ตุงและคันตุง
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่
#ตุงและคันตุง
. สวัสดีเช้าวันอาทิตย์ค่ะแฟนเพจทุกท่าน วันนี้ก็กลับมาพบกับองค์ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ กันอีกเช่นเคยนะคะ ในวันนี้ขอเสนอเรื่อง "ตุงและคันตุง" ค่ะ
. ตุง เป็นเครื่องแขวนอย่างหนึ่งสำหรับใช้ในพิธีกรรมคล้ายธง โดยตุงถูกสร้างขึ้นจากวัสดุที่หลากหลาย เช่น ผ้า กระดาษ ไม้ โลหะ ตามแต่โอกาสที่ใช้และฐานะของผู้สร้าง หากเป็นตุงที่สร้างจากวัสดุที่ไม่กวัดไกวตามกระแสลมจะเรียกตุงชนิดนั้นว่า “ตุงกระด้าง” ซึ่งจะสร้างด้วยโลหะ ไม้ หรือ ปูน เป็นต้น
. หลักฐานการใช้ตุงเป็นเครื่องพุทธบูชา ปรากฏในเอกสารล้านนาโบราณหลายฉบับ เช่น ตำนานเมืองเชียงแสน กล่าวถึง การประดิษฐานพระบรมธาตุเหนือยอดดอยลูกหนึ่ง พระมหากัสสปเถระเจ้าได้อธิษฐานตุงขึ้นตั้ง คันตุงนั้นสูงแปดพันวา ตุงยาวเจ็ตพันวา กว้างสี่ร้อยวา หลังจากเหตุการณ์นี้ คนทั้งหลายจึงเรียกดอยแห่งนั้นว่า "ดอยตุง"
. โดยหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับการใช้ตุงปรากฏในศิลาจารึกวัดพระยืน ระบุว่าเมื่อราว พ.ศ. ๑๙๑๓ เมื่อพญากือนาตั้งขบวนต้อนรับพระสุมนเถระจากสุโขทัย ในขบวนนั้นมีการประดับด้วยธง (ตุง)
. เหตุที่ชาวล้านนานิยมถวายตุงไว้ในพระพุทธศาสนา เพราะมีความเชื่อว่าการถวายทานตุงนั้นได้อานิสงค์มาก เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้วจะไม่ตกนรกนั้นเองค่ะ
. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ขอยกตัวอย่างตุงจากห้องโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณฮอด จังหวัดเชียงใหม่ 2 รายการ มาให้ทุกท่านได้ชมกันค่ะ หากท่านใดสนใจสามารถแวะเข้ามาชมได้ที่พิพิธภัณฑ์ของเรานะคะ พบกันใหม่ในองค์ความรู้รอบหน้าค่าาา
""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น.
(หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
e-mail : cm_museum@hotmail.com
สอบถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อผ่านกล่องข้อความ หรือ โทรศัพท์ : 053-221308
For more information, please leave your message via inbox or call : +66 5322 1308+
#ตุงและคันตุง
. สวัสดีเช้าวันอาทิตย์ค่ะแฟนเพจทุกท่าน วันนี้ก็กลับมาพบกับองค์ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ กันอีกเช่นเคยนะคะ ในวันนี้ขอเสนอเรื่อง "ตุงและคันตุง" ค่ะ
. ตุง เป็นเครื่องแขวนอย่างหนึ่งสำหรับใช้ในพิธีกรรมคล้ายธง โดยตุงถูกสร้างขึ้นจากวัสดุที่หลากหลาย เช่น ผ้า กระดาษ ไม้ โลหะ ตามแต่โอกาสที่ใช้และฐานะของผู้สร้าง หากเป็นตุงที่สร้างจากวัสดุที่ไม่กวัดไกวตามกระแสลมจะเรียกตุงชนิดนั้นว่า “ตุงกระด้าง” ซึ่งจะสร้างด้วยโลหะ ไม้ หรือ ปูน เป็นต้น
. หลักฐานการใช้ตุงเป็นเครื่องพุทธบูชา ปรากฏในเอกสารล้านนาโบราณหลายฉบับ เช่น ตำนานเมืองเชียงแสน กล่าวถึง การประดิษฐานพระบรมธาตุเหนือยอดดอยลูกหนึ่ง พระมหากัสสปเถระเจ้าได้อธิษฐานตุงขึ้นตั้ง คันตุงนั้นสูงแปดพันวา ตุงยาวเจ็ตพันวา กว้างสี่ร้อยวา หลังจากเหตุการณ์นี้ คนทั้งหลายจึงเรียกดอยแห่งนั้นว่า "ดอยตุง"
. โดยหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับการใช้ตุงปรากฏในศิลาจารึกวัดพระยืน ระบุว่าเมื่อราว พ.ศ. ๑๙๑๓ เมื่อพญากือนาตั้งขบวนต้อนรับพระสุมนเถระจากสุโขทัย ในขบวนนั้นมีการประดับด้วยธง (ตุง)
. เหตุที่ชาวล้านนานิยมถวายตุงไว้ในพระพุทธศาสนา เพราะมีความเชื่อว่าการถวายทานตุงนั้นได้อานิสงค์มาก เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้วจะไม่ตกนรกนั้นเองค่ะ
. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ขอยกตัวอย่างตุงจากห้องโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณฮอด จังหวัดเชียงใหม่ 2 รายการ มาให้ทุกท่านได้ชมกันค่ะ หากท่านใดสนใจสามารถแวะเข้ามาชมได้ที่พิพิธภัณฑ์ของเรานะคะ พบกันใหม่ในองค์ความรู้รอบหน้าค่าาา
""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น.
(หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
e-mail : cm_museum@hotmail.com
สอบถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อผ่านกล่องข้อความ หรือ โทรศัพท์ : 053-221308
For more information, please leave your message via inbox or call : +66 5322 1308+
(จำนวนผู้เข้าชม 1150 ครั้ง)