สามเมือง แก้วแหวน ปูชนียบุคคลแห่งวงการพลอยของจันทบุรี : ผู้คิดค้นการเผาพลอยคนแรกของไทย
จันทบุรีมีชื่อเสียงเกี่ยวกับธุรกิจการค้าอัญมณีเลื่องลือไปทั่วโลก นอกจากจะเป็นถิ่นกำเนิดของพลอยหลากสีที่มีคุณภาพ ยังเป็นศูนย์รวมของช่างพลอยมากฝีมือและประสบการณ์ ด้วยภูมิปัญญาด้านงานช่างอัญมณีที่มีอัตลักษณ์อันโดดเด่น ทั้งกรรมวิธีการปรับปรุงคุณภาพสีสันของพลอย การเจียระไนด้วยทักษะฝีมือที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมถึงการประกอบตัวเรือนอย่างวิจิตรบรรจง ทำให้พลอยเมืองจันท์เป็นที่ชื่นชอบและได้รับการยอมรับในตลาดค้าพลอยทั่วโลกว่าเป็นพลอยที่มีความสวยงามและมีคุณภาพ อย่างไรก็ตามพลอยที่มีสีสันสวยงามนี้ เกิดจากภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าที่พัฒนา
ต่อยอดมาจากวิธีการเผาพลอยที่มีจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ จากความช่างสังเกตของคุณสามเมือง แก้วแหวน ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นนวัตกรรมเตาเผาที่เหมาะสมกับพลอยหลากหลายชนิด และส่งผลให้ชื่อเสียงของคุณสามเมืองและพลอยเมืองจันท์เป็นที่รู้จักในระดับสากล
จากหนังสือเรื่อง “ไม้ขีดไฟก้านแรก” ได้บอกเล่าเรื่องราวชีวิตของคุณสามเมือง แก้วแหวน ปูชนียบุคคลแห่งวงการพลอยของจันทบุรีว่า คุณสามเมืองเริ่มทำอาชีพค้าขายพลอยหลังลาออกจากการรับราชการตำรวจเมื่ออายุ 30 ปี ด้วยการลองผิดลองถูกทั้งการซื้อขายและการปะพลอย ต่อมาวันหนึ่งได้โกลนพลอยสตาร์เม็ดหนึ่งแตก แต่ถูกคิดค่าจ้างปะติดแพง จึงเกิดความคิดในการปะพลอยเอง โดยใช้ความร้อนและน้ำประสานทองเป็นตัวเชื่อม จากการปะพลอยนี้เองคุณสามเมืองได้สังเกตเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของสีพลอย โดยเนื้อพลอยจะใสขึ้นกว่าเดิม และมีสีจางลงเล็กน้อยเมื่อถูกความร้อนมาก ๆ ความสงสัยจุดประกายเล็ก ๆ ขึ้นในใจเป็นครั้งแรกว่าความร้อนต้องเป็นสาเหตุหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงของสีพลอยเป็นแน่ จากความช่างสังเกตมาประจวบกับเหตุเพลิงไหม้ตลาดเมืองจันทบุรีครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2511 สร้างความเสียหายให้ร้านค้าพลอยเป็นจำนวนมาก พลอยก้อนในร้านถูกเผาไหม้จมดิน และมีผู้นำมาขายให้ คุณสามเมืองสังเกตเห็นชัดว่าพลอยทุกเม็ดมีเนื้อใสหมด ทำให้เชื่อมั่นว่าความร้อนสามารถทำให้พลอยเปลี่ยนสีได้ จึงเริ่มศึกษาค้นคว้าการเผาพลอยอย่างจริงจัง ผ่านการลองผิดลองถูก และได้รับความร่วมมือในการผลิตเตาเผาด้วยถ่านหินซึ่งทนความร้อนสูงของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย ทำให้สามารถเผาพลอยจนกระทั่งทำให้หม่าหรือความขุ่นในเนื้อพลอยหายไปกลายเป็นพลอยที่มีสีสันสวยงาม โดยพลอยเม็ดแรกที่เผาสำเร็จเป็นพลอยแซปไฟร์สีน้ำเงิน จึงกล่าวได้ว่าผู้คิดค้นวิธีการเผาพลอยขึ้นคนแรกในวงการพลอยเมืองไทย คือ “คุณสามเมือง แก้วแหวน” นั่นเอง
