...

รายงานการเดินทางไปราชการ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โครงการจัดการแสดง และแลกเปลี่ยนทางวิชาการด้านนาฏศิลป์และดนตรี แบบบูรณาการ (ประจำปี ๒๕๕๗)

รายงานการเดินทางไปราชการ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

 

๑.  ชื่อโครงการ  โครงการจัดการแสดง และแลกเปลี่ยนทางวิชาการด้านนาฏศิลป์และดนตรี แบบบูรณาการ              

      (ประจำปี ๒๕๕๗)

 

๒. วัตถุประสงค์

            ๑. ส่งเสริม สนับสนุนการเสริมสร้างประชาสังคม และวัฒนธรรมระหว่างประเทศตามนโยบายของรัฐบาล

            ๒. เพื่อใช้วัฒนธรรมเป็นสื่อกลางในการกระชับความสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศ คู่เจรจา (Dialogue Partners) ผ่านการแสดงนาฏศิลป์ ดนตรีชั้นสูง ของกรมศิลปากร และเป็นการเสริมสร้าง พันธมิตรทางวัฒนธรรมเพื่อประโยชน์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในระยะยาว

            ๓. เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และงานวิชาการเพื่อพัฒนาการแสดงนาฏศิลป์ ดนตรีของไทย

            ๔. เพื่อส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรม เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีในมิติทางวัฒนะรรมระหว่างองค์กรทางด้านศิลปวัฒนธรรม ซึ่งจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประชาคมโลก โดยเฉพาะประชาคมอาเซียน เพื่อขยายสู่ความร่วมมือด้านอื่นๆ ต่อไป

            ๕. เพื่อให้ประเทศไทยมีบทบาทในการสร้างประชาคมและวัฒนธรรมไนเวที ด้านวัฒนธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นการสร้างเกียรติภูมิให้แก่ประเทศไทยและสร้างความภาคภูมิใจให้แก่คนไทยรวมทั้งเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการเมืองและเศรษฐกิจของไทยมากขึ้น

 

๓. กำหนดเวลา  ระหว่างวันที่ ๒๘ – ๒ มิถุนายน ๒๕๕๗

 

๔. สถานที่  โรงละคร Sadler's Wells Theatre กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

 

๕. หน่วยงานผู้จัด  สำนักการสังคีต  กรมศิลปากร  กระทรวงวัฒนธรรม

 

๖. หน่วยงานสนับสนุน  -

 

๗. กิจกรรม

 

          วันพุธที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๗

๐๑.๑๐ น.         เดินทางออกจากประเทศไทยโดยสายการบินไทย เที่ยวบินที่ TG910 

๐๗.๑๕ น.         เดินทางถึงสนามบินฮีทโธรว์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

 

๐๙.๐๐ น.         คณะนาฏศิลป์ และดนตรี จำนวน ๓๐ คน เดินทางจากราชอาณาจักร

เนเธอร์แลนด์ โดยรถโค้ชปรับอากาศเพื่อขึ้นเรือโดยสาร Ferries  จากเมืองร็อตเตอร์ดัม มุ่งหน้าสู่เมืองฮัลล์  ประเทศอังกฤษ จากนั้นโดยสารรถโค้ชปรับอากาศ เดินทางเข้าสู่ที่พัก ณ โรงแรม Lancaster Terrace, London  มาร่วมสมทบกับคณะนาฏศิลป์ และดนตรี ที่เดินทางจากกรุงเทพฯ  จำนวน ๒๙ คน  รวมทั้งสิ้นจำนวน ๕๙ คน  

๑๒.๐๐ น.         รับประทานอาหารกลางวัน

๑๔.๐๐ น.         ประชุมวางแผนการจัดการแสดง

๑๙.๐๐ น.         รับประทานอาหารค่ำ

 

วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๗ 

                        ๐๘.๐๐ น.         รับประทานอาหารเช้า ณ โรงแรมที่พัก

๑๐.๐๐ น.         ดูสถานที่จัดการแสดง ณ โรงละคร Sadler's Wells Theatre   

๑๒.๐๐ น.         รับประทานอาหารกลางวัน

๑๔.๐๐ น.         จัดเตรียมสถานที่สำหรับจัดนิทรรศการ ณ โรงละคร Sadler's Wells Theatre

