...

Green Industry อุตสาหกรรมสีเขียว

K.Kitiya.Green Industryอุตสาหกรรมสีเขียว.จันท์ยิ้ม.11:สิงหาคม 2559(14-15).

          อุตสาหกรรมสีเขียว...เป็นการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน เป็นอีกหนึ่งนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ต้องการให้การเติบโต ทางเศรษฐกิจของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมมีความสอดคล้องกับศักยภาพ และความเป็นไปได้ของระบบนิเวศ รวมทั้งความผาสุกของสังคม เพื่อพัฒนาให้การประกอบกิจการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น เราจะมาทําความรู้จักกับอุตสาหกรรมสีเขียวกัน

อุตสาหกรรมสีเขียว คืออะไร?

          โครงการอุตสาหกรรมสีเขียวมีวัตถุประสงค์ ให้ภาค อุตสาหกรรมสามารถอยู่ร่วมกับสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้นิยามไว้ว่า “อุตสาหกรรมสีเขียว คือ อุตสาหกรรมที่ยึดมั่นในการประกอบกิจการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน มุ่งเน้นการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิต และการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความรับผิดชอบ ต่อสังคมทั้งภายในและภายนอกองค์กร ตลอดห่วงโซ่อุปทาน”

อุตสาหกรรมสีเขียว มีผลดีอย่างไร?

          เมื่อภาคอุตสาหกรรม ปรับตัวเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว จะได้ ประโยชน์ตั้งแต่เริ่มลงมือทํา คือ การประหยัดพลังงาน ลดการใช้ ทรัพยากร และลดการปลดปล่อยมลพิษ ซึ่งจะทําให้ค่าใช้จ่าย ในเรื่องพลังงาน ทรัพยากร และการแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อสิ่ง แวดล้อมและชุมชนลดลงในด้านการสื่อสารระหว่างโรงงานและชุมชนเป็นไป ในเชิงเปิดมากขึ้น ทําให้ระดับความไว้วางใจและความเข้าใจกัน มีมากขึ้นด้วย เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรและธรรมชาติให้อนุชนรุ่นหลัง ได้รับสิทธิ์ในการใช้ตราสัญลักษณ์อุตสาหกรรมสีเขียวเพื่อการ ประชาสัมพันธ์เชิงการค้า ทําให้สินค้าเป็นที่ยอมรับมากขึ้น เป็นต้น

อุตสาหกรรมสีเขียว ทําอย่างไร?

          อุตสาหกรรมสีเขียวแบ่งเป็น 5 ระดับ ซึ่งโรงงานจะได้อยู่ใน ระดับใดนั้น จะต้องได้รับการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม

          ระดับที่ 1 ความมุ่งมั่นสีเขียว (Green Commitment) คือ ความมุ่งมั่นที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมีการสื่อสารภายใน องค์กรให้ทราบโดยทั่วกัน

          ระดับที่ 2 ปฏิบัติการสีเขียว (Green Activity) คือการดําเนิน กิจกรรมเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้สําเร็จตามความมุ่งมั่นที่ตั้งไว้

          ระดับที่ 3 ระบบสีเขียว (Green System) คือการบริหาร จัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ มีการติดตาม ประเมินผล และ ทบทวนเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการได้รับรางวัลด้าน สิ่งแวดล้อมที่เป็นที่ยอมรับ และการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ

          ระดับที่ 4 วัฒนธรรมสีเขียว (Green Culture) คือการที่ทุกคน ในองค์กรให้ความร่วมมือร่วมใจดําเนินงานอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในทุกด้านของการประกอบกิจการจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร

          ระดับที่ 5 เครือข่ายสีเขียว (Green Network) คือการแสดงถึง การขยายเครือข่ายตลอดห่วงโซ่อุปทานสีเขียว โดยสนับสนุนให้คู่ค้าและ พันธมิตรเข้าสู่กระบวนการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวด้วย

เครื่องหมายอุตสาหกรรมสีเขียวจะแสดงได้ที่ไหน? อย่างไร?

          โรงงานที่ได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวเท่านั้น ที่จะมี สิทธิ์แสดงตราสัญลักษณ์การรับรองอตสาหกรรมสีเขียวได้ ซึ่งโรงงาน

          สามารถแสดงตราสัญลักษณ์การรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวเพื่อการ ติดต่อและส่งเสริมการขาย ทั้งนี้ต้องไม่ใช้ในกิจการนอกเหนือจากที่ ได้รับการรับรอง หรือทําให้ผู้อื่นเข้าใจผิดในกิจการที่ได้รับการรับรอง การนําตราสัญลักษณ์การรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวไปใช้ร่วมกับ ผลิตภัณฑ์หรือบริการใด ๆ ต้องอยู่ในกิจการที่ได้รับการรับรองเท่านั้น การแสดงตราสัญลักษณ์การรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวให้แสดงพร้อม ระดับอุตสาหกรรมสีเขียวที่ได้รับการรับรอง และเลขที่การรับรอง ซึ่ง สามารถอ่านได้ชัดเจน ตราสัญลักษณ์การรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว เป็นกรรมสิทธิ์ของกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งเมื่อจดเป็นเครื่องหมาย ทางการค้าแล้ว จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า

          ปัจจุบันคนเราหันมาให้ความสนใจในเรื่องของการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ผลิตภัณฑ์ ในท้องตลาดที่มีเครื่องหมายที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจึงได้รับ การตอบรับเป็นอย่างดี ดังนั้นภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมควรมีการปรับตัว ให้สามารถดําเนินกิจการควบคู่กับการอนุรักษ์ธรรมชาติเพื่อเป็นการ ส่งเสริมอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน

(จำนวนผู้เข้าชม 1043 ครั้ง)


Messenger