนเกิดปีเม็ด (มะแม) ให้ใช้เป้งรูปแพะ ถุงเป้งสองชั้น ในหม่น นอกขาวคนเกิดปีสัน (วอก) ให้ใช้เป้งรูปลิง ถุงเป้งสามชั้น นอกแดง กลางขาว ในเหลืองคนเกิดปีเร้า (ระกา) ให้ใช้เป้งรูปไก่ ถุงเป้งสองชั้น นอกหม่น ในขาว สายเหลืองคนเกิดปีเส็ด (จอ) ให้ใช้เป้งรูปหมา ถุงเป้งสองชั้น นอกเหลือง ในขาวคนเกิดปีไก๊ (กุน) ให้ใช้เป้งช้าง ถุงเป้งสองชั้น ในขาว นอกเหลือง สายเขียวหรือแดง""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""ที่มา : - นวรัตน์ เลขะกุล. (๒๕๔๗). เบี้ย บาท กษาปณ์ แบงค์ กรุงเทพฯ: สารคดี.- ระบบการชั่ง ล้านนา. (มปป). ธนาคารแห่งประเทศไทย. ค้นเมื่อ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔, จาก https://www.bot.or.th/.../BOT.../Northern/Pages/T-scale.aspx

ที่วางคัมภีร์ล้านนา

ชั้นแก้ว : ที่วางคัมภีร์ล้านนา ศิลปะ ล้านนา ขนาด กว้าง ๕๘.๔ เซนติเมตร สูง ๗๘.๘ เซนติเมตร ทำด้วยไม้ลงรักปิดทอง ประดับกระจกสี ตัวขั้นแก้วแกะสลักเป็นรูปเทพประนมอยู่ ๒ ข้าง พุทธสถาน จังหวัดเชียงใหม่ มอบให้ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องเครื่องสักการะในพระพุทธศาสนา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ """"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""" . “ที่วางคัมภีร์ หรือ ชั้นแก้ว” เป็น อุปกรณ์วางคัมภีร์ใบลานประเภทหนึ่ง (ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นิยมเรียกว่าขั้นกะเยีย) . มีลักษณะคล้ายแผงขั้นบันได ใช้จัดเก็บวางคัมภีร์เพื่อเตรียมใช้งาน ไม่ใช่เพื่อการอ่าน โดยห่อผ้าหรือกล่องคัมภีร์จะวางอยู่บนโครงสร้างไม้ที่ยื่นออกมารับน้ำหนัก มีจำนวนขั้นเป็นเลขคี่ ซึ่งเชื่อมโยงกับการสร้างบันไดตามคติโบราณว่า “เลขคู่บันไดผี เลขคี่บันไดคน” . ชั้นแก้ววางคัมภีร์ได้ตั้งแต่ ๓ – ๙ มัด และนิยมตกแต่งส่วนยอดและส่วนฐานด้วยการแกะสลักลวดลายหรือประดับด้วยกระจกสีเพื่อความงดงาม """""""""""""""""""""""""""""""""""""""" ที่มา : 1. มณี พยอมยงค์ และศิริรัตน์ อาศนะ. (๒๕๓๘). เครื่องสักการะในล้านนาไทย. กรุงเทพฯ: ธนาคารไทยทนุ. 2. ประทับใจ สิกขา. (๒๕๕๓). การศึกษาเปรียบเทียบศิลปะไม้แกะสลักแถบลุ่มน้ำโขงของไทย และสปป.ลาว. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 3. กากะเยีย ขั้นกะเยีย...ผสานศิลป์ถิ่นอีสาน. (๒๕๕๘, ๗ กุมภาพันธ์). Tipitaka (DTP). ค้นเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๔, จาก https://www.mps-center.in.th/manuscripts/blog/34

