รายงานการเดินทางไปราชการต่างประเทศ
๑. หัวข้อเรื่อง
การประชุม ครั้งที่ ๗ และงานเทศกาลหุ่นอาเซียน ครั้งที่ ๖
(7th Meeting and 6th ASEAN Puppetry Association : APA)
๒. วัตถุประสงค์
การเข้าร่วมประชุมศิลปะการแสดงหุ่นและแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม
๓. กำหนดเวลา
ระหว่างวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน – ๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙
๔. สถานที่ – ประเทศ
ณ เมือง MOJOKERTO, EAST JAVA ประเทศ INDONESIA
๕. ผู้จัดการงาน
ASEAN Puppetry Association : APA
๖. กิจกรรม
ร่วมประชุมและแสดงหุ่น กับสมาชิกในประชาคมอาเซียนคือ ประเทศบรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทยสรุปรายงาน
ประชุมครั้งที่ ๗ ของสมาคมหุ่น ASEAN ณ เมือง Mojokerto ชวาตะวันออก ประเทศอินโดนีเซีย
เรื่องที่อ้างถึง
ตามที่ลงมติไว้ในการประชุมครั้งที่ ๖ ของสมาคมหุ่น ASEAN ที่ฮานอยว่า การประชุมครั้งที่ ๗ จะมีที่กรุงเทพมหานคร ประมาณปี ๒๕๕๘ หรือ ๒๕๕๙ แต่ด้วยเหตุการณ์และสถานการณ์ในเมืองไทย จึงได้เปลี่ยนการประชุมมาที่เมือง Mojokerto, ชวาตะวันออก ประเทศอินโดนีเซียระหว่างวันที่ ๑-๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ เพื่อความต่อเนื่องของการประชุมและเพื่อฉลองครบรอบ ๑๐ ปี ของการก่อตั้งสมาคม การประชุมก็จะต่อด้วยเทศกาลหุ่น ASEAN งานทั้งหมดจะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ ๓๐ พ.ย. – ๖ ธ.ค. ๒๕๕๙
๑. เปิดการประชุม
เลขาธิการใหญ่ของสมาคมได้กล่าวเปิดประชุม และได้ต้อนรับ พร้อมทั้งได้ขอบคุณ ตัวแทนสมาชิกทั้ง ๑๐ ประเทศ ตลอดจนหวังว่าการประชุมนี้จะประสบความสำเร็จ
การประชุมครั้งที่ ๗ นี้ มีตัวแทนจาก ประเทศบรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และประเทศไทย
๒. การเลือกตั้งองค์ประชุม
ได้มีมติเลือก Mr. Danny Liwanag (ฟิลิปปินส์) และ Mr. Suparmin Sunjoyo (อินโดนีเซีย) เป็นประธานและรองประธานของการประชุม แล้วมีมติให้ Mr. Abdul Hakim (บรูไน) และ Mr. Hari Suwasono (อินโด) เป็นผู้จดรายงานของประชุม แล้วได้เลือก Mr. Ghulamar-Sarwar Yousof (มาเลเซีย) เป็นผู้ตรวจรายงาน
๓. การยอมรับของวาระการประชุม
ตรวจเอกสารและแก้ไขรายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมา เพื่อให้ลงมติยอมรับวาระการประชุมครั้งที่ ๖ (กรมศิลปากรเข้าร่วมครั้งแรก จึงต้องเห็นคล้อยตามที่เสนอมา)
๔. กิจกรรม
สรุปจากการประชุมที่ห้อง Plenary มีดังต่อไปนี้
วันที่ ๓๐ พ.ย. การประชุมของสมาคมหุ่น ASEAN
วันที่ ๒ ธ.ค. การเปิดงานของสมาคมหุ่น ASEAN และ งานฉลองครบรอบ ๑๐ปี ของการก่อตั้งสมาคม ตามด้วยการแสดงเรื่องรามายาณะและการแสดงพื้นเมือง
วันที่ ๓ ธ.ค. ทัศนศึกษาเมือง Mojokerto, โบราณสถาน Jolotundo และงานเทศกาลหุ่น ASEAN นักแสดงคือ: อินโดนีเซีย (กลุ่มเยาวชน), พม่า, สิงคโปร,์ ลาว, อินโดนีเซียแสดงทั้งคืน
