...

รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากรและกรมโบราณคดี พิพิธภัณฑสถาน และหอสมุดแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรมแห่งสหภาพเมียนมาร์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริหารจัดการมรดกศิลปวัฒนธรรมปี ๒๕๕๗ วันที่ ๑๖ – ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๗

รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์

 

๑.ชื่อโครงการ             ความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากรและกรมโบราณคดี พิพิธภัณฑสถาน และหอสมุดแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรมแห่งสหภาพเมียนมาร์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริหารจัดการมรดกศิลปวัฒนธรรมปี ๒๕๕๗

 

๒.วัตถุประสงค์            ๑.เพื่อสำรวจ ศึกษา แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ใน

                                การบริหารจัดการงานด้านศิลปวัฒนธรรม

                             ๒.เพื่อกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการมรดกวัฒนธรรมระหว่างทั้งสอง

                                ประเทศ รวมทั้งสร้างเครือข่ายผู้บริหารที่รับผิดชอบด้านการบริหาร

                                จัดการแหล่งมรดกวัฒนธรรมให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

 

๓.กำหนดเวลา            วันที่ ๑๖ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๗

 

๔.สถานที่                  เขตปกครองเมืองมัณฑะเลย์ และเขตปกครองสะกาย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์

 

๕.หน่วยงานผู้จัด         กลุ่มแผนงาน โครงการ และวิเทศสัมพันธ์ สำนักบริหารกลาง กรมศิลปากร

 

๖.หน่วยงานสนับสนุน    กรมโบราณคดี พิพิธภัณฑสถาน และหอสมุดแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรมแห่งสาธารณรัฐ

แห่งสหภาพเมียนมาร์

 

๗.กิจกรรม                 ๑.วันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๗ คณะผู้บริหารฯ เดินทางศึกษาพื้นที่ในโบราณสถานและสถานที่

   สำคัญในเขตเมืองอมรปุระ และเมืองมัณฑะเลย์ ดังนี้

 

๑.๑ เวลา ๑๕.๒๐น. คณะผู้บริหารฯเดินทางถึงสุสานลินซินกง สถานที่ตั้งสถูป

     ซึ่งมีผู้เชื่อถือว่าอาจเป็นที่เก็บพระบรมอัฐิ ของพระเจ้าอุทุมพรภายหลังสวรรคตใน

     พม่า เพื่อดูการบริหารจัดการทางวัฒนธรรม โดยมีเจ้าหน้าที่คณะศึกษา

     ประวัติศาสตร์จากสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากรรอต้อนรับ ใน

     การนี้ได้มีการบรรยายสรุปเหตุการณ์และเรื่องเดิมให้ทางคณะผู้บริหารฯทราบ

     นอกจากนี้มีการอธิบายถึงการดำเนินงานในปี ๒๕๕๖ ซึ่งได้รับทุนอุดหนุนจากแหล่ง

     เงินทุน ๒ แหล่ง คือ สมาคมสถาปนิกสยาม และสำนักทรัพย์สินส่วน

     พระมหากษัตริย์ และมีการรายงานถึงประเด็นการศึกษาที่ไม่สามารถหาข้อยุติได้

     เช่นการพิสูจน์กระดูกและอัฐิ จะดำเนินการพิสูจน์ได้อย่างไรว่าเป็นของพระเจ้า

     อุทุมพร เนื่องจากในปัจจุบันไม่มีตัวอย่างรหัสพันธุกรรม (DNA) ของพระเจ้าอุทุมพร

     ที่จะนำมาตรวจสอบเปรียบเทียบทางวิทยาศาสตร์ได้ อีกทั้งยังมีมิติด้านการ

     ท่องเที่ยวซึ่งรัฐบาลท้องถิ่นของมัณฑะเลย์อยากให้เจดีย์นี้เป็นเจดีย์ของ

     พระเจ้าอุทุมพรเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวไทย ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจด้วย

 

 

