รายงานการเข้ารับการอบรม ณ ประเทศญี่ปุ่น
เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมเรื่อง การอนุรักษ์บานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น
ณ สถาบันวิจัยมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติ National Research Institute for Cultural Properties (NRICPT) ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
ระยะเวลา ๑๓ วัน (ระหว่างวันที่ ๑๕ – ๒๗ กันยายน ๒๕๕๗)
วิทยากรและทีมงาน
๑. Takeshi ISHIZAKI
Deputy Director General
Director, Center for conservation Science and Restoration Techniques
National Research Institute for Cultural Properties, Tokyo
๒. Masahiko TOMODA
Head, Conservation Design Section
Japan Center for International Cooperation in Conservation
National Research Institute for Cultural Properties, Tokyo
๓. Yasuhiro HAYAKAWA
Head of Analytical Science Section
Center for Conservation Science & Restoration Techniques
National Research Institute for Cultural Properties, Tokyo
๔. Masahide INUZUKA
Senior Researcher
Center for Conservation Science & Restoration Techniques
National Research Institute for Cultural Properties, Tokyo
๕. Katsura SATO
Research Fellow
Japan Center for International Cooperation in Conservation
National Research Institute for Cultural Properties, Tokyo
๖. Yoko FUTAKAMI
Head, Research Information Section
Department of Art Research, Archives and Information Systems
National Research Institute for Cultural Properties, Tokyo
๗. Yoshihiko YAMASHITA
Fixed-term Reseacher
Japan Center for International Cooperation in Conservation
National Research Institute for Cultural Properties, Tokyo
๘. Takayuki HONDA
Lecturer
Department of Applied Chemistry
Meiji University
กำหนดการอบรม
๑๕ กันยายน ๒๕๕๗
๐๕.๕๕ น. ออกเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ
๑๔.๐๐ น. ถึงสนามบินนาริตะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
และเข้าพักที่โรงแรมอูเอโนะเทอร์มินอล กรุงโตเกียว
๑๖ กันยายน ๒๕๕๗
๑๐.๐๐ - ๑๐.๔๐ น. พิธีเปิด
๑๐.๔๐ – ๑๑.๐๐ น. ฟังการบรรยาย เรื่อง โครงสร้างและผลงานของสถาบันวิจัยมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติ
๑๑.๐๐ – ๑๒.๓๐ น. ฟังการบรรยาย เรื่อง การควบคุมสภาพแวดล้อมในห้องปฏิบัติงานและการกำจัด แมลงในวัตถุก่อนดำเนินการอนุรักษ์
๑๓.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. ฝึกปฏิบัติการ ตรวจสอบสภาพวัตถุด้วยตาเปล่า
๑๖.๐๐ – ๑๗.๓๐ น. ฟังการบรรยาย เรื่อง การตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์เพื่อหาชนิดและองค์ประกอบ ของยางรักและไม้
๑๗ กันยายน ๒๕๕๗
๐๙.๓๐ – ๑๐.๓๐ น. ฟังการบรรยาย เรื่อง การตรวจสอบโครงสร้างของบานไม้ประดับมุกด้วยการ X-ray
๑๐.๓๐ – ๑๒.๓๐ น. ฟังการบรรยาย เรื่อง การตรวจสอบด้วยเครื่อง X-ray Fluorescence Spectrometer
๑๓.๓๐ – ๑๔.๓๐ น. ฟังการบรรยาย เรื่อง เครื่องประดับมุกในสมัยเอโดะที่ใช้เปลือกหอยแบบบาง เชื่อมโยงกับบานไม้ประดับมุก วัดราชประดิษฐ์
๑๔.๓๐ – ๑๗.๐๐ น. สรุปลักษณะการเสื่อมสภาพทางโครงสร้างและพื้นผิวของวัตถุ หลังจากตรวจสอบด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์
๑๘ กันยายน ๒๕๕๗
๑๐.๐๐ – ๑๑.๐๐ น. เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการตรวจสอบวัตถุด้วย X-ray Fluorescence
๑๑.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการถ่ายภาพโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. ฟังการบรรยาย เรื่อง ประวัติเครื่องรักญี่ปุ่น
๑๔.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. ฝึกปฏิบัติการดังนี้
- การเตรียมกาวหนัง กาวHPC
- การเตรียมแผ่นเปลือกหอย การลงสีและการปิดแผ่นเงินเปลว
- การตัดกระดาษกัมปิ การเตรียมกาวแป้งเพื่อใช้ผนึกส่วนที่ชำรุดชั่วคราว (เทคนิคโยโจ)
๑๙ กันยายน ๒๕๕๗
๑๐.๐๐ – ๑๒.๓๐ น. ฝึกปฏิบัติการดังนี้
- การเตรียมกาวหนัง (ต่อ)
- การใช้เทคนิคโยโจในการผนึกตัวอย่างชิ้นงาน
- ทดสอบประสิทธิภาพของกาวประเภทต่างๆในการผนึกตัวอย่างชิ้นงานที่มีรูปแบบแตกต่างกัน
๑๓.๓๐ – ๑๘.๐๐ น. สาธิตการเสริมความแข็งแรงของพื้นผิวบนชิ้นงานจริง
ฝึกปฏิบัติการกด ยึดและตรึง ส่วนที่ผนึกไว้ด้วยกาวโดยการใช้โครงไม้
๒๐ – ๒๑ กันยายน ๒๕๕๗ (วันหยุดเสาร์ – อาทิตย์)
๒๒ กันยายน ๒๕๕๗
๑๐.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. แสดงตัวอย่างกาวหนังประเภทต่างๆ อธิบายการกรีดยางรักของประเทศญี่ปุ่น ฝึกปฏิบัติการเตรียมกาวจากยางรัก
