รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศเนปาล
๑. ชื่อโครงการ UNESCO International Symposium "Protecting Asia's heritage: Strategies for
fighting illicit traffic of cultural property and fostering restitutions"
๒. วัตถุประสงค์
๑) เพื่อการให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่อง Policy and legal frameworks, Present situation in South Asia, Preventive measures, Restitution strategies, mechanisms and practices แก่ผู้ปฏิบัติงานผู้ดูแลมรดกวัฒนธรรมทางวัตถุที่เสี่ยงต่อการลักลอบเอาไปโดยมิชอบและผิดกฎหมาย
๒) เพื่อประชุมระดมความคิดในการสร้างความร่วมมือในการดำเนินการต่อต้านการลักลอบให้ได้มาซึ่งมรดกวัฒนธรรมทางวัตถุและการค้าขายโดยผิดกฎหมาย
๓) เพื่อร่วมกันหาแนวทางในการปฏิบัติและมาตรการในการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของชาติในเอเซียให้คงอยู่ ณ แหล่งที่มาของวัตถุนั้นๆ มิให้มีการทำลาย โจรกรรมจากแหล่งและลักลอบค้า-นำออกนอกประเทศ
๓. กำหนดเวลา ระหว่างวันที่ ๑๕-๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๖
๔.สถานที่ ห้องประชุมกุมารี โรงแรมอันนาปูรณะ (Annapurna) กรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล
๕.หน่วยงานผู้จัด UNESCO Kathmandu Office
๖. หน่วยงานสนับสนุน
๑) UNESCO Head Office Paris
๒) Ministry of Culture, Tourism and Civil Aviation, Nepal
๓) กรมศิลปากร
๗. กิจกรรม
๑) การบรรยายในหัวข้อหลักทั้ง 4 หัวข้อตามวัตถุประสงค์ข้างต้น
๒) การประชุมระดมความคิดเรื่องความร่วมมือและการหาแนวทางและมาตรการร่วมกันในการต่อต้านการลักลอบเคลื่อนย้ายมรดกวัฒนธรรมโดยมิชอบ
๓) พิธีเปิดนิทรรศการNarrative of Faith and Memory Remembering the Lost Sculptures of Kathmandu
๘.คณะผู้แทนไทย
นางอมรา ศรีสุชาติ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ (ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ)
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
๙. สรุปสาระของกิจกรรม
๑. การบรรยายประกอบด้วยหัวข้อหลักและหัวข้อย่อย ดังต่อไปนี้
๑.๑ Session I: Policy and legal frameworks
ผู้ทำหน้าที่ประธานและดำเนินการบรรยายและนำการอภิปราย คือ Dr Amara Srisuchat, Senior Expert in Art and Antiquity, Fine Arts Department, Thailand
ผู้บรรยายและหัวข้อการบรรยายมีดังนี้
-Edourd Planche:Thecorner stone.: THE 1970 UNESCO Convention on the Means of Prohibiting and Preventing the illicit Import, Export and Transfer of Ownership of Cultural Property
-Marina-Schneider: Improving against illicit traffic through harmonizing internationalvlaw - the 1995 UNIDROIT Convention
-Celso Coracini: Criminal justice responses to trafficking in cultural property, in particular involving organized criminal groups
-Bharat Mani Subedi: National policies and legal framework in Nepal
๑.๒ Session II: Present situation in South Asia
ผู้ทำหน้าที่ประธานดำเนินการบรรยายและนำการอภิปราย คือ Mr. Kanak Mani Dixit, Writer and Journist, Publisher Himal Khabarpatrika, Editor Himal Southasian
ผู้บรรยายและหัวข้อการบรรยาย มีดังนี้
-Zafar Painan: Afghanistan: Loot of archaeological sites in Afghanistan