๑.๒ เวลา ๑๖.๔๐น.ตามเวลาท้องถิ่น คณะผู้บริหารฯเดินทางถึงวัดมหามุนี โดย

      คณะผู้บริหารฯ เข้าสักการะพระพุทธรูปประธานในวิหาร จากนั้นได้เข้าชม

      ประติมากรรมสำริดซึ่งเจ้าสามพระยาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำมาจากเมือง

      พระนครหลวง (นครธม) เมื่อครั้งกองทัพอยุธยาตีเมืองพระนครหลวงแตก ต่อมา

      เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๑ พระเจ้าบุเรงนองจึงโปรดฯให้ ขนย้ายมาที่เมือง

      หงสาวดี ครั้นเมืองหงสาวดีถูกเผาทำลายโดยกองทัพของพระเจ้ายะไข่ จึงมีการย้าย

      ประติมากรรมชุดนี้ไปไว้ยังแคว้นอาระกัน ต่อมาเมื่อเมืองยะไข่เสียแก่พม่า ครั้งนั้น

      ได้อัญเชิญพระมหามัยมุนีมายังเมืองมัณฑะเลย์ และได้ย้ายประติมากรรมดังกล่าว

      ตามมาด้วย และคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน จากนั้นได้ไปดูจิตรกรรมฝาผนังในซุ้มอุโมงค์

      ของวัดมหามุนี ซึ่งทางวัดต้องการลบภาพออกและปิดทองทับลงไปบนผนังทั้งหมด

      แต่ทางการเมียนมาร์ไม่อนุญาต จึงยังคงรักษาภาพส่วนที่เหลือนี้ไว้ได้ และโชคดีที่

      ภาพเหล่านี้อยู่สูง จึงตัดประเด็นเรื่องความชื้นออกไปได้

๑.๓ เวลา ๒๐.๐๐น. ตามเวลาท้องถิ่น คณะผู้บริหารฯเดินทางถึงโรงแรมที่พัก โดยมี

      Mr.Naing Win สถาปนิก และ Ms.HlaingSabai Win นักโบราณคดี

กรมโบราณคดี พิพิธภัณฑ์ และหอสมุดแห่งชาติ แหล่งสาธารณรัฐสหภาพเมียนมาร์   

มาต้อนรับ

 

                             ๒.วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๗ ภาคเช้าคณะผู้บริหารฯ เดินทางไปยังเมืองอังวะ

                                เพื่อศึกษาพื้นที่เมืองโบราณอังวะ ซึ่งตั้งบนจุดบรรจบระหว่างแม่น้ำเอยาวดี(อิระวดี)

                                  กับแม่น้ำมยินแง และในภาคบ่ายได้เดินทางไปยังเมืองสะกาย และเมืองมัณฑะเลย์

   และได้เข้าศึกษาโบราณสถานและสถานที่สำคัญดังนี้                                                         ๒.๑ เวลา ๙.๒๐น. ตามเวลาท้องถิ่น คณะผู้บริหารฯเดินทางถึงประตูเมืองอังวะ มีการ

      บรรยายสรุปโดยสังเขป

                                      ๒.๒ เวลา ๙.๕๐น. คณะผู้บริหารฯเดินทางถึงหอคอยอังวะ หอคอยแห่งนี้สร้างขึ้นในปี

                                            ๒๓๖๕ มีความสูงประมาณ ๒๗ เมตร โดยตัวหอคอยและสิ่งก่อสร้างโดยรอบได้รับ

                         ความเสียหายจากแรงสั่นสะเทือน ในเหตุแผ่นดินไหวในปี ๒๓๘๑

      ปัจจุบันไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปบนหอคอยด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย

                                      ๒.๓ เวลา๑๐.๑๖น.คณะผู้บริหารฯเดินทางถึงวัดเมนุออกจอง (Mae Nu Oat Kyaung)

      หรือที่รู้จักในชื่อวัดมหาอองเยบอนซาน (Mahar Aung Mye Bon San     

      Monastery) โดยพื้นที่วัดส่วนที่เป็นโบราณสถาน อยู่ในความควบคุมของรัฐบาล

      กลาง มีการเก็บค่าธรรมเนียมการเข้าชม วัดแห่งนี้สร้างขึ้นในปี ๒๓๖๕ โดย         

      พระนางนันมดอเมนุ อัครมเหสีในพระเจาบายีดอ เพื่อถวายพระมหาเถรอูโป

      โบราณสถานแห่งนี้ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวในปี ๒๓๘๑ เช่นกัน และ

