รายงานการเดินทางไปราชการ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
1. ชื่อโครงการ
การประชุมเรื่องอนุสัญญาว่าด้วยการปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำ (International Meeting on Underwater Cultural Heritage Site Protection 2016) เพื่อสนับสนุนอนุสัญญา ปี 2001 ว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำ
2. วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์หลักของการประชุมระหว่างประเทศในครั้งนี้ เพื่อดำเนินการสานต่อการประชุมเมื่อปี 2001 ว่าด้วยเรื่องอนุสัญญาการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเกี่ยวกับการดูแลรักษาแหล่งมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ และมาตรการป้องกันการค้าโบราณวัตถุที่ได้จากแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำที่ผิดกฎหมาย
3. กำหนดเวลา การประชุมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-23 กันยายน พ.ศ.2559
(การเดินทางไปราชการระหว่างวันที่ 20-25 กันยายน พ.ศ.2559)
4. สถานที่
สำนักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ห้องประชุม II และ IX อาคาร Fontenoy
5. หน่วยงานผู้จัด
องค์การร่วมมือทางการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมระหว่างประเทศ (ยูเนสโก : UNESCO
ย่อมาจาก United Nations Educational; Scientific and Cultural Organization)
6. หน่วยงานสนับสนุน
สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ
7. กิจกรรม
วันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2559 – ห้องประชุม II
10.00 น. กล่าวยินดีต้อนรับโดย Mr. Francesco bandarin ผู้ช่วยผู้อำนวยการทั่วไปยูเนสโก
กล่าวยินดีต้อนรับและข้อคิดเห็นโดย H. E. Mr. Ahmad ผู้แทนถาวรยูเนสโกแห่งสาธารณรัฐ
อิสลามอิหร่าน, รองประธานที่ประชุมรัฐภาคีอนุสัญญา 2001
10.30 น. สถานการณ์ปัจจุบันของภัยคุกคามต่อมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำ
ผู้ควบคุมการบรรยายโดย Mr. James Delgado, สหรัฐอเมริกา
· กฎระเบียบข้อบังคับของอนุสัญญาปี 2001 เกี่ยวกับการคุ้มครองแหล่งมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ
โดย Ms. Ulrike Guerin, ยูเนสโก
· ภาพรวมของสถานการณ์ปัจจุบันของการลักลอบงมหาโบราณวัตถุจากแหล่งมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ
ในทวีปยุโรป โดย Mr. Michel L’Hour, ภาควิชาการศึกษาวิจัยทางโบราณคดีใต้น้ำ (DRASSM), ฝรั่งเศส
· กรณีศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของนักโบราณคดีในกรณีที่มีส่วนสำคัญกับการลักลอบงมหาโบราณวัตถุจาก
แหล่งมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ โดย Mr. James Delgado, องค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Oceanic and Atmospheric Administration : NOAA),สหรัฐอเมริกา
· ตัวอย่างสถิติการล่าสมบัติใต้น้ำของประเทศบาฮามาส โดย Mr. Michael Pateman, นักโบราณคดีใต้น้ำ
ประเทศบาฮามาส
· การยึดโบราณวัตถุที่ได้จากแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำ โดย Mr. Jean-Luc Blachon, คณะกรรมการ
กิจการกฎหมายอาญา, กระทรวงยุติธรรม, ฝรั่งเศส
· ถาม - ตอบ
11.40 น. ปัญหาในทางปฏิบัติของการตรวจสอบแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำ
ผู้ควบคุมการบรรยายโดย Ms Helena Barba Meinecke, President STAB
· ความท้าทายที่เราเผชิญในเรื่องเกี่ยวกับการคุ้มครองแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำจากล่าสมบัติ
โดย Mr. Alexandre Monteiro, มหาวิทยาลัยนิวลิสบอน, โปรตุเกส
· เทคนิคการเฝ้าระวังที่ทันสมัย โดย Manuel Angel Sanchez Corbi, หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการกลาง
รักษาความปลอดภัย (Unidad Central Operativa, Guardia Civil), สเปน
· ความท้าทายและรายละเอียดของเหรียญที่พบจำนวนมาก โดย Mr. Peter Van Alfen,
American Numismatic Society, สหรัฐอเมริกา
