รายงานการเดินทางไปราชการ ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
1.ชื่อโครงการ/กิจกรรม
โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทย-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : กิจกรรมประสานงานเพื่อจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยดำเนินการแลกเปลี่ยนวิทยาการทางโบราณคดี โบราณสถาน วัฒนธรรมและพิพิธภัณฑสถาน
3.กำหนดเวลา
วันที่ 2-6 พฤษภาคม พ.ศ.2559
4.สถานที่
กรมมรดก และ หอพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
5.หน่วยงานผู้จัด
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ประเทศไทย และกรมมรดก กระทรวงแถลงข่าว การท่องเที่ยวและวัฒนธรรม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
6.หน่วยงานสนับสนุน
สถานเอกอัครราชฑูตแห่งราชอาณาจักรไทย ประจำนครหลวงเวียงจันทน์
7.กิจกรรม
ประชุมร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ประเทศไทย และกรมมรดก(โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่จาก กอง/แผนก ที่เกี่ยวข้องกับงานพิพิธภัณฑ์) กระทรวงแถลงข่าว การท่องเที่ยวและวัฒนธรรม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการด้านพิพิธภัณฑสถานทั้งในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
8.คณะผู้แทนไทย
8.1 นางอมรา ศรีสุชาติ นักโบราณคดีทรงคุณวุฒิ
8.2 นางสาวพัชรินทร์ ศุขประมูล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยพิพิธภัณฑ์
8.3 นายทศพร ศรีสมาน ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ
8.4 นายชินณวุฒิ วิลยาลัย นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ
8.5 นางสาวโสภิต ปัญญาขัน นักวิทยาศาสตร์ด้านการอนุรักษ์ชำนาญการ
8.6 นางชูศรี เปรมสระน้อย หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติร้อยเอ็ด
8.7 นางสาวกนกวลี สุริยธรรม ภัณฑารักษ์ชำนาญการ
8.8 นางสาวเชาวนี เหล็กกล้า ภัณฑารักษ์ชำนาญการ
9.สรุปสาระของกิจกรรม
9.1 ประชุมร่วมเพื่อพิจารณาจัดทำ ร่าง แผนปฏิบัติงานด้านพิพิธภัณฑสถาน
คณะผู้แทนของกรมศิลปากรเข้าพบกับเจ้าหน้าที่ของกรมมรดก สปป.ลาว คือ ท่านเวียงแก้ว สุกสะหวัดดี รองอธิบดีกรมมรดก, ท่านทองลิด หลวงโคด ผู้อำนวยการกองโบราณวิทยา, ท่านพอนพัน ผู้อำนวยการห้องบริหารงาน, ท่านนางเพ็ดมาลัยวัน ผู้อำนวยการหอพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ และ เจ้าหน้าที่หอพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ อีกจำนวน 10 ท่าน ณ ห้องประชุม หอพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ นครหลวงเวียงจันทน์
ทั้งสองฝ่ายร่วมกันเสนอความคิดเห็น พิจารณาแนวทางในการปฏิบัติงานด้านพิพิธภัณฑ์สถานให้สอดคล้องตรงกันทั้งสองฝ่าย
9.2 ร่าง แผนปฏิบัติงานด้านพิพิธภัณฑสถาน
คณะผู้แทนของกรมศิลปากรและเจ้าหน้าที่ของกรมมรดก ร่วมกันพิจารณาแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติงานด้านพิพิธภัณฑ์สถาน สรุป ดังนี้
- แผนงานหลัก มี 3 แผน คือ
แผนการศึกษาวิจัย เรื่อง พุทธศิลป์
แผนงานอนุรักษ์ ปกป้องและคุ้มครองมรดก(National Single Window - NSW)
แผนการพัฒนาบุคลากร(แลกเปลี่ยนความรู้ ทักษะและประสบการณ์เกี่ยวกับ
พิพิธภัณฑวิทยา)
- ปฏิบัติงานใน สปป.ลาว ในพื้นที่ 3 ส่วน คือ ภาคกลาง ภาคเหนือ และ ภาคใต้ ที่มีพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่
- ปฏิบัติงานในประเทศไทย ในพื้นที่ติดต่อ สปป.ลาว และ ฝั่งแม่น้ำโขง