- Bulbul Ahmed: Bangladesh: Illicit traffic of cultural property: Bangladesh context
-Tshewang Gyalpo: Bhutan: Protecting moveable cultural properties of Bhutan
- Afzal Abdulla: Maldives: Present situation in Maldives
-Arun Kumar Chatterjee: India: The security of cultural heritage, a fundamental concept of museology
-Ram Bahadur Kunwar: Nepal: Present status of illicit traffic of cultural property in Nepal and future strategies for the control of illegal traffic of cultural property
-Mashood Ahmad Mirza: Pakistan:Present situation in Pakistan
๑.๓ Session III : Preventive measures
ผู้ทำหน้าที่ประธานดำเนินการบรรยายและนำการอภิปราย คือ Dina Bangdel, Associate Professor of Art History, Virginia Commonwealth University in Qatar
ผู้บรรยายและหัวข้อบรรยาย มีดังนี้
-Mathilde Heaton & Hartley B. Waltman: Preventing the illicit trade in cultural property- the role of the auction house
-Francoise Bortolotti: Process and use of INTERPOL database for stolen artworks
-Gaspare Cilluffo: The role of customs: JCO Colosseum and Archeo
-Amara Srisuchat: Thailand's preventive measure: from manual operation to national single window
-Nara Hari Regmi: INTERPOL tools and services to combat illicit trafficot cultural property
-Gundegmaa Jargalsaikan: Perspective from other countries: Monaco-funded projects on illicit traffic in Mongolia
-Zhengxin Huo: Perspective from other countries: The protection of cultural heritage: A Chinese approach
๑.๔ Session IV: Restitution strategies, mechanism and practices
ผู้ทำหน้าที่ประธานดำเนินการบรรยายและนำการอภิปราย คือ Bhesh Narayan Dahal, Director General, Department of Archaeology, Nepal
ผู้บรรยายและหัวข้อบรรยาย มีดังนี้
-Juergen Schick: Following the theft in the Kathmandu valley,1981-88
-Dina Bangdel: Nepal's sacred art and loss of cultural heritage
-Kanak Mani Dixit: Towards a Nepali campagn of restitution
-Natalie Bazin: Two Nepalese stone sculptures in the Guimet Museum, Paris, France
-Edouard Planche: Alternative means of return and restitution: the ICPRCP and the mediation and conciliation procedure
๒.การประชุมระดมความคิด
ดำเนินการตามแนวทางที่กำหนด คือ Envisioning a roadmap for the future
Presentation of workshop outcomes/elements for a roadmap for future
ผู้ทำหน้าที่ประธานการประชุมระดมความคิดและการหาแนวทาง ปฏิบัติการร่วมเพื่อการต่อต้านการลักลอบค้าโบราณวัตถุศิลปวัตถุและการส่งกลับคืนประเทศต้นกำเนิด คือ Mr. Prasanna Gamage Director of Education, Culture and Security Aspects, South Asian Association for Regional Cooperation (SAARC)
ผลการประชุม สรุปสาระดังนี้
๑) มาตรการทางกฎหมาย
- ประสานทุกประเทศให้เห็นความจำเป็นและความสำคัญในการลงนามใน 1970 UNESCO Convention และ UNIDROIT เพื่อการร่วมกันปฏิบัติการคุ้มครองปกป้องและป้องกันโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
- การตกลงความร่วมมือทวิภาคีระหว่างประเทศในการปกป้องคุ้มครองและการลักลอบค้า ตลอดจนการส่งกลับคืนฯ จำเป็นต้องดำเนินการให้มีผลชัดเจน