วันที่ ๔ ธ.ค. การเยือนโบราณสถาน Trowulan และงานเทศกาลหุ่น ASEAN นักแสดงคือ: เวียดนาม ฟิลิปปินส์ เขมร อินโดนีเซีย ไทย อินโดนีเซีย แสดง Wayang Wong (หุ่นคน)
วันที่ ๕ ธ.ค. การเยือน Fresh Green แล้วศูนย์อิสลาม Tebu Ireng เพื่อร่วมแสดงแล้วชมการแสดงของนกเรียนจาก Tebu Ireng
งานเลี้ยงส่งและการแสดงพื้นบ้านโดยนายยกเทศมนตรีของ Mojokero
วันที่ ๖ ธ.ค. การเดินทางกลับของตัวแทนแต่ละประเทศ
๕. การรายงานของเลขาธิการใหญ่ของสมาคม
Mr. Suparmin Sunjoyo ได้รายงานถึงกิจกรรมของสมาคม
a) ความคืบหน้าของสมาคมในการเข้าร่วมกับเลขาธิการ ASEAN
b) กิจกรรมของ APEX เป็นการติดตามมาจากประชุมครั้งที่ ๖ ที่ฮานอยปี ๒๕๕๗
c) การประชุมวาระพิเศษของประธานคณะกรรมการบริหารที่มะนิลา ฟิลิปปินส์
d) การเข้าร่วมของประเทศสมาชิกทั้งหมดของสมาคมหุ่น ASEAN ในการแสดงในวัน ASEAN แล้วฉลองครบรอบ ๔๘ ปีของ ASEAN วันที่ ๑๐ ส.ค. ๒๕๕๘ ที่ Jakarta โดยมีรองประธานาธิบดีของอินโดนีเซียเป็นประธาน
๖. การอ่านสรุปการประชุมครั้งที่ ๖
ประธานคณะกรรมการบริหารของสมาคม Mr.Danny Liwanag ได้รายงานการสรุปของการประชุมครั้งที่ ๖ ของสมาคมที่ฮานอย เวียดนามในปี ๒๕๕๗ ในแต่ละประเทศได้สรุปการดำเนินงานเกี่ยวกับ Puppetry ไว้ดังนี้
- ประเทศบรูไน
๑. APA บรูไนเป็นเจ้าภาพการจัดงาน ASEAN Puppetry Exchange (APEX) ซึ่งมีประเทศที่เข้าร่วมงานได้แก่ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ พม่า กัมพูชา และญี่ปุ่น เมื่อเดือนมกราคม ๒๐๑๕ Mr.Danilo Liwanag เดินทางมาบรูไนเพื่อจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการแสดงหุ่น ที่ Black Theatre และโรงเรียนมัธยมในเขต Belait
๒. APA บรูไน ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมงาน 48th Anniversary of ASEAN ที่เมืองจาการ์ตา เมื่อ ๑๐ สิงหาคม ๒๐๑๕ และงาน UNESCO celebration ที่เมืองกัวลาลัมเปอร์ เดือนพฤษภาคม ๒๐๑๕
๓. APA บรูไน ยังได้ส่งศิลปินเข้าร่วมงานที่หนานหนิง ประเทศจีน ในปี ๒๐๑๕
นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการแสดงหุ่นของกลุ่ม Kumpulan Putra Seni ซึ่งมีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ สำหรับเยาวชน หนึ่งในการจัดกิจกรรมดังกล่าวถูกจัดขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่าง Matohai Shopping Centre และ secondary at primary school at Dewan Bahasa and Pustaka
- ประเทศกัมพูชา
๑. ปี ๒๐๑๔ ร่วมงาน Yunlin International Puppetry Festival ณ.ประเทศไต้หวันโดยมีการจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ และการแสดง
๒. ปี ๒๐๑๕ ร่วมงาน International Puppetry ณ.ประเทศเวียดนาม โดยได้รับรางวัลที่สอง ของการแสดงหนังเงาขนาดใหญ่ ในเรื่อง "Sokachak”
- ร่วมงาน Contemporary Dance & Puppet Festival ที่เมืองหนานหนิง ประเทศจีน เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมการแสดงหุ่น
- ร่วมงานเฉลิมฉลอง ASEANPuppetry Exchange (APEX) ครั้งแรก ณ.กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย
