วันสงกรานต์ ตรงกับวันที่ 13 เมษายนของทุกปี
วันสงกรานต์ ตรงกับวันที่ 13 เมษายนของทุกปี คำว่า "สงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า การเคลื่อนที่ หรือการ เคลื่อนย้าย หมายถึงการเคลื่อนย้ายของพระอาทิตย์จากราศีหนึ่งสู่อีกราศีหนึ่ง คือวันขึ้นปีใหม่นั่นเองตามความหมายในภาษาสันสกฤตสงกรานต์จึงเกิดขึ้นทุกเดือน
ส่วนระยะเวลาที่คนไทยเรียก "สงกรานต์” นั้น เป็นช่วงที่พระอาทิตย์เคลื่อนย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ นับว่าเป็นมหาสงกรานต์ เพราะเป็นวันและเวลาตั้งต้นปีใหม่ตามสรุยคติ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ คือ วันที่ 13-14-15 เมษายน โดยเรียกวันที่ 13 เมษายน ว่าวันมหาสงกรานต์ วันที่ 14 เมษายน เป็นวันเนา วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก
เมื่อวันสงกรานต์ตรงกับวันใดในแต่ละปี ก็จะมีนางสงกรานต์ประจำวันนั้นๆ
เมื่อวันสงกรานต์ตรงกับวันใดในแต่ละปี ก็จะมีนางสงกรานต์ประจำวันนั้นๆ
ตรงกับวันอาทิตย์ จะชื่อ “ทุงษเทวี” ตรงกับจันทร์ ชื่อ “โคราดเทวี” ตรงกับวันอังคาร ชื่อ”รากษสเทวี” ” ตรงกับวันพุธ ชื่อ”มัณฑาเทวี” ตรงกับวันพฤหัสบดีชื่อ “กิริณีเทวี” ตรงกับวันศุกร์ ชื่อ “กิมิทาเทวี” ตรงกับวันเสาร์ ชื่อ”มโหทรเทวี”
ธรรมบาลกุมาร เป็นเทพบุตรที่พระอินทร์ประทานให้ลงไปเกิดในครรภ์ภรรยาเศรษฐี เมื่อโตขึ้นก็ได้เรียนรู้ภาษานก และเรียนไตรเภทจบเมื่ออายุได้เพียง 7 ขวบ จึงได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่างๆ แก่คนทั้งหลาย จนวันหนึ่ง ท้าวกบิลพรหม ได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ โดยถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ก็จะตัดเศียรบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสียเอง โดยธรรมบาลกุมารได้ขอตอบคำถามใน 7 วัน
เมื่อถึงเวลา ท้าวกบิลพรหม ก็มาตามสัญญาที่ให้ไว้ ธรรมบาลกุมารจึงนำคำตอบที่ได้ยินจากนกไปตอบกับท้าวกบิลพรหม ทำให้ท้าวกบิลพรหมแพ้ในการตอบคำถามครั้งนี้ และก่อนจะตัดเศียร ท้าวกบิลพรหม ได้เรียก ธิดาทั้ง 7 องค์ ซึ่งเป็นนางฟ้า ให้เอาพานมารองรับ เนื่องจากเศียรของท้าวกบิลพรหมเป็นที่รวมแห่งความไม่ดีทั้งปวง ถ้าวางไว้บนแผ่นดินไฟจะไหม้โลก ถ้าโยนขึ้นไปบนอากาศฝนจะแล้ง ถ้าทิ้งลงในมหาสมุทรน้ำจะแห้ง
ธิดาทั้ง 7 จึงมีหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันดูแลเศียรของท้าวกบิลพรหม และในทุกๆ ปี ก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาทำหน้าที่อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหม แห่ไปรอบเขาพระสุเมรุ เป็นเวลา 60 นาที แล้วประดิษฐานไว้ในถ้ำคันธุลี ในเขาไกรลาศ จึงเป็นที่มาของ นางสงกรานต์ โดยแต่ละนางจะทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์นั่นเอง
คติความเชื่อของไทยถือว่าในวันสงกรานต์ถ้าหากได้มีการปล่อยนกปล่อยปลาแล้ว จะเป็นการล้างบาปที่ทำไว้ และเป็นการสะเดาะเคราะห์ร้าย ให้คงไว้แต่ความสุขความเจริญในวันขึ้นปีใหม่ การปล่อยนกปล่อยปลาที่ทำเป็นพิธีและติดต่อกันทุกๆปี จะเห็นได้ที่ปากลัดที่มีขบวนแห่ที่สวยงาม และเอกเกริกในตอนเย็น ตอนกลางคืนจะมีการละเล่นต่างๆ เช่น การเล่นสะบ้า คนหนุ่มสาวจะมีโอกาสได้ใกล้ชิดกัน
วันที่เกี่ยวข้องกับวันสงกรานต์คือวันตรุษไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ซึ่งถือว่าเป็นวันสิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่ของไทยในสมัยโบราณคู่กับวันสงกรานต์ ที่เรียกว่า “ตรุษสงกรานต์” ตรุษ แปลว่า ยินดี หมายถึงยินดีที่มีชีวิตยั่งยืนจนถึงวันนี้ จึงจัดพิธีแสดงความยินดี โดยการทำบุญ ไม่ให้ประมาทในชีวิต ปกติจะจัด 3 วัน วันแรก คือแรม 14 ค่ำ เป็นวันจ่าย วันกลาง คือแรม 15 ค่ำ เป็นวันทำบุญ มีการละเล่นจนถึงวันที่ 3 คือขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปัจจุบันนิยมรวบยอดมาทำบุญและเล่นสนุกสนานในวันสงกรานต์ช่วงเดียว
ฝ่ายโหรพราหมณ์ กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง ประกาศสงกรานต์ ปีพุทธศักราช 2567 ปีมะโรง (เทวดาผู้ชาย ธาตุทอง) ฉอศก จุลศักราช 1386 ทางจันทรคติ เป็น ปกติ มาสวาร ทางสุริยคติ เป็น อธิกสุรทิน
วันที่ 13 เมษายน เป็น วันมหาสงกรานต์ ทางจันทรคติตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 เวลา 22 นาฬิกา 24 นาที
นางสงกรานต์ ทรงนามว่า “มโหธรเทวี” ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว (ผักตบชวา) อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จไสยาสน์ลืมเนตรมาเหนือหลัง มยุรา (นกยูง) เป็นพาหนะ
วันที่ 16 เมษายน เวลา 02 นาฬิกา 15 นาที 00 วินาที เปลี่ยนจุลศักราชใหม่เป็น 1386 ปีนี้ วันอังคาร เป็น ธงชัย, วันพฤหัสบดี เป็น อธิบดี, วันจันทร์ เป็น อุบาทว์, วันเสาร์ เป็น โลกาวินาศ
ปีนี้ วันอังคาร เกณฑ์พิรุณศาสตร์ เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 300 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 30 ห่า ตกในมหาสมุทร 60 ห่า ตกในป่า หิมพานต์ 90 ห่า ตกในเขาจักรวาล 120 ห่า นาคให้น้ำ 7 ตัว
เกณฑ์ธัญญาหาร ได้เศษ 5 ชื่อ วิบัติ ข้าวกล้าในภูมินาจะเกิดกิมิชาติ จะได้ผลกึ่ง เสียกึ่ง
เกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีวาโย (ลม) น้ำน้อย
(จำนวนผู้เข้าชม 110 ครั้ง)