· การเข้าถึงแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำในขณะที่การรักษาความปลอดภัย โดยSebastiano Tusa,
Sopra-Intendenza Sicily, อิตาลี
· ถาม - ตอบ
13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
15.00 น. - บริบทที่ยากลำบากในการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำ
ผู้ควบคุมการบรรยายโดย Augustus Ajibola, Scientific and Technical Advisory Body (STAB), ไนจีเรีย
· ความเชี่ยวชาญของตำรวจอิตาลีในการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำ, Romano Gianpietro,
ตำรวจ, อิตาลี
· บริบทที่ยากลำบากในการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำ โดย Mr. Ricardo Duarte,
E. Mondlane University, โมซัมบิก
· การติดตามผลของกรณีการขโมยทรัพย์สินที่สำคัญของหน่วยงานระดับชาติ – กรณีศึกษาการปล้น
พระแม่มารีย์ โดย Ms. Elisa de Cabo, Deputy Director for Heritage, สเปน
· โอกาสที่ได้จากคณะที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคนิคในการประชุมเมื่อปี 2001
โดย Ms. Helena Barba Meinecke, President STAB, เม็กซิโก
· ความรับผิดชอบและศักยภาพของหน่วยนาวิกโยธินติดอาวุธ(NATO) ในการปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม
ใต้น้ำ โดยพลเรือตรี Denis Bigot,นาโต
· บทบาทของตำรวจสากลและผลกระทบของการค้าโบราณวัตถุจากแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำ
ระหว่างประเทศ โดย Mr. Corrado Catesi, ตำรวจสากล
· Preventive Archaeology : ผลการวิจัยเป็นคำตอบเพื่อการปล้นสะดมของมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำ
โดย Mr Philippe Pelgas, Chief underwater activities, Inrap, ฝรั่งเศส
· ถาม – ตอบ
วันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2559 ห้องประชุม IX - คณะทำงานของผู้เชี่ยวชาญ
10:00 น. การปฏิบัติการป้องกันแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำ (การแต่งตั้ง, การเฝ้าระวัง,
สิ่งของทรัพย์สิน) ผู้ดำเนินรายการโดย Mr. Michel L’Hour, ฝรั่งเศส
11:00 น. การบังคับใช้กฎหมาย ผู้ดำเนินรายการโดย Mr. Manuel Angel Sanchez Corbi, สเปน
12:00 น. การดำเนินงานของการประชุมในน่านน้ำสากล 2001 ผู้ดำเนินรายการโดย Ms. Ulrike Guerin,
ยูเนสโก
13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
15:00 น. ความเป็นไปได้ของการยึดโบราณวัตถุที่ได้มาจากการลักลอบงมจากแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม
ใต้น้ำและการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ผู้ดำเนินรายการโดย Mr. Marnix Pieters, เบลเยียม
16:00 น. แนวทางการซื้อขายโบราณวัตถุจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ ผู้ดำเนินรายการโดย Mr. Caesar Bita,
เคนยา
18:00 น. ยอมรับของการเสนอแนะ และปิดการประชุม
8. คณะผู้แทนไทย
1. นายเอิบเปรม วัชรางกูร ผู้อำนวยการกองโบราณคดีใต้น้ำ
2. นางสาวมาลีภรณ์ คุ้มเกษม หัวหน้ากลุ่มนิติกร สำนักบริหารกลาง
3. นายอาภากร เกี้ยวมาศ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี จันทบุรี
9. สรุปสาระของกิจกรรม
เป็นการรับทราบถึงกิจกรรมในด้านมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำ (UCH : Underwater Cultural Heritage) ของประเทศสมาชิก โดยทำความเข้าใจและซักถามข้อสงสัย ทั้งในที่ประชุมและนอกการประชุม สำหรับประเทศไทยไม่พบปัญหาหรือข้อขัดแย้งใดๆที่เกี่ยวเนื่องกับอนุสัญญาคุ้มครองมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ (The 2001 UNESCO – Convention on the Protection of the Underwater Cultural Heritage) และประเทศไทยยังได้ปฏิบัติตามอนุสัญญาอยู่แล้วเป็นการภายในครบถ้วนทุกข้อ โดยยังมิได้ลงนามในอนุสัญญาดังกล่าว
10. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม
ให้มีการติดตามผลการดำเนินงานของการประชุมเรื่องอนุสัญญาว่าด้วยการปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำของยูเนสโกต่อไป
นายเอิบเปรม วัชรางกูร
ผู้อำนวยการกองโบราณคดีใต้น้ำ
(จำนวนผู้เข้าชม 841 ครั้ง)