รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา โครงการศึกษาความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วันที่ ๑๕ - ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา
๑. ชื่อโครงการ โครงการศึกษาความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
๒. วัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ การประยุกต์ศาสตร์ด้านต่างๆ กับการศึกษา ทางด้าน โบราณคดีในท้องถิ่นและเพื่อก่อเกิดการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น
เพื่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทย และกัมพูชา
๓. กำหนดเวลา วันที่ ๑๕ - ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
๔. สถานที่ ๑. ปราสาทบันทายฉมาร์ ประเทศกัมพูชา
๒. โบราณสถานในจังหวัดสระแก้ว
๕. หน่วยงานผู้จัด กองวิชาคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
๖. หน่วยงานสนับสนุน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
๗. กิจกรรม
๑. พิธีเปิดกิจกรรมเยาวชนไทย – กัมพูชา ครั้งที่ ๖ ณ ปราสาทบันทายฉมาร์ ประเทศกัมพูชา
๒. การนำเสนอผลงานการดำเนินงานของเยาวชนไทยและกัมพูชา กรณีศึกษาปราสาทบันทายฉมาร์
๓. การเยี่ยมชมและนำชมปราสาทบันทายฉมาร์
๔. การนำเสนอผลงานการดำเนินงานของเยาวชนไทยและกัมพูชา กรณีศึกษาแหล่งตัดหินสระเพลง อำเภอตาพระยา
๕. การเยี่ยมชมปราสาทสด๊กก๊อกธม
๖. ร่วมรับเสด็จฯและกราบบังคมทูลรายงานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีถึงผลการดำเนินงานของเยาวชนทั้ง ๒ ประเทศในงานวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ประจำปี ๒๕๕๗
๘. คณะผู้แทนไทย
นายพีรพน พิสณุพงศ์ รองอธิบดีกรมศิลปากร , นายวิเศษ เพชรประดับ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากร
ที่ ๕ , นายอาณัติ บำรุงวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๔ , นางสาวรพีพรรณ พรหมนารถ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป กลุ่มอำนวยการและประสานราชการ สำนักบริหารกลาง
๙. สรุปสาระของกิจกรรม
เยาวชนทั้งสองประเทศได้มรการทำงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ การประยุกต์ศาสตร์ด้านต่างๆกับการศึกษาด้านโบราณคดีท้องถิ่น การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างเยาวชนในท้องถิ่นไทยและกัมพูชา โดยเยาวชนกัมพูชาจาก โรงเรียนบันทายฉมาร์ และวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล ประเทศกัมพูชา กับโรงเรียนสูงเนิน และโรงเรียนบึงนาจาน ประเทศไทย ในประเด็นการศึกษาสภาพภูมิศาสตร์ ระบบชลประทาน เส้นทางคมนาคมโบราณ และวัฒนธรรมชุมชนในปัจจุบัน
๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม
เป็นโครงการที่เสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศผ่านเครือข่ายยุววิจัย ซึ่งสมควรที่จะขยายผลสู่ประเทศอื่นๆตามเส้นทางคมนาคมโบราณ
.............................................ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ
(นายพีรพน พิสณุพงศ์)
รองอธิบดีกรมศิลปากร
(จำนวนผู้เข้าชม 772 ครั้ง)