๑๙.๐๐ น.         รับประทานอาหารค่ำ

 

วันศุกร์ที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๗

๐๘.๐๐ น.         รับประทานอาหารเช้า ณ โรงแรมที่พัก

๑๐.๐๐ น.         จัดนิทรรศการ ณ โรงละคร Sadler's Wells Theatre

๑๒.๐๐ น.         รับประทานอาหารกลางวัน

๑๔.๐๐ น.         เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ที่สำคัญ ของกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

๑๙.๐๐ น.         รับประทานอาหารค่ำ

 

วันเสาร์ที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๗

๐๘.๐๐ น.         รับประทานอาหารเช้า ณ โรงแรมที่พัก

๑๐.๐๐ น.         เตรียมการด้านเทคนิค แสง เสียง ณ โรงละคร Sadler's Wells Theatre   

๑๒.๐๐ น.         รับประทานอาหารกลางวัน

๑๔.๐๐ น.         ซ้อมการแสดง / เตรียมตัวนักแสดง

๑๙.๐๐ น.         จัดการแสดง โขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด พระจักรีอวตารปราบมารร้าย

๒๑.๓๐ น.         รับประทานอาหารค่ำ

 

 

วันอาทิตย์ที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๗

๐๘.๐๐ น.                     รับประทานอาหารเช้า ณ โรงแรมที่พัก

๐๙.๐๐ น.                     จัดเก็บนิทรรศการ และสัมภาระของการแสดง

๑๒.๐๐ น.                     รับประทานอาหารกลางวัน

๑๗.๐๐ น.                     เดินทางถึงสนามบินฮีทโธรว์

๒๑.๓๐ น.                     เดินทางกลับประเทศไทย โดยสายการบินไทย เที่ยวบินที่ TG917

 

วันจันทร์ที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๗

๑๕.๒๐ น.                     เดินทางถึงสนามบินสุวรรณภูมิ  กรุงเทพมหานคร

 

๘. คณะผู้แทนไทย  ประกอบด้วย ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร  จำนวน ๖๒  คน คือ

 

ลำดับที่

ชื่อ – นามสกุล

ตำแหน่ง

๑.      

นายเอนก  สีหามาตย์

อธิบดีกรมศิลปากร

๒.      

นางสาววันทนีย์  ม่วงบุญ                            

นักวิชาการละครและดนตรีทรงคุณวุฒิ

๓.      

นายลสิต  อิศรางกูร  ณ อยุธยา    

นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการพิเศษ

๔.      

นางสาวนิธิวดี  หอมแย้ม

นักวิเทศสัมพันธ์ชำนาญการ

๕.      

นางสาวหัทยา  สิริพัฒนากุล

ภูมิสถาปนิกชำนาญการ

๖.      

นายรัฐศาสตร์  จั่นเจริญ

นักวิชาการละครและดนตรีปฏิบัติการ

๗.      

นายสุรัตน์  เอี่ยมสอาด   

นาฏศิลปินอาวุโส

๘.      

นายคมสันฐ์  หัวเมืองลาด

นาฏศิลปินอาวุโส

๙.      

นายศตวรรษ  พลับประสิทธิ์        

นาฏศิลปินอาวุโส

๑๐. 

นายธนพัชร์  ขาวรุ่งเรือง

นาฏศิลปินอาวุโส

๑๑. 

นายสมรักษ์  นาคปลื้ม    

นาฏศิลปินอาวุโส

๑๒. 

นายเจตน์  ศรีอ่ำอ่วม      

นาฏศิลปินอาวุโส

๑๓. 

นางวลัยพร  กระทุ่มเขต                          

นาฏศิลปินอาวุโส

๑๔. 

นายเลียว  คงกำเนิด       

นาฏศิลปินชำนาญงาน

๑๕. 

ว่าที่ ร.ต.ศิลปิน  ทองอร่าม          

นาฏศิลปินชำนาญงาน

๑๖. 