- ๑๖-๒๓ พฤศจิกายน จัดงาน APEX ขึ้นในประเทศกัมพูชา ใช้ชื่อว่า APEX Fire โดยเชิญผู้ชมงานจากบริษัทิเอกชน ทูตและตัวแทนสถานทูตจากประเทศต่างๆ และ UNESCO เข้าร่วมชมการแสดง โดยได้รับการสนับสนุนจาก Japan Solidarity และ ASEAN Foundation ทั้งนี้ยังได้เชิญกระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสิ่งแวดล้อม และกระทรวงเทคโนโลยีสาระสนเทศ พร้อมทั้ง APSATA Authorization ด้วย
๓. ปี ๒๐๑๖ ร่วมงาน APEX-Earth ที่ประเทศพม่า
- ร่วมงาน APEX-Live ที่เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย
- เดือนมิถุนายน Sovannaphum Art association ประสบปัญหาด้านการเงินแต่ก็ได้รับการแก้ปัญหาจากการระดมทุนด้วยการจัดการแสดงของ Cambodian Youth's Group (Pleung Kob)
- ๒๕ พฤศจิกายน มีการเฉลิมฉลองการขึ้นทะเบียนมรดกที่จับต้องไม่ได้ของหุ่นเงา พร้อมทั้งได้รับทุน ๑๐,๐๐๐ USD. เพื่อการปรับปรุงและพัฒนา Sovannaphum Art
- ๒๒-๒๓ พฤศจิกายน ได้เข้าร่วมประชุมโต๊ะกลมกับสถาบันการศึกษาด้านศิลปะ มีการพูดคุยเกี่ยวกับศิลปะและหาวิธีการแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ
กิจกรรมปัจจุบัน
๑. เข้าร่วมโครงการกับกระทรวงวัฒนธรรม
๒. เข้าร่วมโครงการกับภาคเอกชน
๓. เข้าร่วมโครงการกับสถาบันศิลปะ
๔. เข้าร่วมโครงการกับสื่อโทรทัศน์
ความคาดหวัง
๑. การได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ
๒. การอนุรักษ์ตัวหนังรุ่นเก่า
๓. การส่งเสริมประชาสัมพันธ์
๔. สร้าง UNIMA's Cambodia
- ประเทศอินโดนีเซีย
๑. จัดการประชุมครั้งที่ ๗ ของ Indonesia puppeteers Union/Organistion (PEPADI Pusat) เมื่อวันที่ ๓๐-๓๑ มีนาคม ๒๐๑๕ PEPADI PUSAT จัดการประชุมครั้งที่ 6 ขึ้นที่เมือง Pandaan ชวาตะวันออก โดยที่ประชุมตกลงที่จะแต่งตั้ง Mr. Kondang Sutrisnoเป็นประธานคนใหม่
๒. จัดการตีพิมพ์หนังสือ Indonesia Wayang by SENA WANGI (Chairman of Policy Council, Indonesia National Puppetry Secretariat :SENA WANGI)
๓. Mr. H. Solichin ได้จัดทำหนังสือ "Filsafat Wayang Systematis” เสร็จสมบูรณ์ และปรับปรุงหนังสือสาราณุกรม ตั้งแต่ เล่มที่ ๖ ถึงเล่มที่ ๙
๔. จัดงาน PEPADI และ SENA WANGI (The Indonesian main Wayang/Puppet Organization namely Indonesian Puppeteers Union/ Organization :PEPADI Pusat) ฉลองครบรอบ ๔๕ ปี ในวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๐๑๖
๕. จัดงาน Indonesian National Puppet / Wayang Secretariat (SENA WANGI) ฉลองครบรอบ ๔๑ ปี ในวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๐๑๖
๖. การแข่งขันนักเชิดหุ่นเยาวชน PEPADI Pusat ได้ดำเนินการแข่งขัน นักเชิดหุ่นเยาวชน เป็นครั้งที่ ๕ เมื่อวันที่ ๒๐-๒๒ พฤศจิกายน ๒๐๑๕ ณ.พิพิธภัณฑ์ศิลปะและเซรามิก กรุงจาการ์ตา การแข่งขันระดับชาตินี้มีเยาวชนเข้าร่วมแข่งขัน ๒๒ คนจาก ๙ เมือง