คุณสามเมืองได้พัฒนาการเผาพลอยด้วยเตาเผาแบบต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับพลอยแต่ละชนิด โดยพบว่าเตาน้ำมันเหมาะกับการเผาพลอยสีน้ำเงิน เนื่องจากมีคาร์บอนมาก เตาไฟฟ้าเหมาะสำหรับเผาพลอยแดง เพราะไม่มีคาร์บอนมาสันดาปให้เกิดสีม่วง และเตาแก๊สเป็นเตาสารพัดประโยชน์ที่ปรับให้ใช้ได้กับพลอยทุกสี เพราะสามารถปรับระดับความร้อนได้หลากหลาย โดยมีเพื่อนในวงการพลอยร่วมกันค้นคว้าและสนับสนุน ซึ่งใช้เวลาเกือบ 3 ปี จนเป็นผลสำเร็จในช่วง พ.ศ. 2523 - 2524 จากการพัฒนาเตาแก๊สที่ได้นั้น ทำให้สามารถเผาบุษราคัมได้สีดีที่สุด หลังจากนั้นมีการนำบุษราคัม
จากหนังสือเรื่อง “ไม้ขีดไฟก้านแรก” ได้บอกเล่าเรื่องราวชีวิตของคุณสามเมือง แก้วแหวน ปูชนียบุคคลแห่งวงการพลอยของจันทบุรีว่า คุณสามเมืองเริ่มทำอาชีพค้าขายพลอยหลังลาออกจากการรับราชการตำรวจเมื่ออายุ 30 ปี ด้วยการลองผิดลองถูกทั้งการซื้อขายและการปะพลอย ต่อมาวันหนึ่งได้โกลนพลอยสตาร์เม็ดหนึ่งแตก แต่ถูกคิดค่าจ้างปะติดแพง จึงเกิดความคิดในการปะพลอยเอง โดยใช้ความร้อนและน้ำประสานทองเป็นตัวเชื่อม จากการปะพลอยนี้เองคุณสามเมืองได้สังเกตเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของสีพลอย โดยเนื้อพลอยจะใสขึ้นกว่าเดิม และมีสีจางลงเล็กน้อยเมื่อถูกความร้อนมาก ๆ ความสงสัยจุดประกายเล็ก ๆ ขึ้นในใจเป็นครั้งแรกว่าความร้อนต้องเป็นสาเหตุหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงของสีพลอยเป็นแน่ จากความช่างสังเกตมาประจวบกับเหตุเพลิงไหม้ตลาดเมืองจันทบุรีครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2511 สร้างความเสียหายให้ร้านค้าพลอยเป็นจำนวนมาก พลอยก้อนในร้านถูกเผาไหม้จมดิน และมีผู้นำมาขายให้ คุณสามเมืองสังเกตเห็นชัดว่าพลอยทุกเม็ดมีเนื้อใสหมด ทำให้เชื่อมั่นว่าความร้อนสามารถทำให้พลอยเปลี่ยนสีได้ จึงเริ่มศึกษาค้นคว้าการเผาพลอยอย่างจริงจัง ผ่านการลองผิดลองถูก และได้รับความร่วมมือในการผลิตเตาเผาด้วยถ่านหินซึ่งทนความร้อนสูงของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย ทำให้สามารถเผาพลอยจนกระทั่งทำให้หม่าหรือความขุ่นในเนื้อพลอยหายไปกลายเป็นพลอยที่มีสีสันสวยงาม โดยพลอยเม็ดแรกที่เผาสำเร็จเป็นพลอยแซปไฟร์สีน้ำเงิน จึงกล่าวได้ว่าผู้คิดค้นวิธีการเผาพลอยขึ้นคนแรกในวงการพลอยเมืองไทย คือ “คุณสามเมือง แก้วแหวน” นั่นเอง
