...

รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศ ญี่ปุ่น โครงการ การประชุมเครือข่ายความร่วมมือทางวัฒนธรรมอาเซียน+๓ ( APTCCN) ครั้งที่ ๔ ณ ประเทศญี่ปุ่น

รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศ ญี่ปุ่น

 

๑.      ชื่อโครงการ 

โครงการ การประชุมเครือข่ายความร่วมมือทางวัฒนธรรมอาเซียน+( APTCCN)

ครั้งที่ ๔    ประเทศญี่ปุ่น

๒.     วัตถุประสงค์     

-          ๑. เพื่อติดตามความคืบหน้า ของการดำเนินงานโครงการต่างๆ  ที่ได้รับการอนุมัติภายใต้แผนการดำเนินงานเสริมสร้างความร่วมมือทางวัฒนธรรมอาเซียน +   ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ๒๕๖๐ ( Work Plan on Enhancing ASEAN Plus Three Cooperation in Culture 2013 – 2017 ) และหารือความร่วมมือที่จะดำเนินการต่อไปภายใต้กรอบอาเซียน  +

-          ๒. เข้าร่วมการสัมมนาหัวข้อ  “ การรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ : การป้องกันและการบูรณะด้วยพลังของศิลปะและวัฒนธรรม  “ ( Coping  with Natural Disaster : Prevention and Reconstruction by the Power of Arts and Culture )

-          ๓. เข้าร่วมงานเทศกาล  Water  and Land Niigata Art Festival “ ครั้งที่ ๓ ณ Northern Culture Museum  เมือง Niigata  ซึ่งเป็นเมืองที่ได้รับเลือกเป็นหนึ่งในเมืองวัฒนธรรมแห่งเอเซียตะวันออก  ( East Asian City of Culture ) เนื่องจากในปี พ.ศ. ๒๕๕๙  ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม APTCCN ครั้งที่ ๕  ดังนั้นในการประชุมครั้งนี้ หัวหน้าคณะผู้แทนไทยจะได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่รองประธานการประชุม ( ตามแนวปฏิบัติของอาเซียน )

๓.      กำหนดเวลา  ระหว่างวันที่     กันยายน   ๑๑  กันยายน  ๒๕๕๘

๔.     สถานที่  Niigata city  340 km จากกรุงโตเกียว ใช้เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมงครึ่งจาก สนามบินนาริตะ

-          การประชุม The 4th APTCCN : International Conference Room,

                                                Niigata Convention Center TOKI  MESSE

                                                6-1 Bandaijima, Chuo-ku, Niigata City 950-0078 Japan

-          การสัมมนา โดย Agency for Cultural Affairs of Japan

                                      Niigata – City Performing Arts Center  RYUTOPIA

3-2 Ichibanboridori-cho,Chuo-ku,

Niigata City 951-8132 Japan

-          Cultural Tour:  Water and Land Niigata Arts Festival 2015, Northern Cultural Museum 

๕.     หน่วยงานผู้จัด   Agency for Cultural Affair of Japan

๖.     กิจกรรม 
 กันยายน ๒๕๕๘

             เดินทางจากประเทศไทยท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ( เที่ยวบิน TG 642 )      เวลา ๒๓:๕๐ น.  ของค่ำวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๘

เดินทางถึง  ท่าอากาศยาน  นาริตะ กรุงโตเกียว     เวลา ๐๘.๑๐ น.  เช้าวันที่  ๙ กันยายน  ๒๕๕๘

เดินทางโดยรถไฟ  จากท่าอากาศยานนาริตะไปยัง  สถานที่จัดกการประชุม โรงแรม Nikko Niigata

๑๖:๐๐ น.   การประชุมเพื่อเตรียมการประชุม  ASEAN Secretariat and Host (Japan)

            สถานที่ ห้อง Conference Room ๓๐๗ , Niigata Convention Center TOKI  MESSE

๑๗:๓๐น.   การประชุมเพื่อเตรียมการประชุม  ASEAN Secretariat , Heads of  Delegation and Hosts

              สถานที่ ห้อง Conference Room ๓๐๗ , Niigata Convention Center TOKI  MESSE

๑๙:๐๐น. งานเลี้ยงต้อนรับผู้เข้าร่วมทุกท่าน

              สถานที่  ห้องจัดเลี้ยง Toki  โรงแรม Nikko Niigata

๑๐  กันยายน  ๒๕๕๘

:๐๐ น.  การประชุมระดับทวิภาคี  ระหว่าง Japan และ ประเทศต่างๆ

๑๒:๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

๑๓:๓๐ น. การประชุมใหญ่ Plenary Session

              สถานที่ ห้อง International Conference Room,

  Niigata Convention Center TOKI  MESSE

๑๕:๐๐น. พักรับประทานอาหารว่าง

๑๕:๓๐ น. การประชุมใหญ่ ( ต่อ )