      ได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ในปี ๒๔๑๖ และนับเป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมพม่า

      ในช่วงสมัยราชวงศ์คองบอง

                                      ๒.๔ เวลา ๑๑.๒๐น.เดินทางถึงพิพิธภัณฑ์โบราณคดีอังวะ (Innwa Archaeology

                                            Museum) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก็บรวบรวมโบราณศิลปวัตถุจากเมืองโบราณอังวะ

      มาจัดแสดง และเพิ่งเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม โดยมีการเก็บค่าธรรมเนียม

      การเข้าชม

                                      ๒.๕ เวลา ๑๔.๑๐น. คณะผู้บริหารฯ เดินทางถึงวัดมหาเตงดอจี เมืองสะกาย โดยพบ

                                           คณะทำงานด้านการอนุรักษ์จิตรกรรมซึ่งเดินทางมาก่อนกำลังดำเนินการปฏิบัติงาน

                                           ทั้งการคัดลออกลาย จัดทำแผนผัง และการวัดระยะสัดส่วนต่างๆ โดยคณะผู้บริหาร

     ได้ประชุมหารือแนวทางการปฏิบัติงานกับคณะอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังของสำนัก

     โบราณคดี ทางเจ้าหน้าที่ได้นำเสนอผลการศึกษาสัดส่วนศิลปะที่เขียนโดยช่างไทย

     กับช่างพม่าที่ และในที่ประชุมได้มีการหารือ ถกเถียงในประเด็นเรื่อง

               อิทธิพลศิลปกรรมแบบอยุธยาที่ปรากฏในภาพจิตรกรรมที่ปรากฏในวิหาร

               วัดมหาเตงดอจี และมีการนำเสนอลักษณะของความเป็นไทยในภาพจิตรกรรม

     ฝาผนังที่พบซึ่งได้แก่ ชุดฐานบุษบกเรือนยอดแบบไทย ซึ่งประกอบด้วยชั้นยักษ์

     ชั้นครุฑ เส้นสินเทาแบบไทย ลักษณะการทำปางมารวิชัยซึ่งวางพระหัตถ์ขวาไว้

     ตรงเข่า การพบภาพนพศูลประดับยอดปรางค์ ภาพของธงตะขาบและเสาหงส์

     สำหรับแขวนธง การเขียนลายผ้าทิพย์บนอาสนะของพระพุทธรูป การเขียนลายกนก

     ลายกระจังปฏิภาณ และลายช่อหางโต ซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะของจิตรกรรมไทย

     ได้ชัดเจน แต่ก็พบว่ามีส่วนของงานที่ฝีมือพม่าเช่นลักษณะการเขียนลายดาวเพดาน

     นอกจากนี้ยังมีการหารือในเรื่องวิธีการอนุรักษ์ภาพจิตรกรรม และการบูรณะอาคาร

     ซึ่งได้มอบหมายให้มีการจัดทำรูปแบบรายการและประมาณราคาในการดำเนินการ

     เพื่อนำเสนออธิบดีต่อไป หลังจากนั้นคณะผู้บริหารฯได้ร่วมทำบุญถวายปัจจัย

                จำนวน ๘๔,๐๐๐ จั๊ต แด่เจ้าอาวาสวัดมหาเต็งดอจี 

                                      ๒.๖ เวลา ๑๖.๓๗น. ตามเวลาท้องถิ่น คณะผู้บริหารฯ เดินทางถึงวัดชเวนันดออกจอง

     (Shwe Nan Daw Kyaung) เมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของพระตำหนักทอง 

