รายงานการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ณ รัฐสุลต่านโอมาน
ระหว่างวันที่ ๑๓ มกราคม – ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๑. โครงการ งานเทศการแสดงสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้าน ณ กรุงมัสกัต รัฐสุลต่านโอมาน
สืบเนื่องจากการที่สถานเอกราชทูต ณ กรุงมัสกัต ได้ขอความอนุเคราะห์กระทรวง วัฒนธรรมจัดส่งคณะช่างฝีมือจำนวน ๘ คน เดินทางไปร่วมงานฝีมือระหว่างประเทศ (International Craft Activities) ภายใต้งาน Muscat Festival 2015 ตามคำเชิญของเทศบาลกรุงมัสกัต โดยเทศบาลมัสกัตจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปร่วมงานครั้งนี้ได้แก่ค่าตั๋วเครื่องบินระหว่างประเทศ ค่าที่พักค่าอาหาร ค่ายานพาหนะ ค่าขนส่งอุปกรณ์และค่ายารักษาพยาบาลในกรณีที่เจ็บป่วย (รายละเอียดแนบอยู่ในภาคผนวก) ในการนี้ เพื่อเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมให้กว้างขวางออกไปทั่วภูมิภาค โดยใช้มิติการทูตเชิงวัฒนธรรม ( Culture diplomacy ) ในการดำเนินงานวัฒนธรรมในเชิงรุกในระดับนานาชาติอันจะเอื้อประโยชน์การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและโอมานให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นซึ่งส่งผลต่อการส่งเสริมเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวระหว่างกันต่อไป รวมทั้งเพื่อให้คนในท้องถิ่นโอมานและนักท่องเที่ยวได้รับรู้ถึงความวิจิตรงดงามและความประณีตของหัตถกรรมไทย ดังนั้นเพื่อให้การเข้าร่วมงานดังกล่าวเป็นไปด้วยความโดดเด่นและสร้างความประทับใจให้กับผู้เข้าร่วมงาน จึงเชิญช่างฝีมือด้านปิดทองประดับกระจก ช่างโลหะและศิลาภรณ์ ช่างเขียนและลายรดน้ำและเครื่องเคลือบดินเผาจากสำนักช่างสิบหมู่กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม คณะเจ้าหน้าที่จากกรมหม่อนไหมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คณะช่างฝีมือหัตถกรรมไทย ไปร่วมงานครั้งนี้ระหว่างวันที่ ๑๓ มกราคม - ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ (รวมวันเดินทาง)
๒. วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อสาธิตและจัดการแสดงผลงานปิดทองประดับกระจก โลหะและศิลาภรณ์
ช่างเขียนและลายรดน้ำ เครื่องเคลือบดินเผา การสาธิตผ้าปัก การเขียนร่มบ่อสร้าง
และการเขียนตุ๊กตาพื้นบ้าน
๒.๒ เพื่อเป็นการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง
๒.๓ เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและรัฐสุลต่านโอมานให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
๓. กำหนดเวลา ๑๓ มกราคม – ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ โดยแบ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
จำนวน ๒ ชุด ชุดละ ๔ คนรวม ๘ คนดังนี้
ปฏิบัติหน้าที่ราชการชุดที่ ๑ ระหว่างวันที่ ๑๓ มกราคม- ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
(รวมวันเดินทาง) กลุ่มงานช่างปิดทองและประดับกระจก ช่างเขียนและลายรดน้ำ
ช่างโลหะและศิราภรณ์ ( หัวโขน )
ปฏิบัติหน้าที่ราชการชุดที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๓๐ มกราคม- ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