๑๗ :๐๐ น. จบการประชุมใหญ่

๑๘:๓๐ น. งานเลี้ยงรับรองโดย  ผู้จัด Agency for Cultural Affair ,Japan

๑๑  กันยายน  ๒๕๕๘

:๐๐ น. ออกเดินทางไปเข้าร่วมกิจกรรมการสัมมนา

:๐๐ น. การสัมมนาหัวข้อ  “ การรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ : การป้องกันและการบูรณะด้วยพลังของศิลปะและวัฒนธรรม  “ ( Coping  with Natural Disaster : Prevention and Reconstruction by the Power of Arts and Culture )

            สถานที่ โรงละคร Noh Theatre- City Performing Arts Center RYUTOPIA

๑๔:๓๐ น. Cultural Tour:  Water and Land Niigata Arts Festival 2015, Northern Cultural Museum

๑๗:๐๐ น.จบการทัศนศึกษาทางวัฒนธรรม 

๑๑  กันยายน  ๒๕๕๘

            เดินทางกลับประเทศไทย  

ท่าอากาศยานนาริตะ( เที่ยวบิน TG 677 )      เวลา ๑๗:๒๕ น. 

เดินทางถึง  ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ  เวลา ๒๑.๕๕ น.      

๗ . คณะผู้แทน

๑.      นางสาวดารุณี  ธรรมโพธิ์ดล               ทำหน้าที่  หัวหน้าคณะผู้แทนไทย

ผู้อำนวยการสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ  สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

๒.     นางสาวอุรุษยา  อินทรสุขศรี

ผู้อำนวยการกลุ่มความร่วมมือพหุภาคี

สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ  สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

๓.      นายสุรยุทธ   วิริยะดำรงค์

สถาปนิกชำนาญการ

ผู้แทนกรมศิลปากร

๙. สรุปสาระของกิจกรรม 

๑. ในส่วนของการประชุม ASEAN PLUS THREE CULTURAL COOPERATION NETWORK ( APTCCN )  ที่ประชุมมีมติรับรองรายงานการประชุม  ครั้งที่ ๓  ที่ประเทศ สิงคโปร์  เมื่อ วันที่ ๒๗  - ๒๘  สิหาคม  ๒๕๕๗

ส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับกรมศิลปากรคือ วาระที่ ๕.๕ People to People Exhange

๕.๕.๑  ASEAN Plus Three people –to –people    CULTURAL Exchange Programme : Workshop , Creation and Exhibition of Ceramic Arts

Proponent  ผู้นำเสนอ : ประเทศไทย

งบประมาณ :  Cost Sharing

 

โดยประเทศไทยเสนอจัดในปี ๒๕๕๘   รับผิดชอบโดยกระทรวงวัฒนธรรม

จะเชิญผู้ออกแบบผลงานเซรามิกจากประเทศอาเซียน และ +   ประเทศละ ๒ ท่าน เข้าร่วมกิจกรรม  ระยะเวลา ๒ อาทิตย์  ในกรุงเทพมหานคร ,  นครปฐม  และ ราชบุรี  ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการสร้างสรรงานที่สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  ร่วมกันสร้างผลงานและนำไปจัดนิทรรศการในท้ายของการปิดกิจกรรม

 

ทั้งนี้ในที่ประชุม  ครั้งที่ ๔ ที่ Niigata  ผู้แทนประเทศไทยได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า  กิจกรรมดังกล่าว  จะขอเลื่อนการจัดออกไป อาจเป็นในปี ๒๕๕๙  ทั้งนี้ขอให้ติดตามการรายงานจากผู้แทนฝ่ายไทยเป็นทางการต่อไป

 

๒. ในส่วนการสัมมนา หัวข้อ  “ การรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ : การป้องกันและการบูรณะด้วยพลังของศิลปะและวัฒนธรรม  “ ( Coping  with Natural Disaster : Prevention and Reconstruction by the Power of Arts and Culture )

ทางผู้จัดได้นำเสนอประเด็นจากการที่ประเทศญี่ปุ่นประสบภัยพิบัติ  จากแผ่นดินไหว และซึนามิ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๔

โดยมีวิทยากรสำคัญอาทิ

๑.     Mr. Kitano Nobuhiko  ( Head, Technical  Standard Section ) จากสถาบันวิจัยมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติ ณ กรุงโตเกียว กรุณาบรรยายในหัวข้อ Project for rescuing cultural heritage damaged by the Great East Japan Earthquake

โดยมีเนื้อหาทั้งการเก็บกู้โบราณวัตถุในพิพิธภัณฑ์ที่ได้รับผลกระทบ  การตรวจสอบโบราณสถาน และการร่วมกันวางแผนป้องกันและบรรเทาและสร้างเครือข่าย เพื่อลดผลกระทบความจากความเสี่ยง ซึ่งจะเกิดกับมรดกวัฒนธรรม

๒.     Cinema Yell Tohoku” โดย คุณ Yuko Iwasdaki ( secretariat, Japan Community Cinema Center.  และ คุณ Kazunori Kushigeta ( Executive Director,Movie Co-op Miyako, Theater Manager,Cunemarine   มีเนื้อหาคือการจัดฉายภาพยนต์  ในพื้นที่ประสบพิบัติภัย  โดยได้รับการสนับสนุนจากอาสาสมัคร โรงภาพยนต์ในพื้นที่ และบริษัทผู้สร้างภาพยนตื  เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้ผู้ประสบภัย