     ซึ่งเดิมเป็นห้องพระบรรทมของพระเจ้ามินดงในพระราชวังมัณฑะเลย์ และ

     พระเจ้าสีป้อโปรดฯให้ถอดรื้อมาประกอบใหม่ที่วัดแห่งนี้ และถวายเป็นพุทธบูชา

     สำหรับบำเพ็ญพระราชกุศลถวายแด่พระเจ้ามินดงพระราชบิดาของพระองค์

     โดยอาคารหลังนี้เป็นตัวอย่างงานสถาปัตยกรรมภายในพระราชวังเพียงแห่งเดียวที่

     ยังคงเหลืออยู่ เนื่องจากบรรดางานสถาปัตยกรรมอื่นๆในพระราชวังถูกไฟเผา

     เสียหายทั้งหมดในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง สำหรับนักท่องเที่ยวทั่วไปสามารถ

     เข้าชมโบราณสถานแห่งนี้โดยเสียค่าธรรมเนียมในลักษณะบัตรรวม โดยเมื่อซื้อบัตร

     แล้วสามารถใช้เข้าชมโบราณสถานในเขตเมืองมัณฑเลย์ อมรปุระ และอังวะ

     ได้ทุกแห่งที่มีการเก็บค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลา ๗ วัน

๒.๗ เวลา ๑๗.๓๑น. ตามเวลาท้องถิ่น คณะผู้บริหารฯ เดินทางถึงยอดเขามัณฑะเลย์

      ฮิลล์ เพื่อศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมจากมุมสูง ซึ่งทางด้านตะวันออกจะเห็นภาพของ

      ที่ราบขนาดใหญ่ กินอาณาเขตไปจนถึงเชิงเขาฉานโยมา ซึ่งเป็นพื้นที่สูงในเขตของ

      รัฐฉาน ส่วนด้านทิศตะวันตกนั้นจะพบภาพของที่ราบและแม่น้ำเอยาวดี(อิระวดี)

      ซึ่งเป็นแม่น้ำขนาดใหญ่และเป็นสายเลือดหลักหล่อเลี้ยงพื้นที่ราบในบริเวณนี้

      ทั้งหมด ด้านทิศใต้จะเห็นภาพพระราชวังมัณฑะเลย์ซึ่งปรากฏภาพกำแพงเมือง

และคูเมืองอย่างชัดเจน

 

 

๒.เวลา ๒๑.๐๐น. ตามเวลาท้องถิ่น คณะผู้บริหาร ประชุมเต็มคณะเรื่องการ

ดำเนินงานด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี วรรณกรรม และนาฏศิลป์

การดำเนินการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมฝาผนัง

วัดมหาเตงดอจี และการแลกเปลี่ยนความร่วมมือทางวิชาการกับผู้เชี่ยวชาญ

ของพม่า ณ ห้องประชุมอโนรธา มัณฑะเลย์ฮิลล์ โฮเต็ลแอนด์รีสอร์ท

โดยมีคณะทำงานด้านการอนุรักษ์จากสำนักโบราณคดีเป็นผู้ให้ข้อมูลด้านเทคนิค

และฝ่ายเลขานุการคณะได้ดำเนินการจัดทำรายงานผลการประชุมเรียบร้อยแล้ว

ใน คืนวันเดียวกัน เพื่อเสนออธิบดีกรมศิลปากรเป็นข้อมูลสำหรับการประชุมที่

เมืองเนปิดอร์ในวันที่ ๑๙-๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๗

 

                             ๓.วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๗ คณะผู้บริหารฯ ศึกษาโบราณสถานและสถานที่สำคัญ

   ในเมืองมัณฑะเลย์ดังนี้

๓.๑ เวลา ๙.๒๐ ตามเวลาท้องถิ่น คณะผู้บริหารฯ เดินทางไปพระราชวังมัณฑะเลย์

      ซึ่งสร้างขึ้นใหม่หลังจากถูกทำลายด้วยปืนใหญ่และผลจากการสู้รบเมื่อครั้ง

      สงครามโลกครั้งที่สอง โดยใช้วิธีจำลองจากโมเดลที่อังกฤษทำไว้ บนรากฐานเดิม

      โดยการก่อสร้างใช้วิธีสร้างใหม่โดยลดรูปรายละเอียดในส่วนงานสลักไม้

      คณะได้ศึกษารูปแบบ การวางผัง คติ ขนาด สัดส่วนองค์ประกอบของพระราชวัง

      เพื่อผลทางวิชาการ เปรียบเทียบกับเมืองโบราณในประเทศไทย วังโบราณใน

                                            ประเทศไทยและเมืองพระนครหลวงที่ จังหวัดเสียมเรียบ ราชอาณาจักรกัมพูชา

 