๗. PEPADI Pusat ได้ดำเนินการแข่งขัน นักเชิดหุ่นเยาวชนครั้งที่ ๗ และการแข่งขัน นักเชิดหุ่นรุ่นใหม่ ครั้งที่ ๖ เมื่อวันที่ ๑๗-๒๐ พฤศจิกายน ๒๐๑๖ ณ.พิพิธภัณฑ์ศิลปะและเซรามิก กรุงจาการ์ตา โดยมีเยาวชนเข้าร่วมการแข่งขัน ๒๘ คนจาก ๑๐ เมือง และนักเชิดหุ่นรุ่นใหม่ ๒๓ คน จาก ๑๑ เมือง
๘. การแสดงประจำ ณ. Theater Wayang Indonesia (TWI)
๙. การแสดงทุกเดือนของ Wayang Orang ณ. Theater of Kautaman SENA WENGI ได้รับการสนับสนุนโดย SENA WANGI, Indonesian Puppeteers Union Organization (PEPADI Pusat) และ Swargaloka Arts Department รายการนี้ไม่ใช่เพื่อสำหรับศิลปินรุ่นใหม่เท่านั้น แต่ยังเป็นการเสริมสร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์การดำเนินการทางวัฒนธรรม และยังอาจกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกด้วย
๑๐. เทศกาล Indonesian Wayang Festival (FWI) เทศกาล Indonesian Wayang Festival (FWI) จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๒-๑๓ กันยายน ๒๐๑๕ และ ๒๗-๒๘ พฤษภาคม ๒๐๑๖ ณ.Taman Fatahillah เมืองเก่าจาการ์ตา ในเทศกาลนี้ได้รวมเอาการแสดง Wayang ประเภทต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อฟื้นฟูการแสดง Wayang เพื่อดึงดูดคนรุ่นใหม่ เพื่อสร้างรายได้และเป็นเวทีเปิดกว้างให้กับศิลปินรุ่นใหม่ด้วย
- ประเทศลาว
ในปี ๒๐๑๕-๒๐๑๖ มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายกิจกรรมในท้องถิ่นให้กับเด็กในพื้นที่ห่างไกลทางตอนใต้ของประเทศลาว Vurnerable youth Development Association ได้ดำเนินกิจกรรมการแสดงหุ่นให้กับนักเรียนในท้องถิ่นทั้งระดับประถมและมัธยมศึกษา โดยได้รับผลตามที่คาดหวังดังนี้
๑. การฝึกหัด ๘ ครั้ง โดยมีผู้เข้าร่วมฝึกอบรมทั้งหมด ๑๐๐ คน ทั้งครูและนักเรียน
๒. นักเรียนที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมได้สร้างหุ่นกว่า ๕๐ ตัว ด้วยกระดาษและวัสดุอื่นๆ ในท้องถิ่น
๓. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ฝึกหัดและแสดง โดย ๑๐ โรงเรียนสอนการแสดงหุ่น ๓๐ ครั้ง และมีผู้ชมมากกว่า ๑๖,๐๐๐ คน
๔. การแสดงของนักเรียนได้รับการบันทึกลงใน DVD และเผยแพร่ให้กับโรงเรียน หน่วยงานของรัฐ รวมทั้งสถานี โทรทัศน์แลัวิทยุท้องถิ่น
๕. การแสดงหุ่นของนักเรียนยังคงเผยแพร่การแสดงสู่สถานศึกษาในเขตอื่นๆในจังหวัดของพวกเขา
บทเรียนที่ได้
๑. การแสดงหุ่นยังเป็นที่นิยมของคนในท้องถิ่นและผู้คนที่อยู่ห่างไกล คนในท้องถิ่น ควรได้รับการเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และนำข้อมูลการเรียนรู้ต่างๆที่ส่งผ่านการแสดงหุ่น
๒. ชุมชนในท้องถิ่นได้เสนอให้ VYDA-Laos จัดการแสดงใหม่อย่างน้อยสามครั้งต่อปีในแต่ละโรงเรียน
- ประเทศมาเลเซีย
๑. นิทรรศการของ Wayang Kulit Kelantan-puppets เป็นของ Prof. Ghulam ณ. University of Malaya เปิดขึ้นตั้งแต่ ๒๙ ธันวาคม ๒๐๑๕ มีหุ่นตั้งแต่ปี ๑๙๗๐ กว่า ๕๐ ตัวแสดงอยู่
๒. นักศึกษาหลายคนของ Prof. Ghulam กำลังศึกษาระดับ ปริญญาโท และปริญญาเอก ในเรื่อง Wayang Kulit Kelantan
- ประเทศพม่า
๑. ปี ๒๐๐๖ เดือนพฤศจิกายน HTWE OO Myanmar โรงละครหุ่นจัดตั้งขึ้นโดย Mr. KHIN MAUNG HTWE และ Ms. TIN TIN OO