- แต่ละประเทศควรหาวิถีทางในการแก้ไขหรือออกกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติในการคุ้มครองการป้องกันการลักลอบค้าและการส่งคืนฯ ทั้งวัตถุของประเทศตนและของนานาประเทศ
๒) มาตรการป้องกัน
- แต่ละประเทศดำเนินการสำรวจ จัดทำทะเบียนและขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่สำคัญทุกชิ้น
- แต่ละประเทศดำเนินการทำฐานข้อมูลด้วยระบบเดียวกันเพื่อเชื่อมโยงข้อมูล และแลกเปลี่ยนข้อมูลโบราณวัตถุ-ศิลปวัตถุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นแบบที่ประเทศไทยดำเนินการและจะดำเนินการร่วมกับกลุ่มประเทศอาเซียน คือ National Single Window และ ASEAN Single Window
- รณรงค์และอบรมคนในประเทศโดยเฉพาะเยาวชนให้ร่วมกันปกป้องคุ้มครอง มีจิตสำนึกที่จะอนุรักษ์รักษา ทั้งมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้
- พัฒนาองค์กรที่มีความรับผิดชอบในเรื่องนี้ให้มีประสิทธิภาพและมีความร่วมมือกันอย่างจริงจัง เช่น หน่วยงานที่ดูแลรักษามรดกวัฒนธรรมที่เป็นโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ (เช่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โบราณคดี) และหน่วยงานช่วยเหลือที่เกี่ยวข้องกับการลักลอบค้า การนำเข้า-ส่งออกโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เช่น ตำรวจ รวมถึงตำรวจสากล ศุลกากร
๓) การส่งคืน หรือการให้ได้กลับคืนโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่ถูกนำออกจากแหล่งต้นกำเนิด
- ความตกลงร่วมมือทางการทูตระหว่างประเทศ
- ความร่วมมือจากผู้ประกอบการร้านค้าวัตถุหรือการประมูลวัตถุในการจัดทำแคตาลอกให้กับประเทศต่างๆตรวจสอบก่อนดำเนินการค้าหรือการประมูล
- สร้างความร่วมมือหรือเครือข่ายเชื่อมโยงตำรวจสากล ศุลกากรสากล โดยการนำระบบไอทีมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
- รณรงค์การเรียกร้องให้เกิดทัศนคติในการส่งคืนหรือมอบวัตถุคืนกลับประเทศต้นกำเนิด เช่น การให้ประกาศเกียรติคุณ มากกว่าการตำหนิ
๓.พิธีเปิดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง Narrative of Faith and Memory Remembering the Lost Sculptures of Kathmandu ดำเนินการโดย Joy Lynn Davis จัดแสดง ณ Patan Museum, Lalitpur ซึ่งเป็นแหล่งมรดกโลก จัดแสดงระหว่างวันที่ ๑๕ - ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ พิธีเปิดเริ่มคืนวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๙.๓๐ น
ข้อเสนอแนะ
๑) ระยะเวลาการประชุมสั้นมาก ทำให้มีการบรรยายที่ต้องรวบรัดเฉพาะเนื้อความ ผู้ฟังมีโอกาสถามไม่เต็มที่ หรือยังแสดงความคิดเห็นไม่เต็มที่ การประชุมเรื่องสำคัญลักษณะเช่นนี้ควรขยายเวลาเป็น ๓ วัน
๒) ไม่มีรายการภาคปฏิบัติที่ผู้เข้าร่วมประชุมจะได้เห็นแหล่งที่ถูกโจรกรรม หรือกรณีศึกษาที่ด่านศุลกากร เว้นแต่กิจกรรมการไปร่วมเปิดนิทรรศการซึ่งแสดงแนวคิดการรณรงค์ให้ได้วัตถุที่ถูกลักลอบโจรกรรมไปจากแหล่งกลับคืนเท่านั้น
๓) เรื่องที่จัดครั้งนี้ นับเป็นเรื่องสำคัญและมีผลกระทบกับประเทศในเอเชียแทบทุกประเทศ แม้ว่าผู้จัดคือ UNESCO พยายามที่จะเชิญผู้แทนประเทศต่างๆ ให้มาประชุม แต่งบประมาณจำกัด Session ที่เป็นการบรรยายนำเสนอปัญหาของแต่ละประเทศจึงไม่ครอบคลุมทุกประเทศ UNESCO น่าจะดำเนินการโดยเชิญแต่ละประเทศเข้าร่วมเพื่อการรับฟัง โดยออกค่าใช้จ่ายเองได้ด้วย นอกเหนือจากการเลือกเฟ้นเฉพาะผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นผู้บรรยายให้ความรู้เท่านั้น สำหรับกลุ่มประเทศอาเซียน ไม่มีผู้แทนจากกลุ่มประเทศนี้ไปร่วมเลย มีเพียงนางอมรา ศรีสุชาติ ซึ่งได้รับเชิญ เพื่อเป็นวิทยากรในการบรรยายตามหัวข้อที่ UNESCO กำหนดไว้เพื่อให้เป็นตัวอย่างและให้ความรู้เพิ่มเติมกับผู้ฟัง ตลอดการเชิญให้รับหน้าที่ประธานในที่ประชุมใน session เรื่องกฎหมายฯ