 

๘.คณะผู้แทนไทย         ประกอบด้วย

                             ๑.นายธราพงศ์ ศรีสุชาติ            ผู้อำนวยการสำนักโบราณคดี (หัวหน้าคณะเดินทาง)

                             ๒.นายบุญเตือน ศรีวรพจน์         ผู้อำนวยการสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์

                             ๓.นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ       ผู้อำนวยการสำนักสถาปัตยกรรม

                             ๔.นางสาวนัยนา แย้มสาขา         ผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

                             ๕.นายสมควร อุ่มตระกูล            รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักช่างสิบหมู่

                             ๖.นายประทีป เพ็งตะโก             ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี

                             ๗.นายเมธาดล วิจักขณะ            ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา

                             ๘.นายจารึก วิไลแก้ว                ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี

                             ๙.นายวิเศษ เพชรประดับ           ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี

                             ๑๐.นางมานิตา เขื่อนขันธ์          ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๙ ขอนแก่น

                             ๑๑.นายขจร มุกมีค่า                ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา

                             ๑๒.นายสุวิทย์ ชัยมงคล             ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๓ สงขลา

                             ๑๓.นางสุภาวรรณ วิไลนำโชคชัย   หัวหน้ากลุ่มตรวจสอบภายใน

                             ๑๔.นางจิตรปรีดี พร้อมศรีทอง     หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบบริหาร

                             ๑๕.นายสมศักดิ์ จิระธัญญาสกุล    หัวหน้างานเทคโนโลยีสารสนเทศ

                             ๑๖.นายบุญเลิศ เสนานนท์         นักภาษาโบราณชำนาญการพิเศษ สำนักหอสมุดแห่งชาติ

                             ๑๗.นางสาวพยุง วงษ์น้อย          หัวหน้ากลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี

                             ๑๘.นายจตุรพร เทียมทินกฤต      หัวหน้ากลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๗ น่าน

                             ๑๙.นายไกรสิน อุ่นใจจินต์          หัวหน้ากลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่

                             ๒๐.นายอาคม ขำทะมา             หัวหน้ากลุ่มอนุรักษ์โบราณ สถานสำนักศิลปากรที่๑๐ร้อยเอ็ด

                             ๒๑.นายชิณณวุฒิ วิลยาลัย          หัวหน้ากลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี

                             ๒๒.นางสาวศรินยา ปาทา          ภัณฑารักษ์ชำนาญการ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

                             ๒๓.นายมนัสชัย สว่างรัตน์ นิติกรปฏิบัติการ สำนักบริหารกลาง

                             ๒๔.นายสารัท ชลอสันติสกุล        หัวหน้ากลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๔ นครศรีธรรมราช

                                                                   เลขานุการคณะ

                             ๒๕.นางสาวธวัลรัตน์ ชัยนราพิพัฒน์ นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ ๑๕ ภูเก็ต

                                                                     ผู้ช่วยเลขานุการคณะ

 

๙.สรุปสาระของกิจกรรม

๑.สุสานลินซินกง เมืองอมรปุระ สถานที่ตั้งสถูป ซึ่งมีผู้เชื่อถือว่าอาจเป็นที่เก็บพระบรมอัฐิ ของพระเจ้าอุทุมพรภายหลังสวรรคตใน มีการดำเนินงานขุดค้นทางโบราณคดีโดยสมาคมสถาปนิกสยามในปี ๒๕๕๖ โดยได้รับเงินทุนจากสมาคมสถาปนิกสยาม และสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ แต่ยังพบปัญหาคือ