นายจุลทรัพย์  ดวงพัตรา 

นาฏศิลปินชำนาญงาน

๑๗. 

นายวัชรวัน ธนะพัฒน์     

นาฏศิลปินชำนาญงาน

๑๘. 

นายเสกสม  พานทอง     

นาฏศิลปินชำนาญงาน

๑๙. 

นายกฤษกร  สืบสายพรหม          

นาฏศิลปินชำนาญงาน

๒๐. 

นางสาวพิมพ์รัตน์  นะวะศิริ         

นาฏศิลปินชำนาญงาน

๒๑. 

นางสาวเอกนันท์  พันธุรักษ์         

นาฏศิลปินชำนาญงาน

๒๒. 

นางสาวกษมา  ทองอร่าม

นาฏศิลปินชำนาญงาน

๒๓. 

นายทรงพล  ตาดเงิน      

นาฏศิลปินชำนาญงาน

๒๔. 

นายเอกภชิต  วงศ์สิปปกร

นาฏศิลปินชำนาญงาน

๒๕. 

นายธรรมนูญ  แรงไม่ลด 

นาฏศิลปินชำนาญงาน

๒๖. 

นายธีรเดช  กลิ่นจันทร์    

นาฏศิลปินชำนาญงาน

๒๗. 

นายหัสดินทร์  ปานประสิทธ์        

นาฏศิลปินชำนาญงาน

๒๘. 

นางสาวเสาวรักษ์  ยมะคุปต์                                

นาฏศิลปินชำนาญงาน

๒๙. 

นางนาฏยา  รัตนศึกษา                           

นาฏศิลปินชำนาญงาน

๓๐. 

นางสิริวรรณ  อาจมังกร                          

นาฏศิลปินชำนาญงาน

๓๑. 

นางสาวมณีรัตน์  มุ่งดี                

นาฏศิลปินชำนาญงาน

๓๒. 

นางสาวหนึ่งนุช  เคหา                            

นาฏศิลปินชำนาญงาน

๓๓. 

นางสาวรจนา  ทับทิมศรี 

นาฏศิลปินชำนาญงาน

๓๔. 

นางสาวเยาวลักษณ์  ปาลกะวงศ์             

นาฏศิลปินชำนาญงาน

๓๕. 

นางพรทิพย์  ทองคำ                                           

นาฏศิลปินชำนาญงาน

๓๖. 

นางสาวอัญชลิกา  หนอสิงหา                              

นาฏศิลปินชำนาญงาน

๓๗. 

นางสุพรทิพย์ ศุภรกุล                             

นาฏศิลปินชำนาญงาน

๓๘. 

นางสาวอาภัสรา  นกออก

นาฏศิลปินปฏิบัติงาน

๓๙. 

นายสุวรรณ  กลิ่นอำพร   

นาฏศิลปินปฏิบัติงาน

๔๐. 

นายรัฐพร  เคหา

นาฏศิลปินปฏิบัติงาน

๔๑. 

นายคณิต  เพิ่มสิน         

นาฏศิลปินปฏิบัติงาน

๔๒. 

นายอนุชา  สุมามาลย์     

นาฏศิลปินปฏิบัติงาน

๔๓. 

นายสิบทิศ  คาระวะ       

นาฏศิลปินปฏิบัติงาน

๔๔. 

นายศุภชัย  ศุภรกุล        

นาฏศิลปินปฏิบัติงาน

๔๕. 

นายเอก อรุณพันธ์          

นาฏศิลปินปฏิบัติงาน

๔๖. 

นายภีระเมศร์  ทิพย์ประชาบาล    

นาฏศิลปินปฏิบัติงาน

๔๗. 

นายอนุชา  เลี้ยงสอน                              

นาฏศิลปินปฏิบัติงาน

๔๘. 

นางสาวปภาวี  จึงประวัติ                        

นาฏศิลปินปฏิบัติงาน

๔๙. 

นางสาวธาราทิพ  วังกาวี                         

นาฏศิลปินปฏิบัติงาน

๕๐. 