๑๕.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. ฝึกปฏิบัติการผนึกขอบชิ้นงานด้วยกาวจากยางรักและการซ่อมเติมรอยแตกร้าวสาธิตการผนึกและยึดตรึงบนชิ้นงานจริง
๒๓ กันยายน ๒๕๕๗ (วันหยุดราชการ)
๒๔ กันยายน ๒๕๕๗
๐๙.๓๐ – ๑๒.๓๐ น. ฝึกปฏิบัติการดังนี้
- การเตรียม Filler
- การทำความสะอาดพื้นผิวรักด้วยสารเคมี
๑๓.๓๐ – ๑๔.๓๐ น. ฝึกปฏิบัติการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะการเสื่อมสภาพของยางรักและเปลือกหอย จากโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุแบบอื่นๆ
๑๔.๓๐ – ๑๘.๐๐ น. ฟังการบรรยาย เรื่อง ลักษณะเสื่อมสภาพของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่มียางรักและเปลือกหอยเป็นส่วนประกอบและตัวอย่างขั้นตอนการอนุรักษ์
๒๕ กันยายน ๒๕๕๗
๐๙.๓๐ – ๑๒.๓๐ น. ฝึกปฏิบัติการดังนี้
- การทำความสะอาดบนชิ้นงานจริง
- การทำพายไม้เพื่อเป็นเครื่องช่วยในการเติมส่วนที่หายไป
๑๓.๓๐ – ๑๘.๐๐ น. ฝึกปฏิบัติการผสม Filler และฝึกเติม Filler ในอัตราส่วนต่างๆ
๒๖ กันยายน ๒๕๕๗
๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.ฟังการบรรยาย เรื่อง กรณีศึกษาการอนุรักษ์โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและตอบข้อสงสัย๒๗ กันยายน ๒๕๕๗
เดินทางกลับประเทศไทย จากสนามบินนาริตะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เวลา ๑๘.๔๕ น. ถึงสนามบินสุวรรณภูมิเวลา ๒๓.๒๕ น.
ค่าใช้จ่าย วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆในระหว่างการฝึกอบรม
ผู้เข้ารับการอบรม ๖ คน ประกอบด้วย
๑. ผู้แทนจากกรมศิลปากร ๔ คน ดังนี้
๑.๑ สำนักช่างสิบหมู่
นายธนาวัฒน์ ตราชูชาติ นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน
นายนภดล แกล้วทนงค์ นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน
๑.๒ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
นายสรรินทร์ จรัลนภา นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ
นายสุชาติ บูรณะ เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์ปฏิบัติงาน
๒. ผู้แทนจากสำนักพระราชวัง โรงเรียนช่างฝีมือในวัง (ชาย) ๒ คน ดังนี้
นายบุญชัย ทองเจริญบัวงาม หัวหน้าแผนกงานช่างฝีมือประดับมุก
นายณรงค์ชัย หูตาชัย อาจารย์ประจำแผนกงานช่างฝีมือประดับมุก
สรุปผลการอบรม
การอบรมในครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อนักอนุรักษ์ ช่างฝีมือ เจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้องกับการ ปฏิบัติงานด้านเครื่องรักประดับมุก ทั้งในครอบครองของพิพิธภัณฑ์ วัด หรือของเอกชนเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น
๑. ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในแนวทางการอนุรักษ์งานประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น
๒. เพิ่มพูนทักษะด้านวิธีการอนุรักษ์งานประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น
๓. ได้เรียนรู้และเข้าใจถึงขบวนการตรวจสอบหาสาเหตุการเสื่อมสภาพของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ด้วยขบวนการทางวิทยาศาสตร์
๔. ได้เรียนรู้เรื่องวัสดุและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการอนุรักษ์งานประดับมุก
๕. ได้เข้าใจในทุกขั้นตอนก่อนที่จะได้ยางรักมาใช้ในงานศิลปะ เพื่อให้สามารถเลือกยางรักมา ใช้ในการอนุรักษ์ได้อย่างถูกประเภท
๖. ได้เข้าใจถึงประเภทและองค์ประกอบยางรักที่พบในภูมิภาคนี้
๗. เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้จากทั้งวิทยากรและผู้เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับงานประดับมุก ของไทยและญี่ปุ่น
๘. ทำให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาการอนุรักษ์โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุประเภทงานประดับ มุก ระหว่างไทยและญี่ปุ่น
๙. ทำให้บุคลากรที่เข้ารับการอบรม ได้รับประสบการณ์และนำความรู้ที่ได้ มาปรับใช้และปรับปรุงพัฒนากับงานในหน้าที่ความผิดรับชอบในหน่วยงานของตน
ข้อเสนอแนะ
๑. ความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่ได้จากการฝึกอบรม จะเป็นแนวทางหนึ่งในการนำมา ปรับใช้ในการอนุรักษ์โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ไม่เพียงงานประดับมุก แต่ยังรวมไปถึงการอนุรักษ์วัสดุประเภทอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
๒. ควรมีการเผยแพร่แนวทาง วิธีการดูแลรักษา และการอนุรักษ์งานแก่เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในประเทศ พร้อมทั้งควรมีการจัดอบรม โดยขอความร่วมมือนักอนุรักษ์ที่มีความเชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาเป็นวิทยากร เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับบุคลากร และผู้ที่ทำงานในด้านนี้
(จำนวนผู้เข้าชม 761 ครั้ง)