...

8 สิ่งที่ควรทํา “บอกลา...ความเครียด"


เอกรัฐ คำวิไล.8 สิ่งที่ควรทํา“บอกลา...ความเครียด.จันท์ยิ้ม.(2):4;เมษายน-พฤษภาคม2560.

 

          หลากหลายเรื่องราวในสังคมไทย ที่ถ่ายทอดเหตุการณ์ผ่านช่องทางการสื่อสารตามโซเชียลมีเดีย มีทั้ง ถ้านดีและด้านลบ อันมีผลต่อความรู้สึกของผู้ติดตามข่าวสาร ทั้งเรื่องราวของอาชญากรรมในรูปแบบต่าง ๆ การเมือง ความรุนแรง ที่มาจากการแชร์คลิปเรื่องราวต่าง ๆ ตามช่องข่าวของทีวียุคดิจิตอล หลีกไม่เป็นที่จะมีผล ต่อสภาพจิตใจ ฉบับนี้ขอเสนอทางเลือก 8 วิธี ที่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันและบําบัดความเครียด เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพจิต

1. ท่องโซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างรู้เท่าทัน การแสดงความรู้สึก ในทางที่ไม่ก้าวร้าว ไม่รุนแรง ไม่เสียดสี นอกจากไม่เกิดความแตกแยก ความเครียดก็จะไม่เกิดขึ้นในจิตใจคุณเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่เก็บ เอาเรื่องราวที่ได้รับรู้ในโลกโซเชียลฯ ไปคิดและรู้สึกคล้อยตามหรือคัดค้าน ที่สําคัญต้องไม่ลืมการสื่อสารด้วยสุนทรียปรัศนา ในโลกแห่งความเป็นจริง

2. หาเวลาเป็นของตัวเอง ให้เวลากับตัวเอง สัก 10-20 นาที ในแต่ละวัน ละสายตาและความสนใจจากจอสี่เหลี่ยมบนสมาร์ทโฟน แล้วลองทําสมาธิ หลับตาทําจิตใจให้โล่ง โปร่ง

3. หากิจกรรมทําร่วมกับบุคคลรอบข้าง การแบ่งเวลาให้แก่ คนที่รัก มีความสุขกับการปฏิสัมพันธ์เหมือนในช่วงยุคก่อนอินเตอร์เน็ต จะครองโลกเช่นในปัจจุบัน

4. ลองหาเวลาว่างใส่ใจ พูดคุย สร้างความสัมพันธ์กับคนที่คุณ ไว้วางใจ มากกว่าการโต้ตอบด้วยข้อความผ่านแอปพลิเคชัน “ไลน์”

5. หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจจะเป็นชนวนเหตุทําให้คุณ รู้สึกท้อแท้ หดหู สิ้นหวัง ไม่ใช่การหนีปัญหา แต่เป็นการเฝ้าระวัง สภาพจิตใจให้อยู่ในที่ที่เหมาะสม

6. สารเอ็นโดรฟิน จากฮอร์โมนแห่งความสุข ในร่างกาย ไม่เคยหลังมานานแค่ไหนแล้ว มาเสพสารแห่งความสุขด้วยการ ออกกําลังกาย ทําสวน อ่านหนังสือ ล้างรถ กันดีไหม

7. บอกรักและแบ่งปันสิ่งดีดีให้กับคนที่คุณรัก ในเวลาที่เขา ยังมีชีวิตและยังอยู่เคียงข้างคุณ จะได้ไม่เสียดายที่ไม่ได้ทําในวันที่สายเกินไป เพราะสิ่งที่ผ่านไปแล้วไม่สามารถย้อนกลับมาได้ นั่นคือ เวลา โอกาส มิตรภาพ และความรู้สึกดีดี ทําได้เลยไม่ต้องรอ

8. จริงใจและไม่หลอกตัวเอง ยอมรับความจริง ปรับปรุงแก้ไข อยู่กับโลกแห่งความเป็นจริงอย่างรู้เท่าทัน

และ 8 อาการที่บ่งบอกว่าคุณควรพบจิตแพทย์ได้แล้ว คือ

1. มีความสับสนรุนแรง รู้สึกราวกับว่าโลกนี้ไม่มีอยู่จริง เหมือนกับฝันไป จิตใจล่องลอย

2. รู้สึกถึงเหตุการณ์นั้นอยู่ซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ติดตา ถ้าคิด แต่เรื่องเดิม ฝันร้าย

3. หลีกหนีสังคม ไม่กล้าเข้าสังคม 4. ตื่นกลัวเกินเหตุ 5. วิตกกังวลมากเกินไป จนทําอะไรไม่ได้ 6. ซึมเศร้าอย่างรุนแรง รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า 7. ติดแอลกอฮอล์และสารเสพติด B. มีอาการหลงผิด ประสาทหลอน

หากต้องการคําปรึกษาเพิ่มเติม โทรฟรีสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง

(จำนวนผู้เข้าชม 280 ครั้ง)


Messenger