|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รำวงมาตรฐาน ประกอบด้วยเพลงทั้งหมด ๑๐ เพลง กรมศิลปากรแต่งเนื้อร้องจำนวน ๔ เพลง คือ เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลงรำซิมารำ เพลงคืนเดือนหงาย ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม แต่งเนื้อร้องเพิ่มอีก ๖ เพลง คือ เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ เพลงดอกไม้ของชาติ เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า เพลงหญิงไทยใจงาม เพลงบูชานักรบ เพลงยอดชายใจหาญ ส่วนทำนองเพลงทั้ง ๑๐ เพลง กรมศิลปากร และกรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้แต่ง จากการสัมภาษณ์นางสุวรรณี ชลานุเคราะห์ ศิลปินแห่งชาติ สาชาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย) ปีพุทธศักราช ๒๕๓๓ อธิบายว่า “ท่ารำเพลงรำวงมาตรฐานประดิษฐ์ท่ารำโดย นางลมุล ยมะคุปต์ นางมัลลี คงประภัศร์ และนางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป ส่วนผู้คิดประดิษฐ์จังหวะเท้าของเพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ คือนางจิตรา ทองแถม ณ อยุธยา อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสังคีตศิลป ปัจจุบันคือ วิทยาลัยนาฏศิลป ปีพ.ศ.๒๔๘๕ – ๒๔๘๖ เมื่อปรับปรุงแบบแผนการเล่นรำโทนให้มีมาตรฐาน และมีความเหมาะสม จึงมีการเปลี่ยนแปลงชื่อจากรำโทนเป็น “รำวงมาตรฐาน” อันมีลักษณะการแสดงที่เป็นการรำร่วมกันระหว่างชาย – หญิง เป็นคู่ ๆ เคลื่อนย้ายเวียนไปเป็นวงกลม มีเพลงร้องที่แต่งทำนองขึ้นใหม่ มีการใช้ทั้งวงปี่พาทย์บรรเลงเพลงประกอบ และบางเพลงก็ใช้วงดนตรีสากลบรรเลงเพลงประกอบ ซึ่งเพลงร้องที่แต่งขึ้นใหม่ทั้ง ๑๐ เพลง มีท่ารำที่กำหนดไว้เป็นแบบแผนคือ - เพลงงามแสงเดือน ท่าสอดสร้อยมาลา- เพลงชาวไทย ท่าชักแป้งผัดหน้า- เพลงรำมาซิมารำ ท่ารำส่าย- เพลงคืนเดือนหงาย ท่าสอดสร้อยมาลาแปลง- เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ ท่าแขกเต้าเข้ารัง และท่าผาลาเพียงไหล่- เพลงดอกไม้ของชาติ ท่ารำยั่ว- เพลงหญิงไทยใจงาม ท่าพรหมสี่หน้า และท่ายูงฟ้อนหาง- เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า ท่าช้างประสานงา และท่าจันทร์ทรงกลดแปลง- เพลงยอดชายใจหาญ หญิงท่าชะนีร่ายไม้ ชายท่าจ่อเพลิงกัลป์- เพลงบูชานักรบ หญิงท่าขัดจางนาง และท่าล่อแก้ว ชายท่าจันทร์ทรงกลดต่ำ และท่าขอแก้ว รำวงมาตรฐานนิยมเล่นในงานรื่นเริงบันเทิงต่าง ๆ และยังนิยมนำมาใช้เล่นแทนการเต้นรำ สำหรับเครื่องแต่งกายก็มีการกำหนดการแต่งกายของผู้แสดงให้มีระเบียบด้วยการใช้ชุดไทย และชุดสากลนิยม โดยแต่งเป็นคู่ รับกันทั้งชายและหญิง อาทิ ผู้ชายนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลม มีผ้าคาดเอว ผู้หญิงนุ่งโจงกระเบน ห่มสไบอัดจีบ ผู้ชายนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อราชประแตน ผู้หญิงแต่งชุดไทยแบบรัชกาลที่ ๕ ผู้ชายแต่งสูท ผู้หญิงแต่งชุดไทยเรือนต้น หรือไทยจักรี รำวงมาตรฐาน เป็นการรำที่ได้รับความนิยมสืบมาจนถึงปัจจุบัน มักนิยมนำมาใช้หลังจากจบการแสดง หรือจบงานบันเทิงต่าง ๆ เพื่อเชิญชวนผู้ร่วมงานออกมารำวงร่วมกัน เป็นการแสดงความสามัคคีกลมเกลียว อีกทั้งยังเป็นที่นิยมของชาวต่างชาติในการออกมารำวงเพื่อความสนุกสนาน การแสดงรำวงมาตรฐานมีผู้แสดงครั้งแรกดังนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ดนตรี และเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม เพลงที่ใช้ประกอบการแสดงได้แก่ เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลงรำซิมารำ เพลงคืนเดือนหงาย เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ เพลงดอกไม้ของชาติ เพลงหญิงไทยใจงาม เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า เพลงยอดชายใจหาญ และเพลงบูชานักรบ เครื่องแต่งกาย เครื่องแต่งกายของรำวงมาตรฐาน ประกอบด้วย ๔ แบบดังนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
บทร้องรำวงมาตรฐาน
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โอกาสที่ใช้แสดงเผยแพร่ให้แก่ประชาชนชม และแสดงในงานรื่นเริงต่างๆ |
(จำนวนผู้เข้าชม 965742 ครั้ง)