๒. ปี ๒๐๑๒ เดือนพฤศจิกายน เข้าร่วมงาน ASEAN PUPPET FESTIVAL ๒๐๑๒ ณ.ประเทศสิงโปร์ (เป็นครั้งแรกที่เข้าร่วมงานใน ASEAN)
๓. ปี ๒๐๑๓ เดือนกุมภาพันธ์ ASEAN Enchanting Puppetry Festival ณ.เชียงใหม่ ประเทศไทย
๔. ปี ๒๐๑๔ เดือนมิถุนายน การประชุม APA ครั้งที่ ๖ ณ. ประเทศเวียดนาม
- เดือนพฤศจิกายน Harmony World Puppet Carnival ๒๐๑๔ ณ.กรุงเทพ ประเทศไทย (ได้รับรางวัล Best Animation Award)
- เดือนธันวาคม ASEAN Enchanting Puppetry Festival ณ.เชียงใหม่ ประเทศไทย
๕. ปี ๒๐๑๕ เดือนพฤษภาคม UNESCO Day and Puppet Conference ณ.กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
- เดือนตุลาคม ร่วมงาน 4th International Festival ณ.เมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม (ได้รับรางวัล Golden Award of Individual และ Silver award of Troup)
๖. ปี ๒๐๑๖ เดือนมกราคม puppet Exchange ณ.เมืองบันดาเสรีเบกาวัน บรูไน
- เดือนพฤษภาคม puppet Exchange ณ.เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า
- เดือนตุลาคม Puppet Exchange ณ.เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย
- เดือนพฤศจิกายน Thailand Puppet Forum ณ.กรุงเทพ ประเทศไทย
- เดือนธันวาคม ร่วมงาน 7th APA Meeting & Puppet Festival ณ.เมืองโมโจเคอร์โต ชวาตะวันออก ประเทศอินโดนีเซีย
งานหลัก
- จัดการแสดงโดยครอบครัวที่บ้านทุกวัน
- มีการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรการจัดการหุ่นสำหรับประชาชน และชาวต่างชาติ
- จัดการสอนเกี่ยวกับหุ่นสู่สถานศึกษา
- ประเทศฟิลิปปินส์
การพัฒนาการแสดงหุ่นในประเทศฟิลิปปินส์
๑. ศิลปะการแสดงละครหุ่นในประเทศฟิลิปปินส์มีความเข้มแข็งมากขึ้น สมาคมแรกที่เกิดขึ้นในประเทศคือ Samahan ng mga Papetir ng Pilipinas และตามมาด้วยสมาคม Papetir's Club International ซึ่งจัดตั้งขึ้นมาเมื่อสี่ปีก่อน
๒.สามารถเห็นการแสดงละครหุ่น ตามสถานที่ต่างๆ อาทิ โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า โรงละคร หรือการจัดงานวันเกิดส่วนตัว และมีหลายครั้งที่ได้รับความสนใจจากรายการโทรทัศน์
๓. กลุ่ม Teatro Itim ได้จัดการแสดงทุกวันที่พิพิธภัณฑ์มะนิลา ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ๒๐๑๔ ถึง กุมภาพันธ์ ๒๐๑๕ สำหรับนักเรียนนักศึกษาระดับประถมและมัธยมศึกษา ที่เข้าชมเพื่อการทัศนศึกษา
๔. เดือนมกราคม ๒๐๑๕ ประเทศฟิลิปปินส์ได้จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ด้านละครหุ่น ณ.ประเทศบรูไน ด้วยการให้ความช่วยเหลือจาก Mr. Hakim Yassin โดยมีผู้ให้ความสนใจเข้ารวมกิจกรรมนี้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยมีหุ่นหลากหลาบประเภทในครั้งนี้ และบทความของการจัดการประชุมได้รับการตีพิมพ์ถึงสองครั้ง ใน Brunei Time