๑.๑ การพิสูจน์กระดูกและอัฐิ ว่าเป็นของพระเจ้าอุทุมพร ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากในปัจจุบันไม่

      มีตัวอย่างรหัสพันธุกรรม (DNA) ของพระเจ้าอุทุมพร ที่จะนำมาตรวจสอบเปรียบเทียบทาง

      วิทยาศาสตร์ได้

          ๑.๒ รายงานการขุดค้น ซึ่งยังไม่ได้รับการรับรองจากกรมศิลปากรกร เนื่องจากขาดความสมบูรณ์ใน

                การศึกษาเช่นการดำเนินงานทางโบราณคดีขาดขั้นตอนตามกระบวนการทางวิชาการโบราณคดี

                โดยไม่มีการระบุเทคนิควิธีการสำรวจและเก็บตัวอย่างโบราณวัตถุจากการสำรวจ ไม่มีการระบุการ

                กำหนดจุดอ้างอิงตายตัว จุดอ้างอิงระดับ ไม่แสดงผังบริเวณและผังตำแหน่งหลุมขุดค้น ไม่พบการ

                บันทึกรายละเอียดการเก็บโบราณวัตถุในแต่ละชั้นดิน รวมทั้งยังมีปัญหาในการใช้หลักฐานทาง

                ประวัติศาสตร์หลายประการเป็นต้น ซึ่งทั้งหมดจะนำไปสู่ปัญหาในการสรุปประเด็นข้อสงสัยต่างๆ

                และการยืนยันการมีอยู่ของสถูปบรรจุพระบรมอัฐิได้

                   ๑.๓ ในปัจจุบันได้มีการบูรณะโบราณสถานไปแล้วบางส่วน แต่การบูรณะกลับไม่เป็นไปตามกระบวน

                          การทางโบราณคดีและการอนุรักษ์ เช่น ทำกำแพงแก้วจนเจดีย์รายออกมาอยู่ด้านนอก

          ๑.๔ มีการตั้งธงจากฝ่ายเมียนมาร์ไว้แล้วว่าเจดีย์ในสุสานแห่งนี้จะต้องเป็นเจดีย์บรรจุพระบรมอัฐิใน

      พระเจ้าอุทุมพร เพื่อจะนำไปใช้ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้หากฝ่ายไทย

      ยื่นมือเข้าไปช่วยฝ่ายเมียนมาร์ก็คงยินดี ดังนั้นเราต้องตอบคำถามให้ชัดเจนว่าเราจะดำเนินการ

      เรื่องนี้อย่างไรต่อไป

 

๒.วัดมหามุนี เมืองมัณฑเลย์ คณะผู้บริหารฯ เข้าชมจิตรกรรมฝาผนังในซุ้มอุโมงค์ของวัดมหามุนี ซึ่งมีปัญหาคล้ายคลึงกับในเมืองไทยคือทางวัดต้องการลบภาพซึ่งเป็นของโบราณออกเพื่อจะดำเนินการปิดทองทับลงไปบนผนังทั้งหมด

แต่โชคดีที่ทางการเมียนมาร์ทราบเรื่องเสียก่อนและไม่อนุญาตให้ลบภาพออก จึงยังคงรักษาภาพส่วนที่เหลือนี้ไว้ได้

 

 

๓.เมืองอังวะ คณะผู้บริหารฯ ได้ศึกษาพื้นที่เมืองโบราณอังวะ   โดยได้เยี่ยมชม

ประตูเมืองอังวะ            ซึ่งพบว่าทางการเมียนมาร์ได้บูรณะขึ้นใหม่แต่รูปทรงน่าจะผิดไปจาก

                   ของเดิม เนื่องจากสภาพประตูในปัจจุบันเป็นลักษณะแบบเดียวกันกับ

ประตูเมืองมัณฑะเลย์     

หอคอยอังวะ               ซึ่งปัจจุบันไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปบนหอคอยด้วยเหตุผล

ด้านความปลอดภัย

                   วัดเมนุออกจอง            เป็นโบราณสถานที่ได้รับการดูแลจากรัฐยาลกลางเป็นอย่างดี

พิพิธภัณฑ์โบราณคดีอังวะ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก็บรวบรวมโบราณศิลปวัตถุจากเมืองโบราณอังวะมาจัดแสดง

