แนะนำหนังสือน่าอ่าน
พุทธวจนสถาบัน. พุทธวจน-หมวดธรรม เปิดธรรมที่ถูกปิด ฉบับ4 มรรควิธีที่ง่าย. ปทุมธานี: มูลนิธิพุทธโฆษณ์, 2558. 118 หน้า. ภาพประกอบ.
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในยุคแห่งเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร ที่ผู้คนแข่งกันรู้ ให้ได้เร็วที่สุดไว้ก่อนนั้น ได้นำพาสังคมไปสู่วิถีชีวิตที่เสพติดในความง่ายเร็วลัด ของขั้นตอนการเรียนรู้ โดยละทิ้งความถูกต้องตรงจริงในการรู้นั้นไว้เป็นอันดับรอง ในแวดวงของชาวพุทธยุคใหม่ แม้ในส่วนที่มี ปัญญาพอเห็นโทษภัยในทุกข์ มีจิตน้อมไปในการภาวนาแล้ว ก็ยังไม่พ้นที่จะมีการพูดถึงเกี่ยวกับ มรรควิธีที่ง่าย ลัดสั้น ปัญหามีอยู่…คือ การหมายรู้ ในคำว่า “ง่าย” โดยในแง่ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจนั้น มีความหมาย ไม่ตรงกับรายละเอียดในมรรควิธีที่ง่าย ซึ่งบัญญัติโดย พระตถาคต เมื่อนิยามตั้งต้นไม่ตรงกันเสียแล้ว จะต้อง กล่าวไปในรายละเอียดอื่นๆ ที่ตามมา เมื่อพูดถึงคำว่า “ง่าย” โดยทั่วไป มักจะถูกเข้าใจ ในลักษณะว่า เป็นอะไรสักอย่างที่ได้มาโดยไม่มีขั้นตอนยาก ได้มาโดยไม่ต้องลงแรง โดยไม่ต้องใช้ความพยายามมาก ใช้การขวนขวายน้อย ใช้ข้อมูลน้อย ใช้การใคร่ครวญน้อย ใช้การกระทำน้อย …กระทั่งไม่ต้องทำอะไรเลย
ดังนั้น มรรควิธีที่ง่าย จึงไม่ใช่ว่า ง่าย ในแบบที่ เข้าใจกันว่าใช้ความพยายามน้อย ใช้การกระทำน้อย ขวนขวายน้อยแต่ง่าย ตามเหตุปัจจัยอันสมควรแก่กรณีนั้นๆภายใต้ขีดจำกัดของสาวก ซึ่งพระพุทธองค์ ทรงยืนยันว่า แม้อรหันต์ผู้ปัญญาวิมุตติ ต่างก็เป็นได้เพียง แค่มัคคานุคา (ผู้เดินตามมรรคมาทีหลัง) จึงไม่แปลกที่เรา จะได้รู ้ได้ฟังการอธิบายแจงแจกมรรควิธีที่ง่าย ตามแบบของ สาวกในรูปแบบต่างๆ กันไป ซึ่งตรงกันบ้าง ไม่ตรงกันบ้าง และไม่สามารถนำามาใช้อ้างอิงเป็นหลักมาตรฐานได้ หากเปรียบการบรรลุมรรคผล คือการถึงจุดหมาย หนังสือเล่มนี้ คือ แผนที่ ซึ่งเขียนโดยมัคคโกวิโท (ผู้ฉลาดใน มรรค คือพระตถาคต) และชาวพุทธต้องหันกลับมาใช้แผนที่ ฉบับถูกต้องนี้ เป็นมาตรฐานเดียวเหมือนครั้งพุทธกาล
ห้องทั่วไป 1
294.315
พ835พ
(จำนวนผู้เข้าชม 26 ครั้ง)