สัตตภัณฑ์ พุทธศิลป์ถิ่นล้านนา

๐ สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันอีกครั้งกับสาระความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ วันนี้เราขอเสนอองค์ความรู้ เรื่อง สัตตภัณฑ์ : พุทธศิลป์ถิ่นล้านนา ค่ะ ๐ สัตตภัณฑ์ เป็นเครื่องสักการะในพระพุทธศาสนาที่งดงามอย่างหนึ่งของชาวล้านนา ลักษณะเป็นเชิงเทียนตั้งอยู่หน้าแท่นแก้ว ใช้เป็นที่ปักเทียนสำหรับบูชาองค์ พระธาตุเจดีย์ หรือพระประธานในพระวิหารหรือพระอุโบสถ์ ด้วยความเลื่อมใส ศรัทธาและมีนัย คติ ความเชื่อต่าง ๆ แฝงอยู่อย่างแยบยลและกลมกลืน นับเป็นงานศิลปกรรมที่มีความเป็นเอกลักษณ์และปรากฏมีอยู่ในวัฒนธรรม ล้านนาเท่านั้น ความงดงามของลวดลายประดับสัตตภัณฑ์ ล้วนมีความโดดเด่นและงดงาม ๐ หากท่านใดสนใจชมความประณีตงดงามของสัตตภัณฑ์ที่จัดแสดงอยู่ สามารถเข้าชมได้ที่ ณ อาคารจัดแสดง ห้องเครื่องสักการะบูชาในพระพุทธศาสนา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ค่ะ ทางเรายินดีต้อนรับทุกท่านนะคะ แล้วพบกันใหม่ในองค์ความรู้รอบหน้านะคะ ------------------------------------- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. โทรศัพท์ : ๐๕๓-๒๒๑๓๐๘ e-mail : cm_museum@hotmail.com

โบราณวัตถุที่พบในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

๐ สวัสดียามบ่ายค่ะทุกๆท่าน วันนี้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่มีสาระความรู้มามอบให้กับทุกๆท่านอีกเช่นเคย โดยในวันนี้ทางเราขอเสนอองค์ความรู้เรื่อง “โบราณวัตถุที่พบในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่” เมื่อครั้งที่มีการขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณที่จะถูกน้ำท่วมเมื่อครั้งสร้างเขื่อนภูมิพล จังหวัดตากค่ะ ๐ โดยการดำเนินงานทางโบราณคดีในครั้งนั้น เริ่มขึ้นเนื่องด้วยทางราชการจะสร้างเขื่อนภูมิพล เพื่อกั้นลำน้ำปิงที่บริเวณเขาแก้ว ตำบลยันฮี อำเภอสามเงา จังหวัดตาก จากการสำรวจพบว่าเมื่อเขื่อนภูมิพล สร้างเสร็จ บริเวณเหนือเขื่อนขึ้นไปจะกลายเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่คล้ายทะเลสาบ กินพื้นที่ไปจนถึงอำเภอฮอด และอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ทั้งโบราณสถาน รวมทั้งบ้านเรือนชาวบ้านที่อยู่ในรัศมีของอ่างเก็บน้ำจะจมอยู่ภายใต้ทะเลสาบ ๐ อำเภอฮอด เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญในอดีต มีโบราณสถานที่สร้างขึ้นในสมัยล้านนาอยู่เป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้รัฐบาลในสมัยดังกล่าวจึงได้ตั้งคณะสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีเพื่อนำโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ในศาสนสถาน โบราณสถาน ขึ้นมาเก็บรักษาก่อนที่น้ำจะท่วมในเขตอำเภอฮอดค่ะ โบราณวัตถุดังกล่าวนั้นมีอะไรบ้างตามมาดูกันได้เลยจ้า ๐ ปล.1 ทางเราแว่วมาว่าขณะนี้ทางกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ กำลังดำเนินการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีเมืองโบราณฮอดกันอย่างเข้มข้นเลยค่ะ ถ้ามีข้อมูลใหม่เพิ่มเติมเมื่อไหร่ ทางเราจะอัพเดตให้ทุกๆท่านได้ทราบกันอย่างแน่นอนค่ะ รอติดตามและเป็นกำลังใจให้ทีมงานทุกๆท่านด้วยนะคะ ๐ ปล.2 โบราณวัตถุที่พบที่พื้นที่อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ และ ที่พบจากพื้นที่เหนือเขื่อนภูมิพล ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ของเรานี่เองค่ะ หากท่านใดสนใจสามารถเข้าชมได้ ณ อาคารจัดแสดง ชั้นหนึ่ง ห้องโบราณวัตถุที่พบในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ค่ะ แล้วพบกันในองค์ความรู้รอบหน้านะคะ --------------------------------------------------------------- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น. e-mail : cm_museum@hotmail.com สอบถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อผ่านกล่องข้อความ หรือ โทรศัพท์ : 053-221308 For more information, please leave your message via inbox or call : +66 5322 1308+


Messenger