๔) บทบาทของผู้แทนไทย (นางอมรา ศรีสุชาติ) ที่ได้รับเชิญให้ทำหน้าที่ประธาน และผู้นำการอภิปรายใน session เกี่ยวกับกฎหมาย นโยบายและกฎบัตรสากลต่างๆ และการบรรยายในเรื่องมาตรการป้องกัน โดยเฉพาะการนำเสนอระบบ National Single Windowและ ASEAN Single Window ซึ่งเป็นเรื่องใหม่และอยู่ในแนวโน้มใหม่ที่จะเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการนำมาใช้สำหรับทุกประเทศในอนาคตอันใกล้นี้ นั้น ที่ประชุมให้ความสนใจมาก เนื่องจากเป็นเรื่องสำคัญและเรื่องใหม่ แต่ที่ประชุมเห็นว่า ทาง UNESCO เนปาล ให้เวลาน้อยเกินไป และยังเปิดโอกาสให้ซักถามได้ไม่เต็มที (ต้องมาสอบถามผู้บรรยายนอกเวลาเป็นส่วนใหญ่) เมื่อเทียบกับเวลาใน session เรื่องปัญหาการลักลอบค้าวัตถุของประเทศเนปาลเอง ซึ่งผู้ฟังชาวเนปาลทราบดี อยู่แล้วในหลายหัวข้อ และบางหัวข้อก็บรรยายเกินเวลา ไม่รักษาวินัยทางเวลา
๕) ผู้แทนจาก UNESCO Bangkok Office (Ms JODY) เห็นว่า น่าจะมีการเตรียมการจัดสัมมนาลักษณะนี้ในประเทศทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บ้าง โดยจะนำวิธีการและรูปแบบตลอดจนบทเรียนที่ได้จากการจัดการประชุมครั้งนี้มาเป็นแนวทางในการดำเนินการ ซึ่งจะต้องประสานกับกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม กรมศุลกากร ตำรวจสากลที่มีสาขาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ในการดำเนินการต่อไป
๖) Mr Bhesh Narayan Dahal, Director General, Department of Archaeology, Nepal แจ้งให้ทราบว่า กรมโบราณคดี (ซึ่งมีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรวมอยู่ด้วย) มีความประสงค์จะทำความร่วมมือกับประเทศไทย โดยเฉพาะกับหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องโบราณคดี และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เช่น กรมศิลปากร ในการปกป้องคุ้มครองมรดกวัฒนธรรม และการพัฒนางานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติร่วมกัน ทั้งนี้ Mr Bhesh Narayan Dahal จะประสานกับสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกาฐมาณฑุ และสถานเอกอัครราชทูตเนปาล ณ กรุงเทพมหานคร ในเรื่องนี้เพื่อให้ประสานกับกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงวัฒนธรรมถึงความเป็นไปได้ในการดำเนินการความร่วมมือต่อไป
๗) ปัจจุบันเป็นที่ทราบว่า แม้ประเทศไทยยังมิได้ลงนามในกฎบัตรทั้ง ๒ ฉบับ คือ 1970 UNESCO Convention และ UNIDROIT แต่ประเทศไทยก็ได้ดำเนินการปฏิบัติตามกฎบัตรทั้ง ๒ ฉบับอยู่แล้ว อย่างไรก็ดี ประเทศไทย โดยกระทรวงวัฒนธรรม ควรดำเนินการผลักดันให้เกิดการลงนามในกฎบัตรทั้ง ๒ ฉบับนี้ เพื่อมิให้เกิดข้อกังขา และให้เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศในความตั้งใจจริงของประเทศไทย ในการร่วมปกป้องคุ้มครองมรดกวัฒนธรรมของทุกประเทศ
นางอมรา ศรีสุชาติ
ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ
(ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ)
ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ
(จำนวนผู้เข้าชม 784 ครั้ง)