ตั้งแต่จังหวัดเชียงราย-น่าน-อุตรดิตถ์-พิษณุโลก-เลย-หนองคาย-บึงกาฬ-นครพนม-มุกดาหาร-อุบลราชธานี รวมถึงจังหวัดอื่นๆ ที่ต่อเนื่องและมีศักยภาพทางวิชาการสำหรับการปฏิบัติงาน
และปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 ส่วน คือ ภาคกลาง ภาคเหนือ และ ภาคใต้
- ระยะเวลา 5 ปี
- ปีที่ 1 เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลและจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านพิพิธภัณฑสถานร่วมกันในพื้นที่ภาคกลางของ สปป.ลาว และ พื้นที่ในจังหวัดเลย-หนองคาย-บึงกาฬ-นครพนมของประเทศไทย
โดยคณะทำงานของทั้งสองฝ่าย(ที่จะตั้งขึ้นหลังการลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ)
จะร่วมกันพิจารณาความรู้และข้อมูลของพื้นที่ศึกษาและจากนั้นจึงร่วมกันจัดทำมาตรฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำสู่วิธีปฏิบัติงานจริงต่อไป รวมทั้งจัดฝึกอบรมเรื่องพิพิธภัณฑวิทยาเบื้องต้น(Fundermental academic museology) และNational Single Window(NSW) ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารงาน
- ปีที่ 2 เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลและจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านพิพิธภัณฑสถานร่วมกันในพื้นที่ภาคเหนือของ สปป.ลาว และ พื้นที่ในจังหวัดเชียงราย-น่าน-อุตรดิตถ์-พิษณุโลกของประเทศไทย
โดยคณะทำงานของทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันทบทวนมาตรฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำสู่การปรับปรุงวิธีปฏิบัติงานจริงต่อไป รวมทั้งจัดฝึกอบรมเรื่องพิพิธภัณฑวิทยาระดับกลาง(Intermidiate academic museology) ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารงาน
- ปีที่ 3 เป็นการปฏิบัติงานตามมาตรฐานด้านพิพิธภัณฑสถานร่วมกันในพื้นที่ภาคใต้ของ สปป.ลาว และ พื้นที่ในจังหวัดมุกดาหาร-อุบลราชธานีของประเทศไทย
โดยคณะทำงานของทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันทบทวนมาตรฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำสู่การปรับปรุงวิธีปฏิบัติงานจริงต่อไป รวมทั้งจัดฝึกอบรมเรื่องพิพิธภัณฑวิทยาระดับสูง/มาตรฐานสากล(Advanced academic museology) ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารงาน, สัมมนาโต๊ะกลม(สำหรับคณะทำงานร่วม)
- ปีที่ 4 เป็นการปฏิบัติงานร่วมกันในพื้นที่และประเด็นที่ตั้งไว้ทั้งในประเทศไทยและ สปป.ลาว, แลกเปลี่ยนบุคลากรในการให้ความรู้ซึ่งกันและกัน, สัมมนาโต๊ะกลม(สำหรับคณะทำงานร่วม) รวมทั้งจัดฝึกอบรมเรื่องพิพิธภัณฑวิทยา 4 ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารงาน
- ปีที่ 5 สื่อประชาสัมพันธ์, การรักษาความปลอดภัย, ประชุมวิชาการและจัดพิมพ์หนังสือทางวิชาการ
10.ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม
10.1 จะนำเสนอ รายละเอียดของ ร่าง แผนปฏิบัติงานด้านพิพิธภัณฑสถาน อีกครั้ง
10.2 จำเป็นต้องจัดทำ ร่าง แผนปฏิบัติงานด้านโบราณคดี ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากกรมมรดก(โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่จาก กอง/แผนก ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านโบราณคดี) กระทรวงแถลงข่าว การท่องเที่ยวและวัฒนธรรม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อีกครั้ง
................................................ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ
(นายชินณวุฒิ วิลยาลัย)
(จำนวนผู้เข้าชม 471 ครั้ง)