นางสาวจริยา  แดงรุน                             

นาฏศิลปินปฏิบัติงาน

๕๑. 

นางสาวทองสุข  ศรีแก้ว                          

ช่างตัดเย็บผ้า ช ๒

๕๒. 

นางสุมาลี  เรืองศิลป์      

ช่างตัดเย็บผ้า ช ๒

๕๓. 

นายเอนก  อาจมังกร                                           

ดุริยางคศิลปินอาวุโส

๕๔. 

นายกัญจนปกรณ์  แสดงหาญ                             

ดุริยางคศิลปินอาวุโส

๕๕. 

นายไพรัตน์  จรรย์นาฏย์

ดุริยางคศิลปินอาวุโส

๕๖. 

นายบุญเชิด  จิรสันติธรรม           

ดุริยางคศิลปินอาวุโส

๕๗. 

นายพรชัย  ตรีเนตร                                            

ดุริยางคศิลปินชำนาญงาน

๕๘. 

นายเมธา  จันทร์แก้ว      

ดุริยางคศิลปินปฏิบัติงาน

๕๙. 

นายสุชีพ  เพ็ชรคล้าย

ดุริยางคศิลปินปฏิบัติงาน

๖๐. 

นายฐาปณัฐ  ธรรมเที่ยง  

ดุริยางคศิลปินปฏิบัติงาน

๖๑. 

นายพิเชฎ  โยธี  

ดุริยางคศิลปินปฏิบัติงาน

๖๒. 

นายวิรัตน์  คำแข็งขวา    

นายช่างไฟฟ้าชำนาญงาน

 

 

๙. สรุปสาระของกิจกรรม

          ตามที่ได้มีการจัดทำโครงการจัดการแสดง และแลกเปลี่ยนทางวิชาการด้านนาฏศิลป์ และดนตรี แบบบูรณาการ เพื่อสร้างและตอบสนองภารกิจหลักขององค์กรในการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของชาติให้ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของศิลปิน นักวิชาการที่ปฏิบัติงานด้านศิลปะการแสดง ให้มีความรู้ ประสบการณ์ ในยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป จะเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมอันนำไปสู่ความเข้มแข็งให้แก่ประเทศชาติได้อีกวิธีหนึ่ง อนึ่ง ภารกิจนี้สามารถสร้างเครือข่ายด้านศิลปวัฒนธรรม และกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ด้วยมิติทูตวัฒนธรรมอันจะส่งผลให้เกียรติภูมิของชาติแพร่หลายในวงกว้างยิ่งขึ้น โดยสำนักการสังคีต กรมศิลปากร เป็นผู้รับผิดชอบ จากการดำเนินงานในครั้งนี้ ได้มีการนิทรรศการ และการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด พระจักรีอวตารปราบมารร้าย  เนื่องในการเฉลิมฉลองวาระครบรอบ ๑๓๐ ปี ที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงส่งศิลปินไทย จำนวน ๑๙ คน  ไปถวายการบรรเลงหน้าพระที่นั่งสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย พุทธศักราช ๒๔๒๗ ณ โรงละคร Sadler's Wells Theatre 

 

๑๐. ข้อเสนอแนะจากกิจกรรม

          สมควรให้การสนับสนุนการเดินทางไปปฏิบัติราชการเพื่อจัดการแสดง และแลกเปลี่ยนทางวิชาการด้านนาฏศิลป์และดนตรี แบบบูรณาการในลักษณะเช่นนี้ เพราะ             

   

                        ๑.  เป็นการส่งเสริมให้บุคลากร ได้รับความรู้ และประสบการณ์ เพื่อพัฒนาศักยภาพ และนำความรู้มาบูรณาการกับการปฎิบัติงานในองค์กร

                        ๒.  เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี หรือสร้างเครือข่ายทางพันธมิตรทางด้านวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยกับประชาคมโลก

 

 

 

 

 

                                                                                        (นายลสิต  อิศรางกูร ณ อยุธยา)

                                                                                นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการพิเศษ

                                                                                             

                                                                                      ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ

(จำนวนผู้เข้าชม 1259 ครั้ง)


Messenger