แหล่งเรือจมคลองท่อม จ.กระบี่ (ต่อ)
เล่าถึงขั้นตอนต่างในการประกอบเรือ ว่าใช้เทคนิคหรือวิธีการอย่างไร จึงสามารถประกอบมาเป็นเรือทั้งลำอย่างสมบูรณ์ได้ โดยสิ่งที่นำมาเสนอนี้เป็นเพียงข้อสันนิษฐานจากหลักฐานที่พบบนชิ้นส่วนไม้เรือ
เรือลำนี้ใช้เทคนิคการต่อเรือโดยการขึ้นโครงเปลือกเรือก่อน (Shell-base Construction) แล้วจึงค่อยๆเสริมความแข็งแรงของตัวเรือด้วยกงเรือ
ไม้กระดานแต่ละแผ่นนั้นจะถูกร้อยติดกัน โดยการเจาะรูส่วนข้างของแผ่นไม้กระดานเป็นระยะๆ แล้วร้อยติดกันด้วยเชือก ต่อมาจึงใช้ลิ่มไม้ สอดระหว่างปมเชือก (สันนิษฐานว่าเพื่อขัดปมให้เชือกแน่นหนาขึ้น)
เมื่อได้โครงสร้างเปลือกเรือทั้งหมด แล้วจึงเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างทั้งหมดด้วยกงเรือ ซึ่งเปรียบเสมือนซี่โครงเรือ ที่คอยยึดชิ้นส่วนต่างๆเข้าด้วยกัน โดยกงเรือนั้นจะถูกร้อยในแนวขนานติดกับเปลือกเรือแต่ละแผ่น โดยเปลือกเรือส่วนที่ใช้ร้อยเชือก จะถูกสลักเป็นลักษณะสันนูนขึ้นมา แล้วเจาะรูทะลุสันสำหรับใช้รัดเชือก
เท่านี้ก็จะได้โครงสร้างหลักๆของตัวเรือ เรียบร้อย สำหรับอายุของตัวเรือนั้น เราเลือกส่งตัวอย่างชิ้นส่วนลิ่มไม้ไปกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธีการ AMS (Accelerator Mass Spectrometry) ที่ห้องปฏิบัติการ Direct Ams ได้ค่าอายุ 85-229 calCe หรือพุทธศตวรรษที่ 7-8 หรือประมาณ 1,800 ปีมาแล้ว นับว่าเป็นเรือแบบผูกที่เก่าแก่ลำหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(จำนวนผู้เข้าชม 1348 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน