รายงานการเดินทางไปราชการ ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
1.ชื่อโครงการ/กิจกรรม
โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทย-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : กิจกรรมประสานงานเพื่อจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยดำเนินการแลกเปลี่ยนวิทยาการทางโบราณคดี โบราณสถาน วัฒนธรรมและพิพิธภัณฑสถาน
3.กำหนดเวลา
วันที่ 25-27 มิถุนายน พ.ศ.2558
4.สถานที่
นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประธิปไตยประชาชนลาว
5.หน่วยงานผู้จัด
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ประเทศไทย และกรมมรดก กระทรวงแถลงข่าว การท่องเที่ยวและวัฒนธรรม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
6.หน่วยงานสนับสนุน
สถานเอกอัครราชฑูตแห่งราชอาณาจักรไทย ประจำนครหลวงเวียงจันทน์
7.กิจกรรม
ร่วมประชุมเจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ประเทศไทย และกรมมรดก กระทรวงแถลงข่าว การท่องเที่ยวและวัฒนธรรม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อปรับปรุงเนื้อหาของบันทึกความเข้าใจว่าด้วยดำเนินการแลกเปลี่ยนวิทยาการทางโบราณคดี โบราณสถาน วัฒนธรรมและพิพิธภัณฑสถาน
8.คณะผู้แทนไทย
8.1 นางอมรา ศรีสุชาติ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ
(ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ)
8.2 นายกิตติพงษ์ สนเล็ก นักโบราณคดีชำนาญการ
8.3 นางสาวเชาวนี เหล็กกล้า ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ
8.4 นายชินณวุฒิ วิลยาลัย นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ
8.5 รศ.สุรพล นาถะพินธุ ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยศิลปากร
8.6 ดร.ประสิทธิ์ เอื้อตระกูลวิทย์ อาจารย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
9.สรุปสาระของกิจกรรม
9.1 ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยดำเนินการแลกเปลี่ยนวิทยาการทางโบราณคดี โบราณสถาน วัฒนธรรมและพิพิธภัณฑสถาน
คณะทำงานของกรมศิลปากรเข้าพบกับเจ้าหน้าที่ของกรมมรดก สปป.ลาว คือ ท่านเวียงแก้ว สุกสะหวัดดี รองอธิบดีกรมมรดก, ท่านทองลิด หลวงโคด ผู้อำนวยการกองโบราณวิทยาและนางพิมมะแสง คำดาลาวง รองผู้อำนวยการกองโบราณวิทยา ณ ห้องประชุมกรมมรดก
ทั้งสองฝ่ายร่วมกันพิจารณาเนื้อหาและปรับปรุงเนื้อหาบันทึกความเข้าใจว่าด้วยดำเนินการแลกเปลี่ยนวิทยาการทางโบราณคดี โบราณสถาน วัฒนธรรมและพิพิธภัณฑสถาน บางส่วนอีกเล็กน้อยโดยไม่กระทบต่อเนื้อหาหลักที่เคยพิจารณาร่วมกันแล้ว(ดังแนบมาพร้อมนี้)
9.2 แผนปฏิบัติงาน
คณะทำงานของกรมศิลปากรและเจ้าหน้าที่ของกรมมรดก ร่วมกันพิจารณาแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติงาน สรุป ดังนี้
- ระยะเวลา 5 ปี
- ใช้การศึกษาเชิงพื้นที่เป็นหลัก คือ พื้นที่สองฝั่งของแม่น้ำโขง
ตั้งแต่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายและเมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว
ลงมาจนถึงอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานีและเมืองจำปาสัก แขวงจำปาสัก
- ปีที่ 1 เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลและจัดทำมาตราฐานการปฏิบัติงาน
โดยคณะทำงานของทั้งสองฝ่าย(ที่จะตั้งขึ้นหลังการลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ)
จะร่วมกันพิจารณาความรู้และข้อมูลของพื้นที่ศึกษา(สองฝั่งของแม่น้ำโขง)ว่ามีประเด็นใดในพื้นที่ใดที่เกิดคำถามทางวิชาการร่วมกันและจากนั้นจึงร่วมกันจัดทำมาตราฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำสู่วิธีปฏิบัติงานจริงต่อไป
(โดยให้เน้นประเด็นหรือพื้นที่ที่ปรากฏหลักฐานหลายยุคหลายสมัย-Key settlement-ซึ่งจะสามารถให้นักวิชาการหลายสาขาเข้าร่วมในการศึกษาได้)
- ปีที่ 2-3 เป็นการปฏิบัติงานร่วมกันในพื้นที่และประเด็นที่ตั้งไว้ทั้งในประเทศไทยและ สปป.ลาว, แลกเปลี่ยนบุคลากรในการให้ความรู้ซึ่งกันและกัน, สัมมนาโต๊ะกลม(สำหรับคณะทำงานร่วม), เสวนาทางวิชาการ(เพื่อเผยแพร่ความรู้), รายงานประจำปี
- ปีที่ 4 เป็นการประชุมคณะทำงานเพื่อรวบรวม-คัดกรอง-ขมวดประเด็นศึกษาเพื่อนำไปสู่ชุดความรู้ที่จะประมวลผลการศึกษาจากนักวิชาการทุกสาขาที่เข้าร่วม, ประชุมทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ความรู้, รายงานประจำปี
- ปีที่ 5 จัดพิมพ์หนังสือทางวิชาการ
10.ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม
10.1 จะนำเสนอ รายละเอียดของ ร่าง แผนปฏิบัติงาน อีกครั้ง
10.2 จะนำเสนอ ร่าง คณะกรรมการเพื่อพิจารณา ร่าง แผนปฏิบัติงาน อีกครั้ง
เพื่อให้คณะกรรมการสามารถปฏิบัติงานได้หลังการลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ (ซึ่งจะประกอบด้วยผู้บริหารและนักวิชาการสาขาต่างๆที่คาดว่าจะเกี่ยวข้องทั้งหมด)
................................................ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ
(นายชินณวุฒิ วิลยาลัย)
(จำนวนผู้เข้าชม 533 ครั้ง)