๕. มีการจัดการประชุมนัดพิเศษระหว่างรองประธานและผู้ก่อตั้ง APA ณ.กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๐๑๕ มีประเด็นที่สำคัญในการพูดคุยกันในเรื่อง ปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรและการหาทางออก ในบทความที่ ๗ และ ๑๑ เรื่องกฎระเบียบ ได้มีการเสนอให้มีการแก้ไขใการประชุมครั้งต่อไปของกรรมการบริหาร สำหรับผู้เข้าร่วมฟังในกิจกรรมครั้งนี้ เป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยโปลีเทคนิคฟิลิปปินส์ เพื่อได้เห็นถึงความแตกต่างของการแสดงหุ่นประเภทต่างๆ อาทิ หุ่นมือ หุ่น black theater เป็นต้น
๖. เมื่อเดือนกันยายน ๒๐๑๕ และ ๒๐๑๖ ฟิลิปปินส์ได้รับเชิญให้เข้าร่วมงาน China-ASEAN Theater week ณ.เมืองหนานหนิง ประเทศจีน โดย Roppets Edutainment Production เป็นคณะตัวแทนจากฟิลิปปินส์ ในปี ๒๐๑๕ มีการจัดการแสดงร่วมกันระหว่างประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศบรูไน โดยนาย Mr.Seruddin และ Teatri Itim โดยการแสดงได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากเด็กๆและผู้ปกครอง ในปี ๒๐๑๕ ฟิลิปปินส์ได้เสนอการแสดงทางวัฒนธรรมเรียกว่า Pandanggo sailaw ,การแสดงศิลปะฟองสบู่ และ black theater ประเทศในกลุ่ม ASEAN ได้เข้าร่วมประชุมที่จัดขึ้น โดย Mr. Fang Ning เพื่อเสนอรายงาน เกี่ยวกับการพัฒนาของอุตสาหกรรม ศิลปะการแสดงของแต่ละประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อการรวมตัวกันของการแสดงละครและการเต้นประเภทต่างๆเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนและส่งเสริมความสมพันธ์ระหว่างประเทศ
- ประเทศสิงคโปร์
มีการแสดงหุ่นห้าประเภทในสิงคโปร์ ที่มีการจัดการแสดงทั่วไปต่อสาธารณะและได้รับการเผยแพร่
- Finger Players
- The Mascots and Puppet Specialists
- Paper Monkey
- Sri Warisan
- Fun Play
The Finger Players และ Paper Monkey มักจะรวมเอาองค์ประกอบของการแสดงหุ่นและการผลิตละครไว้ด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีการสร้างสรรค์การแสดงละครหุ่นเพื่อให้เข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้
The Mascots และ Puppet Specialists เป็นแบบหุ่นสาย ทุกกลุ่มการแสดงหุ่นในสิงคโปร์ มีการส่งเสริมการแสดงสู่โรงเรียนต่างๆ เพื่อสร้างผู้ชมรุ่นใหม่ และยังมีการแลกเปลี่ยนกันในระดับประเทศ เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน โดยมีหน่วยงานของรัฐเข้าให้การสนับสนุนกิจกรรมของพวกเขา
- ประเทศเวียดนาม
ละครหุ่นแห่งชาติเวียดนาม มีการดำเนินการดังนี้
๑. สนับสนุนศิลปินท้องถิ่น และนักเรียนที่ศึกษาศิลปะการแสดงหุ่น
๒. ดำเนินการแสดงประมาณ ๑๐๐ การแสดง ทั้งหุ่นน้ำ และหุ่นบก
๓. เปิดการแสดงฟรี สำหรับเยาวชน และคนกลุ่มน้อย
๔. ผลิตการแสดงใหม่สำหรับการแสดงหุ่นบก
๕. เป็นเจ้าภาพผู้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับมืออาชีพ หนึ่งครั้ง
๖. เข้าร่วมงาน APEX ณ.ประเทศบรูไน และประเทศพม่า
๗. ร่วมจัดงาน APEX one ณ.เมืองฮานอย เมื่อ ๙-๑๘ ธันวาคม ๒๐๑๖
๘. จัดการแสดง ณ.ประเทศต่างๆ ๑๒ ครั้ง ภายใต้คำเชิญจากพันธมิตรและสถานฑูตต่างๆ
ข้อสังเกตุ