๓.     Rikuzentakata Artist in Residence” โดย คุณ Junichi Hasegawa Director , Natsukashii Mirai Sozo Co.,Ltd.  และ คุณ Teiko  Hinuma  Program Director, Rikuzentakata  AIR program  มีเนื้อหาคือกลุ่มธุรกิจท้องถิ่นร่วมกันอนุรักษ์เมืองของตน คือเมือง Rikuzentakata ใน มรฑล Iwate ศิลปินจากประเทศญี่ปุ่น และต่างประเทศรับเชิญมาเพื่อประสานงานกับศิลปินท้องถิ่น  และศึกษาค้นคว้ามรดกวัฒนธรรมท้องถิ่นอาทิ การแสดงพื้นบ้าน  ก่อนนำมาประยุกต์สร้างผลงานตามแต่ประสบการณ์ของศิลปินแต่ละท่านในขณะพักอาศัยอยู่ในเมืองนั้น

๔.     The Japan Foundation Asia Center “ โดยคุณ Koji Sato Director of General Affairs Section, The Japan Foundation Asia Center  ได้บรรยายกิจกรรมต่างๆในชื่อโครงการ

HANDs! Hope and Dream Project! “เพื่อให้สมาชิกรุ่นใหม่จากประเทศกลุ่ม ASEAN “ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในเรื่องการป้องกันพิบัติภัยในประเทศของแต่ละคน

๕.     IZA! KAERU CARAVAN!” โดยคุณ Hirokazu  Nagata Chairperson ,Plus Arts NPO โดยมีชุดของกิจกรรมซึ่งเด็ก และครอบครัวสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการป้องกันพิบัติภัย  ผ่านกิจกรรมเกมต่างๆ  โดยมีแนวคิดจาก  กบ   กิจกรรมนี้มิได้ดำเนินการพียงแต่ในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น  ยังริเริ่มในประเทศอื่นๆ เช่น อินโดนีเซีย , ประเทศไทย และ ฟิลิปปินส์  โดยมีการออกแบบกิจกรรมประยุกต์ให้เหมาะสมกับแต่ละท้องถิ่นและตัวการ์ตูนต่างๆ

๖.     Reviving the Tangible & Intangible Culture of Heritage Post Disaster: The Case of Kotagede Historical City, Togyakarta Indonesia” โดย ดร. Ikaputra    Professor .Department of Architecture&Planning Faculty of Engineering, Gadjah Mada University  มีเนื้อหาคือ กระตุ้นมาตรการป้องกัน ความเสียหายจากภัยพิบัติ ด้วยการนำศิลปะการออกแบบแฟชั่น  ของประดับตกแต่งโดยความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมของท่าน  มาสร้างเป็นรายได้กลับมาอนุรักษ์และพัฒนาท้องถิ่นโดยเฉพาะที่มีอาคารเรือนพื้นถิ่น ( old folk house )และประสบภัยพิบัติ เป็นการสร้างเสริมทางด้านเศรษฐกิจท้องถิ่นด้วยการมีส่วนร่วมของช่างทำเครื่องเงิน

 

 

๑๐.ข้อเสนอแนะจากการเข้าร่วมกิจกรรม

      ๑.คณะทำงานของกรมศิลปากรที่มีกรอบหน้าที่ดูแลกิจการด้านอาเซียน และ อาเซียน+๓ ควรที่จะได้รับทราบข้อมูลของการประชุม APTCCN ครั้งที่ ๔ นี้

     ๒. คณะทำงานที่เตรียมการด้านการจัดกิจกรรมความร่วมมือ  ควรที่จะได้มีการประสานงานกับทางผู้แทนประเทศไทย  เพื่อที่จะได้ร่วมรับทราบนโยบายและแนวทางของการเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมที่จะมีในปี  พ.ศ.  ๒๕๕๙

   ๓. ในส่วนที่ทางเจ้าภาพ ประเทศญี่ปุ่น โดย Agency for Cultural Affairs  เสนอแนวทางในการที่จะกระตุ้นให้ประเทศในกลุ่มอาเซียน และอาเซียน + ๓ เห็นคุณค่าและประโยชน์ของการจัดกิจกรรมความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการป้องกันและบรรเทาพิบัติภัย  โดยผ่านการสัมมนาที่ผู้จัดแนะนำผ่านกรณีศึกษาต่างๆ ซึ่งเป็นกิจกรรมทางด้านศิลปกรรม และวัฒนธรรมต่างๆ   ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้เข้าร่วมทุกประเทศ  และควรที่จะได้มีการปรึกษาหารือเพื่อเฟ้นหาแนวทางที่จะเป็นประโยชน์ให้ชัดเจนยิ่งๆ ขึ้นต่อๆไป  ทั้งนี้กรมศิลปากรซึ่งมีภาระหน้าที่ตามกฏหมายหลักคือ พ.ร.บ. โบราณสถานฯ  จึงถือว่าเป็นหน่วยงานที่ควรจะเป็นหลักในการริเริ่มและวางแนวทางไปสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

               จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการต่อไป

(จำนวนผู้เข้าชม 961 ครั้ง)


Messenger