...

รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โครงการศึกษาด้านขยายศักยภาพเพื่อเป็น HUB การท่องเที่ยวเมืองมรดกโลกในอาเซียน ระหว่างวันที่ ๒๑ – ๒๖ กันยายน ๒๕๖๐ (2)

รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

 

๑. ชื่อโครงการ

โครงการศึกษาด้านขยายศักยภาพเพื่อเป็น HUB การท่องเที่ยวเมืองมรดกโลกในอาเซียน

๒. วัตถุประสงค์

          เพื่อผลักดันให้เกิดเส้นทางเชื่อมโยงการท่องเที่ยว และต่อยอดวิสัยทัศน์ผู้เกี่ยวข้อง เชื่อมโยงมรดกโลกสุโขทัยสู่มรดกโลกอาเซียน

๓. กำหนดเวลา

          ระหว่างวันที่ ๒๑ – ๒๖ กันยายน ๒๕๖๐

๔. สถานที่

          ๔.๑ ราชอาณาจักรกัมพูชา

                   ประกอบด้วย ปราสาทบายนและเมืองนครธม ปราสาทตาพรหม ปราสาทบันทายศรี ปราสาทนครวัด โตนเลสาบ และ Angkor National Museum

          ๔.๒ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

                    ประกอบด้วย เมืองมรดกโลกฮอยอัน มรดกโลกโบราณสถานมิเซิน วัดเทียนมู่ และพระราชวังเว้

๕. หน่วยงานผู้จัด

          สำนักงานพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร (อพท.๔)

๖. หน่วยงานสนับสนุน -

๗. กิจกรรม

“การเดินทางหารือทวิภาคี ประชุมและ FAMTRIP เส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงมรดกโลกอาเซียน” โดยศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการบริหารจัดการพื้นที่ การจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับนักท่องเที่ยว โบราณสถานและเมืองโบราณ กับเจ้าหน้าที่ของ APSARA Authority ราชอาณาจักรกัมพูชา และเจ้าที่ของ Hoi An Department of Commerce and Tourism สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

๘. คณะผู้แทนไทย

          ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุโขทัย ผู้แทนสำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย (อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร) สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวสุโขทัย ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมที่พักในจังหวัดสุโขทัย ผู้แทนตำรวจท่องเที่ยว รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อ อำเภอศรีสัชนาลัย และเจ้าที่จาก อพท.๔ รวมจำนวน ๓๐ คน

๙. สรุปสาระของกิจกรรม

ศึกษาดูงานพื้นที่เมืองมรดกโลกของราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยเป็นการรับฟังการบรรยายข้อมูลต่างๆ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ของ APSARA Authority ราชอาณาจักรกัมพูชา และเจ้าที่ของ Hoi An Department of Commerce and Tourism สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม  ด้านการบริหารจัดการพื้นที่ การจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับนักท่องเที่ยว โบราณสถานและเมืองโบราณ

มรดกโลกที่คณะผู้แทนไทยเดินทางไปศึกษา และหารือทวิภาคีเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการเป็น HUB ของมรดกโลกสุโขทัย นั้น ประกอบด้วย ปราสาทบายนและเมืองนครธม ปราสาทตาพรหม ปราสาทบันทายศรี ปราสาทนครวัด โตนเลสาบ ของราชอาณาจักรกัมพูชา และเมืองมรดกโลกฮอยอัน มรดกโลกโบราณสถานมิเซิน วัดเทียนมู่ และพระราชวังเว้ ของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม

          - การจัดกิจกรรมครั้งนี้ ได้ประโยชน์จากการศึกษาดูงานหลายประการเพื่อนำมาเปรียบเทียบ ปรับปรุง และเป็นแนวทางการบริหารจัดการอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยในอนาคตหลายประการ เช่น ราชอาณาจักรกัมพูชามุ่งเน้นปริมาณนักท่องเที่ยวมากจนเกินไป ไม่จำกัดจำนวน ทำให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหล เบียดเสียด และแก่งแย่งกันเข้าชมโบราณสถาน อาจส่งผลให้โบราณสถานเสื่อมสภาพและพังทลายอย่างรวดเร็วในอนาคต

          - ค่าเข้าชมโบราณสถานในเมืองพระนคร ราคา ๓๗ ดอลล่าร์สหรัฐต่อวันต่อคน ถือว่าแพงมากเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

          - การจัดการเรื่องความสะอาดพื้นที่ยังเป็นปัญหาทั้ง ราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม พื้นที่สกปรก และวัชพืชขึ้นปกคลุม

          - การจัดการร้านค้า ผู้ค้า ผู้ประกอบการในพื้นที่มรดกโลก และขอทาน สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม จัดการได้เรียบร้อยกว่าราชอาณาจักรกัมพูชา โดยเฉพาะขอทานที่สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามไม่มีเลย

          - การแลกเปลี่ยนพูดคุยกับผู้ประกอบการจากทั้ง ๒ ประเทศ ทำให้เห็นว่า ผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวมีผลต่อการนำนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมมรดกโลกสุโขทัย ทั้งนี้ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวขนาดใหญ่ของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเกือบทั้งหมด ไม่รู้จักมรดกโลกสุโขทัย แต่เมื่อได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับมรดกโลกสุโขทัยแล้ว ผู้ประกอบการยินดีบรรจุตารางนำเที่ยวมรดกโลกสุโขทัยไว้เป็นสถานที่ที่ต้องเที่ยวชมอีกแห่งหนึ่ง

 

นายธงชัย สาโค  ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ

(จำนวนผู้เข้าชม 969 ครั้ง)