คณะหุ่นเวียดนามจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงวัฒนธรรมในปี ๒๐๒๐ ซึ่งจะกลายเป็นกลุ่มเอกชนที่จะต้องสร้างสรรค์ผลงานที่ดีขึ้น พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ เพื่ออนาคตของคณะหุ่น
- ประเทศไทย
ได้แจ้งในที่ประชุมว่า ในประเทศไทยมีการแสดงหุ่นอยู่หลายคณะ ในลักษณะอาชีพที่ต่างกัน เช่นเพื่อการอนุรักษ์ การเผยแพร่ การค้า และการศึกษา ส่วนหน่วยงานกรมศิลปากรยังคงอนุรักษ์การแสดงและตัวหุ่นไว้ในแบบที่ได้รับการสืบทอดมาจากราชสำนัก ได้แก่หนังใหญ่ หุ่นหลวง หุ่นวังหน้าและหุ่นกระบอก ซึ่งปัจจุบันจะจัดแสดงเฉพาะในงานพระราชพิธีและรัฐพิธี และส่งเสริมการเรียนรู้ใน สถานศึกษาลักษณะการบรรยายสาธิต ตลอดจนมีการเผยแพร่ในต่างประเทศตามที่ได้รับเชิญ
ข้อสังเกตุ
๑. สมาคมนี้ก่อตั้งมาได้ ๑๐ ปีแล้ว มีการประชุมตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศกันกับหน่วยงานเอกชนของไทยถึง ๖ ครั้ง มาในครั้งนี้ที่ทางกรมศิลปากรได้เข้ามาร่วมประชุมจึงยังไม่สามารถหยั่งลึกทิศทางของสมาคมนี้ได้ จากที่สังเกตุหุ่นแต่ละประเทศมีความหลากหลายในการดำเนินงาน ได้แก่หุ่นเพื่องานอนุรักษ์ หุ่นเพื่อการศึกษา หุ่นสำหรับเด็ก หุ่นสร้างสรรค์ตามสมัย เป็นต้น ทำให้ความเป็นอัตลักษณ์ในการแสดงบางประเทศยังไม่ชัดเจนเท่าเทียมหุ่นของไทย
๒. สมาคมนี้เป็นของเอกชนร่วมกันก่อตั้ง ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากเงินบริจาคจากสถาบันต่างๆ แต่ยังไม่พอกับค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น APA Website เป็นต้น จึงต้องมีการเรียกเก็บเงินจากสมาชิกผู้เข้าร่วมประชุม ประเทศละ ๕๐ ดอลล่าสหรัฐ (ประเทศไทยไม่ได้จ่ายให้ โดยให้เหตุผลว่า เรามาจากหน่วยงานรัฐบาล การใช้จ่ายเงินจำเป็นต้องมีหนังสืออนุมัติเบิกจ่ายในแต่ละครั้ง)
๓. ศิลปินที่มาแสดงมีทั้งจากสายอาชีพและจากสมัครเล่น ทำให้ผลงานออกมาดูเหลื่อมล้ำกัน
๔. ความพร้อมในการรับเป็นเจ้าภาพของการจัดงานประชุมและงานแสดงแต่ละประเทศมีศักยภาพไม่เท่าเทียมกัน ทำให้ภาระงานจะตกไปอยู่ที่ประเทศที่มีทุนหรือกำลังความสามารถในการจัดการ ไม่ได้เวียนไปตามลำดับประเทศอย่างที่ควรจะเป็น เพราะองค์กรกลางยังมีทุนไม่มากพอที่จะส่งเสริมได้อย่างจริงจัง
ข้อเสนอแนะ
๑. เมือง MOJOKERTO, EAST JAVA ประเทศ INDONESIA นี้มีพิพิธภัณฑ์หุ่นของเอกชน ที่สะสมตัวหุ่นและตัวหนังไว้มากมีทั้งของเก่าที่มีประวัติสืบค้นได้ และหุ่นในยุคใหม่ที่มีการสร้างสรรค์ปรับปรุงไปตามสมัย ที่สำคัญสามารถจัดแสดงในงานต่างๆได้ นับเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์อย่างมีคุณภาพ เช่นเดียวกับบ้านตุ๊กตุ่นของไทย ซึ่งทางกรมศิลปากรเองก็มีการอนุรักษ์ แต่อยู่ในภาพรวมกับงานนาฏศิลป์ยังไม่มีการมอบหมายให้ส่งเสริมงานด้านนี้โดยเฉพาะ
๒. กรมศิลปากรควรมีการส่งเสริมการเรียนรู้ในอัตลักษณ์การแสดงประเภทนี้ของไทย ให้กว้างขวางและแพร่หลาย ไม่ควรเป็นของหายาก จะได้ชมการแสดงเฉพาะในงานพระราชพิธีหรือรัฐพิธีเท่านั้น
(จำนวนผู้เข้าชม 896 ครั้ง)