การเข้าชมเมืองอังวะได้รับการบริหารจัดการระบบการเข้าชมโบราณสถาน โดยนักท่องเที่ยวจะต้องใช้บริการรถม้าท้องถิ่นเท่านั้น และรถม้าเหล่านี้จะนำนักท่องเที่ยวไปสู่โบราณสถานสำคัญภายในกรอบระยะเวลาประมาณ ๒ ชั่วโมง นอกจากนี้ยังพบว่าในพื้นที่ของโบราณสถานที่รัฐบาลกลางเก็บค่าธรรมเนียมเข้าชมนั้นมีการดูแลรักษาได้ค่อนข้างดี และเจ้าหน้าที่จะจัดอำนวยความสะดวกเช่นห้ามไม่ใช้มีการขายของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยวในพื้นที่โบราณสถาน นอกจากนี้รัฐบาลกลางยังอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวด้วยการจำหน่ายบัตรเข้าชมโบราณสถานสำคัญซึ่งต้องเสียค่าธรรมเนียมในลักษณะของบัตรรวมมีอายุบัตร ๗ วัน โดยบัตรเข้าชมของเมืองอังวะจะสามารถใช้ได้ในเมืองอมรปุระ และมัณฑะเลย์ด้วย

 

๔.วัดมหาเตงดอจี เมืองสะกาย วัดแห่งนี้เป็นวัดขนาดเล็ก ไม่เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวมากนัก แต่ที่มีความสำคัญเนื่องจากกมีการพบภาพจิตรกรรมฝาผนังซึ่งมีลักษณะศิลปกรรมเป็นแบบไทย โดยการหารือและถกเถียงโดยคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมฯของสำนักโบราณคดี ได้มีมีการนำเสนอลักษณะของความเป็นไทยในภาพจิตรกรรมฝาผนังที่พบซึ่งได้แก่ ชุดฐานบุษบกเรือนยอดแบบไทย ซึ่งประกอบด้วยชั้นยักษ์ ชั้นครุฑ เส้นสินเทาแบบไทย ลักษณะการทำปางมารวิชัยซึ่งวางพระหัตถ์ขวาไว้ ตรงเข่า การพบภาพนพศูลประดับยอดปรางค์ ภาพของธงตะขาบและเสาหงส์สำหรับแขวนธง การเขียนลายผ้าทิพย์บนอาสนะของพระพุทธรูป การเขียนลายกนก ลายกระจังปฏิภาณ และลายช่อหางโต ซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะของจิตรกรรมไทยได้ชัดเจน แต่ก็พบว่ามีส่วนของงานที่ฝีมือพม่าเช่นลักษณะการเขียนลายดาวเพดาน นอกจากนี้ยังมีการหารือในเรื่องวิธีการอนุรักษ์ภาพจิตรกรรม และการบูรณะอาคารเช่นการใช้วิธีหิ้วภาพด้วยวัสดุกับกาวหิ้วไว้ก่อนแล้วจึงดำเนินงานบูรณะ การสกัดปูนดำออกจากผนังอาคารเป็นต้น ทั้งนี้ได้มีการมอบหมายให้มีการจัดทำรูปแบบรายการและประมาณราคาในการดำเนินการเพื่อนำเสนออธิบดีต่อไป

               

๕.วัดชเวนันดออกจอง มัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของพระตำหนักทอง  ซึ่งเดิมเป็นห้องพระบรรทมของพระเจ้ามินดงในพระราชวังมัณฑะเลย์ โดยอาคารหลังนี้เป็นตัวอย่างงานสถาปัตยกรรมภายในพระราชวังเพียงแห่งเดียวที่ยังคงเหลืออยู่ เนื่องจากบรรดางานสถาปัตยกรรมอื่นๆในพระราชวังถูกไฟเผาเสียหายทั้งหมดในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง สำหรับนักท่องเที่ยวทั่วไปสามารถเข้าชมโบราณสถานแห่งนี้โดยเสียค่าธรรมเนียมในลักษณะบัตรรวม โดยเมื่อซื้อบัตร