คุณสามเมืองได้พัฒนาการเผาพลอยด้วยเตาเผาแบบต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับพลอยแต่ละชนิด โดยพบว่าเตาน้ำมันเหมาะกับการเผาพลอยสีน้ำเงิน เนื่องจากมีคาร์บอนมาก เตาไฟฟ้าเหมาะสำหรับเผาพลอยแดง เพราะไม่มีคาร์บอนมาสันดาปให้เกิดสีม่วง และเตาแก๊สเป็นเตาสารพัดประโยชน์ที่ปรับให้ใช้ได้กับพลอยทุกสี เพราะสามารถปรับระดับความร้อนได้หลากหลาย โดยมีเพื่อนในวงการพลอยร่วมกันค้นคว้าและสนับสนุน ซึ่งใช้เวลาเกือบ 3 ปี จนเป็นผลสำเร็จในช่วง พ.ศ. 2523 - 2524 จากการพัฒนาเตาแก๊สที่ได้นั้น ทำให้สามารถเผาบุษราคัมได้สีดีที่สุด หลังจากนั้นมีการนำบุษราคัม
ที่ผ่านการเผานี้ไปจัดแสดงที่สหรัฐอเมริกา สร้างความสนใจแก่นักอัญมณีศาสตร์ในกรรมวิธีการผลิตเป็นอย่างมาก มีการนำตัวอย่างกลับไปทดลองในห้องปฏิบัติการ รวมทั้งผู้สื่อข่าวชาวต่างชาติได้ให้
ความสนใจและเดินทางมาทำข่าวถึงจันทบุรี ต่อมาได้มีการรับรองคุณภาพพลอยที่เผาด้วยความร้อน (Heat Treatment) และมีการตีพิมพ์เนื้อหาการปรับปรุงคุณภาพพลอยจากการเผาของจันทบุรี
ลงในวารสาร Gems & Gemology Volume XVIII, Winter 1982 คุณสามเมืองจึงได้รับการยกย่องว่าเป็น “King of Orange Sapphires” และเป็นที่รู้จักในระดับสากลตั้งแต่นั้นมา
ปัจจุบันพลอยสีที่ขายกันทั่วโลกราวร้อยละ 80 ล้วนผ่านการปรับปรุงคุณภาพจากจันทบุรี ทำให้จันทบุรีได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางการค้าพลอยสีแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย
ปัจจุบันพลอยสีที่ขายกันทั่วโลกราวร้อยละ 80 ล้วนผ่านการปรับปรุงคุณภาพจากจันทบุรี ทำให้จันทบุรีได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางการค้าพลอยสีแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย
หากปราศจากภูมิปัญญาในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่พลอยสีที่คุณสามเมืองได้สร้างไว้เป็นคุณูปการ และถ่ายทอดส่งต่อไปยังคนรุ่นถัดมาเพื่อเป็นสมบัติของชาติ เป็นความภาคภูมิใจของชาวจันทบุรี
และชาวไทย
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
เมธี จึงสงวนสิทธิ์. จันทบูร = Chining Moon. จันทบุรี: ไชน์นิ่งมูน, 2560.
สามเมือง แก้วแหวน. ไม้ขีดไฟก้านแรก. กรุงเทพฯ: บีสแควร์ พริ้นท์ แอนด์ดีไซน์, 2564.
Keller, Peter C. “The Chanthaburi - Trat Gem Field, Thailand.” Gems & Gemology. (Winter 1982): pp. 186 - 196. [Online]. Retrieved 26 September 2023,
from: https:// www.gia.edu/doc/WN82.pdf
from: https:// www.gia.edu/doc/WN82.pdf
ผู้เรียบเรียง: นางสาวปริศนา ตุ้มชัยพร บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
(จำนวนผู้เข้าชม 758 ครั้ง)