รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา
1.ชื่อโครงการ/กิจกรรม
สังเกตการณ์การขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดี La-ang Spean ณ จังหวัดพระตะบอง ราชอาณาจักรกัมพูชา
2.วัตถุประสงค์
ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูล-ประสบการณ์การศึกษาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติสาสตร์
3.กำหนดเวลา
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 5 มีนาคม พ.ศ.2558
4.สถานที่
แหล่งโบราณคดี La-ang Spean จังหวัดพระตะบอง ราชอาณาจักรกัมพูชา
5.หน่วยงานผู้จัด
Cultural Heritage, Cambodia by Mr.Heng Sophady, Duputy Director.
6.หน่วยงานสนับสนุน
Prehistoric Frence-Combidia mission,CRN.
7.กิจกรรม
ร่วมสังเกตการณ์ ขุดค้นทางโบราณคดีและสำรวจพื้นที่ ณ แหล่งโบราณคดี La-ang Spean
8.คณะผู้แทนไทย
นายชินณวุฒิ วิลยาลัย นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ
กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 11 อุบลราชธานี
9.สรุปสาระของกิจกรรม
9.1 สังเกตการณ์การขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดี La-ang Spean ณ จังหวัดพระตะบอง ราชอาณาจักรกัมพูชา ในปีนี้(พ.ศ.2558)เป็นปีที่ 7 โดยมี Mr.Heng Sophady และ Dr.Hubert Forestier เป็นผู้อำนวยการร่วม ภายใต้ Prehistoric Frence-Combidia mission.และได้รับความร่วมมือจาก APSARA(Authority for the Protection and Management of Angkor and the Region of Siem Reap.) ในการจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมขุดค้นทางโบราณคดี นอกจากนี้ยังมีการฝึกขุดค้นทางโบราณคดีให้แก่นักศึกษาจากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยพนมเปญ ตลอดการขุดค้นในครั้งนี้
9.2 ขุดค้นทางโบราณคดี
แหล่งโบราณคดี La-ang Spean (อ่านว่า ละ อาง สะเปียน, ละอาง แปลว่า ถ้ำ, สะเปียน แปลว่า สะพาน มีความหมายว่า ถ้ำที่มีสะพาน ในถ้ำนี้มีสะพานหินที่เกิดจากเพดานถ้ำพังทลายลงแต่ยังเหลือเพดานบางส่วนที่ยังเชื่อมตอจากผนังฝั่งหนึ่งของถ้ำไปยังอีกฝั่ง มีลักษณะคล้ายสะพาน)
จากการขุดค้นมาตั้งแต่ ค.ศ.2009 พบว่ามีการอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยหินโดยพบกลุ่มเครื่องมือหินที่เรียกว่า Hoabinhian กำหนดอายุได้ 9,000 ปีมาแล้ว และพบหลักฐานการฝังศพของมนุษย์ในสมัยหินใหม่ กำหนดอายุได้ประมาณ 3,000-3,500 ปีมาแล้ว
9.3 สำรวจพื้นที่แหล่ง
บนภูเขาลูกนี้(Thalc Trang Mountain) ยังมีหนึ่งถ้ำที่พบหลักฐานทางโบราณคดีเช่นเดียวกับ La-ang Spean คือ ถ้ำ Som Bac Borei พบกลุ่มเครื่องมือหินที่เรียกว่า Hoabinhian กระจายทั่วไป(เนื่องจากพื้นดินถูกขุดขี้ค้างคาวและนำออกไปจากถ้ำ)และชิ้นส่วนภาชนะดินเผาสมัยหินใหม่
10.ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม
จากการเดินทางไปราชการในครั้งนี้ทำให้กระผมได้รับประสบการณ์โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลหลักฐานทางโบราณคดี เช่น ภาชนะดินเผา โครงกระดูกมนุษย์ ชั้นดิน หรือื่นๆที่ได้สัมผัสด้วยตนเอง บรรยากาศในการทำงาน ลักษณะทางธรรมชาติของชาวขะแมร์ ลักษณะทางธรรมชาติของการทำงานร่วมกันระหว่างทีมงานจากหลายชาติ ความเป็นกันเองของชาวเอเชียที่แม้จะพูดกันคนละภาษาก็ยังแสดงความพยายามในการทำความรู้จัก สร้างความคุ้นเคย หรืออื่นๆ ทั้งหมดนี้เป็นการ Leaning by doing ที่ไม่สามารถเรียนรู้ได้จากการอ่านเอกสารเพียงอย่างเดียว
กระผมขอเสนอให้กรมศิลปากรสนับสนุนกิจกรรมในลักษณะนี้ต่อไปเพื่อในอนาคตนักวิชาการของกรมศิลปากรจะมีโอกาสสั่งสมประสบการณ์เพื่อนำมาพัฒนางานของตนเองของทีมงานและส่งต่อประสบการณ์ไปยังนักวิชาการท่านอื่นๆต่อไปซึ่งจะก่อให้เกิดการSharing and Together อย่างไม่สิ้นสุด
................................................ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ
(นายชินณวุฒิ วิลยาลัย)
(จำนวนผู้เข้าชม 821 ครั้ง)