(รวมวันเดินทาง) กลุ่มงานช่างเขียนและลายรดน้ำ โลหะและศิราภรณ์
เครื่องเคลือบดินเผา
๔.สถานที่ กรุงมัสกัต รัฐสุลต่านโอมาน
สถานที่จัดงาน Al Amerat Park
๕.หน่วยงานผู้จัด เทศบาลกรุงมัสกัต
๖.หน่วยงานที่สนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
กระทรวงวัฒนธรรม
๗.กิจกรรม คณะเดินทางไปปฏิบัติกิจกรรมต่างๆคณะผู้ร่วมเดินทาง
๑. นางอัฉริยา บุญสุข นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการ
กลุ่มงานช่างโลหะและช่างศิราภรณ์
สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กระทวงวัฒนธรรม
๒. นายทศพล ถังมณี นายช่างศิลปกรรมปฏิบัติงาน
กลุ่มงานช่างโลหะและช่างศิราภรณ์
สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กระทวงวัฒนธรรม
๓. นางสาวภัคนิจ สรณารักษ์ นักวิชาการช่างศิลป์ปฏิบัติงาน
กลุ่มงานศิลปประยุกต์และเครื่องเคลือบดินเผา
สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กระทวงวัฒนธรรม
๔. นายสุเพล สาตร์เสริม นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน
กลุ่มงานช่างเขียนและลายรดน้ำ
สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กระทวงวัฒนธรรม
๕. นางบุญสนอง เตชะศรี ช่างทำเครื่องดนตรีย่อส่วน
๖. นางพัชรา เป็งอ้าย ช่างเขียนร่มบ่อสร้าง
๗. นายนิคม นกอักษร ช่างเครื่องเงินดุนโลหะ
๘. นายธานินทร์ ชื่นใจ ช่างเขียนลายรดน้ำ
๙. นายจรูญ มุ่งชนะ ช่างเขียนลายบาติก
๑๐. นายหิรัณยากร พูลศักดิ์ ช่างเขียนลายไทย
๑๑. คณะข้าราชการจากกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน ๓ คน
สรุปสาระกิจกรรม
คณะเดินทางได้ดำเนินการสาธิตและจัดแสดงผลงานตามบันทึกระหว่างวันที่ ๑๓ มกราคมถึงวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ โดยคณะเดินทางจำนวน ๔ คน เดินทางไปปฏิบัติงานในช่วงระหว่างวันที่ ๑๓ มกราคม ถึงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ รวมเป็นเวลาทั้งสิ้น ๒๑ วัน (รวมวันเดินทาง) โดยมีการสาธิตและจัดแสดงผลงานของศิลปินจากประเทศต่างๆทั้งสิ้น ๑๑ ประเทศดังนี้
๑ .รัฐสุลต่านโอมาน ๒. ไทย
๓ .อุสเบกีสถาน ๔. ฝรั่งเศษ
๕. อียิปต์ ๖. อินเดีย
๗. แทนซาเนีย ๘. อิหร่าน
๙. ตุรกี ๑๐. โมรอคโค
๑๑ .จีน
คณะเดินทางได้เข้าเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆจำนวน ๕ แห่ง ดังนี้
๑. วังอัลอะลัม ( Al Alam Palace )
๒. มหามัสยิดสุลต่านคาบูส ( The Sultan Qaboos Grand MosQue )
๓. ตลาดมัตระห์ ( Matrah Soup)
๔. เขื่อน (Wadi Dayqah Dam)
๕. ป้อมนิชวา (Nizwa Fort)
ข้อเสนอแนะกิจกรรม
ปัญหาและอุปสรรค
๑. ห้องจัดแสดงงานไม่มีความเชื่อมต่อกันทำให้บางครั้งผู้เข้าชมงานอาจจะเดินไม่ถึงด้านในของห้องจัดแสดง
๒. ระยะเวลาในการจัดแสดงงานในช่วงเย็นตามเวลาท้องถิ่นต่างจากเวลาในเมืองไทยมากจึงทำ ให้คณะทำงานอ่อนเพลียและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง
๓. ปัญหาเกี่ยวกับข้อมูลน้ำหนักสัมภาระไม่ชัดเจนจึงทำให้เกิดปัญหาในการเดินทาง
ข้อเสนอแนะ
ทางประเทศโอมานควรอำนวยความสะดวกให้แก่คณะที่ไปจัดแสดงงานให้มากกว่านี้เพื่อความสะดวกในการเดินทางและการนำของที่มาจัดแสดงงาน
(จำนวนผู้เข้าชม 833 ครั้ง)