1.ชื่อโครงการ/กิจกรรม
ประสานงานเพื่อจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยดำเนินการแลกเปลี่ยนวิทยาการทางโบราณคดี โบราณสถาน วัฒนธรรมและพิพิธภัณฑสถาน
3.กำหนดเวลา
วันที่ 28 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน พ.ศ.2558
4.สถานที่
นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประธิปไตยประชาชนลาว
5.หน่วยงานผู้จัด
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ประเทศไทย และกรมมรดก กระทรวงแถลงข่าว การท่องเที่ยวและวัฒนธรรม สาธารณรัฐประธิปไตยประชาชนลาว
6.หน่วยงานสนับสนุน
สถานเอกอัครราชฑูตแห่งราชอาณาจักรไทย ประจำนครหลวงเวียงจันทน์
7.กิจกรรม
ร่วมประชุมเจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ประเทศไทย และกรมมรดก กระทรวงแถลงข่าว การท่องเที่ยวและวัฒนธรรม สาธารณรัฐประธิปไตยประชาชนลาว เพื่อปรับปรุงเนื้อหาของบันทึกความเข้าใจว่าด้วยดำเนินการแลกเปลี่ยนวิทยาการทางโบราณคดี โบราณสถาน วัฒนธรรมและพิพิธภัณฑสถาน
8.คณะผู้แทนไทย
1.1 นางจิตรปรีดี พร้อมศรีทอง ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 11 อุบลราชธานี
1.2 นางสาวนิธิวดี หอมแย้ม หัวหน้ากลุ่มงานวิเทศสัมพันธ์
1.3 ดร.ประสิทธิ์ เอื้อตระกูลวิทย์ อาจารย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
คณะทำงาน
1.4 นายกิตติพงษ์ สนเล็ก นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๙ ขอนแก่น
1.5 นายชินณวุฒิ วิลยาลัย นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ สำนักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี
9.สรุปสาระของกิจกรรม
9.1 เข้าพบและขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชฑูตแห่งราชอาณาจักรไทย ณ เวียงจันทน์ สปป.ลาว
คณะทำงานของกรมศิลปากรเข้าพบและขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชฑูตแห่งราชอาณาจักรไทย ณ เวียงจันทน์ สปป.ลาว คือ คุณรุจิธร แสงจันทร์ ที่ปรึกษาอัครราชทูตและคุณพศิกา พรประเสริฐ เลขานุการเอก
สรุปประเด็น คือ การทำบันทึกความเข้าใจระหว่างประเทศไทยและ สปป.ลาว ที่ผ่านมาควรประสานความต้องการของทั้งสองฝ่ายให้ชัดเจน ควรมีการประชุมร่วมเพื่อปรับปรุงเนื้อหาให้เป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่ายและที่สำคัญ ควรมีแผนปฏิบัติการที่ชัดเจนว่าหลังจากลงนามในบันทึกความเข้าใจแล้วจะปฏิบัติงานอะไรร่วมกันในอนาคตเนื่องจากทาง สปป.ลาว ถือว่าเมื่อลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกันแล้วต้องปฏิบัติงานร่วมกันในอนาคต หากมีแผนปฏิบัติงานแนบไปกับบันทึกความเข้าใจจะทำให้ผู้บริหารระดับสูงของ สปป.ลาว เห็นว่าจะมีการปฏิบัติงานร่วมกันจริงในอนาคตและตัดสินใจลงนามในบันทึกความเข้าใจง่ายขึ้น
9.2 ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยดำเนินการแลกเปลี่ยนวิทยาการทางโบราณคดี โบราณสถาน วัฒนธรรมและพิพิธภัณฑสถาน
คณะทำงานของกรมศิลปากรเข้าพบกับเจ้าหน้าที่ของกรมมรดก สปป.ลาว คือ ท่านเวียงแก้ว สุกสะหวัดดี รองอธิบดีกรมมรดก, ท่านสำลาน หลวงอำไพ รองอธิบดีกรมมดก, ท่านทองลิด หลวงโคด ผู้อำนวยการกองโบราณวิทยาและนางพิมมะแสง คำดาลาวง รองผู้อำนวยการกองโบราณวิทยา ณ ห้องประชุมกรมมดก
ทั้งสองฝ่ายร่วมกันพิจารณาเนื้อหาและปรับปรุงเนื้อหาบันทึกความเข้าใจว่าด้วยดำเนินการแลกเปลี่ยนวิทยาการทางโบราณคดี โบราณสถาน วัฒนธรรมและพิพิธภัณฑสถาน จนเป็นที่ยอมรับทั้งสองฝ่าย(ดังแนบมาพร้อมนี้)
9.3 แผนปฏิบัติงาน
ตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตแห่งราชอาณาจักรไทย คณะทำงานของกรมศิลปากรจึงทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ของกรมมรดกในการจัดทำแผนปฏิบัติงานซึ่งเน้นศึกษาในประเด็นต่างๆ ที่ปรากฏในบันทึกความเข้าใจฯ โดยแต่ละฝ่ายจะจัดทำประเด็นที่ต้องการศึกษาและประชุมร่วมกันอีกครั้งเพื่อสรุปประเด็นที่จะศึกษาร่วมกัน ในวันที่ 25-27 มิถุนายน พ.ศ.2558 ณ กรมมรดก นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว
10.ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม
จากคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตแห่งราชอาณาจักรไทยและการทำความเข้าใจประเด็นศึกษาร่วมกันระหว่างกรมศิลปากรและกรมมรดกจึงควรมีการประชุมร่วมตามข้อ 9.3 เพื่อให้มีแผนปฏิบัติงานควบคู่กับบันทึกความเข้าใจฯ ซึ่งจะนำไปสู่การลงนามของทั้งสองฝ่ายโดยเร็ว
ในการประชุมร่วมตามข้อ 9.3 เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการ มีคณะกรรมการโครงการความร่วมมือระหว่างประทศไทย-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : กิจกรรมประสานงานเพื่อจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยดำเนินการแลกเปลี่ยนวิทยาการทางโบราณคดี โบราณสถาน วัฒนธรรมและพิพิธภัณฑสถาน จำนวน 6 ท่าน คือ
1.นางอมรา ศรีสุชาติ รองประธาน
ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ(ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ)
2.รศ.สุรพล นาถะพินธุ กรรมการ
ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยศิลปากร
3.ดร.ประสิทธิ์ เอื้อตระกูลวิทย์ กรรมการ
อาจารย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
4.นายกิตติพงษ์ สนเล็ก กรรมการ
นักโบราณคดีชำนาญการ
5.นางสาวเชาวนี เหล็กกล้า กรรมการ
ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ
6.นายชินณวุฒิ วิลยาลัย กรรมการและเลขานุการ
นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ
................................................ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ
(นายชินณวุฒิ วิลยาลัย)
(จำนวนผู้เข้าชม 846 ครั้ง)