พระพุทธรูปนาคปรกศิลปะลพบุรี อิทธิพลศิลปะขอมแบบบายน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘วัสดุ หินทรายขนาดสูงประมาณ ๑๐๗ เซนติเมตร หน้าตักกว้างประมาณ ๔๗ เซนติเมตรประวัติ พบที่วัดปู่บัว อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีลักษณะ ทางประติมาณวิทยา
พระ พุทธรูปนาคปรกองค์นี้ สลักจากหินทรายสีเขียว พบที่วัดปู่บัว เดิมจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาต ิ อู่ทอง มีลักษณะทางประติมาณวิทยาที่สำคัญคือ พระพุทธรูปมีรัศมีเป็นรูปกลีบบัวซ้อนกัน ๓ ชั้นเม็ดพระศกทำเป็นลายรูปสี่เหลี่ยมขนาดเล็กปรากฏกรอบไรพระศกพระพักตร์มีลักษณะค่อนข้างเหลี่ยม พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกาพระเนตรยาวรีลืมพระเนตรพระนาสิกโด่งงุ้มพระโอษฐ์หนาอยู่ในอาการแย้มพระสรวลเล็กน้อย พระกรรณยาวพระพุทธรูปครองจีวรห่มเฉียง ปรากฏสังฆาฎิบนพระอังสา พระหัตถ์ทั้งสองประสานกันอยู่บนพระเพลาในลักษณะสมาธิ ปรากฏรูปธรรมจักรอันเป็นลักษณะของมหาบุรุษอยู่บนฝ่าพระหัตถ์ ประทับนั่งขัดสมาธิอยู่บนขนดนาคสามชั้น ขนดนาคมีลักษณะสอบลงสู่ชั้นล่าง เบื้องหลังพระพุทธรูปทำรูปนาค ๗ เศียร นาคมีลักษณะใบหน้ายาว นาคเศียรข้างทุกเศียรชำเลืองไปยังนาคเศียรกลางปรากฏลายดอกจันทร์ที่ลำคอนาค ลักษณะของพระพุทธรูปนาคปรกองค์นี้ อยู่ในศิลปะลพบุรี ซึ่งรับอิทธิพลจากศิลปะขอมแบบบายน ผสมผสานกับฝีมือช่างท้องถิ่น กำหนดอายุได้อยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘
(จำนวนผู้เข้าชม 967 ครั้ง)