แล้วสามารถใช้เข้าชมโบราณสถานในเขตเมืองมัณฑเลย์ อมรปุระ และอังวะได้ทุกแห่งที่มีการเก็บค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลา ๗ วัน

 

๖.ยอดเขามัณฑะเลย์ฮิลล์ เป็นภูเขาสูงในบริเวณเมืองมัณฑะเลย์ โดยจากยอดเขาสามารถศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมจากมุมสูง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการมีพื้นที่เกษตรกรรมอันกว้างใหญ่อุดมสมบูรณ์เพียงพอเพียงพอต่อการรองรับพลเมือง ซึ่งคล้ายคลึงกับสภาพโดยรอบกรุงศรีอยุธยา

 

 

๗.พระราชวังมัณฑะเลย์ เป็นกลุ่มสิ่งก่อสร้างซึ่งสร้างขึ้นใหม่โดยใช้วิธีจำลองจากโมเดลที่อังกฤษทำไว้ บนรากฐานเดิมหลังจากพระราชวังเดิมถูกทำลายด้วยปืนใหญ่และผลจากการสู้รบเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างไรก็ตามการก่อสร้างใหม่นั้นได้ลดรูปแบบรายละเอียดในส่วนงานสลักไม้ ลงไปอย่างมาก นอกจากนี้คณะผู้บริหารฯได้ศึกษารูปแบบ การวางผัง คติ ขนาด สัดส่วนองค์ประกอบของพระราชวัง เพื่อผลทางวิชาการ ในการศึกษาเปรียบเทียบกับเมืองโบราณและพระราชวังโบราณในประเทศไทยด้วย

 

๑๐.ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม

          ๑.สำหรับการศึกษาเรื่องสถูปบรรจุพระบรมอัฐิที่สุสานลินซินกง เมืองอมรปุระ ในชั้นนี้ยังไม่มีหลักฐานบ่งชี้ได้แน่ชัด จึงต้องมีการศึกษาร่องรอยของการตั้งชุมชนอยุธยาหรือที่เรียกว่าชุมชนโยเดียในเมียนมาร์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยข้อมูลที่ได้อาจเป็นหลักฐานทางอ้อมในการบ่งชี้ประเด็นปัญหาต่างๆที่ยังเป็นข้อถกเถียงในปัจจุบันได้

          ๒.การบูรณะจิตรกรรมในวัดมหาเตงดอจี เมืองสะกาย คณะผู้บริหารฯเห็นว่าภาพจิตรกรรมที่ปรากฏนั้นมีสัดส่วนของงานช่างไทยอยู่มาก และฝ่ายไทยควรยื่นมือเข้ามาเป็นผู้สนับสนุนหรือผู้ดำเนินการอนุรักษ์ โยการดำเนินการจะอนุรักษ์ทั้งจิตรกรรมและตัวอาคาร ด้วยเทคนิควิธีตามหลักทางวิชาการที่ถูกต้อง วัสดุแปลกปลอมเช่นปูนดำที่ถูกนำมาฉาบในภายหลังจะต้องถูกสกัดออก รวมทั้งต้องมีการตัดความชื้นซึ่งในกรณีนี้น่าจะใช้วิธีการตัดความชื้นจากภายนอกได้ นอกจากนี้ก็จะเป็นงานปรับภูมิทัศน์ แต่ยังติดขัดปัญหาทางวัฒนธรรมที่เมียนมาร์ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงปีนขึ้นไปทำงานในระดับสูงภายในวิหาร และต้องขอให้กลุ่มวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยดำเนินการในด้านวิทยาศาสตร์ ในส่วนของงานปูนปั้นซึ่งมีเชื้อราค่อนข้างมาก ซึ่งงานส่วนนี้อยู่มันนอกเหนือจากงานที่ประมาณการไว้ตั้งแต่แรก

(จำนวนผู้เข้าชม 516 ครั้ง)


Messenger